เธอเป็นแฟนฉันแล้ว

เนื้อเพลง เธอเป็นแฟนฉันแล้ว

 

ตะวันหลับตา
ท้องฟ้าก็ทาสีดำ
และสิ่งที่ฉันต้องทำ
เป็นประจำ คือคิดถึงเธอ
ใจฉันเหมือนนก
คอยบินไปนอกหน้าต่างเสมอ
อยากบินไปบ้านเธอ
อือ ฮือ ฮือ ฮื้อ ฮือ

เธอคงหลับแล้ว
ไม่รู้อะไรบ้างเลย
ว่ามีใครเขาแอบเผย
ความในใจ เป็นตัวหนังสือ
ถ้อยคำว่ารัก
ฉันเขียนให้เธอโดยไม่หารือ
บางครั้งฉันยังฝึกปรือ
บอกรักเธอหน้าตู้กระจก

* เธอเป็นแฟนฉันแล้ว
รู้ตัวบ้างไหม
แล้วเมื่อไรหนอฉันจะได้เป็นแฟนของเธอ
ก่อนนอนฉันเขียนบันทึกถึงเธอเสมอ
อยากบอกรักเธอ
อย่างเป็นทางการแต่ไม่กล้าพอ

** เรื่องราวความรัก
ลงเอยจะยิ้มหรือเศร้า
ฉันก็ไม่อาจเดา
คิดมากไปก็กลัวเป็นทุกข์
มากขึ้นทุกวัน
รักฉันเหมือนเหรียญที่หยอดกระปุก
ฉันมีความสุข
แม้เป็นแค่คนที่แอบรักเธอ

( ซ้ำ * , ** )

มากขึ้นทุกวัน
รักฉันเหมือนเหรียญที่หยอดกระปุก
ฉันมีความสุข
แม้เป็นแค่คนที่แอบรักเธอ

https://wall.alphacoders.com/by_group.php?id=250

หุ่นยนต์คิดแบบในหนังคงยังไม่มี (itinlife508)

cyborg she
cyborg she

มีภาพยนตร์มากมายที่กล่าวถึงการสร้างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ก้าวต่อไปคือการสร้างหุ่นยนต์มารับใช้มนุษย์ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างหุ่นยนต์ แต่สิ่งที่เรายังทำกันไม่สำเร็จคือการสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือทำให้หุ่นยนต์คิดเองได้ โดยไม่ต้องรอรับคำสั่ง ส่วนนวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์มีความสำเร็จเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จินตนาการเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ มีภาพยนตร์มากมายฉายสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในแง่มุมที่หลากหลายทั้งด้านประโยชน์ และปัญหา

หุ่นอาร์ทูดีทู หรือซีทรีพีโอในสตาร์วอร์ส (Star war) เป็นหุ่นยนต์ที่นักดูภาพยนตร์คงจดจำกันได้ดีกว่าเรื่องอื่น แต่ความเหมือนมนุษย์ยังไม่เด่นชัด หากหุ่นยนต์สามารถคิดเองได้ หรือรู้จักการเรียนรู้แล้ว มีภาพยนตร์ที่สะท้อนปัญหาให้เห็น คือ เทอมิเนเตอร์ (Terminator) ที่เล่าว่าถ้าหุ่นยนต์คิดเองได้ ก็จะรู้ว่ามนุษย์เป็นภัยต่อหุ่นยนต์เก่า เพราะมนุษย์ชอบของใหม่เสมอ เพื่อความอยู่รอดของหุ่นยนต์ที่จะต้องเก่าในอนาคต จึงต้องกำจัดมนุษย์ซะก่อนที่จะสายเกินไป และเริ่มดำเนินการในทันที ต่อมาผู้สร้างภาพยนตร์ก็เปลี่ยนแนวว่าเราสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ โดยการเพิ่มคำสั่งห้ามทำร้ายมนุษย์ให้เป็นเงื่อนไขสำคัญ จนมีภาพยนตร์เรื่องไอโรบอต (irobot) หรือออโตเมต้า (Automata) ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสบายใจได้ว่าหุ่นยนต์จะไม่มีวันทำร้ายมนุษย์ แต่กฎย่อมมีข้อยกเว้น เมื่อเวลาผ่านไปกฎที่เคยใส่เข้าไปในหุ่นยนต์ก็อาจถูกเปลี่ยน พัฒนา หรืออัพเกรด จนหุ่นยนต์อาจเป็นภัยต่อมนุษย์ได้

ผู้สร้างภาพยนตร์ได้เนรมิตเรื่องราวให้หุ่นยนต์มีความเหมือนมนุษย์มากขึ้นไปอีก ด้วยการสร้างหุ่นยนต์ที่คิดว่าตนเองเป็นมนุษย์ คนที่พบเห็นก็ไม่รู้ เช่น เอวา (EVA) หรือสครีมเมอร์ส (Screamers) หรือไบเซนเทนเนียลแมน (Bicentennial Man) แต่ความเหมือนมนุษย์นั้นก็แฝงมาด้วยภัยซ่อนเร้น เช่น เอวาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย แต่ผู้สร้างดื้อรั้นขอเก็บไว้ สุดท้ายก็แสดงความรุนแรงออกมาจนทำร้ายผู้สร้าง ส่วนสครีมเมอร์สก็วิวัฒนาการจากอุปกรณ์ที่ดำดินไปสังหารศัตรูขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์สาวสวยเหมือนมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อและชีวิตจิตใจ แต่เรื่องไบเซนเทนเนียลแมนเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่สะท้อนให้เห็นเฉพาะมุมบวกของหุ่นยนต์ที่มีขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ และตัดสินใจปิดเครื่องของตนเองด้วยความเชื่ออย่างมนุษย์ แต่วันนี้เรากำลังพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดขึ้นจริง แล้วมาลุ่นกันว่าชีวิตจริงในอนาคตจะเหมือนภาพยนตร์เรื่องใด