กรุงเสีย หรือเสียกรุง

คลิ๊ปนี้เชื่อว่า คนเราจะมองปัญหาในอดีต
แล้วจะไม่ปล่อยให้ปัญหาในอดีต เกิดขึ้น
อีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้งในปัจจุบัน
http://www.youtube.com/watch?v=D5P9Bm8ua9Q

23 เม.ย.2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่ฮือฮากันกันในโลกออนไลน์ถึงคลิปวิดีโอ 7 นาทีชื่อ “จดหมายเหตุ กรุงเสีย”  ยิ่งในช่วงเวลาที่ไทยกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชากรณีเขาพระวิหาร ขณะเดียวกันคลิป “The Fall of Ayutthaya จดหมายเหตุกรุงเสีย” ก็ได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งของชาวโซเชียล

สำหรับคลิปวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย.2555 จัดทำโดย นายกีรติ วรรณเลิศศิริ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับเลือกให้ไปแสดงโชว์ในงานปล่อยแสงของ TCDC เมื่อปี 2555 และมีการนำมาลงในเว็ปไซต์ยูทูปอีกครั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับชมซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ไทยและกัมพูชาในเวลานี้พอดี

สารจากประธานกรรมการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด

nmg : Nation Multimedia Group
nmg : Nation Multimedia Group

http://www.nationgroup.com/about_3.php

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ nationgroup ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2555

สารจากประธานกรรมการ

ปี 2554 ประเทศไทยประสบเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น ทั้งความปิติยินดีในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา และการสูญเสียจากมหาอุทกภัยดังที่เราทราบดี การทำหน้าที่ของสื่อต่างๆ ของเครือเนชั่นในปี 2554 นอกจากจะยังมั่นคง เที่ยงตรงต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นจุดยืนที่เรายึดมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงมหาอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ในรอบ 50 ปี เครือเนชั่นได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับน้ำใจจากคนไทยทั่วทุกสาขาอาชีพ ส่งมอบต่อผู้ที่ตกทุกข์ลำบากจากวิบัติภัยครั้งนี้อย่างเข้มแข็ง ผ่านสื่อต่างๆ ที่เรามีครบวงจร

เครือเนชั่นในฐานะสื่อคุณภาพ ไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างนวัตกรรมและ ความแปลกใหม่ให้กับวงการสื่อ พร้อมมุ่งพัฒนาเนื้อหาที่มีคุณค่า เพื่อตอบสนองต่อผู้รับสื่อทุกท่าน

ปี 2555 จึงเป็นอีกหนึ่งปีที่ผู้อ่าน และผู้สนับสนุนเครือเนชั่นจะได้ร่วมประสบการณ์ใหม่ไปกับสื่อใหม่ๆ ด้วยเราตระหนักว่า เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น วิถีชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ของคนไทยได้เปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่ง สื่อหลักอย่างเครือเนชั่นจึงไม่พลาดโอกาสที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ารูปแบบการรับสื่อจะแปรเปลี่ยนไปอย่างหลากหลายอย่างไร

ทิศทางธุรกิจในปี 2555 ของเครือเนชั่น นอกจากจะมุ่งเพิ่มคุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างไม่หยุดยั้ง เรายังคงเดินหน้านำเนื้อหาที่มีคุณค่า จากผลผลิตของทีมข่าวที่มีคุณภาพของเรา นำเสนอออกไปในทุกๆแพลทฟอร์ม ที่ทำให้ผู้รับสารเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

ความนิยมในสื่อใหม่ (New Media) และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้ง เครือเนชั่นไม่ได้มองข้ามปรากฎการณ์นี้ เราพร้อมเต็มที่ที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่สื่อใหม่ เพื่อเป็นช่องทางนำเนื้อหาที่มีคุณภาพของเราส่งต่อไปยังผู้รับสื่อให้มากที่สุด

