ชวนเที่ยวงาน กาดก้อมฮอมฮัก บ้านป่องนัก ลำปาง

ขอเชิญชวนมาแอ่ว มาเต้น มาเล่น มาม่วน
ในงาน กาดก้อมฮอมฮัก บ้านป่องนัก ลำปาง
วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2565
พบกับ วัยเก๋า ร้องเล่นเต้นโชว์
อังกะลุงม่วน ๆ สินค้าดี ๆ
จากฝีมือวัยเก๋า และอีกมากมาย
ณ บ้านป่องนัก ค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปาง

#Banpongnak

บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
บ้านป่องนัก ลำปาง
ปฏิทินบ้านป่องนัก ลำปาง

บ้านป่องนัก หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 เป็นบ้านในค่ายสุรศักดิ์มนตรี ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี สร้างปี พ.ศ. 2468 หรือประมาณ 103 ปีที่แล้ว ใช้งบประมาณสร้างถึง 16,000 บาท มีหน้าต่าง 469 บาน เคยใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในหลวง รัชกาลที่ 7 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ มีอุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์ให้ชม มีน้อง ๆ ในค่ายฯ คอยดูแล ตอบข้อซักถาม และพาชม ปี 2565 เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีกาแฟสดจำหน่าย มีดนตรี และมีที่พัก
เป็นเรือนรับรองที่บุคคลภายนอกขอเข้าพักได้ ตัวบ้านออกแบบตามสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิค ถ้าได้เข้าไปเที่ยวที่บ้านป่องนัก ลองซื้อกาแฟชิม แล้วชวนกันเดินนับป่องดูครับ ว่าจะได้จำนวนเท่าใด

นิสิตมหาวิทยาลัยเนชั่น
ทำแฟนเพจชื่อ LowCost Thailand
มีผู้ติดตาม 1M Followers
แล้วรุ่นน้องจัดสัมมนาในหัวข้อ
ก้าวแรกสู่การเป็น Content Creator
ในโครงการสัมมนา คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
ได้รับเกียรติจาก พี่แซง อดุลวิทย์ มาเป็นวิทยากร
เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2565
เวลา 09.00น. – 12.00น. สัมมนาออนไลน์
หลังฟังบรรยายเสร็จ
ก็หาเรื่องมาโพสต์ พบเรื่อง บ้านป่องนัก น่าสนใจมาก

กำหนดการ

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น พร้อมกับอัตราการเกิดลดลง

คนเกิดน้อย เป็นที่ปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญ ประเทศไทยเองก็เริ่มมีปัญหานี้ชัดเจนมาได้หลายปีแล้ว แต่นโยบายเพิ่มอัตราการเกิดยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม มีคำหลายคำในคลิปวิดีโอ ที่ทำให้ต้องหยุดฟัง เพราะกระทบวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันและอนาคตอย่างแน่นอน ได้แก่ “คนไทยแก่ จน ไม่มีคนดูแล” / “เด็กเกิดใหม่น้อย คนไทยไม่อยากมีลูก” / “ทำไมคนไทย เกิดน้อย แก่ก่อนรวย” / “คนไทยไม่อยากมีลูก จุดเริ่มต้นวิกฤษขาดแคลนแรงงาน” / “เปิดข้อมูลประชากรไทยวิกฤตแค่ไหน เมื่อเด็กเกิดใหม่ต่ำทุบสถิติ” / “เศรษฐกิจไทยจะไปรอดไหมกับสังคมผู้สูงอายุ” / “ปี 64 เด็กเกิดต่ำสุด เป็นประวัติการณ์”

ประเทศที่รวมชะตาเดียวกันที่มีอัตราการเกิดลดลง แต่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่ีมขึ้น เช่น ญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกส เกาหลีใต้ โปรตุเกส อิตาลี และไทย เมื่อมองในระดับโลกจะพบงานวิจัยของ ศ.เมอร์เรย์ และได้ให้ความเห็นว่า “ประชากรลดลงอาจดีต่อสิ่งแวดล้อมก็จริง แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนอายุประชากร คือมีคนชรามากกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมาอีกหลายอย่าง”

https://www.thaiall.com/elderly/