บทเรียนสถาปนิกจุฬา คุณแม่สายไอทีเขียนไดอารี่เรื่องโควิด

Mycoviddiary 2021 “เมื่อสถาปนิกติดโควิด Version 2 ตอน มนุษย์แม่ใน Hospitel” บันทึกเมื่อ เม.ย.2564 เป็น เรื่องราวของ มนุษย์แม่สถาปัตจุฬา อ่านแล้วเขียนดีมาก สถาปนิกหญิงจากจุฬาทำงานด้านไอที อ่านแล้ว ผมก็แอบหวังว่า ถ้าตัวเราเกิดติดเข้า ก็จะรอดบ้าง อยากรอดชีวิตแบบมนุษย์แม่ครับ และไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ใครติดจนสร้างครัสเตอร์ใหม่ ดูจากอายุแล้วมนุษย์แม่เป็นรุ่นน้องผมหลายปีอยู่ คุณแม่เข้าโรงพยาบาลรวมที่บันทึกไว้ 25 วัน
นี่ถ้าผมเขียนบ้าง สงสัยต้องเรียก มนุษย์ตา แต่ไม่รู้จะรอดมาเขียนรึเปล่า ร่างกายอาจไม่ทนการคุกคามของไวรัสเท่าน้องเค้าก็ได้ กลัวไว้ก่อน ย่อมดีกว่ากล้าติดเชื้อ เห็นในข่าวมีหนุ่มสาวจำนวนมากเสียชีวิตในเวลาที่รวดเร็วในสามวันเจ็ดวันนั่นเลย ถ้ามนุษย์เราไม่ออกไปพบใครเลย #ให้ความร่วมมือภาครัฐลดเดินทาง ก็คงไม่ติดเชื้อจากมนุษย์ด้วยกัน จนมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละเป็นหมื่นในไทย ตามข่าวเมื่อ 17 ก.ค.64 ไปอ่านภาพสไลด์แล้ว อยากเขียนไดอารี่บ้าง ซึ่งเอกสารที่พบเป็น pdf ที่น่าจะสร้างมาจาก powerpoint สังเกตุได้จาก template ที่ใช้ สรุปว่าออกแบบได้สวยงาม ข้อมูลครบ ไทม์ไลน์ชัด รายละเอียดมีประโยชน์ และผมจะเก็บไปเล่าให้นิสิตฟังเรื่องการใช้งานโปรแกรมนำเสนอต่อไป สรุปว่า สิ่งสำคัญของชีวิต คือ การมีชีวิต
ปล. อ.อดิศักดิ์ แชร์ในกลุ่มไลน์ของมหาวิทยาลัย ผมจึงค้นต่อครับ
 เอกสารใน Blu lotus 2 u : สุชาดา ตันติสุข และ ศิรินทิพย์ อรุณเรื่อ
 เอกสาร Flip book : pubhtml5.com เผยแพร่ 28/04/64 13:49
 เอกสาร Flip book : pubhtml5.com เผยแพร่ 28/04/64 06:37
 Covid diary.pdf อัพโหลดโดย wirat sriwattanapong
 Elegant Savon Style PowerPoint Template

สัมภาษณ์บัณฑิต ม.เนชั่น

21 ธ.ค.55 สัมภาษณ์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ (Computer Information Technology) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Faculty of  Information Technology)  (กลุ่มเสื้อเหลืองเพราะมีแถบสีเหลือง) แสดงความในใจหลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น ในพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่บัณฑิตและมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (วันเดียวกับวันโลกแตก) ซึ่งประเด็นที่ศิษย์สะท้อนก็จะเป็นหลักสูตร อาจารย์ โปรเจค และงานที่ทำ

