ยุคตกต่ำของอาจารย์มหาวิทยาลัย

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

โดย สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์

ไม่มียุคใดอีกแล้วที่อาจารย์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพตกต่ำเช่นนี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนเฉลี่ยต่ำกว่า ครูประถม มัธยมที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 8%
สืบเนื่องมาจากที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ได้ปรับระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่ง(Position classification) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าระบบซี ซึ่งแบ่งเป็น 11 ระดับ มาเป็นการจัดประเภทตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงานหรือเรียกว่าระบบแท่ง ซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง
ทุกหน่วยราชการ ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.)ต่างก็ดำเนินการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบใหม่ที่ ก.พ.กำหนด
ขึ้น โดย ก.ค.ได้จัดทำแท่งบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูคู่ขนานไปกับแท่งเงินเดือนข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.)
แต่สำนักงานและคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งควรจะเป็นผู้นำในการปรับระบบให้สอดคล้องกับระบบที่ ก.พ.กำหนด กลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเป็นปี จึงเพิ่งตื่น โดยการตั้ง ดร.วิจิตร ศรีสอ้านเป็นประธานอนุกรรมการศึกษาเรื่องนี้มีใครทราบบ้างไหมว่าปัจจุบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่มีแท่งบัญชีเงินเดือนเป็นของตัวเอง ส่วนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีเงินเดือนตันในระบบซีได้ขยับขึ้นเงินเดือนในปี งบประมาณ 2544 นั้นเป็นเพราะไปอาศัยใบบุญของ ก.พ.โดยขออิงเงินเดือนของ ก.พ.ไปพลางๆ ก่อน
ข้าราชการพลเรือนได้ขยับเงินเดือนตามระบบแท่งไปล่วงหน้าเกือบ 2 ปีแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะได้รับอานิสงส์นี้เมื่อเดือนตุลาคม 2553
ในขณะที่ครูประถม มัธยม ซึ่งมีลักษณะงานคล้ายกับอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ได้ปรับขึ้นไป 8% และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ปรับขึ้นพร้อมกับข้าราชการอื่นๆ อีก 5%
ปัจจุบันครูประถม มัธยมจึงมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เคยมีเงินเดือนเท่า กันถึง 8%
หากอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องการมีเงินเดือนเท่ากับครูประถมมัธยม เห็นทีคงจะต้องไปอาศัยใบบุญของ ก.ค.เหมือนกับที่เคยแอบอิงใบบุญของ ก.พ.มาแล้ว
อย่างนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่รู้สึกอายครูประถม มัธยม บ้างหรือ แทนที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งเต็มไปด้วยนักวิชาการควรจะต้องเป็นผู้นำของสังคม แต่กลับต้องคอยไปพึ่งใบบุญคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทราบว่าผู้บริหารของ ส.ก.อ.ยังสุขสบายดีหรือ ท่านปล่อยให้เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และหากยังปล่อยให้เป็นเช่นนี้โดยไม่มีการแก้ไข ต่อไปจะหาคนเก่งที่ไหนมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
หากคนเก่งไม่ยอมมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว ท่านลองหลับตานึกเอาเองก็แล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคุณภาพของบัณฑิตใน อนาคตทั้งนี้ เพราะถ้าผู้สอนมีความรู้น้อยแล้วจะเอาความรู้จากที่ไหนมาสอนนักศึกษา เนื่องจากไม่มีใครสอนได้มากกว่าที่รู้ประเทศในแถบตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกาต่างก็ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งนี้ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ที่ผ่านมาอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่เคยเรียกร้องใดๆ เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเงินเดือน แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยม
สถานภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยหากเปรียบเทียบกับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาล ยิ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย ทั้งนี้ เพราะเงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยต่ำกว่าข้าราชการกลุ่มดังกล่าวชนิดมอง ไม่เห็นฝุ่น
มีใครทราบบ้างไหมว่าคนที่จบปริญญาเอกใหม่ๆ หากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเดือนเพียงหมื่นเศษๆ เงินเดือนพอๆ กับพนักงานขับรถของบริษัท แล้วอย่างนี้คนเก่งที่ไหนจะอยากมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนในคณะนิสิตศาสตร์ซึ่งเรียนกฎหมาย มาเหมือนกับผู้พิพากษาและอัยการทำไมจึงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้พิพากษา และอัยการอย่างเทียบกันไม่ได้ คุณวุฒิของอาจารย์นิติศาสตร์ก็มิได้ด้อยไปกว่าผู้พิพากษาและอัยการเลยแม้แต่ น้อย
อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จบปริญญาโทปริญญาเอกทั้งสิ้น และยังเป็นอาจารย์ที่สอนผู้พิพากษาและอัยการแต่กลับได้รับเงินเดือนต่ำกว่า ลูกศิษย์ที่ตัวเองเคยสอนมาแล้ว อย่างนี้จะไม่ให้อาจารย์รู้สึกน้อยใจได้อย่างไร
เช่นเดียวกัน อาจารย์แพทย์ และอาจารย์วิศวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเรียนยากกว่าสาขาอื่นๆ แต่อาจารย์แพทย์และวิศวะกลับได้รับเงินเดือนเท่ากับข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งมีเงินเดือนต่ำกว่าผู้พิพากษาและอัยการ
ท่านทราบไหมว่าหากอาจารย์แพทย์และอาจารย์วิศวะไปทำงานในภาคเอกชนจะได้รับ เงินเดือนมากกว่าที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าสามเท่า
แต่อาจารย์เหล่านี้กลับยอมเสียสละทำงานในมหาวิทยาลัย ยอมกัดก้อนเกลือกิน แต่ไม่เคยมีใครมองเห็นคุณงามความดีของอาจารย์มหาวิทยาลัยเหล่านี้เลย ปล่อยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเงินเดือนน้อยกว่าครูประถม มัธยมเหมือนเช่นทุกวันนี้
หรือจะต้องรอให้อาจารย์มหาวิทยาลัยลาออกไปขายกล้วยทอดกันให้เกือบหมด มหาวิทยาลัยเสียก่อน จึงจะมองเห็นความสำคัญของอาจารย์มหาวิทยาลัย
อนิจจาช่างน่าสงสารอาจารย์มหาวิทยาลัยเสียเหลือเกินที่อุตส่าห์เสียสละตัว เองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน แต่ที่ไหนได้แม้กระทั่งตัวเงินเดือนก็ยังไม่อาจสู้ครูประถมได้
แล้วอย่างนี้จะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมีขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไปได้ อย่างไร อย่าปล่อยให้เรื่องเช่นนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปเลย รีบแก้ไขโดยด่วนเถิดครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=24757&Key=hotnews

http://www.etesting.ru.ac.th/boss&staff2.html

tweet มาก อาจทำสมาธิสั้น .. จริงหรือ

การทวิต หรือการรับส่งข้อความอันจำกัดปริมาณมาก โดยไม่มีการประมวลผล จะส่งผลทำให้สมาธิสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เช่นที่ปรากฏในงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์

