ความดันโลหิตต่ำ…ต้องอ่านด่วน

Omron : digital blood pressure monitor
Omron : digital blood pressure monitor

คนที่บ้านเป็นลม วัดความดันพบว่าต่ำ จึงไปหาหมอ
(ไม่เกี่ยวอะไรกับความดันทุรังนะครับ)

16 ก.ย.59 หมอแนะนำว่าให้ออกกำลังกาย
ให้ยาลดความเครียด
แนะนำให้ออกกำลังกาย
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ติดราวในห้องน้ำ เวลาเป็นลมจะได้มีที่เกาะ

จากนั้นก็ไปค้นข้อมูลเก็บไว้อ่าน ดังนี้

ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ การที่ความดันโลหิตลดลงอย่างกระทันหันอาจเกิดเนื่องมาจากหัวใจล้มเหลว ที่จะรักษาระดับความดันไว้ได้ หรือเกิดจากการขาดของเหลวไหลเวียนอย่างรุนแรงในระบบหมุนเวียนโลหิต

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความดันต่ำ คือ การอดอาหารเป็นเวลานาน ๆ การใช้ยาระงับประสาทบางชนิด การเสียเลือดมากกว่าปกติ และความผิดปกติในการขับถ่าย ความดันต่ำไม่เป็นอันตรายก็จริง แต่ก็คงจะทำให้เป็นคนอ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานที่ออกแรงไม่ได้ เป็นต้น

ความดันโลหิตโดยทั่วไปสำหรับผู้ ใหญ่
ถ้าเกิน 140/90 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร
ถ้าต่ำกว่า 100/60 ถือว่าต่ำเกินควร
ตัวเลขเหล่านี้เราจะรู้ได้จากการวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต (Sphygmomanometer) ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดที่ต้องใช้หูฟัง (Stethoscope) หรือจะเป็นเครื่องวัดอัตโนมัติแบบที่เรียกว่าดิจิตอลก็ได้
(Omron : digital blood pressure monitor)

ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอ 2  ประการ คือ

1.  จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่องมาตั้งแต่เกิด
2. เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่  คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย   ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ

อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น   จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง   เวียนหัว   หัวหมุน   และคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงานหนักไม่ค่อยจะได้   เหนื่อยง่าย
ส่วนที่ความดันโลหิตต่ำเพราะมีโรคภัยเฉพาะหน้าเกิดขึ้นนั้น    อาจจะเกิดขึ้นเพราะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน    ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะอุบัติเหตุเสียเลือดมาก หรือมีสิ่งที่เป็นท้อกซินมากเข้าสู่ร่างกายอย่างกะทันหัน หรือต้องรับยาเคมีบางอย่าง   เช่น   ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต้องรับเคมีบำบัด   และต้องใช้รังสีบำบัด เป็นต้นความดันต่ำกว่าปกติสามารถก่อผลเสียอย่างทันทีได้มากมาย   เนื่องจากอวัยวะสำคัญหลายชนิดต้องการเลือดและความดันเลือดในระดับหนึ่ง  จึงจะทำหน้าที่ได้ดี    เมื่อความดันต่ำลงมาก  อวัยวะต่างๆ   ก็จะเริ่มหยุดทำงานที่สำคัญๆ   ได้แก่ ไต ตับ หัวใจ สมอง     โดยเฉพาะสมองที่จะก่อให้เกิดอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติ     และในที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้แก้ไขสาเหตุของความดันต่ำ อาการนี้ทางการแพทย์เรียกว่า Shock

สาเหตุที่พบแบ่งตามลักษณะการเกิดและการรักษา
1. Hypovolumic shock ช๊อคความดันต่ำจากการเสียเลือดหรือเสียน้ำจากร่างกายมากๆ พบในอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อบางอย่าง(ท้องร่วง)
2. Distributive shock  เกิดช๊อคความดันต่ำจากการที่เส้นเลือดทั่วร่างกายขยายตัว   จนปริมาณเลือดในร่างกายดูเหมือนมีน้อยลง  (เมื่อเทียบกับพื้นที่ๆเพิ่มขึ้น)   พบในการแพ้อาหารยาแมลง   การกระทบกระเทือนทางระบบประสาทอย่างรุนแรง   และการติดเชื้อในกระแสโลหิต

