ทิศทางการศึกษา กับอาชีพเด็กไทย

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

ทิศทางการศึกษา กับอาชีพเด็กไทย ในยุค Disruptive technology เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง บรรยายเมื่อ 9 ธันวาคม 2562 ต่อไปเด็กไทยจะเริ่มประกอบอาชีพกันตอนอายุเท่าใด เป็นคำถามที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีเด็กบางคนเริ่มค้าขาย (หัวเซงลี้ตามเพื่อน) กันตั้งแต่ประถม ในยุค Disruptive technology จะขายอะไร ขายที่ไหน ขายเมื่อไร ขายให้ใคร ขายอย่างไร ล้วนเป็นคำถามที่ไม่มีอุปสรรค์ด้านอายุ เพศ วุฒิการศึกษาอีกต่อไป มีตัวอย่างมากมาย เช่น รายการอายุน้อยร้อยล้าน เป็นต้น แล้วนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะประกอบอาชีพจนมีเงินหลายล้านก่อนเข้าปี 1 หรือก่อนจบปี 4 จะไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป

บข่าวในเมืองไทย เรื่อง เด็กสาวอายุ 19 ปี หลอกขายโทรศัพท์มือ 2 โดยมิชอบ พบว่า มีเงินหมุนเวียนกว่า 30 ล้านบาท แต่เป็นธุรกิจที่ไม่สุจริต ตามข่าวเมื่อ 28 ก.ย.2564 พบว่าหญิงสาวเข้ามอบตัวที่เชียงใหม่ ทำให้นึกถึงการขายของออนไลน์ยุคนี้ ผ่าน instagram หรือ facebook หรือ line หรือ youtube ที่ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้ขนาดนั้น คือ ความประทับใจ (Impression) โปรโมชัน (Promotion) และสินค้าเป็นที่ต้องการ (Objectives) การขายสินค้าให้ได้ยอดขายที่สูงแบบก้าวกระโดด จำเป็นต้องมีทีม social media มีผู้สร้างอิทธิพล (influencer) เช่น นายแบบครีมย้อมผมดำ มาหนุนเสริม นักแสดงรับจ้างรีวิวสินค้า ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักว่าดีจริง บวกกับการยิงโฆษณา เมื่อทำทุกอย่างให้เชื่อมโยงกันได้อย่างลงตัว ย่อมส่งผลถึงทำยอดขายให้เป็นตามเป้าหมายได้ พบเห็นตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง

https://www.thaiall.com/e-commerce/indexo.html

May be an image of ครูพี่ยอด ฐานศักดิ์ ศรีพงษ์ใหญ่ and text

เด็กยุคใหม่ต้องมี 3 ส.

ได้ติดตามการแสดงความคิดเห็น ของครู อาจารย์ นักวิชาการ และเพื่อน ๆ ใน แฟนเพจ Wiriyah Eduzones ซึ่งให้ความสำคัญกับการสอนนักเรียนให้ 1) มีความคิดสร้างสรรค์ 2) เป็นคนสุจริต และ 3) มีทักษะการสื่อสาร อย่างน้อยเด็กยุคใหม่ต้องมี 3 เรื่องนี้ และคุณครูต้องเป็นต้นแบบให้นักเรียน เพื่อการพัฒนาตนเองตามวิถีที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล

นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร โดย อ.ศิลป์ พีระศรี


สร้างสรรค์ คือ สิ่งใหม่ที่ดี มีตัวอย่างผลงานของนักสร้างสรรค์ที่เราได้ใช้อยู่มากมาย เช่น Steve jobs, Bill gates, Mark zuckerberg การสอนผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์จะนำเด็กยุคใหม่ไปสู่การสร้างนวัตกรรมระดับโลกได้ เมื่อผู้เรียนได้เห็นบุคคลต้นแบบในห้องเรียน คือ คุณครู ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ ที่มาจากผลงานนวัตกรรม งานพัฒนา หรืองานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ของคุณครู แล้วนำประสบการณ์มาปรับใช้เป็นบทเรียน เพื่อจัดการเรียนการสอน นอกจากผู้เรียนจะต้องอ่านมาก และมากพอที่จะนำมาคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว ผู้เรียนยังได้ฟังได้เห็นตัวอย่างผลงานของคุณครูที่ตีพิมพ์ในเวทีต่าง ๆ อาทิ การประชุมวิชาการ หรือวารสารที่ผ่านการแลกเปลี่ยนโดยเพื่อน ผลงานอาจถูกยกระดับเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือมีรางวัลเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการเรียนการสอนก็จะถูกออกแบบเชิงบูรณาการจากผลงานสร้างสรรค์ของคุณครู ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จนไปถึงการต่อยอดเป็นงานสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในอนาคต

สุจริต คือ ความประพฤติดี ซึ่งเกณฑ์ตัดสินการประพฤติดีนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ตัดสิน เช่น ตนเอง คุณครู ผู้ปกครอง นายจ้าง หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งยึดโยงกับตัวบุคคลเป็นสำคัญ และประพฤติดีที่สุดต่อตนเองคนเดียวยังไม่พอ ยังมีความประพฤติดีในอีกมุมหนึ่ง ที่ยึดโยงกับ ระบบและกลไก ที่กำกับโดยสังคมหรือองค์กร ซึ่ง ระบบ คือ ขั้นตอนที่ได้รับการพัฒนาจากอดีต สู่ปัจจุบัน และปรับเปลี่ยนไปในอนาคต เช่น ห้องเรียนแห่งอนาคต เป็นระบบที่ถูกใช้กำกับความประพฤติให้ดี ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ประเมินเพื่อพัฒนา และปรับใช้อยู่เสมอตามบริบทของฐานการเรียนรู้ เมื่อคุณครูผู้ช่วยเข้าใหม่ได้อ่านแนวปฏิบัติในห้องเรียนก็จะนำมาปรับใช้ และพัฒนาเป็นแนวทางของตนเอง ส่วน กลไก คือ ผู้กำกับดูแล ควบคุม ส่งเสริมสนับสนุน หรือให้การรับรอง คำว่า ประพฤติดี ที่ได้รับการยอมรับในสังคมวงกว้างอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ดีเฉพาะกลุ่มคน ชุมชน หรือคนใดคนหนึ่ง จึงจะเรียกว่า สุจริตต่อสังคม อย่างแท้จริง

สื่อสาร คือ การแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ คุณครูควรมีทักษะและเป็นแบบอย่างของผู้สื่อสารที่ดี และใช้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมบทบาทของคุณครูใน ห้องเรียนแห่งอนาคต มีตัวอย่างของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ พบว่า 1) มีเฟสบุ๊คโปรไฟล์ ชื่อ Wiriyah Ruechaipanit ซึ่งคุณครูสามารถใช้เป็นเวทีเล่าเรื่องผลงานทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตามความสนใจเฉพาะ แบ่งปันข่าวสารที่มีประโยชน์ ข้อมูลโรงเรียน สื่อสารกับเพื่อนครู นักเรียน แสดงทัศนะเชิงบวกต่อสังคมอย่างสร้างสรรค์ เป็น good practice สำหรับนักเรียน และเพื่อนครูด้วยกัน 2) มีแฟนเพจ ชื่อ Wiriyah Eduzones ซึ่งคุณครูสามารถมีแฟนเพจได้หลายหน้า เช่น ครูซูโม่ ชุมชนหลังเขื่อน ห้องเรียนเรือนแพ บทเรียนห้องเรียนคณิต ครูเคมีวัยละอ่อน ครูค้าขายของชุมชนออนไลน์ เป็นต้น เพราะนี่คือตัวอย่างคุณครูที่จะสนับสนุน และให้คำแนะนำนักเรียนให้สามารถมีแฟนพจเพื่อครอบครัว ชุมชน หรือตนเอง โดยมีคุณครูที่ยืนอยู่หน้าห้องคือต้นแบบใกล้ตัว 3) มีกลุ่ม ชื่อ เรียนรู้ฐานสมรรถนะ by Wiriya Eduzones ซึ่งคุณครูสามารถสร้างผลงาน หรือกลุ่มที่ตนเองสนใจสอดคล้องกับการใช้ชีวิต เช่น ผู้บริจาคโลหิต ผู้สูงอายุ อีบุ๊ค เคเอ็ม สุจริตไทย ดนตรีสากล เทควันโด เทนนิส ไอดอล ว่ายน้ำ กีต้าคลาสสิก หมากล้อม หมากรุก ถ่ายภาพ หนัง เพลง เกม หรือใช้สื่อสังคม ไปจนถึงการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ส่วนตัว บล็อก งานเขียนหนังสือ เพื่อที่จะได้มีประสบการณ์ไปพูดคุยให้คำแนะนำผู้เรียนในการสร้างเวทีของตน แล้วพัฒนาเป็นวิชาชีพ หรือเป็นวิชาชีวิตต่อไปในอนาคต

