fb เป็นพื้นที่ส่วนตัว อยากด่าใครก็จะด่า ไม่ชอบก็ unfriend ซะ

major cineplex
major cineplex

เหตุเริ่มจาก ผู้จัดการโรงภาพยนตร์กับลูกค้ามีปากเสียงเรื่องเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน แล้วมีโทษะทั้งคู่

แต่ rule ของ Philip Kotler มี 2 ข้อ
Rule 1 : The customer is always right.
Rule 2
: If the customer is wrong, go back to rule 1.

ทำให้ผู้จัดการพิจารณาตนเอง แล้วลาออก แต่เกิดอารมณ์ร่วมกับพนักงานของโรงภาพยนตร์ แล้วไปเขียนแสดงความคิดเห็นว่าลูกค้าไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อ CSR เชิงลบอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อโรงภาพยนตร์ตรวจสอบว่าเป็นพนักงานจำนวนสองท่าน จึงพิจารณาให้พ้นจากสภาพการเป็นพนักงาน


เคยมีเพื่อน ๆ โพสต์ในเฟส
ว่า  “ฉันอยากโพสต์อะไรก็จะโพสต์
บางคนก็ “สบถ อยู่เป็นประจำ
.. ใครรับไม่ได้ก็ให้ unfriend ไปซะ

แต่กรณีนี้ ผู้เป็นเจ้านายประกาศผ่านสื่อเลยว่า Layoff .. ไม่ใช้ unfriend อย่างที่คาดไว้

ความเคยชินกับการ post ที่ไม่แคร์ใคร
อาจเป็นผลเสีย อย่างกรณีนี้ก็ได้

.. แล้วเพื่อนท่านหนึ่ง post แสดงความเห็นว่า “มีผู้ด้อยโอกาสมากมาย ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ต่างกับคนที่มีโอกาสบางคน ขาดกระบวนการในการยั้งคิด ว่าควรใช้สื่ออย่างไร

manager
manager

ทั้งกรณี ของผู้จัดการ และพนักงาน เป็นสถานการณ์และเหตุผลที่ต่างกันไป หยิบไปพูดถึงได้หลายวิชา

ภาพจากเฟส อ.เกียรติ
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=577659912258407&set=a.111585805532489.13446.100000432096291

ปลดพนักงานไม่ถูกปกปิดอีกต่อไป (itinlife372)

ความผิดของผู้เหลือรอด
ความผิดของผู้เหลือรอด

8 ธ.ค.55 ในอดีตข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อในทุกประเภทยังไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย  ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี และการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทำให้ผู้คนไม่อาจรับรู้ถึงข้อมูล หรือไม่สามารถเข้าถึงข่าวสารที่หลั่งไหลออกมาจากแหล่งข่าวได้ ทำให้เรื่องราวมากมายเป็นเหมือนเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น จนกลายเป็นเรื่องลี้ลับโดยปริยาย ถ้าผู้ส่งสารไม่สื่อออกไปอย่างเหมาะสม ผู้ทำสื่อไม่เผยแพร่ หรือผู้รับปฏิเสธข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารแล้วนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเหมาะสมก็จะไม่เกิดขึ้น เดิมชาวโลกมีระบบการสื่อสารที่ไม่สมบูรณ์ อาทิ ข่าวที่องค์กรขนาดใหญ่มีแผนปลดพนักงาน หรือปิดกิจการมักเผยแพร่ไม่ทั่วถึง ผู้เขียนเริ่มคุ้นเคยคำว่าข้อมูลข่าวสารในช่วงฟองสบู่แตกปี 2540 แล้วมีผลพวงเป็นข่าวปลดพนักงานคราวละหลายพันคน ข้อดีของข่าวปลดพนักงานทำให้องค์กรมากมายตระหนัก เริ่มเรียนรู้ทั้งรู้เขา รู้เรา นำไปสู่การหามาตรการป้องกัน หรือจัดการความเสี่ยง

ปี 2555 มีข่าวปลดพนักงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และปลดครั้งละหลายพันคน ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป ล่าสุด CITIGroup ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่ขายความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นองค์กรทางการเงินที่ส่วนหนึ่งบริการเกี่ยวกับการรับฝากถอน และปล่อยกู้ ได้ให้ข่าวว่ามีแผนปลดพนักงานหนึ่งหมื่นหนึ่งพันคน จากก่อนหน้านี้ก็มีข่าวปลดพนักงานระดับหมื่นคนในหลายองค์กรมาแล้ว จึงเป็นเรื่องน่าศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้น และทำอย่างไรไม่ให้เกิดแบบนั้นในองค์กรของเรา

สำหรับบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแหล่งที่ก้าวขึ้นมาอย่างรวดเร็วด้วยนวัตกรรม ก็พบปัญหาพ่ายแพ้ต่อนวัตกรรมของบริษัทอื่นในตลาดที่ผู้บริโภคเปลี่ยนใจง่าย  สินค้ารูปแบบเดิมไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ประกอบกับกำลังซื้อมีจำกัด เพราะคนหนึ่งจะซื้อทุกอย่างในโลกไม่ได้ หากมีบริษัทที่เป็นเบอร์ 1 ก็ย่อมมีบริษัทที่เป็นเบอร์สุดท้าย แล้วผลคือบริษัทที่ยอดขายต่ำต้องปรับเปลี่ยนไปในแนวกระทบความมั่นคงในอาชีพ และสวัสดิการของบุคลากรในองค์กร การจัดการความเสี่ยง การจัดการความรู้ การจัดการลูกค้า และตอบสนองเร็วต่อปัจจัยภายนอก จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารองค์กรในปัจจุบัน ดังนั้นการบริหารองค์กรให้อยู่รอดย่อมส่งผลถึง ความเป็นความตายในอาชีพของพนักงานนับหมื่นคนในองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีบทเรียนขององค์กรที่ไปไม่รอดให้เรียนรู้มาแล้วมากมาย และหาอ่านได้ไม่ยากนัก

http://www.usatoday.com/story/money/2012/12/05/citi-cuts-11k-jobs/1747897/

http://video.cnbc.com/gallery/?video=3000133496&__source=yahoo|headline|quote|video|&par=yahoo

Citigroup ประกาศปลดพนักงาน 11,000 ราย อ้างเหตุผลต้องลดค่าใช้จ่าย-ปรับโครงสร้างองค์กร

Citigroup second-quarter profit falls for older assets
Citigroup second-quarter profit falls for older assets

ก่อน Citigroup ประกาศปลดพนักงาน ก็มีหลายบริษัทเคยทำมาก่อน อาทิ nokia, rim, panasonic, ford, sony, kodak, ม.อีสาน, gmm, motorola, dell, sharp, amd, aa, philips, lexmark, pepsi, yahoo .. หรือค้นคำว่า “ปลดพนักงาน” จาก google.com

“Citigroup” สถาบันการเงินระดับโลก ซึ่งมีฐานที่ย่านแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ประกาศปลดพนักงาน 11,000 ตำแหน่ง โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร

รายงานข่าวระบุว่า ตำแหน่งงานส่วนใหญ่จากทั้งหมด 11,000 ตำแหน่งที่จะถูกปลดออก จะเป็นตำแหน่งในฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายเทคโนโลยี ซึ่งทางไมเคิล คอร์แบท ซีอีโอวัย 52 ปีระบุว่า มีความจำเป็นต้องลดขนาดขององค์กรเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้ตามเป้าที่ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 27,605 ล้านบาท)ในปีหน้า และลดลงอีกมากกว่าปีละ1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 33,737 ล้านบาท) นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การปลดพนักงานออกนับหมื่นตำแหน่งหนนี้ อาจไม่ใช่การปลดพนักงานหนสุดท้าย

เราได้ตัดสินใจอย่างดีที่สุดแล้วเพื่อก้าวสู่ขั้นตอนต่อไปของการเปลี่ยนผ่าน และการปลดพนักงานออกจึงไม่ใช่เรื่องที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด” คอร์แบทซึ่งเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคมกล่าว

คำแถลงของธนาคารยังระบุ จะมีการพิจารณาความเป็นไปได้ในการ “ขายทิ้ง” หรือ “ลดขนาด” กิจการของธนาคารที่มีอยู่ในประเทศปากีสถาน โรมาเนีย ตุรกี และอุรุกวัย โดยจากนี้ธนาคารจะหันมาให้ความสำคัญเฉพาะการดำเนินกิจการใน 150 เมืองทั่วโลกที่มีศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจสูงที่สุดเท่านั้น นอกจากนั้น ยังจะมีการสั่งปิดสาขาที่ถูกมองว่าไม่มีความจำเป็นในบราซิล ฮ่องกง ฮังการี เกาหลีใต้ รวมถึงในสหรัฐฯ

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000148516

Banking giant Citigroup is slashing 11,000 jobs and taking up to a billion in charges, with CNBC’s Kayla Tausche and Neil Weinberg, American Banker.
http://video.cnbc.com/gallery/?video=3000133496&__source=yahoo|headline|quote|video|&par=yahoo

