tweet มาก อาจทำสมาธิสั้น .. จริงหรือ

การทวิต หรือการรับส่งข้อความอันจำกัดปริมาณมาก โดยไม่มีการประมวลผล จะส่งผลทำให้สมาธิสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เช่นที่ปรากฏในงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์

ในยุคที่การไหลบ่าของเทคโนโลยีถาถั่งเข้าใส่ ผู้คน ตั้งแต่อินเทอร์เน็ต เอสเอ็มเอส ไฮไฟว์ มาถึงยุคทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และแบล็กเบอร์รี่ จนก้าวตามแทบไม่ทัน มีงานวิจัยหนึ่งที่ชี้ว่าการเล่นสื่อไอทีเหล่านี้ หากไม่มีการประมวลผลแล้ว จะมีผลต่อการพัฒนาความจำ อันส่งผลต่อเนื่องทำให้สมาธิสั้นได้

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ ดร.เทรซีย์ อัลโลเวย์ (Dr.Tracy Alloway) นักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านความจำระดับใช้งาน (Working Memory) เป็นความจำระยะสั้นชนิดหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง (University of Stirling) ประเทศสกอตแลนด์ ที่ฝึกเด็กที่เรียนช้าให้มีความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้นและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ มีพัฒนาการความจำระดับใช้งานที่ดีขึ้น โดยงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่ากระบวนการจำต้องมีทั้ง การจำ และ การประมวลผล

นอกจากนี้ งานวิจัยยังครอบคลุมไปถึงสังคมออนไลน์ในยุค 2009 ด้วย กรณีนี้การเล่นเกมซู โดกุ และการอัพเดทเฟซบุ๊ก จะใช้การประมวลผลต่างกับการเล่นทวิตเตอร์ และ ยูทู้บ ตลอดจนการส่งข้อความทั่วไปเป็นการได้ข้อมูลอย่างรวบรัดและเข้ามาเป็นปริมาณมาก ไม่ก่อให้เกิดการประมวลผล จึงไม่เกิดการพัฒนาความจำ ตรงกันข้ามข้อมูลปริมาณมากยังส่งผลให้สมาธิสั้นลง และทำให้สมองไม่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ทวิตเตอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม 2549 เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก ผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อระบุว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือทวีต (tweet) โดยข้อความอัพเดทที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์ จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ได้หลายช่องทาง ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมจากสังคมออนไลน์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่นและคนทำงาน

สุกรี พัฒนภิรมย์ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีไทยกริดแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญทวิตเตอร์ ไม่เชื่อว่าการเล่นทวิตเตอร์จะมีส่วนทำให้สมาธิสั้น สาเหตุของสมาธิสั้นอาจเกิดจากนิสัยดั้งเดิมตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ ที่ถูกยัดเยียดให้เรียนเยอะ หรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ตลอดจนการดูโทรทัศน์ที่ถูดยัดเยียดด้วยข้อมูลที่เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว

“เวลาที่ผมต้องการสมาธิ ผมก็มีสมาธิอยู่กับมันได้นะ ส่วนงานวิจัยที่บอกว่าเล่นทวิตเตอร์แล้วสมาธิสั้น ผมว่ามันไม่เกี่ยวกัน หากจะสมาธิสั้นก็คงเริ่มตั้งแต่เรามีเพจเจอร์แล้ว ในมุมกลับกันผมว่าข้อความสั้นๆ ทำให้เราต้องใช้สมาธิในการอ่านให้ทัน แถมข้อความสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อสื่อสารกันเร็วดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองทันทีหรือไม่”

ตรงกันข้าม สุกรีกลับแสดงความเป็นห่วงการใช้ บีบี หรือแบล็กเบอรี่ (Black Berry : โทรศัพท์มือถือรุ่นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้) มากกว่าการเล่นทวิตเตอร์ เพราะสร้างความคาดหวังให้มีการตอบสนองทันที หากไม่มีการตอบสนองก็อาจนำไปสู่การทะเลาะได้ เมื่อเราส่งข้อความไปทางบีบี จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าได้รับหรือยัง อ่านหรือยัง แล้วเหตุใดถึงไม่ตอบกลับมา จะสร้างความหงุดหงิดจนนำไปสู่การทะเลาะกันหลายรายแล้ว