ในยุคที่การไหลบ่าของเทคโนโลยีถาถั่งเข้าใส่ ผู้คน ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เอสเอ็มเอส ไฮไฟว์ มาถึงยุคทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และแบล็กเบอร์รี่ จนก้าวตามแทบไม่ทัน มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าการเล่นสื่อไอทีเหล่านี้ หากไม่มีการประมวลผลแล้ว จะมีผลต่อการพัฒนาความจำ อันส่งผลต่อเนื่องทำให้สมาธิสั้นได้

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ ดร.เทรซีย์ อัลโลเวย์ (Dr.Tracy Alloway) นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านความจำระดับใช้งาน (Working Memory) เป็นความจำระยะสั้นชนิดหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง (University of Stirling) ประเทศสกอตแลนด์ ที่ฝึกเด็กที่เรียนช้าให้มีความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้นและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ มีพัฒนาการความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้น โดยงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่ากระบวนการจำต้องมีทั้ง การจำ และ การประมวลผล

นอกจากนี้ งานวิจัยยังครอบคลุมไปถึงสังคมออนไลน์ในยุค 2009 ด้วย กรณีนี้การเล่นเกมซู โดกุ และการอัพเดทเฟซบุ๊ก จะใช้การประมวลผลต่างกับการเล่นทวิตเตอร์ และ ยูทู้บ ตลอดจนการส่งข้อความทั่วไปเป็นการได้ข้อมูลอย่างรวบรัดและเข้ามาเป็นปริมาณมาก ไม่ก่อให้เกิดการประมวลผล จึงไม่เกิดการพัฒนาความจำ ตรงกันข้ามข้อมูลปริมาณมากยังส่งผลให้สมาธิสั้นลง และทำให้สมองไม่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ทวิตเตอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม 2549 เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อระบุว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือทวีต (tweet) โดยข้อความอัพเดทที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์ จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ได้หลายช่องทาง ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่นและคนทำงาน

สุกรี พัฒนภิรมย์ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีไทยกริดแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญทวิตเตอร์ ไม่เชื่อว่าการเล่นทวิตเตอร์จะมีส่วนทำให้สมาธิสั้น สาเหตุของสมาธิสั้นอาจเกิดจากนิสัยดั้งเดิมตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ที่ถูกยัดเยียดให้เรียนเยอะ หรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ตลอดจนการดูโทรทัศน์ที่ถูดยัดเยียดด้วยข้อมูลที่เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว

“เวลาที่ผมต้องการสมาธิ ผมก็มีสมาธิอยู่กับมันได้นะ ส่วนงานวิจัยที่บอกว่าเล่นทวิตเตอร์แล้วสมาธิสั้น ผมว่ามันไม่เกี่ยวกัน หากจะสมาธิสั้นก็คงเริ่มตั้งแต่เรามีเพจเจอร์แล้ว ในมุมกลับกันผมว่าข้อความสั้นๆ ทำให้เราต้องใช้สมาธิในการอ่านให้ทัน แถมข้อความสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อสื่อสารกันเร็วดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองทันทีหรือไม่”

ตรงกันข้าม สุกรีกลับแสดงความเป็นห่วงการใช้ บีบี หรือแบล็กเบอรี่ (Black Berry : โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้) มากกว่าการเล่นทวิตเตอร์ เพราะสร้างความคาดหวังให้มีการตอบสนองทันที หากไม่มีการตอบสนองก็อาจนำไปสู่การทะเลาะได้ เมื่อเราส่งข้อความไปทางบีบี จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าได้รับหรือยัง อ่านหรือยัง แล้วเหตุใดถึงไม่ตอบกลับมา จะสร้างความหงุดหงิดจนนำไปสู่การทะเลาะกันหลายรายแล้ว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มองว่า ปัจจุบันผลกระทบจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เด็กไทยสมาธิสั้นมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น ยังรวมถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การแชทเอ็มเอสเอ็นด้วย เนื่องจากธรรมชาติของเทคโนโลยีมันจะเปลี่ยนแปลงความสนใจไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนเรามีความสามารถ หรือสมาธิในการแยกแยะข้อมูลได้ลดน้อยลง

การใช้ไอทีในรูปแบบนี้จะทำให้สมองเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ กระบวนการตอบโต้ไม่เป็นระบบ ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ที่จะไม่เอาระบบไอทีเข้าไปติดตั้งอยู่ในห้องเรียน ระดับอนุบาล เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องเสริมสร้างสมาธิ รู้จักรอคอย รู้จักแยกแยะ ควรเน้นการอ่านและการเขียนมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสิ่งใหม่ๆ มาทดแทนเสมอ นพ.ยงยุทธ จึงแนะนำว่า ควรสร้างภูมิต้านทานในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ด้วยการลดการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิง แต่เน้นเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น หากเด็กใช้ไอทีเพื่อความบันเทิง ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กำหนดเวลาเล่นให้ชัดเจน หากเป็นชั้นประถมก็วันละครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ที่สำคัญไม่ควรให้เยาวชนใช้คอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนตัว เพราะอาจเข้าถึงเรื่องทางเพศ หรือความรุนแรงได้