เราเชื่อมั่นว่าการมุ่งขยายสู่แพลทฟอร์มใหม่ๆ ของการนำเสนอ ข่าวสาร-ข้อมูล-ความรู้-ความบันเทิง หรือคอนเทนท์ทั้งมวลของเครือเนชั่น ในรูปแบบ New Media และ Social Media จะเป็นทั้งส่วนสนับสนุน และเพิ่มสีสัน ให้กับสื่อสิ่งพิมพ์ที่แข็งแกร่งของเครือเนชั่น

ในปี 2555 เราเชื่อมั่นว่า สื่อสิ่งพิมพ์จะเติบโตต่อเนื่องไปอีก โดยสื่อใหม่จะเป็นสื่อเสริมที่เราให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน สอดรับกับกระแสความนิยมของคนไทยต่อสื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ โอกาสของเครือเนชั่น

ปี 2554 สื่อโทรทัศน์มีส่วนแบ่งจากรายได้โฆษณาหกสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จากยอดงบประมาณโฆษณาของสื่อทุกๆ สื่อ ที่มียอดเงินประมาณหนึ่งแสนล้านบาท สื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เราได้เห็นโทรทัศน์ดาวเทียมเกิดขึ้นใหม่มากกว่า 200 ช่อง

ผู้ชมทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลมีอัตราเติบโตก้าวกระโดด การแข่งขันของสื่อโทรทัศน์จะเข้มข้นอย่างน่าติดตาม ผู้ที่ได้เปรียบคือผู้ที่มี “เนื้อหา” (Content) เพราะไม่ว่าจะเป็นสื่อดั้งเดิมหรือสื่อใหม่ เนื้อหาสาระเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

เครือเนชั่นซึ่งมี Content มากองค์กรหนึ่งของประเทศ จะมีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้น ในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ ในปี 2555 เราพร้อมที่จะผลิต Content ป้อนสู่ Free TV, Satellite TV, IPTV หรือ TV ทุกๆ รูปแบบ

เครือเนชั่นไม่จำเป็นจะต้องตีกรอบตัวเองอยู่ภายใต้การทำธุรกิจสื่อเท่านั้น โอกาสที่เราจะลงทุนขยายธุรกิจอื่นๆ ที่มีอนาคตเราจะไม่ปฏิเสธ โดยเฉพาะธุรกิจด้าน Digital ทั้งในรูปแบบ E-Commerce, M-Commerce, S-Commerce, Education, Games และ Entertainment ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดกว้าง รอผู้ที่มีความพร้อมเข้าร่วมแข่งขัน

วันนี้เครือเนชั่นมีความพร้อมเต็มที่ ในการเสริมสร้างต่อยอดและขยายธุรกิจด้านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อใหม่ การศึกษา และโอกาสการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่มีอนาคตรออยู่

เมื่อต้นปี 2554 เครือเนชั่นได้เริ่มเข้ารับผิดชอบบริหารมหาวิทยาลัยโยนกที่จัดหวัดลำปาง โดยในปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้เปิดการเรียนการสอน สาขานิเทศศาสตร์ ณ ศูนย์ศึกษากรุงเทพฯ และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัย ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น (Nation University)” อย่างเป็นทางการแล้ว

สำหรับปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยเนชั่น จะเปิดศูนย์ศึกษาที่กรุงเทพฯ เต็มรูปแบบ โดยใช้อาคารด้านหน้าของเครือเนชั่นทั้งอาคาร นอกจากเพิ่มความคึกคักทางด้านนิเทศศาสตร์แล้ว เราพร้อมเปิดเพิ่มคณะบริหารธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนของทีมงานหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกวงการ และจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้การสอนด้านธุรกิจของเรามีคุณภาพ ตามนโยบายที่เรามุ่งเน้นคือ “เรียนกับมืออาชีพ” เน้นการปฏิบัติหรือลงมือทำด้วยตนเองในระหว่างเรียนไม่ว่าที่กรุงเทพฯ หรือลำปาง