สัมภาษณ์ 8 บัณฑิต
1. บัณฑิต นวลถนอม ไร่นากิจ

2. บัณฑิต วัลลียา ปุ๊ดสา

3. บัณฑิต ภาวิณี อินติ๊บ

4. บัณฑิต นันทวัฒน์ ธีรวัฒน์วาที

5. บัณฑิต วณัฐพงศ์  สุวรรณศิลป์

6. บัณฑิต รพีพรรณ ใจเที่ยง

7. บัณฑิต หทัยทิพย์ ขัติยะ

8. บัณฑิต ปทุมพร เมืองเมา

บูมพี่บัณฑิตหน้าบูท
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/502/

ใบประกอบวิชาชีพไอที ใบเบิกทางคนไอที

ใบประกอบวิชาชีพไอที หรือไอทีพาสสปอร์ต ถือเป็นใบเบิกทางสำหรับแรงงานด้านไอที ที่จะเข้าสู่องค์กรชั้นนำด้วยเอกสิทธิ์เหนือผู้อื่น

สวทช.จับมือ 15 สถาบันการศึกษา และบริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพไอทีให้แก่บุคลากรไทยในภาคการผลิต และบริการ เพื่อรับมือกับ AEC 2015 ในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สถาบันวิทยาการ สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับ 15 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และบริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกันจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและพิธีแถลงข่าวการจัดตั้ง เครือข่ายในโครงการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและบริการ โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นประธาน
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ/ สวทช. กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือและการสนับสนุนระหว่าง สวทช. และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรจากภาคเอกชน ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถด้านมาตรฐานวิชาชีพไอทีขั้น สูงของนักศึกษาและบุคลากรของไทย ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่ได้มาตรฐานสากลอย่างแท้จริง เพื่อให้องค์กรสามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก ปรับ/ เลื่อนตำแหน่ง บุคลากรกรสายไอที
ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้สถาบันการศึกษามีแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การดำเนินการสอบวัดมาตรฐานทักษะความรู้ด้านไอที จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้บุคลากรที่สอบผ่านได้รับใบรับรองในคุณภาพของความรู้และทักษะวิชาชีพด้านไอทีระดับมาตรฐานสากล เป็นเครื่องมือในการรับประกันคุณภาพและความเชื่อมั่นที่ดีแก่ผู้ประกอบการหรือตลาดแรงงานทั้งในและนอกประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเตรียมพร้อมของแรงงานไทยที่จะรับมือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ในสาชาวิฃาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ของการเป็นภาคีหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 2015
ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจำนวน 15 แห่งในครั้งนี้ เป็นรูปแบบที่สถาบันการศึกษาจะให้การสนับสนุนการจัดสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีใน ฐานะเป็นศูนย์สอบและศูนย์ติวสอบ และสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและเครือข่ายภายนอกเข้าร่วม สอบ โดยสถาบันการ ศึกษาที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหา วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยสยาม,มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และสถาบันการจัดการปัญญาวิภัฒน์
ผศ.ดร.เมธี สรรพานิช รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้แทนของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ เปิดเผยว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า ส่งผลให้สถาบันการศึกษาของไทยต้องปรับตัวทั้งในแง่ของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
การสอบวัดมาตรฐานความรู้วิชาชีพ ITPE จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับมาตราฐานความรู้ของบัณฑิตไทยโดย เฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมเครือข่ายในวันนี้ ต่างได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่นักศึกษาของตนจะได้รับจาก ITPE ทั้งในแง่ของการยอมรับในความสามารถของบัณฑิตจากนานาประเทศ โอกาสการได้งานทำทั้งในประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน
นอกจากนั้น การสอบมาตรฐานยังทำให้เกิดการผลักดันให้เกิดการยกระดับการเรียนการสอนใน สถาบันการศึกษาต่างๆ ของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้ บริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนชั้นนำด้านไอทีได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการนี้ โดยได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานบุคลากรด้านไอทีขององค์กร และการสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับไอที
จึงได้มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานที่ผ่านโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพ ITPE มีการจัดส่งบุคลากรของบริษัทฯ เพื่อร่วมติวและร่วมสอบในโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการสนับสนุนความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนบุคลากรประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานด้านไอที ในกรณีที่มีการประชุม–สัมมนาเชิงวิชาการ การจัดอบรม และการเรียนการสอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไอที
นอกจากนี้ ดร.ทวีศักดิ์ ผอ. สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ทาง สวทช. ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) จัดทำโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที (Information Technology Professional Examination-ITPE) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Information Technology Promotion Agency (IPA) ภายใต้การกำกับดูแลของ Minister of Economy, Trade and Industry (METI) หรือ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลักดันให้มีการสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่อิงผลิตภัณฑ์ในประเทศขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ภายใต้ชื่อ IT Professionals Engineer Examination Council (ITPEC)
โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 และจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยมีวิชาเปิดสอบในปัจจุบันจำนวน 2 วิชา คือ Fundamental Information Technology Professional Examination (FE) และ วิชา Information Technology Passport Examination (IP) และมีนักศึกษา และคนทำงานในสายวิชาชีพไอที สมัครเข้าร่วมในโครงการจำนวน 5,579 คน มีผู้เข้าสอบจำนวน 5,037 คน และมีผู้สอบผ่านจำนวน 493 คน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของการสอบผ่าน 9.79 % การดำเนินความร่วมมือเพื่อจัดตั้งเครือข่ายในครั้งนี้ จะผลักดันให้มีจำนวนผู้สมัครสอบโดยรวมของประเทศทั้งสิ้นมากกว่า 2,000 คนต่อปี
สำหรับการสอบในปี 2554 นี้ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าสมัครสอบ โดยมีศูนย์ติวสอบทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการเตรียมตัวสอบ พร้อมตัวอย่างข้อสอบเก่าที่ได้รวบรวมไว้ที่หน้าเว็บโครงการฯ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิทยาการ สวทช. โทร. 02-642-5001 โทรสาร 02-642-5014 หรือ http://www.nstdaacademy.com/ และ e-mail: mailto: itpe@nstda.or.th