Strangled by new government regulations and nervous investors, Citibank nearly folded, but was saved by taxpayer bailouts. The banking giant now says it’s also cutting 11,000 jobs, or 4% of its workforce. Most of the cuts in Citi’s worldwide consumer banking unit, which handles branches and checking accounts.
http://radio.foxnews.com/2012/12/05/citigroup-to-cut-1100-jobs

http://newstop24blog.blogspot.com/2012/07/citigroup-second-quarter-profit-falls.html

ผู้ผลิตแบล็คเบอร์รี่ปลดห้าพัน

heavyweight กับ lightweight ศึกสมาร์ทโฟน
heavyweight กับ lightweight ศึกสมาร์ทโฟน

ศึกสมาร์ทโฟน

30 มิ.ย.55 สองปีก่อนมีลูกศิษย์นำโทรศัทพ์รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ประธานาธิบดีสหรัฐใช้ คือ โทรศัพท์แบล็คเบอร์รี่ (BB = Black Berry) ของบริษัทริม (RIM = Research in motion) มีความสามารถเด่นกว่าทุกรุ่นในขณะนั้น และตอนนั้นผู้เขียนก็ตอบไปว่ามีโทรศัพท์เครื่องละพันอยู่ในกระเป๋ากางเกงยังใช้ไม่คุ้มพันเลย ส่วนในใจก็แอบคิดว่า ถ้าโทรศัพท์ที่มีอยู่เสียเมื่อใดจะนำแบล็คเบอร์รี่เข้าไปอยู่ในตัวเลือก แล้วเข้าตารางการตัดสินใจ (Decision Table) เพื่อพิจารณาว่าจะซื้อแบบใด แต่ถึงวันนี้โทรศัพท์เครื่องละพันก็ยังไม่เสีย แต่ผู้ผลิตโทรศัพท์แบล็คเบอร์รี่กลับส่งสัญญาณการปราชัยในสงครามโทรศัพท์ซะแล้ว

มีข่าวปลายเดือนมิถุนายน 2555 ว่า Thorsten Heins ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทริมให้ข่าวเลื่อนเปิดตัวแบล็คเบอร์รี่ 10 ไปต้นปี 2556 เนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามแผน และคาดว่าจะขาดทุนสูงกว่าที่ทำนายไว้ ทำให้มีแผนปลดพนักงานเพิ่มอีก 5000 ตำแหน่งหรือร้อยละ 30 ของที่มีอยู่ หลังจากกลางปีที่แล้วเคยปลดไปแล้ว 2000 ตำแหน่ง แล้วข่าวเชิงลบเช่นนี้ก็ทำให้หุ้นของบริษัทลดลงทันทีร้อยละ 14 โดยแนวทางแก้ปัญหาด้วยการลดพนักงานนั้น เป็นกลไกที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน ซึ่งบริษัทโนเกียก็ประสบปัญหาคล้ายกัน แล้วมีแผนจะปลดคนงานกว่า 10000 คนเช่นกัน

การร่วมมือกับบริษัทไมโครซอฟท์เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา ตามข่าวพบว่าจะเปลี่ยนบริการสืบค้นข้อมูลในบีบี (BB) จาก google.com ไปเป็น bing.com ซึ่งเป็นอีกความพยายามของไมโครซอฟท์ที่จะเข้าสู่ตลาดโมบายล์เสิร์ช ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญคือ google.com นั้นเอง ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับบริษัทโนเกีย และลงทุนไปกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ก็ต้องมาติดตามกันต่อไปว่า ทั้งบริษัทโนเกีย และบริษัทริม จะผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างไร หลังประกาศปลดพนักงานหลายพันคน แล้วจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พอจะเข้ามาแข่งขันในตลาดโทรศัพท์ระดับสมาร์ทโฟนได้หรือไม่ รายงานต้นปี 2555 พบว่า บริษัทซัมซุงเป็นผู้นำตลาดอันดับหนึ่ง เมื่อรวมยอดขายกับบริษัทแอ็พเปิ้ลกินส่วนแบ่งตลาดไปมากกว่า 50% และ 2 ค่ายนี้รวมกันก็มีกำไรกว่า 90% ของตลาดแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับการชกมวยก็เหมือนกับนำนักมวยรุ่น heavy weight ไปชกกับ light weight ที่ผลการชกไม่น่าเปลี่ยนไปจากที่ทำนายไว้ ก็หวังแต่ปาฎิหาริย์ของนวัตกรรมเท่านั้นที่จะช่วยกู้วิกฤตของทั้งสองบริษัทไว้ได้