5 แนวคิดชีวิตเป็นสุข/Life and Family

happy1

“ความสุข”   ทุกคนย่อมแสวงหา มาดูกันค่ะ  แนวคิดที่ทำให้ชีวิตเป็นสุข

ทั้งนี้ 5 แนวคิดชีวิตเป็นสุขด้วยย่างก้าวแห่งสติ  ขั้นต่อไปนี้ เป็นวิถีที่ทุกคนควรมีใจที่ตั้งมั่น   เพื่อที่ว่าขณะที่ก้าวขึ้นไปในแต่ละขั้นนั้น เราจะไม่สะดุดหกล้ม จนต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กันอีกครั้ง

ก้าวแรก–เคารพและขอบคุณตนเอง

ก่อนที่เราจะก้าวไปหาความสุขและความสำเร็จจากภายนอก แรกเริ่มเราควรสำรวจตัวเองเสียก่อน รักตัวเองก่อนที่จะไปรักผู้อื่น รวมไปถึงการพิจารณาความดีความชอบที่เราเคยกระทำมา

-เมื่อมีโอกาสตื่นขึ้นมาพบเช้าวันใหม่ในทุกๆวัน สิ่งที่ไม่ควรลืมนั่นคือ การขอบคุณพ่อและแม่ และขอบคุณตัวเอง ที่ทำให้เรายังสามารถลืมตาตื่นขื้นมาได้ เพราะคนเราไม่สามรถรับรู้ได้เลยว่า วันไหนจะเป็นวันสุดท้ายของเรา

-สานต่อความดีที่เคยทำ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือ การไม่โกรธ และการให้อภัยเพื่อทุกคนในบ้าน รวมไปถึงเพื่อนมนุษย์ เพราะเชื่อเถอะว่า การให้มีความสุขมากกว่าการรับ

-มีความหวังอยู่เสมอ ไม่ว่าจะลงมือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่าแช่งตัวเองและอย่าดูถูกตัวเองเป็นอันขาด เพราะไม่มีคนเก่งที่ประสบความสำเร็จคนไหน มีความสุขในชีวิตด้วยการดูถูกเหยียดหยามตนเอง

ก้าวที่สอง–ให้โอกาส ไม่คาดหวัง

หลังจากที่ไม่ดูถูกตัวเอง และขอบคุณตัวเองรวมไปถึงพ่อและแม่ในทุกๆวันแล้ว บทหนึ่งในพระคัมภีร์ของพระเยซูได้สอนไว้ว่า ‘จงเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ’

ดังนั้น เมื่อนิ้วมือทั้งสิบนิ้วยังไม่เท่ากัน คนแต่ละคนที่แตกต่างกันจึงนับเป็นเรื่องธรรมดา เราไม่ควรคาดหวังในตัวผู้อื่นมากเกินไป โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน หัวเลี้ยวหัวต่อ หากคาดหวังเชิงบังคับเขา บางทีสิ่งเหล่านี้อาจกลับมาทำร้ายครอบครัวได้ไม่น้อย

ขณะเดียวกันหากสิ่งไหนที่พลาดไปแล้ว ของให้ระลึกอยู่เสมอว่า คนทุกคนมักอยากได้โอกาส ดังนั้น หากเราสามารถเป็น “ผู้ให้โอกาส” แล้วจะรู้ว่าความสุขในชีวิตจะสุขมากขึ้นหากเรารู้จักแบ่งปันสิ่งดีๆให้แก่คนอื่นด้วย

ก้าวที่3–ไม่มีวันพรุ่งนี้

การอยู่กับปัจจุบัน ไม่จมปรักกับอดีต ไม่เพ้อฝันกับอนาคต และทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทำได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ทำเต็มความสามารถของตนเอง เพียงเท่านี้ชีวิตก็จะไม่พลาดพลั้งในเรื่องง่ายๆ และคนรอบข้างเองก็จะพลอยสุขไปกับเราด้วย

แต่ที่สำคัญเรื่องอดีตที่ผ่านมานั้น อย่าให้มันกลับมาทำร้ายคุณและคนในครอบครัวเป็นอันขาด เพราะการที่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่คอยทำร้ายจิตใจทุกคนในบ้านนั้น เท่ากับการสะกิดแผลที่ไม่มีวันตกสะเก็ด ซึ่งมันจะยิ่งทำให้ทุกคนทุกข์อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ก้าวที่ 4 —ล้มแล้วลุก

แม้ว่าจะเจอมรสุมในชีวิตหนักหนาสักเพียงใด ขอให้ทุกคนระลึกไว้เสมอว่า เมื่อล้มไปแล้ว เราต้องปัดเข่าแล้วลุกขึ้น อย่านั่งจมอยู่ตรงนั้น เพียงรอให้ใครสักคนยื่นมือมา เพราะตราบใดที่เรายังมีเรี่ยวแรง มีกำลังที่จะก้าวต่อไปด้วยสติ เราก็สามารถลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้อารมณ์และเสียงหัวเราะ กำลังใจจากคนรอบข้าง และความหวังที่ยังไม่หายไป จะเป็นยาชูกำลังที่ดีอีกขนานหนึ่งที่จะทำให้เราก้าวต่อไปพร้อมๆทุกคนอีกด้วย

ก้าวสุดท้าย–ปรับปรุงตัวเองเสมอ

ทุกคนในครอบครัว ควรยึดหลักที่เป็นมงคลต่อกันคือ ไม่อิจฉา ไม่ระแวง ไม่แข่งขัน ไม่นอกใจ รู้จักการให้และการอภัย มีน้ำใจ และรู้จักเกรงใจกัน ขณะที่ในสังคมเอง ก็ควรหมั่นสร้างมิตรเสมอ มีการให้ความสำคัญกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพูดจากันแบบปิยะวาจา

ส่วนตนเองนั้น ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองเสมอ มีความภูมิใจตนเองตามความเป็นจริง สามารถให้กำลังใจตัวเองได้ และมีกำลังใจที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

———————————-

ปิดท้ายด้วย พร 4 ประการของท่าน ว. วชิรเมธี เพื่อสร้างครอบครัวที่อ่อนแอจะมีภูมิต้านทานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

อย่าเป็นนักจับผิด

คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่าหลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง

กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก” คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส “จิตประภัสสร” ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี “แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข”

อย่ามัวแต่คิดริษยา

แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน” คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้อง ถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น “ไฟสุมขอน” (ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี “แผ่เมตตา”

อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ “ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น” มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย

ส่วนความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ “อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน” และ”อยู่กับปัจจุบันให้เป็น” ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี “สติ” กำกับตลอดเวลา

อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

“ตัณหา” ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่ เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ

ธรรมชาติของตัณหา คือ “ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม” ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ ใส่เพื่อความโก้หรู

ส่วนคุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่ คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า “เกิดมาทำไม”

คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน” ตามหา ” แก่น ” ของชีวิตให้เจอ คำว่า “พอดี” คือถ้า “พอ” แล้วจะ”ดี” รู้จัก “พอ” จะมีชีวิตอย่างมีความสุข

——————————————
ที่มา http://edunews.eduzones.com  ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต

Leave a Reply