เครือเนชั่นฯ มีความพร้อมสูงสุดที่จะเดินหน้าทำสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมไทยทุกๆด้าน อย่างมีจุดยืนมีมาตรฐานเหมือนกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ด้วยความพร้อมเพรียงของผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เราได้ส่งเสริมสนับสนุน และฝึกฝน จนมีความพร้อม และมั่นใจว่าผู้บริหารเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถของเครือเนชั่นฯ ให้เดินหน้าต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้อย่างมั่นคง และเข้มแข็งยิ่งขึ้นสืบต่อไป

สุดท้ายนี้ในนามของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในเครือเนชั่นฯ ขอถือโอกาสนี้ กล่าวคำขอบคุณทุกๆ ท่านที่ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุนเครือเนชั่น อย่างอบอุ่น มั่นคง และ สม่ำเสมอ เราให้คำมั่นว่าเราจะมุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานต่อไปอย่าง มั่นคง และ เที่ยงตรงต่อการทำหน้าที่สื่อคุณภาพ ด้วยความมุ่งมั่นภายใต้อุดมการณ์ คาดว่าปี 2555 เป็นปีที่เราจะประสบความสำเร็จอย่างงดงามอีกปีหนึ่ง

nmg board
nmg board

บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
1858/118-119, 121-122, 124-130 อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้น 27-32 ถนนบางนา-ตราด, แขวงบางนา, เขตบางนา, กรุงเทพฯ 10260
โทร: 0 2338-3333 ต่อ 3289 (เวลาทำงานจันทร์-ศุกร์ 8.30-17.30) โทรสาร: 0 2338-3936

บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (Nation Multimedia Group Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อสารมวลชนครบวงจร ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยเริ่มจากการออกหนังสือพิมพ์ The Voice of the Nation หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษในไทยฉบับแรก ที่มีชาวไทยเป็นเจ้าของ โดยมีบุคคลสำคัญประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์, ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, และ ธนะชัย สันติชัยกูล

สิ่งพิมพ์และสื่อในเครือ
– เดอะ เนชั่น
– กรุงเทพธุรกิจ
– คมชัดลึก
– เนชั่น จูเนียร์
– เนชั่น สุดสัปดาห์
– เนชั่น แชนแนล
– แมงโก้ทีวี
– ระวังภัย 24 ชั่วโมง
– อาเซียนทีวี
– วิทยุเนชั่น
– โอเคเนชั่น
– เนชั่นบุ๊คส์

บริษัทในเครือ
– บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น
– บมจ.เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์
– บจก.เนชั่น เอ็กมอนท์
– บจก.เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
– บจก.เอ็นคูปอง
– บจก.เนชั่น นิวส์ เน็ตเวิร์ค
– บจก.กรุงเทพ ธุรกิจ มีเดีย
– บจก.คมชัดลึก มีเดีย
– บจก.ดับบลิวพีเอส
– บจก.เอ็นเอ็มแอล
– บจก.เนชั่น ยู

http://www.nbc.co.th/aboutnbc-history.html

ประวัติยานยนต์ไทย

ford assembly
ford assembly line

รถยนต์ (อังกฤษ: car , automobile) หมายถึง ยานพาหนะทาง บกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ

ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว

รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนตร์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย
การกำเนิดรถยนต์ในประเทศไทยและการที่พระราชวงศ์ไทยสนพระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นแทบ จะเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงเปลี่ยนศตวรรษเมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ รถยนต์คันแรกขึ้นบกที่ท่าเรืออู่บางกอก และมีการขับไปตามท้องถนนท่ามกลางสายตาของประชาชนที่เฝ้ามองอย่างพิศวง รถยนต์สมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรถยี่ห้อใด คันเกียร์และคันห้ามล้อ ติดตั้งอยู่นอกตัวถ้งด้านขวามือของผู้ขับ รถยนต์อันเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อใดยังเป็นข้อถกเถียงไม่สิ้นสุด แต่เชื่อกันว่าเป็นชาวต่างชาติเป็นผู้สั่งเข้ามาเป็นคนแรก รถคันนี้มีลักษณะคล้ายกับรถบดถนนในปัจจุบัน มีล้อเป็นยางตัน หลังคาคล้ายปะรำ ที่นั่ง 2 แถว ใช้น้ำมันปิโตเลียมเป็นเชื้อเพลิงและรถมีกำลังเพียงวิ่งตามพื้นราบ ไต่ขึ้นเนินสะพานไม่ได้ การใช้งานของรถคันแรกจึงมีขีดจำกัดเพราะท้องถนนเมืองบางกอกเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองสูง เพื่อให้เรือลอดผ่านได้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของรถยนต์ยุคนั้น

