กฎการใช้ จอในครอบครัว

family 1960
family 1960

http://simple.wikipedia.org/wiki/Leave_It_to_Beaver

ยุคที่หน้าจอ ทั้งโทรทัศน์ ไอโฟน ไอแพด แท็บเล็ต ล้วนดึงดูดสายตาเราไปจากเรื่องรอบตัว แต่สำหรับความสัมพันธ์ในครอบครัว การสบตา พูดคุย สร้างความสัมพันธ์ ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญ คนในครอบครัวจึงควรควบคุมการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เหมาะสม ซึ่งเรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

1. พึงระวังทุกหน้าจอ

เป็นที่ทราบกันดีว่าจอโทรทัศน์ไม่ดีสำหรับสายตาและพัฒนาการของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากกลับปล่อยให้ลูกน้อยเล่นไอแพด ไอโฟน กันได้โดยไม่จำกัดเวลา แต่หน้าจอเหล่านี้ก็เป็นอันตรายต่อสายตาและพัฒนาการของลูกน้อยเช่นกัน หากเป็นไปได้จึงไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ใช้หน้าจอเลย หรือหากจำเป็นก็ควรจำกัดเวลาและจำนวนชั่วโมงที่จะให้เด็กๆ เล่นกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้

2. สบตากันให้มากขึ้น

คงคุ้นตากันดีกับภาพทุกคนบนโต๊ะอาหารต่างคนต่างจ้องหน้าจอ หรือคนที่คุยกันโดยตายังจ้องหน้าจออยู่ แต่เมื่ออยู่กับคนในครอบครัว เราควรหันมาสบตากัน เพราะบ่อยครั้งที่การสื่อสารทางกายและสายตา สำคัญกว่าปากมากนัก และสำหรับเด็กๆ แล้ว การที่คุณพ่อคุณแม่สบตา มีทีท่าใส่ใจยามที่เขาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หรือเล่นกับเขานั้น สำคัญมาก ถือเป็นการยอมรับในตัวเขาอย่างหนึ่งทีเดียว

3. กำหนดเวลาใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์

เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้คือความเคยชิน การกำหนดเวลาสำหรับการใช้ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยจำกัดเวลาได้ดี อาจกำหนดเป็นเวลาหลังทำการบ้านเสร็จ เพื่อช่วยให้ลูกอยากทำการบ้าน และตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรจำกัดเวลาสำหรับตัวเองเช่นกัน เช่นหากลูกยังไม่หลับจะไม่แตะเครื่องมือเหล่านี้ เป็นต้น

4. พึงระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว

หากเสพติดการใช้เฟซบุ๊ก ควรระมัดระวังที่จะจัดการกำหนดคนที่จะเข้ามาดูไทม์ไลน์ของเรา หรือเข้าถึงข้อมูลของเราได้ ยิ่งเมื่อคุณมักจะโพสรูปของคนในครอบครัว ก็ยิ่งควรระมัดระวังให้มากขึ้นเป็นพิเศษ อย่าลืมว่าโลกออนไลน์จะทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณที่อาจไม่อยากให้คนไม่รู้จักได้รู้เห็นหลุดออกไปได้ ซึ่งนั่นหมายถึงข้อมูลและรูปของเจ้าตัวน้อยของคุณด้วย

5. ระวังข้อมูลที่ลูกได้รับ

แม้คุณพ่อคุณแม่จะระมัดระวังการรับข้อมูลข่าวสารของลูกน้อย แต่บางโอกาสก็ทำได้ยากยิ่ง เมื่อปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ คุณพ่อคุณแม่จึงควรอยู่ด้วยทุกครั้ง เพื่อคอยอธิบายหากเห็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และควรเลือกสื่อที่ลูกรับให้เหมาะสม โดยเฉพาะโฆษณา และละครโทรทัศน์

