บันทึกลูก .. คลิ๊ป จากใจพ่อ

from father heart
from father heart

คำถาม .. จะมีพ่อแบบที่ google ฉายภาพออกมา มีจริงอ่ะ
คำตอบ .. มีจริงครับ เช่น คุณพ่อน้องเป๊ป กับ คุณพ่อน้องเอมิจัง
1. คุณพ่อภาวุธ แห่ง tarad.com หรือคุณพ่อน้องเป๊ป กับน้องป้อน
https://pawoot.wordpress.com/2014/04/13/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2-2014/
2. คุณพ่อน้องเอมิจัง (Amijung)
http://karn.tv/easyblog/categories/listings/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81

เคยดูคลิ๊ป “จากใจพ่อ” ของ google.com
เผยแพร่เมื่อ 7 มิถุนายน 2011 ใน https://www.youtube.com/user/GOOGLEThailand
เป็นเรื่องของ พ่อนรินทร์ กับน้องนิม เป็นคลิ๊ปแรกที่กูเกิ้ลทำโฆษณาทีวีสำหรับท้องถิ่น ก็ที่ประเทศไทยนี่หละ

อาจารย์กูคือใคร

คำค้น นักศึกษา
คำค้น นักศึกษา

อาจารย์กูคือใคร (itinlife376)

คำว่า ครู อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ผู้สอนให้ศิษย์เห็นแจ้ง แนะนำศิษย์ให้พ้นจากปัญหา ผู้เชี่ยวชาญทางปรัชญา ผู้มีความรู้สูง ผู้ให้ความรู้ให้คำแนะนำ เป็นที่พึ่งของผู้ไม่รู้ได้ เมื่อเทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลได้ถูกพัฒนาและเป็นที่ยอมรับว่าเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ตรงประเด็น และตอบคำถามได้ จึงมีศัพท์คำว่าอาจารย์กู หรืออาจารย์กู๋เกิดขึ้น หมายถึง เว็บไซต์กูเกิ้ล (google.com) ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล เมื่อมีคำถามแล้วใช้คำค้นที่เหมาะสมก็จะได้คำตอบที่ต้องการเป็นส่วนใหญ่ เปรียบเสมือนผู้ช่วยแก้ปัญหา ตอบคำถาม และช่วยเหลือผู้ไม่รู้ได้เสมอ

ปัจจุบันร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์หลายแห่งเริ่มประสบปัญหาการทำธุรกิจ เพราะผู้คนอ่านสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง ดูทีวีน้อยลง ฟังวิทยุน้อยลง แต่เข้าอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ดูคลิ๊ปจาก youtube.com เพิ่มขึ้น ทำให้คนพันธุ์ใหม่เริ่มลดการซื้อหนังสือ แต่หาข้อมูล หาคำตอบจากกูเกิ้ลแทน และใช้ชีวิตในเครือข่ายสังคม หรือเกมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาอยากทราบว่านักศึกษาควรประพฤติตัวอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร จึงใช้คำว่านักศึกษาไปค้นในกูเกิ้ล โดยหวังว่าจะได้รับข้อมูลเชิงแนะนำจากอาจารย์กู

ผลการสืบค้นคำว่านักศึกษา จาก google.com ไม่เป็นไปดังที่คาดไว้ เพราะพบคลิ๊ปรุนแรง ภาพติดเรท และเว็บผู้ใหญ่ในช่วงต้นของรายการ ซึ่งเป็นเรื่อง sex และ violence  จึงเป็นที่มาของคำถามว่าเราหวังฝากผีฝากไข้ได้มากน้อยเพียงใดกับข้อมูลที่ได้จากอาจารย์กู ในขณะที่โลกเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคคลิ๊ก หรือยุคจิ้มเขี่ย เด็กประถม 1 เข้าถึงอาจารย์กูตามนโยบายของรัฐบาล เด็กมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัยต่างรู้จักอาจารย์กู แล้วครู อาจารย์ก็มักมอบหมายให้ไปสืบค้น แทนการพึ่งพาหนังสือที่ฉายภาพว่าทันสมัยรู้จักใช้เทคโนโลยี แม้อาจารย์กูจะตอบคำถามมากมายได้ถูกต้อง แต่ก็มีข้อมูลเชิงลบมากมายคละเคล้ากับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็เพียงแต่หวังว่าเด็กประถมจะมีวิจารณญาณในการเลือกรับสื่อ รู้จักผิดชอบชั่วดีผ่านการแนะนำจากครูประจำชั้น หากจะหวังให้กูเกิ้ลเลือกเฉพาะสารสนเทศที่ดีเชิงบวกอย่างเดียวก็คงไม่ได้ เพราะกระแสวัฒนธรรมเปลี่ยนไป ต่อไปก็คงหวังพึ่งได้แต่คำว่าวิจารณญาณของผู้รับสารเท่านั้น

