ศ.พิเศษ ภาวิช ขอแค่ 6 เดือนทำหลักสูตรใหม่

ผู้บริหารประเทศด้านการศึกษา
ผู้บริหารประเทศด้านการศึกษา


ปฏิรูปการศึกษา

1. ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ขอ 6 เดือน ทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ
2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา  ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน
3. รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ชี้ว่าประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ
กรุงเทพฯ *ภาวิช” ขอ 6 เดือนทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่เสร็จ ชี้จะกำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าครูต้องสอนอะไร สอนอย่างไร ขณะที่นักเรียนจะเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่ให้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแทน พร้อมเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาชาติ ขณะที่ “พงศ์เทพ” ขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปครูก่อน “สมพงษ์” เตือนต้องรอบคอบระวังพลาด ชี้เพราะประเทศผู้นำด้านการศึกษาใช้เวลาปฏิรูปหลักสูตรถึง 10-20 ปีกว่าจะสำเร็จ แต่ไทยจะใช้เวลาแค่ 6 เดือนหรือ
ศ.พิเศษภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ปรึกษา รมว.ศธ.) ในฐานะประธานกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวบรรยายเรื่อง “การปฏิรูปหลักสูตร : ประเด็นสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาไทย” ในงานประชุมระดมความคิดเรื่องกรอบแนวทางการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ. เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า หลักสูตรการศึกษาเป็นสาเหตุหนึ่งของคุณภาพการศึกษา ซึ่งหลักสูตรการศึกษาที่ดีจะต้องมีความทันสมัย มีวงจรการประเมินผลการใช้งาน มีการกำหนดระยะเวลาปรับหลักสูตรเป็นรอบๆ ขณะที่ปัจจุบันระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของเราใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งหากดูในเนื้อหาแล้วหลักสูตรดังกล่าวเป็นเพียงการปรับเล็กจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ฉะนั้นอาจบอกได้ว่าหลักสูตรที่เรายึดใช้อยู่เก่าไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ดูจะมีปัญหากับการใช้อยู่ในปัจจุบัน
ที่ปรึกษา รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า หากลงลึกในหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ.2551 จะพบว่าเป็นหลักสูตรแบบย่อ เพื่อจะเปิดโอกาสให้ครูสามารถนำความรู้ไปต่อยอดการสอนเอง หรือเป็นการออกแบบหลักสูตรที่ต้องการครูเก่ง แต่สภาพความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้น ทำให้หลักสูตรปัจจุบันไม่ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์การศึกษาดีขึ้น ขณะเดียวกันหลักสูตรปัจจุบันยังมีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนแบบหน้ากระดาน ผ่านวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 โดยเฉพาะกับนักเรียนช่วงชั้นประถมต้น ไม่เหมือนในต่างประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์การศึกษาดี อย่างประเทศฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และอังกฤษ ที่มีวิธีการบรรจุความรู้ให้นักเรียนอย่างมีการวางระบบที่สอดคล้องกับช่วงวัย อย่างช่วงชั้นประถมต้น จะเน้นเรื่องการสอนทักษะชีวิต การใช้ภาษาเป็นหลัก อาทิ วิชาวิทยาศาสตร์ จะเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นที่ผ่านการบรูณาการหลายเนื้อหาของช่วงชั้นประถมต้น และเพิ่มเป็นรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นประถมปลาย หรือช่วงชั้นที่สูงขึ้น
ส่วนโครงสร้างเวลาเรียน พบว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีชั่วโมงเรียนในห้องเรียนมากเป็นอับดับ 2 ของโลก คือระดับประถมศึกษา 1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมศึกษา 1,200 ชั่วโมงต่อปี เป็นรองประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาที่มีชั่วโมงในห้องเรียนมากสุด 1,400 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ประเทศฮ่องกงซึ่งมีคะแนนการสอบพิซาเป็นอันดับ 1 มีชั่วโมงเรียนในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี และผลวิจัยของยูเนสโกชี้ว่า ชั่วโมงเรียนในห้องเรียนที่ดีต้องอยู่ที่ประมาณ 800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น แน่นอนว่าการปฏิรูปหลักสูตรครั้งนี้จะต้องมีการปรับสัดส่วนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลดลงแน่นอน แต่ก็ยืนยันว่าไม่ใช่การลดการจัดการศึกษา เพราะจะเป็นการทดแทนด้วยชั่วโมงเรียนโครงงาน กิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
คาดว่าจะออกแบบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ได้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ส่วนแนวทางหลักสูตรครั้งนี้ เราจะลงลึกในรายละเอียดมากขึ้น อย่างครู เราจะกำหนดเลยว่าต้องสอนอะไร สอนอย่างไร หรือครูคนใดเก่งอยู่แล้ว อยากสอนนอกเหนือที่กำหนดก็สามารถทำได้ ใครไม่คิดเพิ่มก็ทำตามที่กำหนด ส่วนนักเรียนจะเรียนเนื้อหาวิชา มีชั่วโมงเรียนที่เหมาะสม โดยเราจะออกแบบไม่ทำให้การเรียนเหมือนการติดคุก” ศ.พิเศษภาวิชกล่าว
ศ.พิเศษภาวิช กล่าวทิ้งท้ายว่า การปฏิรูปหลักสูตรจะทำอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำควบคู่กันไปเป็น 5 ยุทธ ศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปครู การตั้งศูนย์  STEME ทุกจังหวัดเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ และอังกฤษ ให้โรงเรียนทั่วประเทศ การใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษา และการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. ซึ่งที่ผ่านมาเคยเสนอนายพงศ์เทพไปแล้ว ขณะที่ รมว.ศธ.ก็หนักใจ และขอจับเรื่องปฏิรูปหลักสูตรก่อน อย่างไรก็ตาม เพราะเรื่องการกระจายอำนาจก็มีผลต่อคุณภาพการศึกษา อย่างกรณีตั้งเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเขตพื้นที่ฯ ไม่รู้ว่าหน้าที่คืออะไร เพราะเราไม่กำหนดชัดเจน ทำให้เกิดการกินหัวคิวโยกย้าย การรับใต้โต๊ะเต็มไปหมด ขณะที่โรงเรียนก็เริ่มหมดความเข้มแข็งลงไปทุกวัน แต่หากเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับไม่ต้องมีเขตพื้นที่ฯ เพราะเขาให้อำนาจโรงเรียนไปเลย
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เราต้องมีการทบทวนสัดส่วนโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ ปัจจุบันเรามีชั่วโมงเรียนมาก แต่ประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกลับมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเรา ดังนั้นทัศนคติที่ว่าเรียนมากจะรู้มากก็ไม่จริงเสมอไป ทั้งนี้ หากเราสอนให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์เป็น เด็กก็สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องอื่นได้ด้วยโดยอาจไม่ต้องสอนเนื้อหานั้น อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปหลักสูตรและการปฏิรูปครูเป็นเรื่องหลักที่ตนเน้น ส่วนเรื่องปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.เป็นเรื่องเสริม ซึ่งค่อยทำเมื่อเรื่องหลักสำเร็จก็ได้
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราฯ กล่าวว่า ระยะเวลา 6 เดือนที่ตั้งเป้าทำหลักสูตรใหม่เสร็จสิ้น อยากเตือนให้ออกแบบหลักสูตรด้วยความละเอียดรอบคอบ เพราะกลัวจะพลาด อย่างประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาอันดับที่ 1 หรือ 2 ของโลก เขาทำทั้งวิจัยและพัฒนาหลักสูตรใช้เวลา 10-20 ปี ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งอยากให้นำแต่ละข้อเสนอมากำหนดขอบเขตเวลาที่จะเริ่มต้นและเสร็จสิ้นเพื่อให้เป็นรูปธรรมด้วย.