6. จัดที่ทางสำหรับอุปกรณ์เทคโนโลยี

หากจัดที่ที่ใช้โทรทัศน์ และอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ให้เป็นที่เป็นทาง และกำหนดไว้ว่าเมื่อออกจากบริเวณเหล่านี้จะไม่ใช้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยจำกัดเวลาและโอกาสที่ใช้ได้ดี เช่นในห้องนอนเป็นสถานที่ที่ปลอดอุปกรณ์ไฮเทค เป็นต้น

อ้างอิงบางส่วนจาก parenting.com

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000032394

แท็บเลต 1.7 ล้านเครื่อง ในงบประมาณ 1760 ล้านบาท

tablet ป.1 และ ม.1
tablet ป.1 และ ม.1

ตัวเลข 1.7 ล้านเครื่อง ถ้าราคาเครื่องละ 2,000 บาท
ก็น่าจะเกินงบไปมากกว่าเท่าตัว
งบแท็บเล็ตน้อยกว่ารถคันแรกเยอะเลย
เห็นยอดรถคันแรกน่าจะใช้งบหนึ่งแสนล้านบาท แต่งบแท็บเล็ตแต่หนึ่งพันกว่าล้านเอง

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เปิดสเป็กจัดซื้อ “แท็บเลต” ลอตใหม่ 1.7 ล้านเครื่อง รวบแจก ป.1-ม.1 ตั้งราคากลาง “ป.1-2,720 บาท” เครื่องเด็ก ม.1 ที่ “2,920 บาท” พร้อมเตรียมเปิดขายซอง 3-5 เม.ย.56 เคาะราคา 29 เม.ย.56  แบ่งประมูล 4 รอบ จับคู่แยกรายภาค สารพัดแบรนด์รุมจีบทั้ง “จีน-อินเดีย-เยอรมนี” คาดแข่งเดือด ขณะที่ “ครู ป.2” โอละพ่อเด็กหิ้วเครื่องติดตัวมาจาก ป.1 แต่ไม่มีงบฯจัดซื้อเครื่องให้ครู

น.อ.สุรพล นะวะมวัฒน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในฐานะคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายแท็บเลตเพื่อการศึกษา (One Tablet per Child : OPTC) ว่า ขณะนี้ได้สรุปสเป็กของแท็บเลตที่ต้องจัดซื้อลอตใหม่ เพื่อแจกชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 พร้อมกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดซื้อแล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นเจ้าภาพในการจัดซื้อด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)

สำหรับราคากลางในการจัดซื้อแท็บเลตเด็ก ป.1 อยู่ที่เครื่องละ 2,720 บาท ม.1 และเครื่องสำหรับครูอยู่ที่ 2,920 บาท รวมภาษีและค่าขนส่งถึงหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ โดยจัดซื้อรวมทั้งสิ้น 1.74 ล้านเครื่อง สพฐ.ได้รับมอบอำนาจในการจัดซื้อจากเจ้าของงบประมาณ 8 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักการศึกษาเมืองพัทยา และ สพฐ.เอง เพื่อจัดซื้อ

