สาธิตการแปลงแฟ้มภาพเป็น e-book
โดยต้นเหตุเกิดจากการ scan หนังสือทั้งเล่มเป็นแฟ้มภาพ (.jpg) จำนวน 200 หน้า ด้วยเครื่อง scan แบบฝาปิดเปิด แล้วต้องการทำเป็น e-book ด้วยการรวมภาพทั้งหมดเป็นแฟัม .pdf แล้วผมก็เลือกโปรแกรม pdf creator ทำหน้าที่จำลอง printer ขึ้นมา เมื่อ print ภาพทั้งหมดผ่านโปรแกรม photo printing wizard ก็จะส่งผลลัพธ์ทั้งหมดไปให้กับเครื่องพิมพ์เสมือนจริงชื่อ pdf creator ทำหน้าที่แปลงเป็น e-book หรือแฟ้ม .pdf ตามต้องการ ซึ่งขนาดแฟ้ม pdf ก็พอ ๆ กับขนาดจากการรวมภาพทั้งหมดครับ
Tag: ebook
สาธิตการสแกนหนังสือ เป็น pdf ผ่าน multi-function printer
สร้างอีบุ๊คด้วย Flipalbum (362)
29 ก.ย. 2555 มีการอบรมการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) แก่พระนิสิต คณะครุศาสตร์สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ห้องเรียนวัดบุญวาทย์ ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรเสริมบทบาทของพระสงฆ์ในการเป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปสู่นักเรียน เพื่อนพุทธศาสนิกชน และผู้สนใจทั่วไปได้อย่างน่าสนใจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคสมัยใดมาก่อน
กลุ่มอาชีพครูพระ คือ กลุ่มอริยบุคคลที่มีโอกาสสร้างอีบุ๊คได้มากกว่าหลายอาชีพ เพราะมีเนื้อหามากมาย ลักษณะของเนื้อหาเป็นได้ทั้งภาพ เสียง หรือคลิ๊ปวีดีโอ ผู้เรียนที่เข้าถึงสื่อมีได้ทุกกลุ่มอายุทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ไปถึงคนชรา เนื้อหาที่นำเสนอจะไม่หมดอายุเหมือนศาสตร์ด้านอื่น อาทิ คอมพิวเตอร์ก็จะเปลี่ยนไปตามพัฒนา การแพทย์ที่เคยใช้ยาต้มก็เปลี่ยนเป็นยาเม็ดหรือยาฉีด แต่คำสอนทางศาสนาเป็นเรื่องที่เป็นอมตะ และเป็นจริงเช่นนั้นมาแต่พุทธกาล โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานทุกสาย ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นตำบล อำเภอ จังหวัดหรือประเทศ รวมถึงภาครัฐ และเอกชนก็เข้าไปมีส่วนร่วมชัดเจน เดิมนั้นบทบาทของการศึกษามีอยู่แต่ในโรงเรียนแต่ปัจจุบันมีการบูรณาการที่เรียกว่า “บวร” ซึ่งประกอบด้วย บ้าน วัด และโรงเรียน ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนของชาติ ตามเงื่อนไขของหลักสูตรที่พัฒนาตลอดเวลาโดยกระทรวงศึกษาธิการ
การจัดทำอีบุ๊คมีหลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และอุปกรณ์ที่จะใช้เปิดอ่าน ซึ่งผู้จัดทำสามารถสร้างต้นฉบับในสื่อหนึ่ง แล้วเผยแพร่ในสื่ออื่นได้อีกหลายประเภท อาทิ PDF, Flash View, Video หรือแบบที่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะของบริษัท อาทิ Flip Album, Desktop Author, Plakat e-book, Diji Album ซึ่งแสดงผลแบบภาพสามมิติ ทำให้น่าอ่านกว่าสื่อดั้งเดิม ทำสำเนาได้ง่าย สามารถแสดงผลผ่านสื่อมัลติมีเดีย และเชื่อมโยงไปยังสื่ออื่นผ่านการคลิ๊กได้อย่างยืดหยุ่น ดังนั้นเนื้อหาก็จะไม่หยุดอยู่บนหนังสือเพียงเล่มเดียวเหมือนในอดีตอีกต่อไป
http://www.youtube.com/watch?v=eB85vHyRi_U
tweet หนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร
5 มีนาคม 2555 อ่านทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร พบเรื่อง “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ไม่ใช้สมองก็ต้องใช้สติ” มีลิงค์ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/242249 มีความตอนหนึ่งที่ คุณลม เปลี่ยนทิศ เขียนว่า
…
การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับ โรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน
ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งาน ไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต
…
ในวันที่ 5 มีนาคม 2555
เมื่ออ่านข้อความข้างต้นแล้ว .. ก็รู้สึกว่าโลกเรามีคนอยู่หลายแบบนะครับ
http://twitter.com/suthichai
http://twitter.com/udompk