“การดูแลวัยรุ่นเรื่องการใช้ไอที ผู้ปกครองต้องกำหนดกติกา และส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทดแทน เช่น เข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิต จะทำให้เด็กสนใจไอทีน้อยลง เมื่อได้ทำกิจกรรมอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการและมีสมาธิมากขึ้น” นพ.ยงยุทธ กล่าว

เช่นเดียวกับ ดร.สุภาพร ธนะชานันท์ อาจารย์จากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว) ยอมรับว่า ผลการวิจัยในต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า สื่อรูปแบบต่างๆ มีอันตรายต่อเด็ก แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กไม่ถูกสื่อครอบงำทำอันตรายได้ หากเด็กคนนั้นมีจิตใจ ความคิดแยกแยะสิ่งผิดถูกได้ และมีสิ่งแวดล้อมที่คอยปกป้องพวกเขา มีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลและกำหนดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต หากไม่มีใครควบคุมเด็กสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ตลอดทั้งวัน อาจส่งผลเสียต่อเด็กได้

“ไม่โทษสื่อนะที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่างๆ แต่จะโทษผู้ดูแลสื่อมากกว่า อย่างที่อเมริกาเด็กๆ ของเขาจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เขาจะห้ามจริงๆ มีการบล็อกไว้เลย ส่วนเด็กก็จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ที่จะไม่เข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แตกต่างกับเมืองไทยมาก” ดร.สุภาพร กล่าว

อย่างไรก็ดีผลการวิจัยที่อ้างถึงการเล่น ทวิตเตอร์ทำให้สมาธิสั้นนั้น ดร.สุภาพร บอกว่า การจะทำให้เชื่อได้ว่าคนมีสมาธิสั้นจากการเล่นทวิตเตอร์จริง หรือไม่ ต้องมีการทดลองก่อน คล้ายๆ กับการใช้โทรศัพท์ที่ถูกคาดเดาว่าทำให้สมาธิสั้น ซึ่งอาจไม่เป็นเรื่องจริง และเชื่อว่าเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นล้านๆ คนในประเทศไทยไม่ได้สมาธิสั้นทุกคน แต่อาจเป็นคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สมาธิสั้น เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ อาการสมาธิสั้นในเด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ จะแสดงอาการไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้

สำหรับอาการที่พบในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปมี 3 กลุ่มอาการ คือ 1.ไม่มีสมาธิ ทำผิดพลาดสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ทำงานช้า หากเป็นสิ่งที่สนใจมากๆ เช่น วิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้ 2.อาการอยู่ไม่สุข ชอบเดินไปมาในห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ 3.ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ มักพูดมาก พูดแทรก รอคอยไม่เป็น

http://www.tlcthai.com/facebook/twitter-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%86-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88-%E0%B8%97/

การใช้จิตของ Steve Jobs

steve jobs by walter isaacson
steve jobs by walter isaacson

จากหนังสือภาษาไทย  Steve Jobs by Walter Isaacson
ทั้งหมด 668 หน้าใน 41 บท สำหรับผมจำแนกได้ 3 ส่วนหลัก คือ ตัวเขา ครอบครัว และงาน ซึ่งเชื่อได้ว่าผู้อ่านส่วนใหญ่สนใจในความเป็นนักนวัตกรรมของเขา อันเป็นผลงานที่โดดเด่นมากมาย แต่หนังสือเล่มนี้สื่อเรื่องตัวเขาได้อย่างละเอียดเหลือเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องการต่อสู้กับมะเร็ง ในฐานะผู้ป่วย

หน้า 555 ตอนมะเร็งกลับมา
จากที่แคธรีน สมิธ เล่า ผมว่าจ็อบเป็นคนที่เข้าใจธรรมมะ เพราะเขาศึกษา ศาสนาพุทธนิกายเซน ค่อนข้างลึก ซึ่งการลดความเจ็บปวดด้วยจิตที่เขาทำ น่าสนใจ  เขาก็ใช้จิตคุมจิต แก้ปัญหาแบบไม่ใช้ยาในบางเวลา

แคธรีน สมิธ เล่าว่า
สตีฟบอกว่า เวลาที่เขารู้สึกแย่มาก ๆ
เขาจะทำสมาธิกำหนดจิตไปที่ความเจ็บปวด
เข้าไปให้ถึงมัน ซึ่งดูเหมือนะทำให้เขารู้สึกค่อยยังชั่วขึ้น

Kathryn Smith เล่าว่า
He told me that when he feels really bad,
he just concentrates on the pain, goes into the pain,
and that seems to dissipate it

ชีวิตของ steve jobs น่าสนใจ
เขา คือ นักนวัตกรรม ที่มีชีวิตหลายมุมให้เรียนรู้
ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งถึง 8 ปี และเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 56 ปีเท่านั้น

Steve Jobs- Walter Isaacson

steve jobs
steve jobs

29 ม.ค.55 ทดสอบค้นหาอีบุ๊คของ Steve Jobs รุ่น english
ดูว่าเข้าข่ายลิขสิทธิ์หนังสือของ Walter Isaacson บ้างไหม
ค้นเจอใน bit ใน rapidshare ลอง download ก็ไม่ได้
แต่ไปพบใน scribd.com เมื่อทดสอบ download พบว่าได้ครับ .. ไม่น่าเชื่อ
มีหลายภาษาโดยหลายคน  สำหรับภาษาอังกฤษโดย Amber Chen
http://www.scribd.com/amber_chen_17

http://www.oknation.net/blog/SteveJobsBookClub

ปล.ไม่พบใน edocr.com หรือ slideshare.net หรือ authorstream.com หรือ docstoc.com

เดี่ยว 8 ของโน๊ต อุดมกับห้องน้ำ

28 ม.ค.55 ในคืนวันเสาร์ที่บ้าน เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมหัวเราะจนหมด (รู้สึกถึงจิตที่ขาดการควบคุม) คาดว่า เพราะนั่งดูคลิ๊ปกันในครอบครัว และจิตผมผ่อนคลาย จึงปล่อยจิตไปตามสภาพแวดล้อม เหมือนกับการอยู่ในกลุ่มคนที่เศร้าก็จะเศร้า อยู่ในกลุ่มคนที่มีความสุขก็จะมีความสุข เรียกว่าจิตไร้การควบคุม ก็จะคล้อยตามสภาพแวดล้อมเหมือนการสะกดจิตตนเอง
โดยปกติสิ่งที่คุณโน๊ตพูดในเดี่ยว 8 เป็นเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่เคยพบเห็นได้ในสารคดีทั้งของจีน และอินเดีย สิ่งที่คุณโน๊ตสื่อออกมาเป็นความจริง จะว่าไปแล้ว ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าในความแตกต่างของความเจริญทางวัฒนธรรม เหมือนเราพบคนในชนชท ในเมืองชาวแดน และในเมืองหลวงของไทย จึงมีคนในเมืองไปเที่ยวชนบท ก็เพื่อดูความแตกต่างนั่นเอง

