ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน

เพื่อนท่านหนึ่งพูดให้ฟังว่า “ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน” เมื่อจับความได้ ก็นำมาพิจารณาก็พบว่า ปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้งานเฟซบุ๊ค เมื่อใช้มาก ๆ เข้าก็หลงใหลถึงขั้นติดงอมแงม (คุณโน๊ต : fb เพื่อ บ่น ปฏิญาณตน อวด แอ็บแตก ทำคำคม) เหมือนที่ คุณโน๊ตอุดม พูดไว้ใน เดี่ยว 8 เรื่อง Hi5 ว่า “ถ้าบริษัทมึงเจ้งกูก็ไม่แปลกใจ” นั่นหละครับ

ความสามารถของ fb ที่เด่นและเห็นได้ชัดมี 3 บริการ
1. profile มีไว้คุยกับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อน
2. page มีไว้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบบล็อก หรือตอบข้อซักถาม
3. group มีไว้พูดคุยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน

สรุปประเด็น
1. profile มีประโยชน์ต่อการทำงานที่หวังเป้าหมายในระดับบุคคลถือว่าต่ำสุด แม้จะใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ก็ต้องเป็นเพื่อนเท่านั้น ถ้าเพื่อนในองค์กรไม่รับท่านเป็นเพื่อน ก็คงสื่อสารด้วยเฟซบุ๊คกันไม่ได้
2. page มักถูกใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรในแบบบล็อกเป็นสำคัญ แต่เปรียบเทียบกับ website ไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพคลิ๊ป ในรูปมัลติมีเดีย และอินเทอร์แอ็คทีฟได้สมบูรณ์ สามารถควบคุม header และ footer ที่ไม่มีโฆษณาของ facebook มากวนใจ มีระบบบล็อก และเว็บบอร์ดที่ควบคุมได้ และสามารถจัดการ seo ได้อย่างสมบูรณ์
3. group มีประโยชน์ในการทำงานสูงสุด แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว คือไม่เข้ามาใช้ประโยชน์ กลับเลือกใช้บริการที่ไม่ก่อประโยชน์ในการทำงานเหมือนที่คุณโน๊ตว่าไว้

ผมเชื่อว่า มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ facebook for working ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ บุคลากรต้องไม่เป็นแบบที่โน๊ตว่าไว้ และการใช้งานต้องมีการควบคุม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการใช้งานที่วัดได้


หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ
หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151022111276768&set=a.493024076767.276129.370539266767

มาร์ซูกิ อาลี คิดว่าการแต่งกายของหญิงยั่วยวนผู้ชายได้

กระโปรงสั้น miniskirt
กระโปรงสั้น miniskirt

ภาพประกอบ จากการประท้วงขององค์กรสิทธิสตรีครั้งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา พูดพาดพิงการแต่งกายของผู้หญิงและเรียกร้องให้ผู้หญิงงดสวมกระโปรงสั้นเวลา ใช้บริการขนส่งสาธารณะเมื่อ 6 เดือนก่อน (18 ก.ย.2011) ขณะที่ล่าสุดรัฐสภาอินโดนีเซียก็พยายามออกกฎห้ามส.ส.หญิงสวมกระโปรงสั้น ซึ่งได้ก่อเสียงประณามจากกลุ่มสตรีเช่นกัน

เอเอฟพี (AFP) – กลุ่มสิทธิสตรีแสดงความโกรธเกรี้ยวเมื่อวันอังคาร 6 มีนาคม 2555 หลังรัฐสภาอินโดนีเซียเผยเตรียม ร่างกฎระเบียบห้ามส.ส.หญิงแต่งกาย “ยั่วยวน” อย่างเช่นนุ่งกระโปรงสั้นมาทำงาน โดยอ้างว่าชุดแบบนั้นเป็นการเชื้อเชิญให้ข่มขืน

มีคดีข่มขืนและพฤติกรรมผิดศีลธรรมอื่นๆมากมายเมื่อเร็ว ๆ นี้ และนี่ก็เป็นเพราะว่าผู้หญิงแต่งกายไม่เหมาะสมมาร์ซูกิ อาลี ประธานรัฐสภากล่าว “ผู้หญิงแต่งกายไม่สมควรยั่วยวนผู้ชาย ดังนั้นจำเป็นต้องหยุด พวกคุณก็รู้ดีว่าพวกผู้ชายชอบอะไร การแต่งกายยั่วยวนเป็นการกระตุ้นให้พวกเขาทำสิ่งต่างๆ