เด็กยุคใหม่ต้องมี 3ส. คือ สร้างสรรค์ สุจริต และสื่อสาร

http://www.thaiall.com/futureclassroom/

ความคิดเห็นแบบฝัง ถูกยกเลิก 6 ก.ย.2564

เฟสบุ๊กได้ยกเลิกการใช้งานปลั๊กอิน (plug-in) ความคิดเห็นแบบฝังแล้ว ปลั๊กอินนี้จะยังสามารถใช้งานและเข้าถึงได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2021 หลังจากนั้นเป็นต้นไป ปลั๊กอินนี้จะหยุดให้บริการและไม่สามารถใช้งานได้อีก แต่ embedded post ยังเปิดบริการอยู่นะครับ ความสามารถนี้ คือ การนำความคิดเห็นต่อโพสต์ในแฟสบุ๊ค ไปแสดงในเว็บเพจ หรือพื้นที่นอกเฟสบุ๊ค ซึ่งสรุปได้ว่าบริการนี้ถูกยกเลิกแล้ว ซึ่งบริการแบบนี้ผมก็ไม่เคยใช้นะครับ ที่เคยใช้ คือ การนำลิงค์ของภาพในเฟสบุ๊ค (url) ออกไปใช้ ผ่าน img tag ตรง ๆ เพื่อแสดงภาพโดยตรงบนเว็บเพจของผม แต่ก็เลิกไปนานแล้ว เพราะตอนทดสอบใช้งานไม่พบปัญหา เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง facebook เปลี่ยน server เก็บภาพ และเปลี่ยนบ่อย ครั้งจะตามไปเก็บ url ของภาพมาทำฐานข้อมูลก็จะไม่สะดวก จึงเลิกใช้วิธีนั้นไป สรุปว่า embedded comment ถูกยกเลิก แต่ embeded post ยังใช้งานได้ปกตินะครับ

Embed from comments plugin – cancel


http://www.thaiall.com/facebook/fb_comments.htm

การต่อสู้ทางธุรกิจระหว่างยักไอทียังดำเนินต่อไป

ตามข่าวกรณี Apple กับ Epic พบศาลสั่งเมื่อศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 ให้ apple ปลด lock ที่เคยห้ามแอปพลิเคชันใน app store ไปเปิดรับการชำระค่าใช้จ่ายอื่น เคยบังคับให้แอปพลิเคชันต้องทำระบบชำระผ่านระบบของ apple เพื่อให้ดูแลง่าย ซึ่งจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายในเปอร์เซ็นที่สูง ใครฝ่าฝืนจะถูกตัดสิทธิการใช้บริการใน app store ซึ่งหลายแอปพลิเคชันโดนมาแล้ว เช่น epic กรณีนี้ศาลชี้ว่า apple ไม่ได้ผูกขาด แต่นโยบายที่ apple ใช้เป็นการต่อต้านการแข่งขัน (anti-competitive) ดังนั้นให้ apple แก้ไข ซึ่งต่อไปจะมีลิงค์ในแอปพลิเคชัน พาออกไปชำระเงินระบบอื่น หรือผ่านบัตรเครดิตด้านนอกก็น่าจะทำได้แล้ว

กรณีนี้ทำให้นึกถึงคลิปวิดีโอที่ apple เคยทำเพื่อต่อสู้กับ ibm เมื่อปี 1984 ถือเป็นคลิปที่ดี ที่สะท้อนถึงการต่อต้านการแข่งขัน ที่ apple เคยใช้ต่อสู้กับ ibm ผู้พัฒนา Personal computer และเป็นเจ้าตลาด และเป็นยุคแรกของทั้ง Bill gates และ Steve jobs ที่ทำให้ชาวโลกได้รู้จักทั้ง Microsoft Windows และ iOS ในปัจจุบัน

สรุปว่า ศาลรัฐนอร์ทแคโรไลน่าออกคำสั่งศาล (injunction) บังคับแอปเปิล
ต้องอนุญาตให้ผู้พัฒนาแอปโฆษณาช่องทางจ่ายเงินทางอื่น
นอกเหนือจาก In-App Purchase (IAP) ภายใน 90 วัน
ซึ่งหากคำสั่งนี้มีผล วันที่ 9 ธันวาคม 2564 พัฒนาแอปพลิเคชันจะสามารถเก็บเงินได้
โดยไม่ต้องเสียส่วนแบ่งให้กับแอปเปิลอีก

https://techfeedthai.com/2021/09/11/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AF-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%89/

https://www.blognone.com/node/124697

https://arstechnica.com/gadgets/2021/09/injunction-apple-must-open-up-app-store-payments-in-90-days/

https://www.iphoneincanada.ca/news/fortnite-war-apple-1984/

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.lpmuseum