คนที่โชคร้ายคือตัวลูกน้อย

ฟังเรื่องราวของเพื่อนบ้านในหมู่บ้าน
เป็นเรื่องราวของลูกน้อยทั้ง 7 คน ในวัยยังไม่หย่านม
ซึ่งเป็นของสามีภรรยาคู่หนึ่ง .. ปกติยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน

แล้วนึกไปถึงเรื่องราวของ สตีฟ จ็อบส์ กับ จอห์น สคัลลีย์
ที่รักกันชื่นมื่นราว 2 ปี แล้วก็ต้องหย่าร้างกันไป (พ.ค.83 – 11 เม.ย.85)

กลับมามองความรักของสามีภรรยาคู่นี้ ที่มีลูกร่วมกัน 7 คน
แล้ววันหนึ่งก็เกิดอุบัติเหตุทางความรัก ทำให้ต้องแยกทางกัน
นึกถึงเพลงบาปบริสุทธิ์ ของ เล็ก คาราบาว
ดังประโยคที่ว่า “อันคนเราหญิงชายทั้งหลายแหล่ ต่างมีดีมีแย่อยู่พอ ๆ กัน
.. คนที่โชคร้ายคือตัวลูกน้อย

โบราณว่า “ทุกคนต่างไม่ผิด แต่ความคิดเราต่างกัน
มีหลักอยู่หลายข้อครับ ที่มนุษย์ยึดถือ แล้วสามีภรรยาคู่นี้
ก็คงมีหลักของตนเอง ทำให้ต้องแยกย้ายกันไป
แต่ถ้านึกถึง พรหมวิหาร 4 ข้อหนึ่ง
ลูกน้อยก็คงไม่โชคร้าย อย่างในเนื้อเพลง

สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก (itinlife330)

asia statistic
asia statistic

17 ก.พ.55 มีโอกาสฟัง คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ เจ้าพ่อสื่อเครือเนชั่น เล่าถึงความเป็นมาของสื่อในอดีต ซึ่งใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างคน ไปถึงประเภทของสื่อเพื่อใช้สื่อสารกับมหาชน และแนวโน้มของสื่อในอนาคต พร้อมนำเสนอข้อมูลเชิงสถิติ หรือสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานสื่ออย่างมืออาชีพ มีศัพท์ 2 คำที่ชวนให้ตระหนัก คือ below the line และ above the line โดยสื่อประเภทแรกถูกใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้ตรงกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และเป็นไปได้ว่าอาจใช้งบประมาณสูงกว่าสื่อหลัก แต่ถึงอย่างไรก็ยังทิ้งสื่อหลักไปไม่ได้

สื่อหลักหรือสื่อแบบ above the line คือ สื่อที่ใช้สร้างการรับรู้ในตราสินค้า เผยแพร่ในวงกว้างในระยะเวลาสั้นอย่างรวดเร็ว มักใช้โฆษณาแนะนำสินค้า อาทิ โทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา ส่วนสื่อรอง หรือสื่อแบบ below the line คือ สื่อที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง มักเน้นการสร้างกิจกรรมกับลูกค้า (Event) มีผลให้ลูกค้าจดจำสินค้าจากประสบการณ์ที่ได้ร่วมกิจกรรม (Road Show) อาจเป็นการออกนิทรรศการแนะนำสินค้า เปิดบูทให้ทดลองสินค้า หรือจัดกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ แต่สื่อทั้งสองแบบจะต้องดำเนินควบคู่กันไป เพราะกฎทางการตลาดมี 2 ข้อ คือ ผู้บริโภคคือเจ้านาย ถ้าผู้บริโภคผิดให้ย้อนกลับไปดูข้อแรก ดังนั้นการใช้สื่อที่หวังผลทางการตลาดจำเป็นต้องเลือกใช้อย่างสมดุล เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

ข้อมูลทางสถิติปี 2011 เกี่ยวกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าโลกของเราประชากรมากกว่าหกพันเก้าร้อยล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสองพันสองร้อยล้านคน คิดเป็นร้อยละ 32 ของประชากรโลก แต่ประเทศไทยมีประชากรมากกว่าหกสิบหกล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าสิบแปดล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27 ของประเทศ ซึ่งยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ถ้าเปรียบเทียบในระดับทวีปแล้ว ทวีปเอเชียใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 26 แต่ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปออสเตรเลียใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 60 ประเทศมาเลเซียใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 60 ประเทศกรีนแลนด์ และไอซ์แลนใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 90 ดูจากสถิติแล้ว ประเทศไทยคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าประชาชนจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกินร้อยละ 50 ซึ่งข้อมูลทางสถิติทำให้เรารู้ตำแหน่งของตนเองในประชาคมโลก

http://www.internetworldstats.com/stats3.htm
http://www.thaiall.com/topstory/