รถยนต์คันแรกสามารถปลุกเร้าความสนใจของคนไทยและคนต่างชาติได้เป็นอย่างดี ต่อมาไม่นานเจ้าของรถคันดังกล่าวก็ขายต่อให้จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ถือเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ท่านจอมพลฯ ซื้อรถยนต์มาทั้งที่ขับไม่เป็นจึงต้องให้ท่านพระยาอนุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต) น้องชายเป็นผู้ขับแทน เชื่อกันว่าพระยาอนุทูตวาทีเป็นคนไทยคนแรกที่ขับรถยนต์ได้ เนื่องจากเคยทำงานที่ประเทศอังกฤษจึงมีโอกาสได้ขับรถยนต์ ต่อมาก็สอนคนอื่นเรียนรู้การขับรถยนต์อย่างแพร่หลาย หลังการซื้อรถมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้มีโอกาสขับโลดแล่นไปตามท้องถนน เมืองบางกอกอยู่หลายปีก่อนที่รถคันแรกจะเสื่อมสูญไปตามกาล ยุคนั้นผู้ที่สั่งรถเข้ามาจะเป็นพระราชวงศ์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2411 พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติยานยนต์ของไทย ปี 2447 มีรถยนต์ 3 คันเข้ามาวิ่งในถนนบางกอก แต่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นรถยนต์ยี่ห้ออะไรและใครเป็นเจ้าของ

ปีนั้นเองรัฐบาลเห็นความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีใหม่ไม่น้อย โดยได้สั่งซื้อรถแวนแล่นได้เร็วถึง 10 ไมล์ต่อชั่วโมงเพื่อใช้ในการขนส่งทองแท่งเงินแท่งและเหรียญกษาปณ์หนักหนึ่ง ตัน ในพ.ศ. เดียวกันนั้น ขณะที่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงประชวรและเสด็จรักษา พระองค์ที่กรุงปารีส ได้ทรงซื้อรถยนต์เดมเลอร์-เบนซ์หนึ่งคันซึ่งถือว่าเป็นรถที่ดีที่สุดในยุค นั้น เมื่อทรงเสด็จกลับแผ่นดินสยาม พระองค์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายรถคันดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทย และผู้ที่ทำหน้าที่สารถีก็คือกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์นั่นเอง รถยนต์หลวงคันที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเมอเซเดส-เบ็นซ์ ปี 2448 ได้รับพระราชทานนามว่า “แก้วจักรพรรดิ์” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งมากเพราะ มีความสะดวกสบายและเดินทางได้เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจจะเสด็จไปที่ต่างๆ ด้วยรถยนต์พระที่นั่งคันดังกล่าวเสมอ ต่อมาทรงเล็งเห็นว่ารถคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกหนึ่งคัน เสด็จในกรมฯกรมหลวงราชบุรีฯ เป็นผู้แทนพระองค์ในการสั่งซื้อและทรงเลือกรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งเป็นรถนำเข้าโดยตรงจากประเทศเยอรมนี รุ่นปี 2448 เครื่องยนต์สี่ลูกสูบขนาด 28 แรงม้า วิ่งเร็ว 73 กม.ต่อชั่วโมง นับว่าเร็วมากในยุคนั้น