ค่าของเวลาของเราไม่เท่ากัน

time
time
มีนักศึกษาถามว่า เปิดเรียนวันไหน
ผมก็เข้าไปดูที่ http://it.nation.ac.th/std
ที่โฮมเพจสำหรับนักศึกษา พบปฏิทินการศึกษา และตารางเรียน และข้อมูลอื่น ๆ อีกเพียบ หากนึกถึงเรื่องเวลา ก็พบว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นมีอีเมลที่ใช้บริการจาก gmail.com ภายใต้โดเมน @nation.ac.th ของนักศึกษาก็จะเป็น @std.nation.ac.th และมีระบบ google calendar ให้ใช้
บริการระบบ google calendar มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการจัดสรรเวลา ทรัพยากรใดที่เรามีเหลือเฟือ ก็ไม่รู้สึกจำเป็นต้องจัดสรร เหมือนอากาศที่หายใจ ที่มีเหลือเฟือก็คงไม่ต้องนับว่าหายใจไปกี่ครั้งในหนึ่งนาที และได้เวลาหยุดหายใจ หรือเริ่มหายใจได้แล้ว (Lock-Out Movie 2012)
แต่อะไรที่มีจำกัดก็ต้องมีการจัดสรร เหมือนกับเวลา ท่านที่มีเวลาไม่พอ ทำอะไรก็รัดตัวไปหมด จำเป็นต้องมีปฏิทิน หรือตารางนัดหมายเข้ามาช่วย ซึ่งระบบ google calendar ช่วยได้มาก แต่ท่านใดมีเวลาเหลือเฟือ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ เพราะมีเวลามากพอ ทำให้รู้สึกไปว่า “ค่าของเวลาของเราไม่เท่ากัน
ปฏิทินการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2555
– เปิดเรียน 29 ตุลาคม 2555
– สอบกลางภาค 24 ธันวาคม 2555 – 4 มกราคม 2556
– วันสุดท้ายของการเรียนการสอน 15 กุมภาพันธ์ 2556
– สอบปลายภาค 18 กุมภาพันธ์ – 27 กุมภาพันธ์ 2556
– ประกาศผลการเรียน 15 มีนาคม 2556

Google To Offer Free 5GB Of Cloud Space

Google To Offer Free 5GB Of Cloud Space
Google To Offer Free 5GB Of Cloud Space

Google To Offer Free 5GB Of Cloud Space (25th April, 2012)

Google has entered the market for offering online storage space. Their new service, called Google Drive, will be in direct competition with rival (คู่แข่ง) cloud storage services like Dropbox, Apple’s iCloud and Microsoft’s SkyDrive. The search giant will offer 5GB (gigabytes) of storage for free for those wishing to keep their photos, documents and other files online. Keeping things in the cloud means users can access their files from any computer anywhere in the world, as long as it has Internet access. At the top end, Google will offer 16TB (terabytes) of space – at a price of $799.99 a month. Sixteen terabytes is sufficient to store 16,000 movies. For most people, the free 5GB option will be more than enough space.