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

http://www.glongchalk.com/?p=3174
http://www.thaipost.net/news/110313/70685
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32003&Key=hotnews

ภาพที่เล่าถึงชีวิตโปรแกรมเมอร์

show the code after your debugging
show the code after your debugging

ที่เว็บไซต์ thecodinglove.com
มีภาพแนว gif animation ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว
ภาพแบบนี้ไม่แสดงผลในเว็บไซต์ social media
เพราะเขาจะแปลงอัตโนมัติเป็น .jpg หมด
แต่แสดงผลได้ใน blog พบได้กว่ามากกว่า 100 ภาพ พร้อมคำอธิบายสั้น
ดูแล้วก็นำมาเล่าในวิชาจริยธรรมทางเทคโนโลยีได้เลย

http://www.thaiall.com/article/teachpro.htm

programmer behavior in another feeling
programmer behavior in another feeling

เลื่อนแจกแท็บเล็ตปี 2556

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน

นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา 2555 อีกครั้ง เมื่อนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในประเทศไทยได้รับแจกแท็บเล็ตพีซีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน แล้วปีการศึกษา 2556 เป็นปีที่ 2 ที่จะแจกให้กับนักเรียน 2 ระดับชั้น คือ เพิ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกระทรวงศึกษาออกมาให้ข่าวในต้นเดือนมี.ค.56 ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างทำรายละเอียดความต้องการ หากกำหนดการไม่เปลี่ยนก็จะมีการส่งในช่วงปลายพ.ค. ถึงก.ค.56 ซึ่งไม่ทันส่งมอบในวันเปิดเรียน คือ 16 พ.ค.56 เพราะมียอดรวมที่จะซื้อกว่า 1.8 ล้านเครื่อง ใช้งบหลายพันล้านบาท

