ทดสอบ ระบบสร้างปฏิทิน ด้วย Meta A.I.

เมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.2567) ได้พัฒนา ระบบสร้างปฏิทิน แบบที่ 3 เสร็จ สามารถควบคุมสีตัวอักษร สีพื้น และ marker ใน 2 เซตได้ตามที่ต้องการ สำหรับสร้างปฏิทิน เพื่อใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติงาน หรือ event ต่าง ๆ ได้ง่าย แล้วยังส่งปฏิทินแต่ละรูปแบบออกไปเป็น png, pdf หรือ print out ได้อีกด้วย

วันนี้มาทดลองใช้งาน Meta A.I. บน messenger พบว่า สร้างภาพตามโจทย์ที่ต้องการได้ เช่น สร้างปฏิทิน สร้างภาพโรงเรียน สร้างโค้ดพิมพ์ 1 ถึง 10 ด้วยภาษา python ผลลัพธ์ คือ ทำได้ และเสนอมา 3 วิธี ส่วนคำถามที่ว่า “วันหยุดราชการปี ค.ศ. 2025 มีวันใดบ้าง” เอไอตัวนี้ ตอบคำถามนี้ได้ดีครับ เค้าตอบว่า “ขออภัยครับ/ค่ะ ผม/ดิฉันไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับวันหยุดราชการ ปี ค.ศ. 2025 ได้จากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันหยุดราชการในปี ค.ศ. 2025 ผม/ดิฉันแนะนำให้คุณตรวจสอบเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครับ/ค่ะ”

แต่ที่น่าทึ่ง คือ ตอบคำถามเรื่องวันหยุดธนาคารได้ถูกต้อง ซึ่งผมตั้งคำถามว่า “วันหยุดธนาคาร ปี ค.ศ. 2025 มีวันใดบ้าง” ซึ่งคำตอบมาพร้อมการระบุแหล่งที่มาว่าจาก  bangkokbank . comและ bot .or. th เมื่อคลิกดูก็พบข้อมูลจริง ทำให้ต่อไปผมอาจติดใจเอไอตัวนี้ เพราะทุกวันนี้เข้า messenger บ่อยกว่าตัวอื่น การพูดคุย และสืบค้นข้อมูลน่าจะง่าย เพราะไม่ต้องลงโปรแกรม หรือเปิดแอปพลิเคชันอื่นเพื่อค้นข้อมูล แต่ใช้เอไอเป็นผู้ช่วยประจำตัว
/ai/

https://thaiall.com/calendar/calendar_js.php
[.meta.]

Prompt “จงสร้าง diamond pyramid ด้วย C++” ระหว่าง ไทย กับ อังกฤษ

ปัจจุบัน นักเรียน สามารถใช้เอไอช่วยหาคำตอบ หรือตอบโจทย์การเขียนโค้ด เช่น การเขียนโค้ด เพื่อสร้างพีระมิดของตัวเลขเป็นรูปทรงข้าวหลามตัด (Diamond) ซึ่งสามารถเลือกใช้ chat with AI ได้จากหลายบริการ มีตัวอย่างในการทดสอบจากผู้ให้บริการฟรีจำนวน 7 บริการ คือ Copilot ใน edge , Chatgpt app , Deepai.org , Perplexity.ai , Gemini.google.com , Claude.ai และ You.com

พบว่า เมื่อใช้ Prompt เป็นภาษาไทย ว่า “จงเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C++ เพื่อสร้างพีระมิดของตัวเลข รูปทรงข้าวหลามตัด ด้วยการทำซ้ำจากคำสั่ง for และแสดงตัวอย่างผลลัพธ์” จะได้พีระมิดที่เป็นรูป Diamond จากผู้ให้บริการ 2 แหล่ง คือ Copilot ใน edge และ Chatgpt app แต่อีก 5 แหล่ง ได้เพียงพีระมิดปกติ แต่ถ้าต้องการ Diamond pyramid ได้ทดสอบเปลี่ยนเป็นคำสั่งภาษาอังกฤษ ก็จะได้ผลตามที่ต้องการ คือ “use C++ to write code that print diamond of number and display sample output” แต่ได้กลับไปทบทวน prompt ภาษาไทย และทดสอบหลายครั้ง พบ prompt ที่สั่งให้พิมพ์ diamond pyramid ได้ครบทั้ง 7 บริการ คือ “จงเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C++ เพื่อสร้างชุดตัวเลขทรงเพชร ทำซ้ำด้วย for และแสดงตัวอย่างผลลัพธ์”