Google senior vice-president of apps Sundar Pichai said the launch of Drive was an important step for the company. He wrote on a blog post: “Drive is a central place where you can create, share, collaborate and keep all of your stuff. You can take all your data, regardless (ไม่คำนึงถึง) of which device you’re on, and make it seamlessly available to you.” Some industry insiders believe Google’s entry into the cloud storage market could shake it up. Richard Edwards, an analyst at the research firm Ovum, said Google’s move could stir Facebook into action. “Facebook doesn’t have a cloud service but this may prompt it into an acquisition (การเข้าครอบครอง) ,” he said. He added: “If Facebook was to buy Dropbox, that would be a game-changer.”

http://drive.google.com

http://www.breakingnewsenglish.com/1204/120425-cloud_storage.mp3

http://www.breakingnewsenglish.com/1204/120425-cloud_storage.html

http://soundcloud.com/thaiall/google-to-offer-free-5gb-of

ปี 2012 ปีที่ Facebook อาจถล่ม Google

ก่อนนี้ชาวออนไลน์นิยมค้นหาเว็บไซต์แปลกใหม่บนกูเกิล (Google.com) แต่วันนี้หลายคนพบเว็บไซต์ใหม่ผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) ทิศทางทั้งหมดชัดเจนขึ้นมากในปี 2011 และกำลังมีแนวโน้มชัดเจนขึ้นอีกในปี 2012

สำนักข่าวพีซีเวิร์ลตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ทำให้มนต์ขลังของกูเกิลเริ่มเสื่อมลงคือการแชร์หรือแบ่งปันลิงก์ เว็บไซต์บนเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ หากลิงก์เว็บไซต์ใดถูกโพสต์บนเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ แล้วเกิดโดนใจผู้ใช้รายอื่น ลิงก์เว็บไซต์เหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อไปไม่รู้จบ ผลจึงทำให้ผู้ใช้สามารถพบเว็บไซต์ใหม่น่าสนใจบนเครือข่ายสังคมได้มากกว่าการ ค้นหาบนกูเกิล

หากมองในแง่ของสถิติการใช้งาน บริษัทวิจัย Nielsen ระบุว่าเฟซบุ๊กคือเว็บไซต์เดียวที่มีจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกต่อเดือนไล่ตามกู เกิลได้มากที่สุด ปี 2011 เฟซบุ๊กนั้นมี 137 ล้านยูนีคไอพี เทียบกับกูเกิลซึ่งมี 153 ล้านไอพี แม้จะน้อยกว่า แต่เฟซบุ๊กกลับมีระยะเวลาผูกติดกับผู้มใช้ได้มากกว่า โดยการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ชาวออนไลน์เทเวลามากกว่า 16% ให้กับเฟซบุ๊ก ซึ่งถือว่ามากกว่าเวลาที่ผู้ใช้เทเวลาให้เว็บไซต์อดีตยักษ์ใหญ่อย่างยาฮู (Yahoo), กูเกิล (Google), เอโอแอล (AOL) และยูทูบรวมกัน
เท่านี้ก็เรียกว่า เฟซบุ๊กสามารถถล่มเว็บไซต์อื่นได้ราบเรียบแล้วไม่เฉพาะกูเกิล แถมนาทีนี้ เฟซบุ๊กหรือ Facebook ยังกลายเป็นเว็บไซต์ที่ถูกค้นหาหรือเสิร์ชมากที่สุดในโลก โดยปี 2011 ถือว่าเฟซบุ๊กเป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกันมาแล้ว

หากมองย้อนไปที่กูเกิลพลัส (Google Plus) เว็บเครือข่ายสังคมที่กูเกิลสร้างขึ้นเองนั้นถูกกูเกิลการันตีว่ามีการแชร์ คอนเทนต์เกินกว่า 1 พันล้านครั้งแล้ว แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของการแชร์คอนเทนต์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งมีอัตราเติบโตมากกว่าเท่าตัวในแต่ละปี
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กูเกิลหมดมนต์ขลัง คือปัญหาเรื่องความปลอดภัย ในสายตาของชาวออนไลน์บางคน กูเกิลเริ่มเป็นสถานที่ซึ่งมีภัยเว็บไซต์ล่อลวงแฝงตัวอยู่จำนวนมาก และผู้ใช้ต้องระวังตัวในการคลิกลิงก์เว็บไซต์บนกูเกิลตลอดเวลา