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027890

ไม่ทราบว่าทำไมในปี 2555 ถึงต้นปี 2556 ถึงมีข่าวการศึกษาเชิงลบออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งผลการจัดอันดับในเวทีโลกด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มอยู่ในอันดับท้าย ข่าวสอบครูผู้ช่วยที่คาดว่า 1000 จาก 2000 คนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ข่าวทุจริตสอบตำรวจ ข่าวปิดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคอีสาน และข่าวผลประเมินโรงเรียนโดยสมศ.ไม่ได้คุณภาพถึง 1 ใน 3 จากที่รับการประเมินคุณภาพ 7,985 แห่ง แต่มีผลไม่รับรอง 2,295 แห่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวเชิงลบต่อการใช้เทคโนโลยีของเยาวชน แม้สถิติที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่ใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) มากที่สุด หรือใช้แอพไลน์ (Line) ต่อเนื่องนานที่สุด ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่เด่นชัด แต่จะเป็นคำถามว่าแทนที่จะเอาเวลาไปอยู่ในเฟสบุ๊ค หรือใช้สื่อสารในหลายรูปแบบ น่าจะหันไปสนใจการศึกษา และตัวบ่งชี้ที่จะทำให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพเพิ่มขึ้นน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นำผลวิจัยมาแบ่งปันพบว่า ความเห็นของผู้ปกครองในภาพรวมมีความพอใจ และ ครูมีการใช้งานแท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนเฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 55 นาที และได้ใช้แท็บเล็ตในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาหลักมากที่สุด คือ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 56.05  สังคมศึกษา ร้อยละ 44.5 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 42.7 วิทยศาสตร์ ร้อยละ 38.1 และภาษาอังกฤษ ร้อยละ 35.5 ปัจจุบันแท็บเล็ตสำหรับเด็กมีราคาไม่ถึง 5,000 บาท ซึ่งเชื่อได้ว่าผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยซื้อหามาใช้ที่บ้าน แล้วใช้งานนานกว่าที่โรงเรียนโดยการดูแลใกล้ชิดจากผู้ปกครอง เป็นอีกกลไกหนึ่งที่สนับสนุนนโยบายการศึกษาของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2392/

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000029487

โค้ชสู่ผู้เล่น .. นิเทศศาสตร์บน Digital TV Field

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน
คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง
ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน

http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสารมวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบการบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

http://www.facebook.com/chinnagrit.ntu

ยอดพีซีอินเดียขึ้น 3% สวนกระแสทั่วโลกตก

olpc ในอินเดีย
olpc ในอินเดีย

3 มี.ค.56 เข้า zdnet.com อ่านข่าวไอที ซึ่งทั่วโลกทราบว่า อินเดียเก่งเรื่องไอทีด้วยหลายปัจจัย ข้อมูลมากมายก็สนับสนุนไปทางนั้น มาดูข่าวหนึ่งบอกว่า  “PCs enjoy revival in India as global sales dip” เข้าไปดูถึงรู้ว่าปัจจัยหนึ่งคือการแจก OLPC แก่เด็ก ๆ ในอินเดีย ต่างกับไทยที่แจก tabletpc แต่ก็มีโรงเรียนนำร่อง อย่างโรงเรียนบ้านสามขาที่ลำปาง ได้ OLPC ไปใช้มาหลายปีแล้ว เมื่อค้นข้อมูลเพิ่มเติมก็ไปพบรายละเอียดใน wikipedia ให้รายละเอียดไว้ดีมาก แต่ส่วนหัวของ wiki บอกว่า เว็บไซต์เขาติดอันดับ 5 ของโลก มีบุคลากร 150 บริการคน 450 ล้านคน แต่ตังไม่มี เพราะไม่ติดโฆษณา ไม่รับเงินรัฐบาลไหน รับบริจาคอย่างเดียว สรุปว่าขอรับความช่วยเหลือเป็นเงินบริจาค ผมว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจนะครับ แล้วนึกถึงเพลง “รอพี่ก่อน” ของ shade

http://en.wikipedia.org/wiki/One_laptop_per_child

http://www.zdnet.com/in/pcs-enjoy-revival-in-india-as-global-sales-dip-7000012011/

