บริการเรียนรู้ทางไกลจากไมโครซอฟท์ (itinlife381)

microsoft office 365 on chula university
microsoft office 365 on chula university

เครื่องมือที่นำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ทางไกล (Distance-learning) หรืออีเลินนิ่ง (E-learning) มีทั้งแบบโอเพนท์ซอร์ท (Open source) แบบจำหน่าย และแบบคราว (Cloud) ซึ่งบริการแบบคลาวด์เหมาะกับผู้ใช้ หรือผู้ให้บริการที่ไม่ต้องดูแลเครื่องบริการเอง ไม่ต้องพะวงเรื่องซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บุคลากร เครือข่าย หรือความปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่ง Microsoft Office 365 สามารถให้บริการโปรแกรมสำนักงานแบบออนไลน์เช่นเดียวกับ Google Apps แต่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนตามประเภทการใช้งาน

การจัดการเรียนการสอนบนคลาวด์เหมาะสำหรับหลักสูตรที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบสูง และพร้อมใช้เทคโนโลยี ซึ่งบริการของ Microsoft Office 365 for education อยู่ในคลาวด์มาพร้อม Exchange Online ที่เปิดให้องค์กรมีเครื่องบริการอีเมล และ SharePoint Online ที่เปิดให้สถานศึกษามีไซต์ของตนเองที่สมาชิกสามารถร่วมกันจัดทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบริการจัดการเนื้อหาได้ และ  Lync Online ที่เปิดให้มีการติดต่อสื่อสารแบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ ซึ่งทั้งหมดรวมกันเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ในประเทศไทยมีคณะเภสัชศาสตร์ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำร่องจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านบริการของ Office 365 แล้ว ซึ่งบริการของไมโครซอฟท์ข้างต้นประกอบด้วยระบบสร้างเอกสาร Word, Excel, Powerpoint และ Access แล้วรับส่งระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การใช้ระบบอีเมลของสถาบัน ้ของดและตารางนัดหมาย ถูกจำกัดและบริการในกลุ่มองค์กรเดียวกันได้อย่างไร้รอยต่อ การสร้างชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบถามตอบ หรือสร้างเนื้อหาเพื่อการแบ่งปัน การสื่อสารผ่านมัลติวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หรือประชุมทางไกลที่เชื่อมโยงเอกสารข้างต้นพร้อมบันทึกเก็บไว้ เพื่อทบทวนย้อนหลังได้จากทุกที่ทุกเวลา ทั้งหมดไม่ใช่ก้าวแรกหรือก้าวสุดท้ายของการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนทางการศึกษา แล้วมาติดตามว่าโลกของเราจะมีอะไรมาให้ได้เรียนรู้กันต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

+ http://www.thairath.co.th/content/edu/322771

+ http://www.nationmultimedia.com/technology/Distance-learning-made-easy-30198870.html

โรงเรียนแห่งหนึ่งมีวิสัยทัศน์ใช้ครูมืออาชีพ

ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก
ครูมืออาชีพ โรงเรียนระดับโลก

clear งานทดสอบอ่านเขียนแฟ้ม และดำเนินการระดับบิทกับแฟ้มข้อมูล แล้ว open source ใน http://www.thaiall.com/vbnet/stream_basic.htm จากนั้นก็ลองหยิบหนังสือใกล้มือมาอ่าน พบว่าโรงเรียนแห่งหนึ่งในลำปาง มีกลุ่มงานกลุ่มหนึ่งที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า จะใช้ครูมืออาชีพ และบริหารจัดการด้วยระบบที่มีคุณภาพ .. ฟังดูแล้วชื่นชมเลยครับ

พอไปดูจุดมุ่งหมายชักอ่านไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีศัพท์เทคนิคหลายคำ ทั้ง World Citizen, World Class Standard, Hybrid Learning และ Quality Resource e-Learning แต่ทางผู้กำหนดจุดมุ่งหมายได้กรุณานิยามศัพท์คำว่า Hybrid Learning ไว้ว่า “เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best Features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน” .. สรุปว่าชื่นชมวิสัยทัศน์ครับ ชอบตรงใช้ครูมืออาชีพนี่หละครับ .. แต่ก็อดตั้งคำถามในใจคนเดียวไม่ได้ว่า ครูมืออาชีพ กับครูมือสมัครเล่น .. นี่ต่างกันอย่างไร