ไม่แน่ว่ากูเกิลจะสามารถรู้ชะตาชีวิตตัวเองดีกว่าใคร จึงตัดสินใจเปิดตัวบริการกูเกิลพลัสซึ่งเป็นบริการที่สำคัญที่สุดนับตั้งแต่ กูเกิลเปิดบริการฟรีอีเมล Gmail ในปี 2004 ทั้งหมดนี้ทำให้แลร์รี่ เพจ (Larry Page) ผู้ก่อตั้งกูเกิลเบนเข็มบริษัทไปที่วงการโซเชียลมีเดีย โดยยอมตามหลังเฟซบุ๊กชนิดไม่แคร์สายตาใคร

หากรูปการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป กูเกิลซึ่งเป็นเจ้าแห่งตลาดเสิร์ชเอนจิ้นของโลกและครองตลาดโฆษณาออนไลน์ที่ ใหญ่ที่สุด จะต้องตกที่นั่งลำบากแน่นอน เพราะมีโอกาสสูงที่กูเกิลจะตกที่นั่งเดียวกับไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าตลาดเดสก์ท็อปอยู่ต่อไป แต่กลับไม่มีใครเห็นแววผู้นำในตัวไมโครซอฟท์

แน่นอนว่าเฟซบุ๊กคือส่วนหนึ่งในหลายเรื่องเด่นที่เกิดขึ้นตลอดปี 2011 ทั้งการจากไปของสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) และการบุกตลาดของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือปี 2011 คือจุดเริ่มต้นการครองตลาดโลกของเฟซบุ๊กที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งมีโอกาสที่อิทธิพลของเฟซบุ๊กจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กจะเริ่มขาย IPO และเข้าตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการ

ไม่แน่ว่า ปี 2012 เราอาจจะได้พูดถึงเฟซบุ๊กในฐานะเรื่องราวบนโลกไอทีที่ใหญ่ที่สุดประจำปีก็ ได้ ใครจะรู้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000166794

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

กูเกิ้ลพลัสเบต้า

google plus
google plus

ปลายมิถุนายน 2554 กูเกิ้ลได้เปิดตัวกูเกิ้ลพลัส (Google Plus) ซึ่งเป็นบริการที่ใหญ่กว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social Network) หวังชนกันเฟซบุ๊คอย่างเองจริงเอาจัง โดยมีคำเตือนสำหรับผู้สนใจก่อนเข้าสมัครว่า “อยู่ระหว่างทดสอบภาคสนามในวงจำก​ัด สิ่งต่าง ๆ อาจไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในขั้นตอนทดล​องใช้ภาคสนามนั้น คุณจะต้องรับผิดชอบต่อการคุ้มคร​องตนเองและข้อมูลของคุณจากความเ​สี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการสูญเสียข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูล

หลักจากสมัครและลงชื่อเข้าใช้กูเกิ้ลพลัส จะพบหน้าเว็บเพจที่มีพื้นสีขาว แบ่งพื้นที่ทำงานเป็นสามคอลัมน์ ภาพโปรไฟล์พอกัน ตัวอักษรสีฟ้าเหมือนกัน สามารถชอบได้ แบ่งปันได้ และมีอัลบั้มภาพ  แม้บริการยังไม่มาก แต่เชื่อได้ว่ากูเกิ้ลพร้อมพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงกับระบบของเขา โดยบริการเด่นที่ถูกหยิบมานำเสนอในรุ่นทดลองภาคสนามมี 3 บริการ คือ แวดวง (Circle) แฮงค์เอาท์ (Hangout) และสปาร์ค (Spark) ซึ่งแวดวงนั้นให้ความสำคัญกับคนรู้จักที่จำแนกตามกลุ่มอย่างชัดเจน คล้ายกับบัญชีกลุ่ม friends ของเฟซบุ๊ค แต่แวดวงจะมี news feed จำแนกตามแต่ละกลุ่ม