บริการเรียนรู้ทางไกลจากไมโครซอฟท์ (itinlife381)

microsoft office 365 on chula university
microsoft office 365 on chula university

เครื่องมือที่นำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกล (Distance-learning) หรืออีเลินนิ่ง (E-learning) มีทั้งแบบโอเพนท์ซอร์ท (Open source) แบบจำหน่าย และแบบคราว (Cloud) ซึ่งบริการแบบคลาวด์เหมาะกับผู้ใช้ หรือผู้ให้บริการที่ไม่ต้องดูแลเครื่องบริการเอง ไม่ต้องพะวงเรื่องซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร เครือข่าย หรือความปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่ง Microsoft Office 365 สามารถให้บริการโปรแกรมสำนักงานแบบออนไลน์เช่นเดียวกับ Google Apps แต่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนตามประเภทการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอนบนคลาวด์เหมาะสำหรับหลักสูตรที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบสูง และพร้อมใช้เทคโนโลยี ซึ่งบริการของ Microsoft Office 365 for education อยู่ในคลาวด์มาพร้อม Exchange Online ที่เปิดให้องค์กรมีเครื่องบริการอีเมล และ SharePoint Online ที่เปิดให้สถานศึกษามีไซต์ของตนเองที่สมาชิกสามารถร่วมกันจัดทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบริการจัดการเนื้อหาได้ และ  Lync Online ที่เปิดให้มีการติดต่อสื่อสารแบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ซึ่งทั้งหมดรวมกันเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ในประเทศไทยมีคณะเภสัชศาสตร์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำร่องจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านบริการของ Office 365 แล้ว ซึ่งบริการของไมโครซอฟท์ข้างต้นประกอบด้วยระบบสร้างเอกสาร Word, Excel, Powerpoint และ Access แล้วรับส่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การใช้ระบบอีเมลของสถาบัน ้ของดและตารางนัดหมาย ถูกจำกัดและบริการในกลุ่มองค์กรเดียวกันได้อย่างไร้รอยต่อ การสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบถามตอบ หรือสร้างเนื้อหาเพื่อการแบ่งปัน การสื่อสารผ่านมัลติวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หรือประชุมทางไกลที่เชื่อมโยงเอกสารข้างต้นพร้อมบันทึกเก็บไว้ เพื่อทบทวนย้อนหลังได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งหมดไม่ใช่ก้าวแรกหรือก้าวสุดท้ายของการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนทางการศึกษา แล้วมาติดตามว่าโลกของเราจะมีอะไรมาให้ได้เรียนรู้กันต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

+ http://www.thairath.co.th/content/edu/322771

+ http://www.nationmultimedia.com/technology/Distance-learning-made-easy-30198870.html

เว็บกระทรวงศึกษาธิการ กับภาพประกอบข่าว

ข่าวใน moe.go.th
ข่าวใน moe.go.th

28 ม.ค.56 เวลาอยู่บ้าน ก็มักใช้เวลาว่างเปิดเว็บไซต์เพราะความอยากรู้อยากเห็นเรื่อยเปื่อยของมนุษย์ ซึ่งหนึ่งในเว็บไซต์ที่เข้าไปอ่าน คือ กระทรวงศึกษาธิการ คงเพราะอาชีพเกี่ยวข้องกับกระทรวงนี้มากที่สุด เนื่องจากมหาวิทยาลัย คณะวิชา หรือหลักสูตร ก็ล้วนมีต้นสังกัดที่เรียกว่ากระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับการศึกษาก็จะสะท้อนผลการจัดอันดับก็ล้วนสะท้อนว่าเราอยู่อันดับท้าย เด็กไทยอ่านน้อย หรือนักวิชาการที่ผมรู้จักก็จะเขียนข่าวพาดพิงกระทรวงนี้เสมอ
เมื่อเข้าไปในเว็บของกระทรวง ก็มักจะติดตามข่าวสาร เพราะมีเรื่องใหม่มาให้อ่านตลอด ช่วงต้นปี 2556 พบหัวข้อ “ข่าวเด่นประเด็นร้อน” ก็จะเข้าไปในส่วนอ่าน “ทั้งหมด” เมื่อเข้าไปก็สงสัยในความผิดปกติอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร มาวันนี้นึกออกว่า ที่แปลกไปกว่าปกติ คือ คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” ซึ่งคาดหมายต่อไปได้ว่า อันที่จริงผู้พัฒนาระบบเตรียมให้ ผู้เขียนข่าวเป็นผู้อัพโหลด เพิ่มภาพประกอบข่าวเข้าไปได้ เห็นเว็บข่าวต่างประเทศอย่าง cnn.com หรือ bbc.com  หากไม่มีภาพก็จะปรากฎข้อความข้างต้น แต่ที่ผ่านมาคงไม่มีภาพ จึงไม่พบภาพประกอบข่าว พบก็แต่คำว่า “ไม่มีรูปภาพ” เป็นกรณีศึกษาที่จะไปเล่าให้นักศึกษาฟังได้
http://www.moe.go.th/moe/th/news/index.php?Key=hotnews