3. Cardiogenic shock   ความดันต่ำช๊อคจากการที่หัวใจทำงานแย่ลง พอตัวปั๊มเลือดทำงานแย่ ความดันเลือดก็ลดลง พวกนี้เจอในโรคหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายทั้งหลาย

สามตัวนี้ ถ้าปล่อยไว้ ตาย… (บางทีรักษาไม่ไหวก็ตาย)
Symptomatic hypotension อื่นๆ ได้แก่โรคหรือภาวะใดๆที่ทำให้ร่างกายเกิดความดันต่ำขึ้นชั่วขณะ มีหลายๆตัว อันตรายบ้างไม่อันตรายบ้าง แต่อาการที่ตรงกันก็คือจะมีอาการหน้ามืด เป็นลม เหงื่อแตก ใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเกือบหมดสติ
วิธีแก้    สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน
ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่   คงจะต้องตรวจเลือดก่อนแล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรกต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน   (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด)   แล้วดูเฮมาโตคริต   (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด)ถ้าชนิดของเลือดเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างแน่ใจว่าโลหิตจาง   และถ้าวัดความดันโลหิตว่าต่ำกว่าเกณฑ์ก็ต้องให้เลือดเป็นการด่วน แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์ทำเองไม่ได้ เมื่อแก้อาการโลหิตจางตามนี้ได้แล้ว ความดันโลหิตของคุณน่าจะขึ้นมาได้อยู่ในระดับปกติ

แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษ คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือดออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอนฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่พบอาการผิดปกติอย่างอื่นให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วน    โรคเฉพาะหน้าที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำอีกอย่างหนึ่งและไม่ค่อยมีใครสังเกตพบ ก็คือ ผู้ที่เป็นหวัดอย่างแรง หรือไปติดเชื้อหวัดใหญ่มา ความดันโลหิตมักจะต่ำ แต่ก็ไม่มีใครค่อยสังเกต เพราะถ้าใครเป็นหวัดใหญ่ ก็มักจะให้คนไข้นอนพัก ให้ยาแก้ไข้ ให้อาหารบำรุงไม่กี่วันก็จะหายแต่ข้อสังเกต ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย

คำแนะนำเพื่อช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ
1. ดื่มชาโสม ชาโสมจะมีประโยชน์ในกรณีอ่อนเพลีย
2. ดื่มชาขิง ชาขิงจะช่วยกระตุ้นและสนับสนุนระบบหมุนเวียนโลหิต
3. การพักผ่อนนอนหลับให้สนิทและมากๆ มีความจำเป็นเพราะการนอนไม่หลับจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
4. รับประทานผลไม้เพื่อให้ได้วิตามิน
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย เช่น
– กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
– กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบประสาทอัตโนมัติ
– วิตามิน เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
– วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
– วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง
การแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำโดยทั่วไป
1.  แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้ จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้งอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15%

2.  กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด

3.  แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน

4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด

5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้
แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3 ครั้ง

6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง
—————————–
แหล่งข้อมูล:จาก..  คอลัมน์ชีวจิต หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/134141
https://en.wikipedia.org/wiki/Hypotension
http://med.mahidol.ac.th/ramachannel/index.php/knowforhealth-20140914-3/
http://www.thaihealth.or.th/node/17259
+ http://www.thailabonline.com/sec31hypo.htm

ยินดีกับผู้ได้ปรับเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขกว่าแสนคน

blood donation
blood donation

ของขวัญปีใหม่! สธ.เตรียมบรรจุลูกจ้างชั่วคราว สธ.กว่า 1 แสนคนเตรียมเป็น พกส.