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มองว่า ปัจจุบันผลกระทบจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เด็กไทยสมาธิสั้นมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น ยังรวมถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การแชทเอ็มเอสเอ็นด้วย เนื่องจากธรรมชาติของเทคโนโลยีมันจะเปลี่ยนแปลงความสนใจไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คนเรามีความสามารถ หรือสมาธิในการแยกแยะข้อมูลได้ลดน้อยลง

การใช้ไอทีในรูปแบบนี้จะทำให้สมองเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ กระบวนการตอบโต้ไม่เป็นระบบ ดังนั้นจึงมีแนวคิดใหม่ที่จะไม่เอาระบบไอทีเข้าไปติดตั้งอยู่ในห้องเรียน ระดับอนุบาล เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องเสริมสร้างสมาธิ รู้จักรอคอย รู้จักแยกแยะ ควรเน้นการอ่านและการเขียนมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสิ่งใหม่ๆ มาทดแทนเสมอ นพ.ยงยุทธ จึงแนะนำว่า ควรสร้างภูมิต้านทานในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ด้วยการลดการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิง แต่เน้นเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น หากเด็กใช้ไอทีเพื่อความบันเทิง ผู้ปกครองต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กำหนดเวลาเล่นให้ชัดเจน หากเป็นชั้นประถมก็วันละครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ที่สำคัญไม่ควรให้เยาวชนใช้คอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนตัว เพราะอาจเข้าถึงเรื่องทางเพศ หรือความรุนแรงได้

“การดูแลวัยรุ่นเรื่องการใช้ไอที ผู้ปกครองต้องกำหนดกติกา และส่งเสริมให้ทำกิจกรรมทดแทน เช่น เข้าร่วมกิจกรรมวงโยธวาทิต จะทำให้เด็กสนใจไอทีน้อยลง เมื่อได้ทำกิจกรรมอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการและมีสมาธิมากขึ้น” นพ.ยงยุทธ กล่าว

เช่นเดียวกับ ดร.สุภาพร ธนะชานันท์ อาจารย์จากสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (มศว) ยอมรับว่า ผลการวิจัยในต่างประเทศชี้ให้เห็นว่า สื่อรูปแบบต่างๆ มีอันตรายต่อเด็ก แต่สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กไม่ถูกสื่อครอบงำทำอันตรายได้ หากเด็กคนนั้นมีจิตใจ ความคิดแยกแยะสิ่งผิดถูกได้ และมีสิ่งแวดล้อมที่คอยปกป้องพวกเขา มีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลและกำหนดเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต หากไม่มีใครควบคุมเด็กสามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ตลอดทั้งวัน อาจส่งผลเสียต่อเด็กได้

“ไม่โทษสื่อนะที่ทำให้เด็กได้รับผลกระทบต่างๆ แต่จะโทษผู้ดูแลสื่อมากกว่า อย่างที่อเมริกาเด็กๆ ของเขาจะไม่มีโอกาสได้เข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เขาจะห้ามจริงๆ มีการบล็อกไว้เลย ส่วนเด็กก็จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ที่จะไม่เข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม แตกต่างกับเมืองไทยมาก” ดร.สุภาพร กล่าว

อย่างไรก็ดีผลการวิจัยที่อ้างถึงการเล่น ทวิตเตอร์ทำให้สมาธิสั้นนั้น ดร.สุภาพร บอกว่า การจะทำให้เชื่อได้ว่าคนมีสมาธิสั้นจากการเล่นทวิตเตอร์จริง หรือไม่ ต้องมีการทดลองก่อน คล้ายๆ กับการใช้โทรศัพท์ที่ถูกคาดเดาว่าทำให้สมาธิสั้น ซึ่งอาจไม่เป็นเรื่องจริง และเชื่อว่าเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นล้านๆ คนในประเทศไทยไม่ได้สมาธิสั้นทุกคน แต่อาจเป็นคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

