ความผูกพันของศิษย์เก่ากับบทบาทของสถาบันการศึกษา

ได้อ่านบทความที่เขียนโดย อนวัช มีเคลือบ, กิตติมา ชาญวิชัย, และ จิรวัฒน์ วีรังกร. (2560). เขียนเรื่อง การจัดการการสื่อสารเพื่อพัฒนาความผูกพันศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(1), 163-177. และบทความโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ เขียนเรื่อง พลังของศิษย์เก่ากับสถาบันนิยม (The power of Alumni Institutionalism)

จากบทความวิจัยของ อนวัช มีเคลือบ และคณะ ได้สรุปผลการศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย บุคลากรงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ และศิษย์เก่า ที่เรียบเรียงใหม่มาได้ 3 ข้อ พบว่า

  1. สถาบันควรมีบทบาทในการกำหนดค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศิษย์เก่า
  2. สถาบันควรมีระบบสื่อสาร โครงสร้าง ฐานข้อมูลศิษย์เก่า และแผนพัฒนาการเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการยกย่องเชิดชู
  3. สถาบันควรประเมินการจัดการ การใช้ชีวิต การจัดประชุมใหญ่ บูรณาการกับการพัฒนาศิษย์ปัจจุบัน

จากบทความในไทยรัฐออนไลน์ของ กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ อธิบายในย่อหน้าแรกได้อย่างตรงประเด็นว่า ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและการทำงาน มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ย่อมทำให้สถาบันการศึกษาที่ตนเองจบออกมามีชื่อเสียงตามไปด้วย ดังนั้นส่วนหนึ่งของความเชื่อถือหรือชื่อเสียงของสถาบันการศึกษา จึงได้มาจากความสำเร็จของศิษย์เก่า

ปกติแล้ว เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น การสื่อสารง่ายขึ้น พบว่า ศิษย์เก่าได้มีการรวมตัวกันเอง เป็นกลุ่มเป็นห้องเป็นสถาบัน จำแนกตามความสนใจ ดังนี้

  1. กลุ่มโรงเรียนประถม
  2. กลุ่มห้องเรียนประถม
  3. กลุ่มโรงเรียนมัธยม
  4. กลุ่มห้องเรียนมัธยม
  5. กลุ่มมหาวิทยาลัย
  6. กลุ่มหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีนายกสมาคมศิษย์เก่า มีวาระการดำรงตำแหน่งชัดเจน จัดประชุม Home coming day ในเดือนธันวาคมของทุกปี และทุก 2 ปีจะมีการเลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าคนใหม่ มีช่องทางการสื่อสารทั้งเว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มเฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์ที่จำแนกตามระดับชั้น หรือรุ่น มีกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสมาคมศิษย์เก่ามากมาย

  1. การประชุมสามัญและวิสามัญ ของคณะกรรมการฯ
  2. การจัดแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคีระหว่างรุ่น
  3. การร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน
  4. การจัดกิจกรรมสนับสนุนชมรมครูเก่า
  5. การจัดกิจกรรมหาทุนการศึกษาให้กับศิษย์ปัจจุบัน

รู้อะไร ไม่สู้ รู้จักกัน (Connection) ที่ kept

เพื่อนมีผม และ ผมมีเพื่อน
เรามีกันและกัน
หากจะเดินไปทางใดไม่หวั่น

วันนี้ 9 ธันวาคม พ.ศ.2565 หลังจากแต่ละคนทำภารกิจของตน
เช่น ประชุมนอกสถานที่ เคลียร์งานที่โต๊ะ ไปฟังผลคุณหมอ
จัดการงานที่บ้าน ที่โรงแรม ที่สำนักงานแล้ว
เราได้นัดพบกันที่ร้านอาหาร ริมทุ่งนา บรรยากาศโอเพ่นแอร์
พูดคุยแลกเปลี่ยน ตามประสาคนที่เป็นเครือข่ายกัน

  • ในที่ทำงานมีเครือข่ายในคณะวิชา ระหว่างคณะ ระหว่างหน่วย
  • ในงานบริการวิชาการ มีเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ
  • ในงานวิจัย มีเครือข่ายกับเครือข่ายต่าง ๆ หลายวง
  • ในงานวิชาการ มีเครือข่ายกับเพื่อนอาจารย์ต่างสถาบัน
มุมสวยที่ร้าน kept

ภาพบรรยากาศ นัดกันทานข้าว
พบเห็นได้เสมอในสื่อสังคม เฟซบุ๊ค ไอจี ติ๊กต๊อก ไลน์
ครั้งนี้ เรานัดทานข้าวกันที่ kept
เป็นครั้งสุดท้ายของปี พ.ศ. 2565
ที่ผมจะได้มีโอกาสทานข้าวกับเพื่อนกลุ่มนี้
คิดถึงทุกคน ขอบคุณที่เรามีกันและกัน

สวัสดีปีใหม่ 2566 สำหรับปีที่ไม่เหมือนเดิม
เพื่อนที่ทำงานของผม – 8 เซียน- สมัยปี พ.ศ.2565
อ.แม็ค (วิทยากรมืออาชีพ) พี่นาย (เลขาฯผู้ชำนาญ)
อ.แตงโม (คุมการบิน) อ.นุ้ย (คุมไอที)
อ.ตั้ม (ถ่ายภาพผมยืนกางแขน)
อ.แนน (หัวหน้าของผม) และ อ.วิเชพ (คนเก่งของพวกเรา)

เพื่อน คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เนชั่น
บรรยากาศที่ร้าน kept ลำปาง