ดูแล้วนึกถึงเพลง “i started a joke
หรือคำพูดของนักวิจัยชุมชนว่า “ต่าเปิ้นเป็นดีไค่หัว ต่าตัวเป็นดีไค่ไห้

จากข่าวที่ว่า สูญเงินมากไปกับโฆษณาออนไลน์รึเปล่า

chyutopia from thumbsup.in.th
chyutopia from thumbsup.in.th

คุณ chyutopia ชวนคิดว่า “ในขณะที่หลากหลายสื่อ หลากหลายกระแสต่างก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการเติบโตของการโฆษณาออ นไลน์ และผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุนบนช่องทางเหล่านี้ นักโฆษณาและแบรนด์ต่างๆ ก็เริ่มหันมาทุ่มเม็ดเงินจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ให้กับโลกไซเบอร์เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ แต่ในขณะที่ทุกคนต่างพยายามมองหา “เครื่องมือ” บนโลกออนไลน์ที่ทันสมัยและมีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่โต หลายๆ คนกลับมองข้ามการเลือกใช้เครื่องมือใน “พื้นที่ที่เหมาะสม” กับ กลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งนั่นจึงเป็นที่มาของการสูญเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้กับการโฆษณาที่ไม่ ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ และในบางครั้งอาจจะเลวร้ายจนทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นลบกับแบรนด์หรือสินค้าไป ด้วยซ้ำ”
ชวนคิดต่อว่า “หากลองนั่งนึกกันเล่นๆ การที่จะเลือกลงโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี เราอาจจะแค่หันมาตอบคำถามที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Who? (ใครคือกลุ่มเป้าหมาย) What? (สื่อสารด้วยข้อความอะไรดี) Where? (เลือกช่องทางไหนดีที่ให้ผลลัพธ์ทีี่ดีและคุ้มค่าที่สุด) When? (ประชาสัมพันธ์เวลาไหนถึงจะเหมาะสม) How? (จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างไรและวัดผลอย่างไร)?”

4w1h : who, what, where, when, how

http://thumbsup.in.th/2012/01/online-ads-waste-us-12bl/

วิธีการตอบข้อสอบแบบอัตนัย

วิธีการตอบข้อสอบแบบอัตนัย

checklist
checklist

แบบที่ 1 การตอบคำถามที่ต้องอธิบาย
ตัวอย่างคำถาม
1. ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนอย่างไร
ตัวอย่างคำตอบ
ภาษาพูดมีลักษณะแตกต่างจากภาษาเขียนทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
1.1 ภาษาพูดมีการใช้ภาษาท่าทาง และสถานการณ์แวดล้อมประกอบ
เพื่อช่วยขยายความให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำพูดได้ดีขึ้น
ส่วนภาษาเขียนจะไม่มีส่วนดังกล่าว และอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ชัดเจนเท่ากับภาษาพูด
1.2 ภาษาพูดมักออกเสียงไม่ตรงตามรูปเขียน มีการย่อคำ หรือกร่อนคำ
ส่วนภาษาเขียนจะเขียนตรงตามรูป และเขียนคำเต็มที่สื่อให้ได้ความหมายอย่างครบถ้วน
เช่น เดี้ยน เม้น หมอชิต เป็นต้น
1.3 ภาษาพูดเป็นภาษาที่ใช้คำเฉพาะกลุ่ม คำภาษาปาก คำที่ต่ำกว่าภาษามาตรฐานได้
ส่วนภาษาเขียนจะใช้คำเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อ ใช้เพื่อสร้างความสมจริงใน งานเขียนประเภทบันเทิงคดี
เช่น แก็งเด็กเทพซิ่ง ศิลปินอัพยา เป็นต้น

ตัวอย่างคำถาม
2. อะไรคือสาเหตุที่ต้องมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
ตัวอย่างคำตอบ
สาเหตุที่ต้องมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
เพราะภาษาทั้งสองประเภททำหน้าที่ในการสื่อสารตามโอกาสที่แตกต่างกัน
กล่าวคือ ภาษาพูดใช้ในโอกาสทั่วไปกับบุคคลที่คุ้นเคยมากกว่าจะใช้ในแบบทางการ
เพราะภาษาพูดช่วยแสดงความรู้สึกและสร้างบรรยากาศได้ดีกว่า
ส่วนภาษาเขียนนิยมใช้ในแบบที่เป็นทางการและกึ่งทางการ
เพราะภาษาเขียนช่วยแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ติดต่อสื่อสาร

แบบที่ 2 การตอบคำถามที่ต้องแสดงความเห็น
ตัวอย่างคำถาม

ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า “มนุษย์คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น”
จงเขียนแสดงความคิดเห็นโดยให้เหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวทางการตอบ ให้ตอบเป็นย่อหน้า ดังนี้
– ย่อหน้าที่ 1 เกริ่นนำ (ตอบให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย)
– ย่อหน้าที่ 2 เหตุผลประการที่ 1 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าที่ 3 เหตุผลประการที่ 2 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าที่ 4 เหตุผลประการที่ 3 ให้เขียนเป็นประโยคใจความสำคัญ  อธิบายเหตุผล และตัวอย่างประกอบ ฯลฯ
– ย่อหน้าสุดท้าย สรุปประเด็นที่กล่าวไปแล้วให้ชัดเจน