สมาธิสั้น เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ อาการสมาธิสั้นในเด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ จะแสดงอาการไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้

สำหรับอาการที่พบในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปมี 3 กลุ่มอาการ คือ 1.ไม่มีสมาธิ ทำผิดพลาดสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ทำงานช้า หากเป็นสิ่งที่สนใจมากๆ เช่น วิดีโอเกมหรือรายการโทรทัศน์ ก็อาจตั้งใจดูเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องได้ 2.อาการอยู่ไม่สุข ชอบเดินไปมาในห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ 3.ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ มักพูดมาก พูดแทรก รอคอยไม่เป็น

http://www.tlcthai.com/facebook/twitter-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%86-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88-%E0%B8%97/

มีจริงหรือ .. กับมนุษย์อย่างสตีฟ

reality distortion field
reality distortion field

สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field)
คือ การสร้างพื้นที่ที่ไม่มีจริงบนความ เชื่อว่าเป็นจริง

… พบในบทที่ 11 หนังสือสตีฟ จ็อบส์ โดยวอลเตอร์ ไอแซคสัน
เพราะสตีฟพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
โดยเขาคิดบนฐานความไม่เป็นจริง อาศัยความเชื่อของตนเองเป็นใหญ่
จนทำให้คนอื่นคล้อยตาม
คำนี้พบในละครทีวีเรื่อง Star Trek
ข้อดีของความคิดแบบนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมโดดเด่นที่โลกต้องชื่นชม

ทำให้ผมนึกคำว่า
ถ้าจะหลอกศัตรู ก็ต้องหลอกพวกเดียวกันให้ได้ก่อน โดยเฉพาะตนเอง
หรือ
ตอบไม่ตรงคำถาม เพราะน้ำเต็มแก้ว จึงไม่สามารถรับเพิ่ม
http://elemris.com/reality-distortion-field-for-android/

มีจริงหรือ .. กับมนุษย์แบบนี้

สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field)
คือ การสร้างพื้นที่ที่ไม่มีจริงบนความ เชื่อว่าเป็นจริง

พบในบทที่ 11 หนังสือสตีฟ จ็อบส์ เพราะสตีฟพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
โดยเขาคิดบนฐานความไม่เป็นจริง อาศัยความเชื่อของตนเองเป็นใหญ่
แล้วทำให้คนอื่นคล้อยตาม
คำนี้พบในละครทีวีเรื่อง Star Trek
ข้อดีของความคิดแบบนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมโดดเด่นที่โลกต้องชื่นชม

ทำให้ผมนึกคำว่า
“ถ้าจะหลอกศัตรู ก็ต้องหลอกพวกเดียวกันให้ได้ก่อน โดยเฉพาะตนเอง”
หรือที่เขาพูดว่า
“ตอบไม่ตรงคำถาม เพราะมีอะไรในใจแล้ว จึงไม่สนใจสิ่งที่เข้ามา”
หรือ
“การคิดว่าตนถูก บนสถานการณ์ที่คิดว่าใช่ โดยไม่ฟังความจริงที่เกิดขึ้น”

ความคิดเรื่องญาณหยั่งรู้ของสตีฟ จ็อบส์

จากหนังสือ steve jobs by walter isaacson
บทที่ 4 หน้า 54 “Atari และ อินเดีย”
“วิธีคิดแบบใช้เหตุผล ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมากับมนุษย์ มันเกิดจากการเรียนรู้ และเป็นความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของอารยธรรมตะวันตก คนในหมู่บ้านชนบทอันห่างไกลในอินเดีย ไม่มีใครเรียนเรื่องแบบนี้ เขาเรียนเรื่องอื่น ซึ่งบางทีก็มีค่ามาก แต่บางทีก็ไม่มีประโยชน์เลย นั่นคือพลังแห่งสัญชาตญาณและปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ”

“The people in the Indian countryside (ชนบท) don’t use their intellect (ปัญญา) like we do, they use their intuition (ญาณหยั่งรู้) instead, and their intuition is far more developed than in the rest of the world. Intuition is a very powerful thing, more powerful than intellect, in my opinion. That’s had a big impact on my work.”