แท็บเลตให้โรงเรียนในสังกัดโดยสเป็กแท็บเลตลอตนี้หลัก ๆ เหมือนกันคือใช้หน่วยประมวลผล (CPU) ดูอัลคอร์ 1.5 GHz หน่วยความจำ (RAM) ขนาด 1 GB ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 ขึ้นไป หรือวินโดวส์ แบตเตอรี่ 3600 mAh ต่างกันที่เด็ก ป.1 มีหน้าจอ 7 นิ้ว ฮาร์ดดิสก์ 8 GB ส่วนเด็ก ม.1 และเครื่องคุณครู หน้าจอ 8 นิ้ว ฮาร์ดดิสก์ 16 GB ซึ่งเครื่องของครูมีฟังก์ชั่นเพิ่ม เช่น ช่อง HDMI มีปากกาสไตลัส พร้อม SD card ความจุ 8 GB เพิ่มให้ต่างหากซึ่งสเป็กที่สูงกว่าการจัดซื้อในปีที่แล้ว ที่เป็น CPU และเป็นแบบแกนเดียว ความเร็ว 1 GHz ความจุ RAM 512 MB ฮาร์ดดิสก์ 8 GB และหน้าจอ 7 นิ้ว ราคา 82 เหรียญสหรัฐ (รวมค่าขนส่งถึงสนามบินสุวรรณภูมิ)และจะเปิดขายซองข้อมูลสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมประมูลวันที่ 3-5 เม.ย. 2556 มีกำหนดชี้แจงข้อมูลระเบียบ และข้อกำหนดเทคนิค (ทีโออาร์) วันที่ 9 เม.ย. เปิดยื่นซองเทคนิควันที่ 17 เม.ย. และประกาศผลผู้ผ่านเกณฑ์วันที่ 27 เม.ย. ประมูลแบบ e-Auction วันที่ 29 เม.ย. และจัดพิธีลงนามในสัญญาจัดซื้อ 9 หรือ 10 พ.ค. ให้ผู้ชนะทยอยส่งแท็บเลตตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.จนครบใน 90 วันนับจากเซ็นสัญญา

“ปีนี้กระบวนการจัดซื้อแท็บเลตใช้ e-Auction ต่างกับปีที่แล้วที่ใช้การจัดหาแบบทำสัญญารัฐต่อรัฐ (G to G) เป็นการจัดหาคือสั่งผลิต ไม่ใช่จัดซื้อแบบครั้งนี้ที่ผู้เข้าประมูลทุกรายต้องนำแท็บเลตที่สมบูรณ์แล้ว 6 เครื่องมาให้ทดสอบก่อนว่าตรงตามสเป็กหรือไม่ ใช้งานกับซอฟต์แวร์และคอนเทนต์ของ สพฐ.ที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่ ที่สำคัญคือเป็นการตัดสินกันที่ราคา สเป็กที่เหนือกว่าคู่แข่งไม่มีผลถ้าราคาแพงกว่า”

ส่วนการเคาะราคาประมูลในเบื้องต้นแบ่งเป็น 4 รอบตามสัญญาที่แยกเซ็น ได้แก่ สัญญาการจัดซื้อแท็บเลตสำหรับเด็ก ป.1 ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้จำนวน 431,775 เครื่อง สัญญาจัดซื้อสำหรับเด็ก ป.1 ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 417,042 เครื่อง สัญญาที่ 3 สำหรับชั้น ม.1 ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ 416,440 เครื่อง และสัญญาจัดซื้อแท็บเลต ม.1 ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 423,333 เครื่อง โดยผู้ชนะประมูลจะลงนามในสัญญาจัดซื้อโดยตรงกับหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ เนื่องจาก สพฐ.เป็นแค่ผู้รับมอบอำนาจในการจัดซื้อเพื่อให้มีปริมาณมากพอ

ขณะที่แท็บเลตสำหรับให้คุณครูจำนวน 54,000 เครื่อง ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าต้องเปิดประมูลและทำสัญญาแยกต่างหาก หรือรวมเข้าไปในการจัดซื้อแท็บเลตแต่ละสัญญาที่แยกตามพื้นที่ แต่มั่นใจว่าการจัดซื้อครั้งนี้จะได้ราคาต่ำกว่าราคากลางแน่นอน เพราะจัดประมูลแยกเป็นรอบ ๆ ไล่ทีละสัญญา เชื่อว่าในสัญญาที่ 4 รอบสุดท้ายยิ่งได้ราคาต่ำที่สุด ซึ่งอาจได้ผู้ชนะแยกเป็น 4 ราย หรือมีแค่บริษัทเดียวก็ได้ ที่สำคัญคือเป็นการประมูลที่เปิดกว้าง ใครที่คิดว่ามีศักยภาพก็เข้ามาประมูลได้