ส่วน เรฟริซัล รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการครอบครัวของรัฐสภา ซึ่งเป็นหัวหอกในการผลักดันกฎระเบียบใหม่นี้บอกกับเอเอฟพีว่า “กระโปรงสั้นและชุดวาบหวิวคือการเชื้อเชิญ ส.ส.ผู้ชาย

สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่าความเคลื่อนไหวนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.สตรี 2 ราย ซึ่งแต่ก่อนแคยประกอบอาชีพนางแบบ อย่างไรก็ตามทางกลุ่มสิทธิสตรีของอินโดนีเซียแสดงความขุ่นเคืองต่อความเห็น ดังกล่าวและเรียกร้องให้หยุดสร้างภาพตัวร้ายให้แก่เหยื่อที่ถูกข่มขืน
มันน่าหัวร่อ เป็นอีกครั้งที่เรื่องนี้หลุดออกมาจากปากของบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพล ชิคกา โนยา ผู้ก่อตั้งองค์กร Action for Women Against Rape บอกกับเอเอฟพี “เราคาดหวังให้พวกเขาสร้างกฏระเบียบเพื่อปกป้องผู้หญิงจากความรุนแรง ไม่ใช่ประณามพวกเธอจากการแต่งกาย

ความเห็นของสมาชิกสภาอินโดนีเซียมีขึ้นเพียง 6 เดือนหลังจาก ฟัวซิ “โฟเก” โบโว ผู้ว่าราชการจังหวัดจาการ์ตา แสดงความคิดเห็นคล้ายๆกัน โดยบอกว่าคดีข่มขืนหลายๆครั้งบนรถมินิบัสสาธารณะของเมืองมีต้นตอมาจากการสวม กระโปรงสั้นของเหยื่อ พร้อมกันนั้นเขายังเรียกร้องให้ผู้หญิงงดสวมกระโปรงสั้นเวลาใช้บริการขนส่ง สาธารณะ
ทั้งนี้ความเห็นของเขาได้จุดชนวนการประท้วงขององค์กรสิทธิสตรีกลุ่ม หนึ่ง ที่ใช้สโลแกนว่า “กระโปรงของฉัน สิทธิของฉัน

Women’s groups expressed outrage Tuesday after Indonesia’s parliament said it would draft rules banning female lawmakers from wearing “provocative” clothing such as miniskirts to work and claimed such dress invited rape.
“We know there have been a lot of rape cases and other immoral acts recently, and this is because women aren’t wearing appropriate clothes,” house of representatives speaker Marzuki Alie said.
“Women wearing inappropriate clothes arouse men, so it needs to be stopped. You know what men are like — provocative clothing will make them do things.”
Refrizal, the deputy head of the household affairs committee, which is spearheading the new regulation, told AFP that “miniskirts and skimpy clothes are an invitation to male lawmakers”.
The move was also backed by two female house members who formerly worked as fashion models, local media reported.
Indonesian women’s rights groups said they were outraged by the comments and called for a stop to the demonization of rape victims.
“It’s ridiculous that this is again coming from the mouths of prominent people with influence,” Action for Women Against Rape founder Chicka Noya told AFP.
“We expect them to make regulations to protect women from violence, not condemn them for the way they dress.”
The comments come just six months after the Jakarta governor, Fauzi “Foke” Bowo, made similar remarks, saying that a spate of rape cases on the city’s public minibuses were triggered by victims’ miniskirts.
He urged Indonesian women to refrain from wearing miniskirts on public transport.
His remarks prompted a protest in which women yelled the slogan “My miniskirt, my right. Foke you”, referring to the governor’s nickname.
The protest was inspired by the global “SlutWalk” phenomenon, which began in Toronto last year as hundreds protested about a comment made by a police constable that “women should avoid dressing like sluts in order not to be victimized”.

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029921
http://english.alarabiya.net/articles/2012/03/06/198972.html