สปาร์ค เป็นบริการกำหนดคำที่สนใจ แล้วดึงข้อมูลข่าวล่าสุดจากเว็บไซต์ทั้งโลกตามคำที่สนใจมาให้เราได้อัพเดทผ่านกูเกิ้ลพลัส เป็นระบบเชื่อมโยงข่าวที่ยังไม่เห็นในเฟซบุ๊ค ทำให้การติดต่อกับสังคมเพื่อน และสังคมโลกเกิดขึ้นพร้อมกันในหน้าจอสี่เหลี่ยมเป็นจริง ส่วนแฮงค์เอาท์เป็นบริการที่ทำให้ผู้เขียนนึกไปถึงแคมฟรอก (Camfrog) ที่สามารถแชทกับเพื่อน ๆ ผ่านเว็บแคม (Webcam) ได้โดยง่าย หรือใช้แทน Video call ของ Skype ได้ในระหว่างที่อยู่ในเครือข่ายสังคม เรียกว่ากูเกิ้ลพลัสให้มาครบแม้อยู่ในรุ่นทดสอบ คือคุยกับเพื่อนผ่านแป้นพิมพ์ ติดตามข่าวสารตามคำที่สนใจ เช่น ยิ่งลักษณ์ อภิสิทธิ์ เป็นต้น สนทนาผ่านเว็บแคมกับเพื่อนในเครือข่ายสังคมแบบเห็นหน้าก็ได้ แต่ปัญหาคือยิ่งเพื่อนมากก็ยิ่งเรื่องมาก มีเรื่องมาให้ปวดหัวเป็นเงาตามตัวเสมอ ต้องระวังระแวงไว้บ้าง

โฆษณา google chrome

วนดูคลิปรายการทีวี พบว่า คุณพรทิพย์ กองชุน ให้สัมภาษณ์วู้ดดี้ในรายการ เช้าดูวู้ดดี้ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. พ.ศ. 2554 พูดถึงโฆษณาทางทีวีของ Google Chrome ในประเทศไทย เป็นประเทศแรกในโลก .. แล้วผมก็อุทานว่าให้ตายสิโรบิ้น โดยเนื้อหาเกี่ยวกับคุณพ่อที่ส่งอีเมลด้วย gmail.com ถึงน้อมนิม ส่งรูป และวิดีโอคลิป ทั้งเที่ยวทะเล เข้าโรงพยาบาล วันเกิด ฟันหลอ แล้วบอกว่าตอนโตจะยกอีเมลให้ ประโยคสุดท้ายเขียนว่า เว็บคือสิ่งที่คุณสร้างสรรค์ .. ดูแล้วคิดตามจนเตลิดเปิดเปิงเลยครับ

เตลิด = กระเจิดกระเจิง ไปคนละทิศละทาง

Feedback หลังชมคลิป
1. เนื้อหาข้างบน เป็น Feedback ของผมหลังดูคลิป
2. เนื้อหาข้างล่าง เป็น Feedback ใน Rakmanagerpro.com

น้องนิมในโฆษณา Google Chrome จากใจพ่อ : ลองพิมพ์อีเมล์ไปหาน้องนิมดีกว่าครับ

http://www.rackmanagerpro.com/email-to-nong-nim/

ถึงน้องนิม (คุณพ่อชื่อนรินทร์)

เห็นคุณพ่อของน้องนิมได้ขึ้นโฆษณาทีวีแต่ก็ไม่ได้พูดอะไรมากนัก แล้วก็ไม่ได้เห็นหน้าเห็นตาอีกต่างหาก ได้แต่พิมพ์เนื้อความแล้วก็บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เอาไว้ โดยการส่ง email ไปหาหนูนิมผ่านทาง ​Gmail โดยที่น้องนิมเองก็ยังเปิดหรืออ่านไม่ออก ถ้าหากว่าวันไหนน้องนิมได้อ่าน email นี้แสดงว่าเวลาจะต้องผ่านไปนานหลายปีแล้วทีเดียว ก็ไม่รู้ว่า Gmail จะมีลบ account ที่ไม่ได้ active ออกไปหรือเปล่านะ แต่ถ้าหากว่าน้องนิมได้อ่านแสดงว่า Google ไม่ได้มีนโยบายนี้ล่ะครับ