น.อ.สุรพล เปิดเผยด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตแท็บเลตหลายรายสนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้ อาทิ ทีซีแอล, ไฮเออร์, แชมเปี้ยนเอเชีย, สโคป, อินถัง, ออลอิน แบรนด์ซังเวิร์นของเอเซอร์ รวมถึงผู้ผลิตแท็บเลตของอินเดียและเยอรมนีด้วย ซึ่งเท่าที่ได้พูดคุยมา บริษัทจีนบางแห่งยอมขาดทุนเพื่อให้ได้โปรเจ็กต์นี้ และเพื่อใช้ชื่อประเทศไทยเพิ่มโปรไฟล์ให้ตนเอง เนื่องจากมีไม่กี่โครงการที่จัดซื้อพร้อมกันเป็นลอตใหญ่

และนอกเหนือจากการจัดส่งแท็บเลตที่ลงแอปพลิเคชั่นและคอนเทนต์ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดแล้ว ผู้ชนะประมูลยังต้องเสนอแผนการตั้งศูนย์บริการให้ได้ครอบคลุมพื้นที่ตามสัญญาจัดซื้อ รวมถึงการรับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปีด้วย

“การจัดซื้อครั้งนี้ได้นำบทเรียนจากครั้งก่อนมาปรับปรุง ตั้งแต่การเปิดเผยรายละเอียดของสัญญาจัดซื้อให้ศึกษาทำความเข้าใจ และยอมรับเงื่อนไขก่อนเข้าประมูล การให้นำแท็บเลตมาทดลองลงแอปพลิเคชั่นและคอนเทนต์ต่าง ๆ ว่าทำงานได้สมบูรณ์ตั้งแต่ขั้นตอนทดสอบเทคนิค รวมถึงการใช้ e-Auction ให้การจัดซื้อโปร่งใส วัดกันที่ราคา จะได้ไม่เกิดข้อครหาทำให้ส่งมอบล่าช้า”

ข้อกังวลที่มีอยู่ คือ ไม่แน่ใจว่าทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะมอบอำนาจการจัดซื้อมาให้ สพฐ.ทันหรือไม่ เนื่องจากติดขัดเรื่องระเบียบการจัดซื้อ และยังมีปัญหาไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อแท็บเลตที่จะให้ครูชั้น ป.2 นำไปสอนเด็กนักเรียนที่ได้รับแจกแท็บเลตตั้งแต่ตอน ป.1

ขณะที่ความคืบหน้าในการนำแท็บเลตที่จัดซื้อในปีที่แล้วไปใช้งาน ล่าสุดกระทรวงไอซีทีลงนามในสัญญาเช่าใช้บริการวงจรสื่อสารข้อมูลพร้อมอุปกรณ์โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายไร้สาย (WiFi network) กับ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อให้ทั้ง 27,231 โรงเรียนในสังกัด สพฐ.มีอินเทอร์เน็ต WiFi ความเร็ว 4-10 Mbps. ใช้ฟรี

งบประมาณ 1,760 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 300 วัน นับจากส่งมอบอุปกรณ์ให้โครงข่ายกระทรวงศึกษาธิการ หรือ MOENet จะทยอยเปิดให้บริการใน มิ.ย.เป็นต้นไป คาดว่าจะครบทั้งระบบภายใน ส.ค. โดยกระทรวงไอซีทีได้เตรียมเสนอของบประมาณปี 2557 ไว้ 4,250 ล้านบาทสำหรับวางโครงข่าย WiFi เพิ่มเติมให้โรงเรียนที่ได้รับแจกแท็บเลตในปีการศึกษา 2556 กว่า 43,258 แห่ง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1363062897&grpid=&catid=06&subcatid=0603

