โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost)

tragedy of lost
tragedy of lost

รศ.เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสอนหนังสือเพื่อนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ให้อ่านหนังสือชื่อ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะเรื่องเล่า เร้าพลัง หรือ Story Telling เหมาะกับนักศึกษาทางบริหารธุรกิจอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารทุกระดับ ผมว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวก็อ่านดีครับ ที่สำคัญอ่านแล้ว อาจช่วยให้ขายดิบขายดีได้

ในหนังสือมีกรณีศึกษาที่ใช้แนวการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) แบ่งเป็น 9 บท ได้แก่  1) บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง 21-26 2) ใช้ Management Tools โดยไม่เข้าใจ 37-42 3) กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง  51-57 4) ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร 65-70 5) ตอบสนองลูกค้าไม่ได้ 77-82 6) การปฏิบัติการล้มเหลว (Bad Operation) 93-98 7) พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง 109-113 8) รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้ 121-125 9) ภาวะผู้นำล้มเหลว 133-138

ทีแรกก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือยาก .. แต่พออ่านไม่กี่หน้า ผมว่าหนังสือเล่มนี้สุดยอดจริง ๆ เหมือนเป็นตัวละครในหนังสือเลย .. อ่านแค่ชื่อบททั้ง 9 บท ผมก็ว่ายอดเยี่ยมแล้ว .. ชอบคำหนึ่งคือคำว่า “พูดเอง เออเอง” หน้า 71 ที่เล่าว่าเครื่องมือทางบริหารที่เรียกว่า inside-out กับ outside-in จะเลือกอย่างไร  หรือการอธิบายความต่างของ SWOT กับ Balanced Scorecard (BSC) หน้า 44 ว่า Swot นั้นเกิดจากสำนักคิดทางกลยุทธ์ที่เน้นสร้างกลยุทธ์จากความลงตัว แต่ BSC เน้นสร้างกลยุทธ์ให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการวางตำแหน่ง (Positioning)

สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่อง อยู่หน้า 149 เป็นกราฟ “ความสัมพันธ์ของสาเหตุแห่งความล้มเหลวขององค์กร” ว่าอะไรที่วินิจฉัยง่าย กับอะไรที่กระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร .. อ่านแล้วนึกถึง Steve Jobs ครับ

http://www.ryt9.com/s/prg/1139329
http://www.hrcenter.co.th/book_detail.php?book_id=1028
http://www.thairath.co.th/content/eco/182486
http://www.lib.ku.ac.th/index.php/2009-03-26-04-10-35/3878-tragedy-of-lost

สารสนเทศของท่านในแผนที่ (itinlife339)

ห้าแยก หอนาฬิกา
ห้าแยก หอนาฬิกา

22 เม.ย.55 ในพ.ศ.นี้ ถ้าพูดถึงแผนที่ก็คงต้องยกให้ maps.google.com เป็นเบอร์หนึ่ง ซึ่งบริษัท google กำลังพัฒนาซอฟท์แวร์ประเภทเครือข่ายสังคมที่ทำงานกับแผนที่โลก คือ Latitude Leaderboard แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมที่บูรณาการเข้ากับแผนที่โลกจนประสบความสำเร็จในขณะนี้คือ foursquare.com ที่ใช้ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System) เปิดตัวในงาน South by Southwest Interactive ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2552
หากเข้าใช้ foursquare.com ในระบบเว็บไซต์ หรือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็อาจไม่เห็นความสามารถที่แท้จริงของบริการได้มากนัก แต่ก็ยังเป็นเครือข่ายสังคมที่สามารถบอกเล่าสถานะปัจจุบัน (Status Update) ค้นหาสถานที่ในตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ชีวิตยามราตรี ร้านค้า ศิลปะ หรือกลางแจ้ง สามารถตรวจสอบสถานะของเพื่อน ๆ ในเครือข่ายได้ หากจะใช้บริการของ foursquare.com อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สื่อสารที่ระบุตำแหน่งได้ อาทิ iphone, smart phone หรือ tablet pc เพราะช่วยแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ในเวลาปัจจุบัน และพบรายชื่อเพื่อนของท่านในระแวกใกล้เคียงผ่านการแสดงผลแบบแผนที่ ดังนั้นเพื่อนของท่านก็จะพบท่านในแผนที่ได้เช่นกัน แต่ถ้าท่านไปทำงานแล้วลืมอุปกรณ์ไว้ที่บ้าน สถานะของท่านก็จะอยู่ที่บ้านเมื่อปรากฎในอุปกรณ์ของเพื่อน
สารสนเทศ (Information) คือ หัวใจของ foursquare.com เพราะการที่ท่านไปร้านอาหาร แล้วถ่ายรูปอาหารสุดโปรด แล้วบันทึกความคิดเห็นว่าดีอย่างไร เมื่อเพื่อนท่านเข้าไปในร้านอาหารเดิมก็จะสามารถสั่งตามที่ท่านได้แนะนำไว้ ในทางตรงข้ามหากท่านไม่ประทับใจ เมื่อเพื่อนได้อ่านก็จะไม่เข้าร้านนั้น แต่ไปเลือกร้านอื่นที่ดีกว่า ซึ่งเป็นการใช้สารสนเทศมาประกอบการตัดสินใจ ในด้านการทำงานของพนักงานขายที่ไปพบกลุ่มลูกค้าในพื้นที่หนึ่งก็จะบันทึกภาพกิจกรรม บทเรียน และข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม หากปีต่อมาตัวท่าน หรือพนักงานขายอีกคนเข้าไปในชุมชนก็จะใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเดิม เพื่อให้การเข้าไปครั้งใหม่มีความพร้อม และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามแผน

https://th.foursquare.com/user/26190039

https://th.foursquare.com/v/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2/4c0112059a950f479e7a08c6