จากประโยคข้างต้น
ผมว่า สตีฟ จ็อบส์ เห็นการพัฒนาญาณหยั่งรู้ของคนตะวันออก มากกว่าแค่ปัญญา หรือการใช้เหตุผลอย่างที่คนตะวันตกใช้

intuition
intuition

http://articles.economictimes.indiatimes.com/2011-10-25/news/30320340_1_delhi-belly-intuition-indian-villages

ฟุตบอลอียิปต์ แฟนบอลเสียชีวิตอย่างน้อย 73 คน

http://www.youtube.com/watch?v=ozh7P1exxXQ

2 ก.พ.55 สหพันธ์ฟุตบอลอียิปต์ ประกาศระงับการแข่งขันลีกทุกระดับอย่างไม่มีกำหนด หลังเหตุการณ์รุนแรงใน พอร์ต ซาอิด ในแมตช์ที่ อัล มาสรี พลิกเอาชนะ อัล-อาห์ลี 3-1 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยถึง 73 คน ตามรายงานเมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555
ภาพจากกล้องวีดีโอเห็นได้ว่าหลังสิ้นเสียงนกหวีด แฟนบอลกรูกันเข้ามาในสนามและวิ่งไล่กวดนักเตะ อัล-อาห์ลี โดย โมฮาเหม็ด อาโบ ไทรกา นักเตะของถึงกับบรรยายว่า นี่ไม่ใช่ฟุตบอล แต่เปรียบเสมือนสงคราม “นี่ไม่ใช่ฟุตบอลแล้ว มันเป็นสงครามและมีคนตายต่อหน้าเรา มันไม่มีการรักษาความปลอดภัย ไม่มีรถพยาบาล นี่เป็นสถานการณ์เลวร้ายที่จะไม่มีวันลืม”
แถลงการณ์ของสหพันธ์ฯ ระบุถึงการประกาศระงับการแข่งขันทั้ง 4 ดิวิชั่น หลังเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงและเศร้าเสียใจ ขณะเดียวกันก็ประกาศไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันแก่เหยื่อเคราะห์ร้ายที่เสียชีวิต ด้าน เซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานฟีฟ่าก็ไม่รีรอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายเช่นกัน
http://www.dailynews.co.th/sports/10483