ฮอทสพอทที่นครลำปาง (itinlife286)

3bb hotspot
3bb hotspot

เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง ร่วมกับ 3BB Broadband จัดงานเปิดวายฟายซิตี้ (Wi-Fi City) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2554 โดยบริษัทที่มีความร่วมมือกับเทศบาลนครลำปางได้ติดตั้งฮอทสพอท (Hotspot) ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด 10 พื้นที่ และจะขยายพื้นที่ที่ติดตั้ง Access Point เพิ่มเติมต่อไป ซึ่งฮอทสพอทหมายถึงจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในพื้นที่สาธารณะ การที่ทั้งเมืองมีฮอทสพอทย่อมอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก

อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) แต่ละตัวมีความสามารถรับการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือไอแพด มีพื้นที่ครอบคลุมรัศมีประมาณ 100 เมตร ถ้าอยู่ห่างออกไป 300 เมตรอาจตรวจพบสัญญาณจากฮอทสพอท แต่คุณภาพของสัญญาณอาจไม่ดีพอที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการเปิดให้ผู้ใช้ทดลองใช้ฟรี 20 นาที โดยส่งคำขอทดลองใช้ได้ผ่านโทรศัพท์มือหรืออีเมล ถ้าพึงพอใจในคุณภาพของสัญญาณก็สามารถซื้อบริการทั้งแบบ Prepaid หรือรายเดือนได้ ซึ่งแพคเกจรายเดือนราคา 100 บาทสามารถใช้บริการวายฟายได้ไม่จำกัดชั่วโมง และใช้ได้กับ 3BB Hotspot ทั่วประเทศไทย

บริการนี้อาจเป็นทางเลือกใหม่ของชาวลำปางที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็นประจำ เพราะบริการ ADSL ตามบ้าน หรือ Internet SIM ใน Air Card ล้วนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า หากต้องการลดค่าใช้จ่ายก็อาจเปลี่ยนมาใช้บริการ Wi-Fi Hotspot แต่คุณภาพของอุปกรณ์เพื่อบริการในพื้นที่สาธารณะย่อมต่างกับบริการสำหรับ บุคคล ถ้าใช้บริการฮอทสพอทในร้านกาแฟพร้อมกัน 20 คนย่อมได้รับความเร็วที่ถูกปันส่วนตามการใช้งาน การใช้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใดย่อมต้องพิจารณาเลือกผู้ให้บริการ ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งาน และฮอทสพอทเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ

http://www.3bbhotspot.com/home/index.php