สธ.เตรียมมอบของขวัญปีใหม่ลูกจ้างชั่วคราว สธ. กว่า 1 แสนคน เป็นพนักงานกระทรวงฯ ได้เงินเดือนเพิ่ม สิทธิเท่าเทียมข้าราชการ มีโบนัส ลาศึกษาได้ ขอย้ายได้ ฯลฯ คาดประกาศใช้ ม.ค.56
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหากำลังบุคลากรกระทรวงฯ ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ และสมาชิกสมาพันธ์สมาคมลูกจ้างของรัฐแห่งประเทศไทย ว่า ในภาพรวมขณะนี้มีบุคลากรทั้งข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติงานในหน่วยบริการของกระทรวงฯ กว่า 10,000 แห่ง รวม 320,000 คน ได้แก่ ข้าราชการ 180,000 คน ที่เหลือ 140,000 คนเป็นลูกจ้างชั่วคราว ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพ 21 สายงาน เช่น พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักจิตวิทยา นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์ นักการแพทย์แผนไทย ที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2549-2555 รวม 30,188 คน ล่าสุดมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.เห็นชอบการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่เป็นสายวิชาชีพ 21 สายงานของกระทรวงฯ โดยอนุมัติตำแหน่งข้าราชการให้กระทรวงฯ เพื่อบรรจุลูกจ้างดังกล่าวรวม 22,641 อัตรา ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วน ภายในระยะ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556-2558 เฉลี่ยบรรจุปีละ 7,547 อัตรา ในปีงบประมาณ 2556 นี้ จะบรรจุทั้งหมด 8,446 อัตรา และปี 2557-2558 บรรจุปีละ 7,547 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุนที่อยู่นอกเหนือ 21 สายงานวิชาชีพ และลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพที่ยังไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งมีประมาณ 117,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงฯ เตรียมมาตรการรองรับเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและความมั่นคงในอาชีพ โดยจะรับเป็นพนักงานกระทรวงฯ หรือ พกส. ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับเสร็จแล้ว ฉบับที่ 1 ได้แก่ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ….. ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารหลักเกณฑ์ต่างๆ 6 ชุด ได้แก่ 1.ชุดกำหนดประเภทตำแหน่งลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน 2.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานฯ 3.ชุดกำหนดค่าจ้างพนักงาน 4.ชุดสิทธิประโยชน์ 5.ชุดการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ6.หลักเกณฑ์การลาออกจากการปฏิบัติงานระหว่างสัญญาจ้าง
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ฉบับที่ 2 คือ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ขณะนี้เสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าจะได้รับการตอบกลับมาเร็วๆ นี้ หากได้รับเห็นชอบกลับมาจะเสนอต่อ รมว.สาธารณสุข และปลัด สธ.ลงนามเพื่อประกาศใช้ต่อไป คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนมกราคม 2556 นี้เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ลูกจ้างกระทรวงฯ
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ. กล่าวว่า การเป็นพนักงานกระทรวงฯ ถือว่ามีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น อัตราเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ 1.2 เท่า ได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ เช่น มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลาศึกษาต่อได้ มีการประเมินขึ้นเงินเดือน มีโบนัส ได้รับค่าจ้างระหว่างลา มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน มีค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น โดยพนักงานกระทรวงฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.ประเภททั่วไป คือกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นลักษณะงานประจำ ซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจทั่วไปของหน่วยบริการ ได้แก่ พนักงานกลุ่มเทคนิค เช่น พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานสาธารณสุข นายช่างเทคนิค เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา พนักงานเภสัชกรรม ช่างไฟฟ้า ช่างเหล็ก ช่างประปา เป็นต้น
กลุ่มบริการ เช่น เจ้าพนักงานธุรการ พนักงานเปล งานพัสดุ พนักงานช่วยการพยาบาล พนักงานประกอบอาหาร กลุ่มบริหารทั่วไปเช่น นักจัดการงานทั่วไป นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิขาการเงินบัญชี นักทรัพยากรบุคคล และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาลวิชาชีพ และ 2.ประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของหน่วยบริการ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000152162