[อีกข่าวมีรายละเอียดว่า]
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 74 คน และบาดเจ็บ 248 คน จากการที่แฟนบอลเลือดร้อน พากันกรูลงไปในสนามแข่งขันที่พอร์ต ซาอิด เมืองท่าติดชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อวันพุธ หลังจากทีมมาสรี ซึ่งเป็นทีมเจ้าบ้านเอาชนะทีมเยือน อัล อาห์ลี จากไคโร ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดของอิยิปต์ ด้วยสกอร์ 3-1
เหตุสลดใจในวางการลูกหนังครั้งนี้ เกิดขึ้นในทันทีที่จบการแข่งขัน เมื่อแฟนบอลของทีมอัล มาสรี ที่กรูลงไปในสนามบางส่วน เข้าไปล้อมกรอบนักเตะของทีม อัล อาห์ ลี จนกระทั่งเหตุการณ์บานปลาย เมื่อแฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้ตะลุมบอนเข้าใส่กัน
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากขาดอากาศหายใจ และมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ ขณะที่ตำรวจปราจลาจลไม่สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ จนกลายเป็นเหตุเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการลูกหนังอิยิปต์และนอง เลือดที่สุดในโลก นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา
เหตุจลาจลครั้งนี้ ยังเตือนให้ตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยที่เสื่อมสภาพในประเทศ ที่ได้ชื่อว่ามีประชากรมากที่สุดในโลกอาหรับ ท่ามกลางภาวะไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่องมาเกือบปี หลังจากอดีตประธานาธิบดีฮอสนีย์ มูบารัค ถูกโค่นอำนาจในเหตุลุกฮือขึ้นประท้วงต่อต้านเขา อันเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์ “อาหรับสปริง ”
จากการสันนิษฐานในเบื้องต้น คาดว่าสาเหตุของการจลาจลมาจากการที่ทั้งสองทีม ต่างก็เป็นทีมดังของอิยิปต์และแฟนบอลต่างก็เป็นศัตรูคู่อริกันมายาวนาน รวมถึงกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนามมีน้อยเกินไป ไม่อาจรับมือกับแฟนบอลที่บุกลงไปในสนาม ขว้างปาก้อนหินพลุไฟและขวดเข้าใส่กัน
มีรายงานด้วยว่า การแข่งขันของคู่สุดท้าย ระหว่างทีม อัล อิสไมย์ลี กับทีมซามาเล็ค ถูกระงับไป เพื่อไว้อาลัยให้กับเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ทำให้แฟนบอลในกรุงไคโร ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน เกิดความไม่พอใจ และก่อเหตุรุนแรงด้วยการจุดไฟเผาสนามหญ้า ภายในสนามกีฬา เพื่อประท้วง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ดับไฟได้ก่อนจะเกิดความเสียหายมากขึ้น
เหตุจลาจลที่เกิดจึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความผันผวนทางการเมือง แต่ก็นำมาซึ่งความวิตกต่อศักยภาพของตำรวจ ในการรับมือกับฝูงชน ตำรวจปราบจลาจลในเครื่องแบบสีดำ พร้อมโล่ห์และหมวกส่วนใหญ่ในจำนวนหลายร้อยนายที่ยืนเรียงแถวกันอยู่ ไม่ได้ทำอะไรตอนที่แฟนบอลเข้าปะทะกันซึ่งบางคงกวัดแกว่งของมีคมเข้าใส่กัน ที่เหลือขว้างปาไม้และก้อนหิน
ภาพที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ ได้แสดงให้เห็นนักเตะของทีม อัลอาห์ลี ต้องวิ่งหนีตายเข้าไปยังห้องพักนักกีฬา ในขณะที่แฟนบอลหลายร้อยคนวิ่งเข้าตะลุมบอนแลกหมัดกัน มีผู้ชายหลายคน ได้เข้าไปช่วยผู้จัดการทีมที่กำลังโดยรุมสกรัม โดยที่ตำรวจไม่ได้ทำอะไร สถานีโทรทัศน์ของทางการได้ขอรับบริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กองทัพส่งเครื่องบินไปอพยพคนที่อาการหนักไปรักษาที่กรุงไคโร
นายโมฮัมเหม็ด อิบราฮิม รัฐมนตรีมหาดไทย เปิดเผยว่า แฟนบอลของทีม อัล มารีย์ ที่กรูลงไปในสนามมีมากถึง 13,000 คน พวกเขากระโดดข้ามแนวกั้น และทำร้ายแฟนบอลของทีมอัล อาห์ลี ที่มีราว 1,200 คน
ชารีฟ อิครามี ผู้รักษาประตูของทีมอัล อาห์ลี ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงครั้งนี้ เปิดเผยต่อสถานีโทรทัศน์  โอเอ็นทีวี ของเอกชนว่า ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บถูกพาเข้าไปในห้องพักนักกีฬา นักเตะต่างเห็นคนกำลังจะตายต่อหน้าต่อตา หลายคนตัดสินใจที่จะเลิกเล่นฟุตบอล พวกเขาไม่มีกำลังใจที่จะเล่นอีกต่อไปเมื่อพบว่ามีคนเสียชีวิตถึง 70 คน
ส่วนโมฮัมหมัด อาบู ไทรก้า นักเตะของทีมอัล อาห์ลี ระบุว่า ตำรวจได้ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้เข้าแทรกแซง ผู้คนกำลังจะตาย โดยมีใครทำอะไรเลย มันเหมือนสงครามไม่มีผิด ชีวิตคนราคาถูกขนาดนี้เลยหรือ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอ้างว่า กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งไม่ให้ตำรวจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพลเรือนอีก หลังจากเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงเมื่อเดือนพฤศจิกายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน
นอกจากนี้ เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น ยังได้เน้นถึงบทบาทของแฟนบอลในอิยิปต์ต่อการประท้วงทางการเมือง จากการที่กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ อุลทรัส มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติและชุมนุมต่อต้านการปกครองของทหาร บทเพลงร้องต่อต้านตำรวจ ถ้อยคำสาปแช่ง เป็นตัวแทนแห่งความเกลียดชังของชาวอิยิปต์ที่มีต่อกองกำลังรักษาความมั่นคง ที่พวกเขามองว่าใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่มิชอบและแพร่หลายอย่างมากในยุค ของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค
อิยิปต์ ได้ชื่อว่า ไม่มีภูมิคุ้มกันเหตุรุนแรงในกีฬาฟุตบอล เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์อัปยศ เมื่อตำรวจที่ไร้ประสิทธิภาพ ยืนรักษาการณ์อยู่ในสนามไคโร อินเตอร์ เนชั่นแนล สเตเดี้ยม ไม่ได้เข้าระงับเหตุตอนที่แฟนบอลชาวอิยิปต์กรูลงไปในสนาม และทำร้ายแฟนบอลชาวตูนิเซีย ระหว่างเกมการแข่งขันคู่ของทีมซามาเล็ค และทีมจากตูนิเซีย ในศึกฟุตบอลแอฟริกัน แชมเปี้ยนลีค ที่กรุงไคโร
ส่วนเหตุรุนแรงล่าสุด ได้มีนักเคลื่อนไหวจำนวนมากเตรียมจะไปชุมนุมกันที่หน้ากระทรวงมหาดไทยในกรุงไคโร เพื่อประท้วงที่ตำรวจไร้ความสามารถ ไม่อาจยับยั้งเหตุนองเลือดได้ รายงานระบุว่า ในจำนวนผู้บาดเจ็บมีผู้ที่อาการสาหัส 40 คน
นายเซปป์ บลัตเตอร์ ประธานฟีฟ่า กล่าวว่า เขารู้สึกช็อคและสลดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นับเป็นวันที่มืดมนของวงการฟุตบอล นับเป็นหายนะที่ยากจะจินตนาการและไม่ควรจะเกิดขึ้น
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120202/433628/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B270%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B9%8C.html