อธิบายโค้ดด้วย gemini
1. รับค่าจำนวนแถว: รับค่าจำนวนแถวที่ต้องการจากผู้ใช้และเก็บไว้ในตัวแปร n
2. สร้างครึ่งบน:
– วนลูปภายนอกควบคุมจำนวนแถว
– วนลูปภายในตัวแรก สร้างช่องว่างก่อนตัวเลขในแต่ละแถว
– วนลูปภายในตัวที่สอง แสดงตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึงจำนวนตัวเลขที่ต้องการ และเพิ่มขึ้นทีละ 2 ในแต่ละแถว
3. สร้างครึ่งล่าง:
– วนลูปภายนอกควบคุมจำนวนแถว โดยเริ่มจากแถวก่อนหน้าแถวกลาง
– วนลูปภายในตัวแรก สร้างช่องว่างก่อนตัวเลขในแต่ละแถว
– วนลูปภายในตัวที่สอง แสดงตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึงจำนวนตัวเลขที่ต้องการ และลดลงทีละ 2 ในแต่ละแถว

https://www.thaiall.com/ai/

https://www.thaiall.com/pyramid/

ส่งภาพโจทย์อังกฤษจากคู่มือ พบว่า เอไอตอบผิด

มีโจทย์ในคู่มือเตรียมสอบ
ให้ฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษ
หลายข้อ หลายรูปแบบ
ในภาพเป็นข้อสอบแกรมม่า
ข้อสอบแนวนี้มีกฎชัดเจนว่าควรตอบอะไร
.
ตัวอย่างนี้มี 3 ข้อ
ถ่ายภาพโจทย์จากคู่มือสอบอังกฤษ
แล้วก็อัพโหลด
ให้ เอ.ไอ. ช่วยตอบโจทย์
มีทั้งหมด 3 ข้อ
.
ตั้งคำถามในช่อง prompt
ที่แนบไปกับภาพโจทย์
เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
แล้วส่งให้ เอ.ไอ. นำไปประมวลผล
ผลการตอบของ เอ.ไอ. 3 ครั้ง
พบว่า
รูปแบบการตอบมีความละเอียดทุกครั้ง
แต่ตัวเลือกที่เอไอสรุปคำตอบมาให้
ในแต่ละครั้งไม่ซ้ำกัน
บางครั้งถูกทั้ง 3 ข้อ
บางครั้งถูก 2 ข้อ
บางครั้งถูกข้อเดียว
เพื่อน ๆ ว่า ภาพไหนถูก 3 ข้อล่ะครับ
.
ดังนั้นการใช้งาน เอ.ไอ.
จึงควรมีระบบตรวจสอบคำตอบ
และยืนยันคำตอบสุดท้าย ด้วยเสมอ
เพื่อใช้ยืนยันความถูกต้องที่ได้จาก เอ.ไอ.
.
จากการทดสอบใช้งาน เอ.ไอ.
ช่วยหาคำตอบในคำถาม พบว่า
เอไอตอบคำถามโดยใช้ข้อมูล
จากประสบการณ์ของระบบ
ดังนั้น อาจมีคำตอบที่ ผิดบ้าง ถูกบ้าง
หากจะนำคำตอบไปเขียนอ้างอิงเลย
ตามที่ เอ.ไอ. ให้มา โดยไม่ตรวจสอบ
ก็อาจเป็นคำตอบ ที่ไม่ถูกต้องเสมอไป

รอบที่ 1
รอบที่ 2
รอบที่ 3

#tiktokuni
#english
#examination
#grammar
#artificialintelligence
#practice
#learning

คนกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะแย่งงาน (itinlife 556)

กฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก
กฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก

เคยอ่านหนังสือคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเทคนิคการเขียนโปรแกรม ของ รศ.วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 11 ปี 2536 เล่าว่าหนึ่งในปัญหาการเข้ามาของคอมพิวเตอร์ คือ การรบกวนระบบงานปกติ มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า การใช้คอมพิวเตอร์ยังมีผลกระทบต่อจิตใจของพนักงาน ความไม่พอใจ ความกังวลใจที่จะตกงาน ข้อความนี้เป็นที่สนใจของผู้เขียนมาโดยตลอดว่าจริงเท็จประการใด แล้วก็มาพบข่าวว่าที่เมืองไทยเปิดร้านอาหารปิ้งย่าง ชื่อร้านฮาจิเมะ ที่ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะเป็นพนักงานเสิร์ฟ แสดงว่าร้านนี้ใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ในการเสิร์ฟอาหาร ลูกค้าหลายท่านพอใจ แต่สำหรับผู้ใช้แรงงานอาจเห็นเป็นวิกฤตในการหางานก็ได้

บริษัท Foxconn ปลดพนักงาน 60000 คนจากพนักงาน 110000 คน โดยเลือกใช้ AI : Artificial Intelligence แทนมนุษย์ในสายการผลิต แล้วกระแสการปลดพนักงาน หรือเลือกใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่ไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นความจริงว่าผู้บริหารระดับสูงเลือกที่จะมีหุ่นยนต์ไว้ใช้งานแทนมนุษย์ ในยุคฟองสบู่ที่เมืองไทยแตกราวปี 2540 ทำให้ธนาคารจำนวนมากปรับลดพนักงาน ปัจจุบันเราจะเห็นตู้เอทีเอ็ม ตู้ปรับสมุด และตู้รับฝากเงิน ในอดีตจะทำธุรกรรมทางการเงินก็ต้องเดินเข้าไปพูดคุยกับพนักงาน แต่ปัจจุบันธนาคารเลือกลดพนักงานและเพิ่มตู้บริการขึ้นมาแทนที่ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแย่งงานมนุษย์