เสนอแนะนำการเขียนคำตอบแบบอัตนัย
1. ควรตอบคำถามเรียงข้อ
ถ้าเป็นการตอบข้อสอบที่เป็นอัตนัยทั้งหมด และมีเวลาทำข้อสอบมากพอ
เพื่อให้อาจารย์ไม่สับสนในการค้นหาคำตอบว่าอยู่หน้าใด
2. ควรเขียนโจทย์ก่อนเขียนคำตอบ และระบุเลขคำถามให้ชัดเจน
ถ้าคำถามไม่เกิน 2 บรรทัด หรือเป็นคำศัพท์เทคนิค
เพื่อเป็นการย้ำการคิดในการตอบคำถามนั้น
3. ควรใช้สีเน้นคำ ขีดเส้นใต้ หรือวงกลม ให้เห็นความแตกต่าง
ถ้าตอบคำถามแนวอธิบายหรือให้เหตุผล
เพื่อเน้นให้ผู้ตรวจข้อสอบเห็นว่า คำสำคัญอยู่ที่ใดในแต่ละย่อหน้า
4. ควรใช้ปากกาสีดำ หรือน้ำเงินเป็นหลัก
ถ้าใช้ดินสอ หรือสีอื่น อาจไม่ชัดเจนหรืออ่านได้ยาก
5. ควรอธิบายให้ครบทุกประเด็นที่ถูกถาม
วิเคราะห์ว่าคำถามต้องการทราบอะไร
แล้วตอบให้ครอบคลุมที่คำถามต้องการ

อ้างอิงจาก
http://blog.eduzones.com/jybjub/44732

วิจัยชี้ พ่อกินอะไร ลูกเป็นอย่างนั้น

burning food
burning food

พ่อกินอะไร ลูกเป็นอย่างนั้น

มีประโยคยอดฮิตในโลกตะวันตกว่า เรากินอะไร เราก็เป็นแบบนั้น (You are what you eat) แต่ตอนนี้ต้องเพิ่มประโยคใหม่เข้าไปด้วยว่า พ่อเรากินอะไร (ก่อนที่เราจะเกิด) เราก็เป็นแบบนั้น

ข้างต้นคืนผลการวิจัยชิ้นใหม่ที่บ่งชี้ว่า สิ่งที่พ่อของเรากินกระทั่งเติบใหญ่ขึ้นมานั้นสามารถกระทบถึงสุขภาพของเราใน อนาคตด้วย ไม่น่าก็ต้องเชื่อ นักวิจัยได้ค้นพบว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้เป็นพ่อนั้นสามารถส่งผ่านมายังลูกๆ เพราะสิ่งนั้นได้ “แก้โปรแกรม” ยีนของเขา

การศึกษาเผยให้เห็นว่า ผลกระทบทางพันธุกรรมของกระบวนการ “เหนือพันธุกรรม” (epigenetics) ที่ซึ่งสภาพแวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตสามารถเปลี่ยนแปรยีนของเราได้อย่าง ถาวรเมื่อเราเติบโตขึ้น การผันแปรของยีนที่ว่านี้ยังสามารถส่งผ่านไปยังลูกหลานได้ด้วย นักวิทยา ศาสตร์ได้ทำการเจาะจงศึกษาผลกระทบจากการกินอาหารของฝ่ายพ่อ โดยดูว่าจะมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการพัฒนาโรคซับซ้อน เช่น เบาหวานและโรคหัวใจของลูกๆ หรือไม่

ศาสตราจารย์โอลิเวอร์ แรนโด จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ กล่าวว่า งานวิจัยของเขาจะช่วยระบุได้ว่าบุคคลใดมีความเสี่ยงสูงต่อโรค เช่น หัวใจและเบาหวาน “การได้รู้ว่าพ่อแม่ของคุณทำอะไรก่อนที่คุณจะปฏิสนธิกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ จะตัดสินว่าคุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงของโรคชนิดใด”

เขากล่าวว่า ที่ผ่านมาแพทย์มักมองพฤติกรรมของผู้ป่วยและยีนของพวกเขาเพื่อประเมินความ เสี่ยง ถ้าผู้ป่วยสูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็ง หรือถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ คนคนนั้นก็อาจได้ยีนที่เพิ่มความอ่อนไหวต่อโรคนี้ “แต่คนเราเป็นมากกว่ายีนและพฤติกรรมของเรา” ศาสตราจารย์แรนโดกล่าว “การ รับรู้ว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมชนิดใดที่พ่อแม่ของเราผ่านพ้นมาก็มีความสำคัญ เช่นกัน”

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการสืบทอดเหนือพันธุกรรม ที่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีนซึ่งไม่ได้เกิดจากการการเปลี่ยน แปลงของลำดับดีเอ็นเอที่ซ่อนเร้นอยู่ ได้ถูกส่งผ่านจากพ่อหรือแม่มายังลูกด้วย และอาจเกี่ยวพันไปถึงโรคภัยไข้เจ็บของลูก

นักวิจัยทดลองด้วยการให้อาหารหนูตัวผู้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป ส่วนกลุ่มที่สองได้อาหารโปรตีนต่ำ ขณะที่หนูตัวเมียทุกตัวถูกเลี้ยงด้วยอาหารตามมาตรฐานเหมือนกันหมด พวกเขาสังเกตเห็นว่า ลูกของหนูที่กินอาหารโปรตีนต่ำมียีนที่รับหน้าที่สังเคราะห์คอเลสเตอรอลและ ลิพิดเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อเทียบกับลูกหนูในกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงด้วย อาหารตามมาตรฐาน ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจ

การศึกษาหลายชิ้นก่อนหน้านี้ชี้แนะว่า ครรลองชีวิตของผู้เป็นพ่อสามารถส่งผลด้านพันธุกรรมกับลูกๆ แต่เราก็ไม่อาจตัดปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมเช่นกัน  “การศึกษาของเริ่มด้วยการตัดความเป็นไปได้ที่ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ หรือความแตกต่างในลำดับดีเอ็นเอ อาจส่งผลต่อสิ่งที่เป็นอยู่” ศาสตราจารย์แรนโดร่ายต่อ “และมันทำให้การสืบทอดเหนือพันธุกรรมกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน แปลงหน้าที่ของยีนอย่างชัดเจน”