เสื้อคอเต่า ของสตีฟ จ็อบส์

เสื้อคอเต่า
เสื้อคอเต่า

ง่าย ๆ สบาย ๆ สวมยีน และเสื้อคอเต่าแบบ steve jobs

การแต่งตัวของสตีฟ จ็อบส์ มีความเป็นเอกลักษณ์ (สังเกตเสื้อตัวนี้ จากการฟังบรรยายของ คุณสุทธิชัย หยุ่น) โดยเสื้อที่สวมเป็นเสื้อยืดสีดำแขนยาว คอเต่า และกางเกงยีนสีน้ำเงิน ในงานเปิดตัวสินค้าก็จะแต่งตัวแบบนี้ ดังที่พบได้จากคลิ๊ปเปิดตัว iPod ในปี 2001 (2544)

คุณสุทธิชัย หยุ่น บรรยายเรื่อง Steve Jobs


1 ก.พ.55 มีโอกาสฟัง คุณสุทธิชัย หยุ่น และ คุณณงลักษณ์ จารุวัฒน์ บรรยายเรื่อง Steve Jobs สุดยอดนักนวัตกรรม โดยเปิดคลิ๊ปที่เกี่ยวข้องให้ดูหลายเรื่อง สำหรับประเด็นสำคัญ ที่น่าสนใจทั้งด้านการบริหาร และการเป็นนักนิเทศศาสตร์ มีดังนี้
1. think different
2. ให้ความสำคัญกับรายละเอียด
3. ให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน (แต่ปากร้าย)
4. connecting the dots
5. simplicity
6. walter isaacson
7. 1984 Apple’s Macintosh
8. การคัดตัวอักษร (calligraphy)
9. speech at stanford university
.. etcetera