รถคันแรกทะลัก 1.25 ล้านคันใช้งบแสนล้านบาท

รถคันแรก คนไทยใช้สิทธิ์ 1.25 ล้าน
รถคันแรก คนไทยใช้สิทธิ์ 1.25 ล้าน

ฟังเพลง “รอพี่ก่อน” ของ SHADE
.. บอกว่า อย่าพึ่งซื้อรถยนต์ หรือรถไฟเลย ตอนนี้ยังไม่มีตัง
น้องเสื้อดำคงยื่นคำขาดว่า “รอไม่ได้หรอกพี่
แต่คนไทยรอไม่ไหว .. ยอดจองรถคันแรก 1.25 ล้าน
ใช้งบ 100,000,000,000 (ไม่รู้ใส่ 0 ถูกรึเปล่า ขาดเกินขออภัยด้วย)
ก็ของมันจำเรื่องมันจำเป็น ทำไงได้ .. เรื่องนี้มีคนชวนคิดกันเยอะ
เพราะบ้านคันแรกก็จำเป็น รถคันแรกก็จำเป็น แท็บเล็ตเด็กก็จำเป็น เงินเดือนขึ้นก็จำเป็น


ข่าวคมชัดลึก
ปิดฉากรถยนต์คันแรกแห่ใช้สิทธิทะลัก 1.25 ล้านคัน ดันยอดคืนภาษีพุ่ง 9.1 หมื่นล้านบาท พบรถยนต์นั่งแชมป์ขอคืนสูงสุด 7.4 แสนคัน


นโยบายรถคันแรกของรัฐบาลที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นั้น ส่งผลให้ประชาชนยังคงยื่นขอใช้สิทธิ์ในโครงการดังกล่าวกันอย่างคึกคัก โดยนายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การยื่นขอใช้สิทธิคืนภาษีรถยนต์คันแรกในวันนี้ (31 ธ.ค.2555) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของโครงการ มีผู้ยื่นขอคืนภาษีสรรพสามิตรถยนต์คันแรกตลอดทั้งวันทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 2,000 คัน เทียบกับเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม มีการยื่นขอคืนภาษีรถยนต์คันแรกสูงถึง 5,000 คัน ส่งผลให้ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงวันสุดท้ายที่รับยื่นขอคืนภาษีมียอดรวมทั้งสิ้น 1.255 ล้านคัน คิดเป็นเงินที่ต้องคืนภาษีรวม 9.1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงแรก 3 หมื่นล้านบาทถึง 3 เท่าตัว

สำหรับการยื่นใช้สิทธิขอคืนภาษีรถคันแรกทั่วประเทศจำนวน 1.255 ล้านคันนั้น แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 7.40 แสนคัน รถกระบะ 2.58 แสนคัน รถยนต์นั่งที่มีกระบะ หรือดับเบิลแค็บ 2.57 แสนคัน ส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิและได้รับเงินคืนไปแล้วมีทั้งสิ้น 47,018 ราย คิดเป็นเงิน 3,481 ล้านบาท และคาดว่าปีงบประมาณ  2556 จะต้องคืนภาษีรถยนต์คันแรกรวม 2 หมื่นล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ครั้งแรก 7,000 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 18,000 ล้านบาทแต่ก็ยังไม่เพียงพอจึงอาจต้องขอใช้งบกลางเพิ่มเติม ส่วนปีงบ 2557 คาดว่าจะใช้เงินคืนภาษีรถยนต์คันแรกประมาณ 3-3.5 หมื่นล้านบาท และใช้งบอีกบางส่วนในปี 2558 โดยผู้ที่ได้รับคืนเงินทางบัญชีเงินฝากนั้นจะต้องครอบครองรถยนต์ครบ  1  ปี

อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวอีกว่า การให้บริการยื่นเอกสารขอคืนภาษีกรมสรรพสามิตวันสุดท้ายที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตและพื้นที่ต่างๆ เปิดรับยื่นเอกสารจนถึงเวลา 16.30 น. เฉพาะที่กรมสรรพสามิต ราชวัตร มีผู้มายื่นใช้สิทธิประมาณ 300 รายเท่านั้น ขณะที่กรมได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ไว้รองรับอย่างเต็มที่ และส่วนใหญ่ที่มาก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเอกสารแต่อย่างใดจึงไม่น่าจะมีปัญหาในการขอคืนภาษี นอกจากจะมีการตรวจสอบกับกรมการขนส่งทางบกอีกครั้งและพบว่าไม่เข้าเงื่อนไขการเป็นเจ้าของรถคันแรกจริง

วันสุดท้ายมีผู้มายื่นใช้สิทธิน้อยกว่าที่คาดไว้ จึงน่าจะเป็นการเก็บตกผู้ใช้สิทธิ เท่าที่สอบถามผู้มายื่น 2-3 ราย ส่วนใหญ่ระบุว่าเพิ่งได้รับการอนุมัติจากทางบ้านให้ซื้อรถยนต์จึงรีบนำใบจองซื้อรถยนต์มาใช้สิทธิให้ทันในวันสุดท้าย โดยมองว่าไม่น่าจะมีผู้ตกหล่นหรือใช้สิทธิไม่ทัน เพราะก่อนหน้านี้กรมสรรพสามิตได้ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องแล้ว” นายสมชายระบุ

กระนั้นก็ดี นายสมชาย กล่าวด้วยว่า แม้เจ้าหน้าที่จะปิดรับเรื่องแล้วแต่ยังสามารถยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ https://firstcar.excise.go.th/ ได้จนถึงเวลา 24.00 น. วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และเอกสารต้องพร้อมภายใน 15 วันนับจากวันที่ยื่นขอใช้สิทธิ แต่ส่วนนี้ก็ไม่น่าจะมีเพิ่มขึ้นมากนัก ไม่เกินร้อยราย ปิดยอดจริงๆ ก็น่าจะประมาณ 1.256 ล้านคัน อย่างไรก็ตามกรมสรรพสามิตไม่ได้มีการแยกว่าเป็นการยื่นขอใช้สิทธิคืนภาษีรถยนต์ยี่ห้อใดมากที่สุดเอาไว้ด้วย

สำหรับกรณีของรถโตโยต้า วีออสรุ่นใหม่ที่มีกรณีเรียกร้องให้ทบทวนการได้สิทธิเข้าโครงการรถยนต์คันแรก ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้นำออกมาจำหน่ายในตลาดแต่มีการเปิดรับจองแล้วนั้น ทางกรมสรรพสามิตได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่โรงงานแล้วเห็นว่าทางบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ขึ้นไลน์การผลิตแล้วจริง มีการผลิตรถยนต์และเสียภาษีสรรพสามิตไว้แล้วบางส่วน จึงถือว่าเข้าข่ายได้รับสิทธิโครงการรถยนต์คันแรก ผู้ที่จองซื้อรถยนต์รุ่นดังกล่าวจึงมีสิทธิได้รับเงินคืนเช่นเดียวกัน แต่คาดว่าจะมีไม่มากนักเพราะเพิ่งเปิดจองช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม 2555 เท่านั้น

ทั้งนี้ โครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลเดิมตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิเข้าโครงการประมาณ 5 แสนคัน คิดเป็นเม็ดเงินต้องคืนราว 3.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่จากการผ่อนปรนเงื่อนไขให้จองได้ถึงเดือนธันวาคมจากเดิมเดือนกันยายน และให้ใช้เพียงใบจองซื้อรถยนต์มายื่นเข้าโครงการโดยเปิดกว้างให้ส่งมอบรถเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้มีผู้สนใจใช้สิทธิมากกว่าเดิมถึงเท่าตัว

http://www.komchadluek.net/detail/20130101/148456/ปิดฉาก!รถคันแรกทะลัก1.25ล้านคัน.html