กระนั้นก็ดี ศาสตราจารย์แรนโดบอกว่า เรายังไม่รู้แน่ว่าทำไมยีนเหล่านี้จึงถูกปรับแก้ หรือข้อมูลเหล่านี้ส่งผ่านมายังรุ่นต่อไปได้อย่างไร “มันสอดคล้อง กับความคิดที่ว่า เมื่อพ่อแม่หิว สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกคือกักตุนแคลอรีไว้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นประโยชน์ในบริบทของการกินอาหาร โปรตีนต่ำหรือไม่”

http://www.thaipost.net/x-cite/301210/32158

http://women.kapook.com/view20135.html

http://www.phrases.org.uk/meanings/you%20are%20what%20you%20eat.html

อีเมลของสมาชิกในองค์กร

ปัจจุบันสังเกตได้ว่า ผู้คนมักใช้อีเมลของ hotmail.com หรือ gmail.com มากกว่าขององค์กรด้วยเหตุกระแส social media

เช่น

ใช้ google doc ก็ต้องมีอีเมลของ gmail.com
จะใช้ skydrive ก็ต้องมีของ hotmail.com
จะใช้ youtube ก็ต้องมีของ gmail.com
จะใช้อีเมลระดับองค์กรที่ gmail.com ให้บริการก็ไม่ได้

แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้อีเมลขององค์กร ก็ต้องมาดูความแตกต่างใน 2 กลุ่มหลัก
1. พนักงานบริษัท
มักใช้ name@company.com
เช่น sombat.somboon@apple.com
เพราะ ชื่อบุคลากรเป็นการแสดงตัวตน เป็นการให้เกียรติผู้รับ
และมักใช้งาน เพื่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกอย่างเป็นทางการ
การใช้ชื่อสกุล ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ

2. นักเรียน/นักศึกษา
มักใช้ id@school.com
เช่น u54011001@lampang.ac.th
เพราะ รหัสนักศึกษา เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่านรหัส
อาจารย์และนักเรียน ใช้เป็นคำสำคัญในการสื่อสาร
การติดต่อในแต่ละหน่วยงาน มักใช้รหัสนักศึกษาเป็น key อย่างเป็นทางการ
การใช้ key เดียวกัน ทำให้ระบบต่าง ๆ สื่อสารไปในทางเดียวกัน
หลังสำเร็จการศึกษา หรือพ้นสภาพ จะไม่มีสิทธิใช้อีเมลเดิมต่อไป

ข่าวยุบรวมมหาวิทยาลัยก็เพื่อคุณภาพ .. อีกแล้ว

ploy 11
ploy 11

8 ธ.ค.54 ยุบรวมมหา’ลัยผุด ‘ม.กาฬสินธุ์’ แห่งแรกระบุ สกอ.ไม่มีอำนาจ-จัดตามคำขอท้องถิ่น
“พินิติ” ยัน สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งยุบรวมมหา’ลัย แต่จะดำเนินการตามคำร้องขอจากจังหวัด หรือท้องถิ่นที่เสนอเข้ามาขอยุบหรือหลอมรวม โดยทุกแห่งต้องผ่านกระบวนการตามแนวทางที่ ครม.ให้ความเห็นชอบ ระบุนอกจาก 6 จว.ยังไม่มีที่ใดขอมาเพิ่มเติม และในจำนวนนี้คาดว่า มหา’ลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ จะตั้งขึ้นก่อนเพราะตรงตามคอนเซ็ปต์
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐโดยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้นว่า วัตถุประสงค์ของการ เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการ ศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการท้องถิ่นและสังคม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะไปมีอำนาจสั่งการยุบรวมมหาวิทยาลัยใดได้ เพียงแต่ที่ผ่านมา สกอ.ได้รับเรื่องร้องขอจากทางจังหวัดหรือท้องถิ่นเพื่อขอจัดตั้งมหาวิทยาลัย ใหม่ รวมถึงการขอยุบหรือหลอมรวมหน่วยงานสถานศึกษาเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งเสนอขอรวม มหาวิทยาลัยกับสถานศึกษาของอาชีวศึกษา หรือยุบรวมวิทยาเขตที่อ่อนแอเข้าด้วยกัน เป็นต้น
แต่เนื่องจากในหลักการไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรัฐขึ้น ใหม่ เพราะจำนวนมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการรองรับนักศึกษา ได้ อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวศึกษา เพิ่มขึ้น ที่สำคัญในอนาคตจำนวนประชากรจะมีจำนวนลดลง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยใหม่ แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวมหรือยุบรวมมากกว่า ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จึงได้ตั้งคณะทำงานศึกษาหลักเกณฑ์และกำหนดหลักเกณฑ์ซึ่งขณะนี้เมื่อหลัก เกณฑ์เรียบร้อยตามขั้นตอนจึงต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.มีมติรับรองเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป
รศ.ดร.พินิติกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณายุบรวมมหาวิทยาลัยใดนั้นจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการหลอมรวม ยุบรวม ที่สำคัญต้องได้สถาบันนั้นต้องยินยอมที่จะรวมด้วยเพราะในบางครั้งผู้เสนอขอ รวมอาจจะไม่ใช้สถาบันการศึกษาเองแต่เป็นนักการเมือง ชุมชน เป็นต้น ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งระบบ มีการวางแผนเพื่อพัฒนากำลังในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดการแรงงานย้ายถิ่น ที่สำคัญต้องมีการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน อุตสาหกรรมในชุมชนในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วยเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีงบประมาณ ส่วนอื่น ๆ มาสนับสนุนนอกเหนือจากที่ได้รับจากรัฐ
“ขณะนี้มีเพียง 6 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตาก กาฬสินธุ์ ระยอง และกระบี่ ที่เสนอเรื่องเพื่อขอยุบรวม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ได้หมายความจะยุบรวมได้เลยในขณะนี้ยังต้องผ่านขั้นตอน ตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดที่มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการได้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพราะเป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเมื่อยุบรวมแล้วไม่เป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการประชุมร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่น เป็นอย่างดี และคาดว่านางบุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.จะเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว”
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000156376

