วัดจำนวน Talking About This แทน Like ใน FB ดีกว่าไหม

เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า
เลิกวัดจำนวน Like ใน FB มาสนใจจำนวน Talking About This ดีกว่า

http://www.zocialrank.com/facebook/

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม)
ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความต่างของ like และ talking ไว้น่าสนใจ

ถ้าพูดถึงคำว่าไลค์ (Like) หรือ “ชอบ” ทุกวันนี้ทุกคนก็จะนึกถึง Facebook ใช่ไหมครับ บทความนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่า เอ…ทำไมวันนี้ผมมาแปลก ที่เชิญชวนให้มาหยุดล่าคนกดไลค์ แล้วอย่างงี้เราจะทำธุรกิจได้อย่างไร ถ้าไม่มีไลค์เราจะทำธุรกิจบนเฟสบุ๊ค ได้อย่างไร? วันนี้ผมมีคำอธิบายครับ

ปัจจุบันธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย ต่างหันเข้ามาใช้เฟซบุ็ค เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายกันอย่างมาก โดยตัวเลขที่ใช้วัดว่า เฟซบุ็คของธุรกิจคุณมีคนนิยมเข้ามาใช้บริการ ก็คือ จำนวนคนกดไลค์ (Like)  หรือ “ชอบ” ยิ่งมีคนไลค์มากเท่าไร ยิ่งทำให้ธุรกิจคุณสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้มากขึ้นเท่านั้น บางแห่งเริ่มนำมาใช้เป็นตัวเลขวัดผลความประสบความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านทางเฟซบุ็ค โดยวัดผลกับเฟซบุ็ค ของคู่แข่ง  จึงทำให้ ตอนนี้บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ หันมาสร้างหรือไล่ล่า จำนวนไลค์กัน อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่สนว่าคนที่เข้ามากดไลค์จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ก็ตาม

โดยตอนนี้เฟสบุ๊คเพจของคนไทยที่มีจำนวนคนกดไลค์ที่มากกว่า 2 ล้านคน มีทั้งหมด 3 เพจ และมีคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน ทั้งหมด 20 เพจ (อ้างอิงจาก http://zocialrank.com/facebook) แต่คุณเชื่อไหมครับว่า หากมองย้อนกลับไปเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมา หรือ 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเฟสบุ๊คเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากกว่า 1 ล้านคน เพียงแค่ 2 เพจเท่านั้น นั้นก็คือเฟซบุ็คเพจของ คุณตัน อิชิตัน และ วงดนตรีบอดี้สแลม แต่ทำไมผ่านไปเพียงไม่กี่เดือนกลับมีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนกดไลค์มากว่าล้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เพจเลยทีเดียว มันเกิดอะไรขึ้น

ด้วยตัวเลขคนกดไลค์เยอะมากขึ้น ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้เฟสบุ๊คมากขนาดไหน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพฯ ที่ติดลำดับเมืองที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คมากที่สุดในโลก แต่การที่มีประชากรใช้เฟสบุ๊คเยอะ ก็ไม่จำเป็นที่เฟสบุ๊คเพจต่าง ๆ จะมีจำนวนการเติบโตสูงตามไปด้วย แล้วปัจจัยอะไรละ? ที่ทำให้เฟสบุ๊คเหล่านั้นเติบโตด้วยยอดไลค์สูงได้ขนาดนั้น