อีกหน้าที่หนึ่งที่คอมพิวเตอร์เข้าแย่งงานของมนุษย์ คือ งานแม่บ้านพ่อบ้าน ปัจจุบันงานบ้านถูกแย่งไปทำโดยเครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า เครื่องกวาดบ้าน กล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยเฝ้าบ้าน งานบ้านที่ยากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพศสัมพันธ์ Dr.Helen Driscoll จาก University of Sunderland ทำนายว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ในสังคมมนุษย์อาจยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหุ่นยนต์เป็นเรื่องปกติ ที่ประเทศไทย Sex toy เป็นของต้องห้าม ที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกตามกฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก ถ้ามีกฎหมายนี้อยู่ Sex toy ก็จะเป็นของผิดกฎหมาย และการมีเพศสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ก็คงไม่เกิดขึ้นอย่างถูกกฎหมาย


+ http://internet1.customs.go.th/ext/Prohibit/Prohibit.jsp
+ http://www.huffingtonpost.co.uk/dr-helen-driscoll/sexual-relationships-with-robots_b_7909964.html
+ http://www.misterbuffet.com/shop_Hajime.asp?id=283
+ https://www.techtalkthai.com/foxconn-cuts-60000-jobs-and-uses-robots-with-ai-instead/

เราอาจเป็นซุปเปอร์มนุษย์ได้ (itinlife 326)

http://www.youtube.com/watch?v=d1_JBMrrYw8

22 ม.ค.55 มีโอกาสอ่านความคิดเห็นของนักทำนายอนาคต (Futurologist) 2 ท่าน คือ Dr.Ian Pearson และ Patrick Tucker ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีก 100 ปีข้างหน้า กว่าจะถึงเวลานั้นก็คาดได้ว่าเราท่านส่วนใหญ่อาจไม่ได้อยู่เห็นผลการทำนายแล้ว แต่จากการให้ความเห็นประกอบผลการทำนายจำนวน 20 เรื่อง พบว่าบางเรื่องเป็นเทคโนโลยีที่เป็นแนวคิดจากภาพยนตร์ที่ทำให้ชีวิตของเรายืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ซึ่งจินตนาการเหล่านั้นอาจนำไปสู่การค้นคว้าวิจัย และทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นจริงขึ้นมา มีนวัตกรรมหลายเรื่องที่กำเนิดขึ้นภายหลังภาพยนตร์ อาทิ เครื่องบินไร้คนขับ การสนทนาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ หรือการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยคลื่นสมอง ซึ่งล้วนเกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากได้นำไปพัฒนาร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จนประสบความสำเร็จจะทำให้การคิดของมนุษย์และคอมพิวเตอร์หลอมรวมและถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนแนวคิดนี้จะสำเร็จ เราพบว่าปัจจุบันมีระบบฐานความรู้ ระบบทำนายสภาพอากาศ ระบบการสื่อสารความเร็วสูง ระบบวิเคราะห์ภาพถ่าย ระบบเซ็นเซอร์ ระบบสแกนทะลุวัตถุ หรือเทคโนโลยีการควบคุมอุปกรณ์ด้วยคลื่นสมอง แนวคิดการเป็นซุปเปอร์มนุษย์ไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป แต่มีคำถามเข้ามาอย่างแน่นอนว่าจะอยู่เหนือคนอื่นเพื่ออะไร และได้หรือไม่ ในขณะที่มนุษย์ทุกคนต้องการความเสมอภาค

ปลายทางของการหลอมรวมปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีชีวภาพย่อมนำไปสู่ความพยายามหาคำตอบที่จะเป็นอมตะ กายเนื้อของเรามีข้อจำกัด อาจเติบโตผิดปกติ เปลี่ยนรูป หรือเสื่อมสภาพ ซึ่งการล้มเหลวของกายเนื้อนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง หากย้ายความรู้สึกนึกคิดออกไปไว้นอกกายเนื้อปัจจุบันได้ ก็จะทำให้มนุษย์เป็นอมตะได้ เราอาจพัฒนาซุปเปอร์มนุษย์ได้ แต่การย้ายความคิดออกจากร่างกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยากกว่า แล้วเป็นความหวังของมนุษย์ที่ต้องการมีชีวิตอยู่หลังกายเนื้อเสื่อมสลายไป และนั้นก็ยังคงเป็นเพียงจินตนาการหรือความฝันต่อไป

Home

http://www.bbc.co.uk/news/magazine-16536598