6 ธ.ค.54 มติครม. เห็นชอบยุบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ-เชื่ออีก 30 ปีคนเรียนน้อยลง
วันที่ 6 ธ.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานว่า นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบหลักการข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐด้วยการยุบรวมสถาบันอุดมศึกษาตามแนว ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยคาดการณ์ว่าจากนี้ไป 30 ปี จำนวนผู้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐจะลดน้อยลง ฉะนั้นหัวใจจึงไม่ได้อยู่ที่การเปิดสถาบันการศึกษาหรือจัดตั้งมหาวิทยาลัย แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนมากกว่า ดังนั้นจึงเตรียมเสนอให้ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และเนื่องจากศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับมอบหมายให้พิจารณาข้อเสนอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ทั้งจากจังหวัด และนักการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ให้มีคุณภาพมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น และสังคมอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์ กล่าวต่อว่า หากจังหวัดหนึ่งมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายอยู่ ก็จะยุบรวมเป็นหนึ่งแห่ง เช่น
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เสนอโดยจ.ชุมพร โดยยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมม.ราชภัฏ (มรภ.) สุราษฎร์ธานี กับม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้ง ม.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดย จ.ตาก เป็นการยุบรวม ม.เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา วิทยาเขตตาก กับมรภ.กำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขอเปลี่ยนเป็นการยกฐานะของมรภ.ล้านนา วิทยาเขตตาก ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อจัดตั้งแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า 4.การจัดตั้ง ม.กาฬสินธุ์ เสนอโดย จ.กาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวม มรภ.กาฬสินธุ์ กับ มทร.อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย 5.การจัดตั้ง ม.ระยอง เสนอโดยจ.ระยอง โดยยุบรวม ม.เทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการจัดตั้งเปลี่ยนเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) 6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดย จ.กระบี่ เป็นการหลอมรวม ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ซึ่งปัจจุบันขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน โดยไม่ใช้รูปแบบการหลอมรวม ยุบรวม อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งจะทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 1 แห่ง
“วัตถุประสงค์ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อร่างนโยบายประกาศใช้ ศธ. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ต่อไป” นายอนุสรณ์ กล่าว
ต่อมาเวลา 18.30 น. นายพินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ให้สัมภาษณ์ว่า แนวทางการยุบรวมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไม่ใช่ผู้สั่งยุบรวม แต่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอเอง โดยทำเรื่องมาที่สกอ. จากนั้นสกอ. จึงตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อทำหลักเกณฑ์การยุบรวมดังกล่าว ทั้งนี้เพราะหลักเกณฑ์การตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ ได้เปิดให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีวิทยาเขตอ่อนแอในจังหวัดนั้นๆ ได้รวมกันเป็น 1 มหาวิทยาลัย ฉะนั้นถ้าจะยุบรวมได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ ความพร้อมของหลักสูตรที่จะไปเปิดใหม่ หรือหลักสูตรต้องสอดคล้องกับตลาดแรงงานในภูมิภาคท้องถิ่น เป็นต้น
“อย่างกรณีการยุบรวม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิทยาเขตชุมพร เข้าด้วยกันเป็น 1 มหาวิทยาลัยก็เป็นข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งสกอ. ต้องศึกษาก่อนว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร และก็ทำประชาพิจารณ์ต่อด้วย ส่วนประเด็นยุบรวมเพราะมหาวิทยาลัยไปเปิดศูนย์นอกที่ตั้งโดยไม่มีคุณภาพถือ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะศูนย์นอกที่ตั้งหากไม่มีคุณภาพก็ต้องปิดตัวไป หรือหากตรวจสอบว่าไม่มีคุณภาพก็สั่งยุบได้”  รองเลขาธิการ กกอ. กล่าว
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K11426487/K11426487.html
http://nationunews.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