รถพระที่นั่งคันนั้นเกือบเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เมื่อมาถึงคณะกรรมการตรวจรับ ช่วยกันเติมน้ำมันเบนซินใส่ถัง โดยไม่มีใครสังเกตเห็นละอองน้ำมันลอยฟุ้งไปถึงตะเกียงรั้วซึ่งแขกยามแขวนไว้ ในโรงม้าที่อยู่ใกล้ ๆ กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อน้ำมันเบนซินในปี๊บลุกเป็นไฟอย่างฉับพลัน ต้องช่วยกันใช้ฟ่อนหญ้าสำหรับม้ากินฟาดดับไฟ แขกโรงม้าต้องวิ่งไปเอาถังน้ำมาช่วยดับอีกแรง ทุกคนต้องอกสั่นขวัญแขวนเมื่อตรวจพบว่าเปลวไฟลวกสีรถเกรียมไปแถบหนึ่ง บานประตูใช้ไม่ได้อีกข้างหนึ่ง ผู้รับผิดชอบที่นำข่าวร้ายไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวคือพระเจ้าลูกยาเธอกรมหลวงราชบุรีฯ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สวนอัมพร ทรงนิ่งอึ้งชั่วครู่ ก่อนที่รับสั่งให้ซ่อมแซมความเสียหาย 2-3 สัปดาห์ต่อมารถซ่อมเสร็จ คณะกรรมการจึงนำรถมาถวายให้ทอดพระเนตรพระองค์ขึ้นประทับและทรงลองขับดูชั่ว ครู่ทรงรู้สึกว่าต้องพระราชหฤทัย ความนิยมในการใช้รถยนต์แพร่หลายในหมู่พระราชวงศ์และคหบดีในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่า สมควรจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง ดังนั้นปลายฤดูฝน วันที่ 7 ตุลาคม ปี 2448 จึงมีพระบรมราชโองการให้มีการชุมนุมพบปะกันของรถยนต์ครั้งแรกในเมืองบางกอก

ปรากฏว่ามอเตอร์โชว์ครั้งแรกของสยามมีรถยนต์ไปชุมนุมในบริเวณพระบรมมหาราช วังทั้งสิ้น 30 คัน พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าของรถทุกคน ครั้นเวลาบ่ายสี่โมงเย็นจึงเคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสนและเลี้ยวเข้าสู่สวน ดุสิตสองข้างทางมีผู้คนยืนเรียงรายชมขบวนด้วยความตื่นตาตื่นใจ ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี 2451 ทรงสั่งรถยนต์เข้ามาเป็นของขวัญพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นสูงเพื่อใช้ในราชการแผ่นดิน ทรงสั่งรถยนต์จำนวน 10 คันจากฝรั่งเศสเช่นเคยและทรงพระราชทานนามแก่รถยนต์แต่ละคันเช่นเดียวกับพระ ราชทานนามแก่รถยนต์แต่ละคันเช่นเดียวกับพระราชทานนามช้างเผือก เพื่อแสดงถึงฐานะและความมั่งคั่ง เวลาข้าราชบริพารพูดถึงรถจึงไม่เรียกชื่อรุ่นหรือยี่ห้อ แต่จะเรียกชื่อพระราชทานเป็นเรื่องสับสนสำหรับชาวต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาไทย ว่าหมายถึงรถคันไหน ตัวอย่างนามพระราชทานเช่น แก้วจักรพรรดิ, มณีรัตนา, ทัดมารุต, ไอยราพต, กังหัน, ราชอนุยันต์, สละสลวย, กระสวยทอง, ลำพองทัพ, พรายพยนต์, กลกำบังและสุวรรณมุขี เป็นต้น

