ผมใช้ tablet แบบ two-way ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only
จึงมองหาการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนกับผู้คนใน social network พบปัญหากับอุปกรณ์ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง เริ่มสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปรึเปล่า
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน
—
มีความเชื่ออยู่ว่า ความเคยชิน ทำให้มนุษย์ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าชินกับ การเปิดพัดลมนอน ก็จะไม่ถามถึงแอร์
2. ถ้าชินกับ การดื่มน้ำบ่อ ก็จะไม่ถามถึงน้ำสิงห์
3. ถ้าชินกับ การดื่มเหล้าเป็นประจำ ก็จะไม่ถามถึงการรักษาศีล
สักวันหนึ่ง ผมอาจเคยชิน คิดว่า tablet ใช้ง่ายกว่า desktop .. ใครจะไปรู้
ที่รู้แน่ ๆ คือวันนี้ผมยังไม่ชินกับ tablet
Tag: ipad
tweet หนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร
5 มีนาคม 2555 อ่านทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร พบเรื่อง “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ไม่ใช้สมองก็ต้องใช้สติ” มีลิงค์ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/242249 มีความตอนหนึ่งที่ คุณลม เปลี่ยนทิศ เขียนว่า
…
การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับ โรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน
ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งาน ไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต
…
ในวันที่ 5 มีนาคม 2555
เมื่ออ่านข้อความข้างต้นแล้ว .. ก็รู้สึกว่าโลกเรามีคนอยู่หลายแบบนะครับ
http://twitter.com/suthichai
http://twitter.com/udompk
สตีฟจอบส์เสียชีวิตแล้ว (itinlife 311)
พ.ศ.นี้คนรุ่นใหม่ย่อมรู้จัก สตีฟจอบส์ หรือ สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) เพราะเขาคือนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชัน สตูดิโอส์ และคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2498 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ.2554 หลังเปิดตัวไอโฟน 4เอส (iPhone 4S) หรือไอโฟนรุ่นที่ 5 ได้เพียงวันเดียว รวมอายุได้ 56 ปี 7 เดือน ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเขาในฐานะผู้ก่อตั้ง และ CEO บริษัทแอลเปิล
สตีฟ จอบส์ แจ้งแก่พนักงานว่าเขาตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปีพ.ศ.2547 และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554 ครั้งสุดท้ายที่เขาปรากฎตัวต่อสาธารณชนคืองานเปิดตัว iPad 2 ที่ศูนย์ศิลปะ Yerba Buena Center for the Arts เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2554 ในนครซานฟรานซิสโก สำหรับด้านการศึกษา สตีฟเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจระดับโลกที่เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา เพราะลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษาเท่านั้น
มะเร็งตับอ่อน เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าอาจ มีปัจจัยเสี่ยงได้ดังนี้ 1) คนที่สูบบุหรี่จัด 2) คนที่มีครอบครัวป่วย เป็นมะเร็งตับอ่อน 3) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ซึ่งสตีฟเป็นคนที่สูบบุหรี่ และทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักกว่าปกติ การเสียชีวิตของ สตีฟ จอบส์ และ คุณสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ การเสียชีวิตของคนทั้งสองสามารถนำมาเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตของพวกเราให้ระมัดระวังเรื่องการกินการอยู่ แม้ชีวิตจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และชีวิตครอบครัว ก็ไม่ใช่หลักประกันที่จะทำให้มีอายุยืนยาวได้ การเลือกรับประทานอาหาร และใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท อาจช่วยให้พวกเรามีอายุเกิน 60 ปี และถูกลูกหลานเรียกว่าท่านผู้เฒ่า
ipad 2 มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักศึกษา
วันนี้มีนักศึกษาถือ ipad เดินเข้ามาหา แล้วบอกว่าทำงานที่อาจารย์ท่านหนึ่งสั่งไม่ได้ ต้องกลับไปใช้ notebook เพราะเข้าระบบอีเลินนิ่ง แล้วต้องการส่งไฟล์งานที่เขาก็ทำเสร็จแล้ว และต้องการส่งงานผ่านระบบที่มี แต่คลิ๊กปุ่ม browse ใน safari ไม่ได้ .. ผมจึงทดสอบสร้างฟอร์มง่าย ๆ ก็พบว่าปุ่มอัพโหลดไม่ทำงานจริง .. สาเหตุเกิดจาก ipad จำกัดการเข้าถึงแฟ้ม (Restrict Access File) การรับส่งแฟ้มจะใช้ ftp หากใช้ web application อย่างพวก e-learning หรือ flash upload ก็จะพบข้อจำกัด
อีกหลายวิชา คือ การวิจัย การบัญชี การเขียนโปรแกรมไม่มี app ที่ภาคธุรกิจนิยมใช้ เพราะปัญหาจาก text editor , application และ compiler ที่อุปกรณ์ไม่รองรับ .. ส่วนวิชาด้านการออกแบบงานกราฟฟิก หรือทำเอกสารออนไลน์ก็ไม่สะดวกเท่ากับ desktop ที่มี application ให้ครบถ้วน .. สุดท้ายนักศึกษาก็ต้องไปซื้อ notebook ไว้ใช้งาน เพราะสามารถทำงานทุกอย่างได้ ไม่มีข้อจำกัดเหมือน ipad
ข่าวหลายกระแสของนักวิจารณ์ก็บอกว่า ipad 2 ไม่ได้พัฒนาเพิ่มแบบผิดหูผิดตาไปจาก ipad แต่ ipad 3 ต่างหากที่จะเป็นนวัตกรรม .. ผมว่าคุ้มค่าแก่การรอคอยนะครับ
ตัวอย่าง form.htm
<form action=up.php enctype=”multipart/form-data” method=post>
<input type=file name=uploadfile>
<input type=submit>
</form>
http://xn--ipad-8eo1f1i.blogspot.com/
http://www.thaigaming.com/gadgets-and-toys/126535.htm
http://blogs.computerworld.com/16318/secure_ipad
http://www.techmoblog.com/ipad-3/