6 ธ.ค.54 ครม.ยุบรวม 6 มหา’ลัย 7 จว. อ้างอีก 30ปีคนวัยเรียนลด เข้าเรียนน้อยลง คาดเพิ่มคุณภาพ-สนองท้องถิ่น จี้ห้ามขอเปิดมหา’ลัยเพิ่มอีก
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ครม.สั่งยุบรวมมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นำร่อง 6 แห่ง ใน 7 จังหวัด ‘ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-ตาก-ระยอง-กระบี่-กาฬสินธุ์’ อ้างอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนประชากรลดลง คาดคนเรียนมหาวิทยาลัยรัฐน้อยลง และเพิ่มความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ-ประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
เวลา 13.30 น. วันที่ 6 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอต่อที่ประชุมครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประชุมครั้งที่ 3 /2554มีการประเมินลักษณะประชากรไทยในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ.2548 อีก 30 ปีข้างหน้า พ.ศ.2578  พบว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆจนอิ่มตัวแล้วลดลง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดต่ำลง คนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐลดน้อยลง จึงมีการเตรียมการให้มีการหลวมรวม ยุบรวมสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสถาบันอุดมศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ  และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
นายอนุสรณ์กล่าวต่อว่า ความหมายของการยุบรวม หลอมรวมสถาบันการศึกษาหมายความว่า ในพื้นที่หนึ่งๆ หรือจังหวัดหนึ่งๆ จะมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งกระจัดกระจายกันอยู่ จึงยึดรวมเพียงหนึ่งแห่ง  ตัวอย่างการยึดรวม หรือหลอมรวมสถาบันการศึกษา เช่น การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร เป็นการยึดรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร รวมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร  เมื่อยุบรวมกันแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น  1 แห่ง หรือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน ที่จ.สุราษฎร์ธานี  เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้การยุบรวมหรือหลอมรวม  เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ  ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตว่า ในกรณีที่บางจังหวัดไม่ได้มีสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง แต่กลับยุบรวมกันหรือหลอมรวมกัน  คือ ไม่เคยมีมาก่อน แต่กลับจัดตั้งใหม่  ทางรัฐบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ
นายอนุสรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำที่เปิดเป็นวิทยาเขต ก็ต้องไปสอบถามว่าจะหลอมรวมด้วยหรือไม่  ถ้าทางจังหวัดเห็นด้วย ส.ส.หรือภาคีเครือข่ายภาคประชาชนเห็นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม  ความหมายคือ การยุบสองที่ให้เหลือที่เดียวให้เกิดความเข้มแข็ง แต่ไม่ได้หมายถึงการยุบตึกมารวมกัน อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนที่ผนวกกัน ส่วนชื่อของมหาวิทยาลัยก็อาจให้ทั้งสองสถาบันไปตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่มีใครยอมกัน ในกรณีนี้อาจจะตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นการยุบรวม ไม่ใช่การฉกฉวยจังหวะแอบมั่วไปเปิดสถานศึกษาใหม่
รายงานข่าวจากที่ประชุมครม.ระบุว่า นายชุมพล ศิลปะอาชา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การท่องเที่ยวและกีฬา  ให้ความเห็นด้วยต่อที่ประชุมครม.ว่าเห็นด้วยกับหลักการนี้  เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยห้องแถวเปิดขึ้นใหม่จำนวนมาก บางสถาบันการศึกษาเปิดขึ้นบริเวณใต้ทางด่วนก็มี และอีก 30 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยก็จะไม่มีคุณภาพ ซึ่งอนาคตจะทำให้คนที่จบออกมาจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นไม่มีคุณภาพด้วยเช่น กัน  พร้อมกันนี้ขอเสนอต่อที่ประชุมระบุว่า “ครม.จะไม่พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่โดยเด็ดขาด”
ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โต้แย้งว่า ไม่ควรจะใช้คำว่า  “โดยเด็ดขาด” เนื่องจากเป็นคำที่มีความหมายในทางลบ  ทั้งนี้นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่า การจะใช้คำว่า “โดยเด็ดขาด”ไม่ได้ เพราะจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80  บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม…”  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา  21 ,มาตรา 34 วรรคสาม, มาตรา 35 วรรคหนึ่ง และมาตรา 36  ซึ่งข้อสรุปในประเด็นนี้ คือ ถ้าจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่รัฐบาลจะพิจารณาโดยละเอียดเป็นกรณี พิเศษ
สำหรับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ใน 7 จังหวัดที่จะมีการยุบรวมกันคือ
1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จ.ชุมพร  เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อยุบรวมแล้วเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน จ.สุราษฎร์ธานี เสนอโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี  เมื่อยุบรวมแล้วไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสนอโดยจังหวัดตาก เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด (ปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัย 1 แห่ง
4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เสนอโดย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการยุบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ เมื่อยุบรวมแล้วจะไม่เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัย
5.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง เสนอโดยจังหวัดระยอง เป็นการยุบรวมมหาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด เมื่อยุบรวมแล้วจะเกิดมหาวิทยาลัยอีก 1 แห่ง  ซึ่งปัจจุบันแปรรูปเป็นการจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ
6.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน เสนอโดยจังหวัดกระบี่ เป็นการหลอมรวมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยบริการกระบี่ กับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่  (ปัจจุบันขอจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยของฝั่งทะเลอันดามัน ไม่ใช่รูปแบบหลอมรวม ยุบรวม แต่เป็นการจัดตั้งทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง
สำหรับสาระสำคัญของร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐโดยการหลอมรวม ยุบรวม สถาบันอุดมศึกษา คือ จากการรายงานของกระทรวงศึกษาธิการพบว่า การขยายตัวด้านจำนวนของสถาบันการอุดมศึกษาทำให้เกิดปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพ การขาดประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการกระจายตัวของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตที่เป็นทางการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงอื่นๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) สถาบันการพลศึกษา (สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข) วิทยาการทหาร (สังกัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 303 แห่ง อยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
ทั้งนี้คณะอนุกรรมการการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการหลอมรวม ยุบรวมและยกเลิกสถาบันการอุดมศึกษา  ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่จัดตั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ 2.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 3.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก  และ 4.การจัดตั้งมหาวิทยาลัยระยอง จ.ระยอง  พร้อมทั้งศึกษาแนวโน้มที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวโน้มจำนวนประชากร จำนวนนักเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา อีกทั้งข้อมูลด้านความต้องการแรงงาน
ซึ่งมีข้อสรุปว่า “โดยหลักการไม่ควรมีการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐใหม่ เนื่องจากสถาบันการอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีอยู่สามารถรองรับนักศึกษาได้ในปัจจุบัน ประกอบกันแนวโน้มในอนาคตนักศึกษาจะลดลง แต่ควรใช้วิธีการหลอมรวม ยุบรวมสถาบันอุดมศึกษา และรัฐควรสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วโดย เฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ และวิทยาเขตต่างๆเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีคุณภาพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งการบริหารทั่วไปและการบริหารวิชาการ”
ทั้งนี้จากการศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ประชากรไทยในอนาคตเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนอิ่มตัวแล้วลดลง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงและคนไทยมีชีวิตยืนยาวขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอายุของประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีในช่วงปี พ.ศ.2548-2578ลดลงถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23 ของจำนวนประชากรทั้งหมด  เหลือ 9 ล้านคนเศษ คิดเป็นร้อยละ 14  ส่วนวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 41 ล้านคน เป็น 43 ล้านคน จากนั้นจะเหลือ 38 ล้านคนในปี 2578 ซึ่งประชากรวัยเด็ก(วัยเรียน) จะลดลงอย่างต่อเนื่อง (อายุ 6-21 ปี) ลดลงจาก 16 ล้านคนในปี 2548 เหลือเพียง 11 ล้านในปี 2578
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลรายงานประจำปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงปี  2546-2552 ปริมาณนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2547 เป็นต้นมาซึ่งส่งผลต่อระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับอาชีวะศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช.มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2551
หากพิจารณาข้อมูลในอดีตจะพบว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาโดยหลอมรวมสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัด เดียวกัน 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มาจากการหลอมรวมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.นราธิวาสและวิทยาลัยการอาชีพตากใบ อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนครพนม มาจากการหลอมรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม กับวิทยาเขตนครพนมของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้แม้จะมีความก้าวหน้าแต่ก็ประสบปัญหาด้านการบริหารและงานด้านบุคลากร เนื่องจากเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ต่างสังกัดและต่างกระทรวงทำให้ไม่ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
http://www.tcijthai.com/investigative-story/1043