400 กว่าคัน .. ทั่วประเทศครั้งแรกของกฎหมายรถยนต์
เมื่อมีการใช้รถอย่างแพร่หลาย ถนนเมืองบางกอกเริ่มมีการประลองความเร็วกันจนฝุ่นตลบสร้างความเดือดร้อนให้ คนที่สัญจรไปมาเป็นอย่างมากอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อุบัติเหตุถึงชีวิตเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 2448 แต่ก็ไม่ทำให้ความนิยมในการใช้รถถดถอยลง หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ในสมัยนั้นจึงมีข่าวอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรางไฟฟ้า พาดหัวไม้ให้อ่านแทบทุกวัน โดยคู่กรณีมีทั้งสองล้อ สามล้อและสี่ล้อ แม้กระทั่งรถยนต์ประสานงากับรถม้าหรือคนเดินเท้าจึงเป็นที่มาของกฎหมายจราจร ในเวลาต่อมา จำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนโกงก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากมีการขโมยรถแล้วเจ้าของรถบางคนก็ใช้เล่ห์เลี่ยมขายรถแล้วกล่าวหาว่าคน ซื้อเป็นขโมย ต้องเดือนร้อนขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อยุติปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ ฉบับแรกของไทยขึ้นเมื่อปี 2452 ให้มีผลบังคับใช้ในปีถัดมา พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย และเสียค่าธรรมเนียมคันละ 10 บาท รถยนต์นั่งและรถบรรทุกในพระราชอาณาจักรที่มีการจดทะเบียนในเวลานั่นมีจำนวน ดังนี้ เมืองบางกอกและจังหวัดใกล้เคียงมี 401 คัน นครสวรรค์ 1 คัน นครศรีธรรมราช 2 คัน ภูเก็ต 2 คันและภาคเหนือ 6 คัน รถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองบางกอกเป็นอย่างมาก ถนนที่เคยจอแจด้วยรถลากและรถม้าก็มีรถยนต์วิ่งไปมาทั้งวัน ในเวลาต่อมาถนนหลายสายก็ผุดขึ้น ป้อมปราการหลายแห่งเริ่มหายไป ประตูเมืองบางที่ถูกทุบเพื่อนำอิฐและเศษปูนมาปูเป็นถนน

กำเนิดธุรกิจรถยนต์รถอิมพอร์ตเฟื่องฟู
เมื่อมีผู้นิยมใช้รถมากขึ้น ร้านรวงในย่านการค้าเมืองหลวงเริ่มเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์จะมีการขึ้นป้าย ประกาศเปิดกิจการของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่ ส่วนใหญ่เจ้าของร้านมักจะเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาหากินในเมืองไทย ซึ่งไม่ต่างกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันรถยี่ห้อใหม่ ๆ หลั่งไหลเข้ามาสนองความต้องการของลูกค้าผู้กระหาย
-จี.อาร์.อองเดร.ตั้งอยู่สี่กั๊กพระยาศรี ตัวแทนจำหน่ายของอดัม โอเพล แห่งรัสเซลส์ไฮม์
-บางกอก ทรัสต์ ลิมิเทด ตั้งอยู่ยานนาวา ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งของอาร์ม สตรอง ซิดลีด์,ไซเลนท์ ไนท์ และฟอร์ด และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถบรรทุก รถโดยสารของสตาร์ สโตร์ บริษัทนี้มีอู่ซ่อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรองรับรถได้ถึง 20 คัน
-กองตัวร์ ฟรองซัว ดือ เซียม ตั้งอยู่ถนนสี่พระยา จำหน่ายรถฝรั่งเศสหลายยี่ห้อ
-จอห์น เอ็ม. ดันลอป ตัวแทนจำหน่ายรถของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส จำกัด ของสหรัฐอเมริกา
-เอส.เอ.บี. ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง จำหน่าย รถแบลริโอต์ และมีอู่ซ่อมรถหลายยี่ห้อ
-สยาม อิมพอร์ท คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถนาปิแอร์
-ส่วนรถเปอร์โยต์มีผู้จำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวคือ สยาม ฟอเรสต์ ทรัสต์ ลิมิเทด
-วินด์เซอร์ คัมปะนี เป็นตัวแทนจำหน่ายรถกาเกเนา มีอู่ซ่อมขนาดใหญ่เช่นกัน

ความนิยมการใช้รถทำให้เกิดธุรกิจมือสองตามมา ในปี 2450 โดยพระพิศาลสุขุมวิท โชคดีจับสลากชิงรางวัลรถยนต์ของชาวต่างชาติผู้หนึ่งเสมือนเป็นการขายทอดตลาดรถมือสอง

+ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
+ http://www.chuansin.com/doctorcar/auto-history-1.html
+ http://www.car2t.com/news-20
+ http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=78407890c6b3191a
+ http://www.hanabika.com/bbs/archiver/?tid-1542.html