แต่ว่าจริง ๆ แล้วต้องบอกคุณพ่อน้องนิมไว้สักหน่อยว่า การเอา email ใด ๆ ไปแสดงไว้ในที่สาธารณะจะทำให้มีการ Spam ไปหา email นั้นได้ แล้วก็จะมีพวกประหลาด ๆ จะส่ง email ไปคุยกับน้องนิม โดยคิดว่าน้องนิมจะเปิดอ่านเข้าสักวันอะไรอย่างงั้น

วันที่น้องนิมจะได้อ่าน email ทั้งหมด วันนั้นจะเป็นวันที่คุณพ่อน้องนิมจะให้ password เพื่อเข้าไปอ่านเนื้อความหรือ email ที่คุณพ่อพิมพ์ส่งเก็บไว้และแน่นอนว่ามันจะเป็น Unread อยู่ใน inbox ทั้งหมด แต่ว่าแย่กว่านั้นหน่อย เพราะน้องนิมจะมี email ที่เป็น Spam หารายได้ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่ในนั้นด้วย อาจจะทำให้ความประทับใจลดน้อยลงไปมาก ๆ ได้นะ

แต่ว่าน้องนิมอาจจะชินแล้วก็ได้ เพราะคิดว่าก่อนหน้าที่น้องนิมจะได้มาใช้ Gmail น้องนิมก็จะแอบไปเปิด Account Hotmail เอาไว้ก่อนแล้ว Hotmail ก็จะไม่ค่อยกรองสแปมให้น้องนิมสักเท่าไหร่ล่ะ เอาเป็นว่าอย่าไปคิดมากเรื่อง Spam เลยแล้วกัน แค่อยากจะให้น้องนิมเดินไปบอกคุณพ่อหน่อยว่า ถ้าหากว่าจะ พิมพ์เนื้อหา หรือ ข้อมูลเก็บเอาไว้ แนะนำว่า ทำเป็น Google Site จะดีกว่าหรือเปล่า หรือจะดีกว่านั้นเลยก็ทำเป็น Blog ไว้ก็ได้ ถ้าหากว่าไม่อยากจะให้ภาพออกมาเป็นสาธารณะ เราสามารถที่จะกำหนดได้เหมือนกันหากคุณพ่อสร้าง Website ด้วย WordPress แล้วเราก็บอก Google ว่าไม่ต้องมา index หน้าเว็บ หน้าเว็บนั้น ถ้าหากว่าน้องนิมไม่ได้ บอก Domain name ใครก็จะไม่มีใครรู้หรอกว่ามีเว็บนี้อยู่ในโลก แต่เข้าใจว่าคุณพ่อไม่อยากจะเสียเงิน 3000 บาท เพื่อซื้อชื่อ Domain name สิบปีล่วงหน้าก็ได้นะ (คุณพ่อแอบงกเนาะถ้าหากว่าเค้าคิดอย่างงั้นจริง ๆ)​

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ตอนนี้น้องนิมได้ Account Gmail มาใช้แล้วก็อยากจะบอกว่าลองเข้าไปที่เว็บที่พี่พิมพ์เนื้อความเก็บไว้เกี่ยวกับการใช้งาน Gmail นะโดยการพิมพ์ว่า “site:rackmanagerpro.com gmail” โดยไม่ต้องใส่ฟันหนูที่ Google มันจะแสดงรายการ link เก่า ๆ ที่เคยพูดถึงการใช้งาน Gmail ไว้อยากจะให้หนูนิมได้อ่าน จะได้ใช้งาน Gmail ได้คล่อง ๆ นะ

สุดท้ายท้ายสุด

Happy Birthday
น้องนิม ไม่ว่าน้องนิมจะครบรอบวันเกิดปีที่เท่าไหร่ก็ตามครับ

จากใจคนพิมพ์ Blog Rackmanagerpro.com