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.

รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์

การบรรยายในหลักสูตร Executive MBA มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 26 มกราคม 2556 เวลา 9.00 -12.00น.

โดยสุดยอดวิทยากร คือ รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ กลต.
คำว่า กลต.= ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งชาวไทยมากมายประสบความสำเร็จด้านทรัพย์สิน
จากการเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้จำหน่วยเยอะมาก
ที่มหาวิทยาลัยมีห้องสมุดโซนของ SET ให้อ้างอิงจำนวนหนึ่ง
ช่วงปลายเดือนมกราคม 2556 ตลาดกำลังผันผวน
ท่านต้องมีอะไรดี ๆ มาเล่าให้ฟังแน่นอน

ผลงานส่วนหนึ่ง
1. “ศักยภาพไทยในเวทีการแข่งขันโลก”
รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกัน
และอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารหารศาสตร์
http://e-masscom.com.www.readyplanet.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=31758&Ntype=0
จากรายการ “ชั่วโมงเศรษฐกิจ” สถานีวิทยุจุฬาฯ
F.M.101.5 MHz. http://www.curadio.chula.ac.th
(25 พ.ย.2545 09.15.-09.30 น)

2. รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ / USAคุมเข้มสถาบันการเงิน F.M.101.50
http://77.nationchannel.com/playvideo.php?id=76676

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

งานแสดงเปิดตัว กีฬา อพร. ปีการศึกษา 2555

ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ ชุมพล พรประภา มหาวิทยาลัยเนชั่น มีงานเปิดตัว กีฬา อพร.สัมพันธ์ เป็นการรวมพลังของสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง ทั้งสิ้น 11 สถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง, วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง, วิทยาลัยการอาชีพเถิน, วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ, โรงเรียนลำปางพาณิชการและเทคโนโลยี, สถาบันการพลศึกษาลำปาง และมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 19 มกราคม 2556

5 คำแนะนำในการพัฒนาการศึกษา

learning curve by country
learning curve by country

ปลายปี 2555 มีรายงานใน pearson ว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ
โดยประเทศฟินแลนด์อยู่อันดับ 1 ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นผลการจัดอันดับของบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน”
แล้วมีคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับประเทศ 5 ข้อ
ผมรู้สึกว่าถ้าเป็นผู้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาก็ควรจะอ่านไว้สักหน่อย ถ้าไม่ใช่จะอ่านไว้ .. ก็ไม่เสียหาย
http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

5 บทเรียน สำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษา
Five lessons for education policymakers

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
1. There are no magic bullets: The small number of correlations found in the study shows the poverty of simplistic solutions. Throwing money at education by itself rarely produces results, and individual changes to education systems, however sensible, rarely do much on their own. Education requires long-term, coherent and focused system-wide attention to achieve improvement.

2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
2. Respect teachers: Good teachers are essential to high-quality education. Finding and retaining them is not necessarily a question of high pay. Instead, teachers need to be treated as the valuable professionals they are, not as technicians in a huge, educational machine.

3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
3. Culture can be changed: The cultural assumptions and values surrounding an education system do more to support or undermine it than the system can do on its own. Using the positive elements of this culture and, where necessary, seeking to change the negative ones, are important to promoting successful outcomes.

4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
4. Parents are neither impediments (ผลักดัน) to nor saviours (ผู้ไถ่บาป) of education: Parents want their children to have a good education; pressure from them for change should not be seen as a sign of hostility but as an indication of something possibly amiss in provision. On the other hand, parental input and choice do not constitute a panacea. Education systems should strive to keep parents informed and work with them.

5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต
5. Educate for the future, not just the present: Many of today’s job titles, and the skills needed to fill them, simply did not exist 20 years ago. Education systems need to consider what skills today’s students will need in future and teach accordingly.

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/