ถูกพูดถึงเท่าไร (Talking About) คือ  สิ่งที่คุณควรสนใจมากว่า

เฟสบุ๊คเองได้มองเห็นปัญหาของการไล่ล่าให้คนกดไลค์กันอย่างบ้าคลั่งอย่างไร้เหตุผล เฟสบุ๊คจึงกำหนดค่าตัวเลขใหม่ขึ้นมา ที่ชื่อว่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)” ซึ่งค่าของตัวเลขนี้จะมาจาก จำนวนคนที่เข้ามาส่วนร่วม (Engage) หรือมีกิจกรรมกับเฟซบุ๊คเพจของคุณ เช่น การเข้ามากดไลค์ในแต่ละข้อความ, การแชร์ (Share) หรือแบ่งปันข้อความของคุณออกไป, การเข้ามาโต้ตอบ หรือเขียนข้อความลงในหน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ หรือเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่คุณมีในเฟซบุ็คของคุณ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้ค่าของ “ถูกพูดถึง (Talking about this)” เพิ่มมากขึ้น
นั้นหมายความว่า ถ้าเฟซบุ็คเพจไหนมีจำนวนคนกดไลค์เยอะ แต่ค่าตัวเลข “ถูกพูดถึง (Talking about this)“ ต่ำ นั้นแสดงว่าเฟซบุ๊คเพจนั้นๆ ไม่ได้รับความสนใจจากสมาชิกในเพจนั้นๆ นั้นหมายถึงคุณพูดหรือสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่มีคนเห็น ไม่มีคนดู ซึ่งมันหมายถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารไปยังลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็น้อยลงด้วยเช่นกัน  ซึ่งวิธีการที่จะดูตัวเลข ”ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ก็สามารถเข้าดูได้ที่หน้าเฟซบุ๊คเพจของคุณ มันจะอยู่ข้างๆ ตัวเลขไลค์ ด้านบนครับ

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

อิทธิพลของการกดไลค์

press like by NineBU

การกดไลค์ หมายถึง การแสดงความชื่นชอบ หรือตอบว่าใช่ ต่อเนื้อหาที่ปรากฎ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพ หรือคลิ๊ปวีดีโอ การกดไลค์เป็นที่แพร่หลายพร้อมกับความนิยมที่มีต่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่เพิ่มขึ้น แล้วส่งผลถึงการนำไปใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ยี่ห้อ องค์กร หรือสินค้า จนปรากฎภาพสัญลักษณ์ยกนิ้วหัวแม่มือขึ้นให้เห็นในสื่ออย่างหลากหลาย รวมถึงการนำผลกา
รกดไลค์ไปใช้ประกอบการตัดสินความนิยมในการแข่งขันมากมาย อาทิ ประกวดภาพเดี่ยว ภาพครอบครัว หนังสั้น หรือเพลง

การปรากฎในสื่อ พบว่า มีการใช้คำว่า กดไลค์ มาเป็นชื่อภาพยนตร์ คือ “ชอบกดไลค์ใช่กดเลิฟ” เป็นชื่อภาพยนตร์ มีนักแสดงนำคือ มอส ปฏิภาณ และ ออม สุชาร์ และ อัทธ์ อังค์กูณฑ์ หรือเพลงที่ชื่อ กดเลิฟ ของ so cool ที่มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับ status หรือ comment มีข้อความในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า “ได้แต่คอยกด like อีกเมื่อไรไม่รู้จะได้กด love เธอ” ก็ล้วนมีอิทธิพลมาจาก social media ซึ่งแสดงในมุมของคนที่มีความรักให้กันฉันท์ชู้สาว แต่การกดไลค์ในชีวิตจริงมีวัตถุประสงค์กว้างกว่านั้น เพราะการกดไลค์เริ่มต้นจากการมีความรู้สึกดี ชื่นชอบ หรืออยากบอกต่อ อาจพบปุ่มกดไลค์ในเว็บไซต์ด้านข่าว หรือร้านค้าออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ ที่เชื่อมโยงกับบัญชีผู้ใช้ใน social media ก็ได้

อิทธิพลของการกดไลค์
เป็นเครื่องแสดงจุดยืนว่าเรายืนอยู่ที่ใด ชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่ถ้าไม่กด หมายถึง การไม่แสดงความเห็น หรือ เฉย ๆ หรือเจตนาละเว้น หากสนใจประสิทธิผลการกระจายข่าวสารพบว่าจำนวนการกดไลค์ หรือแสดงความเห็น มีผลต่อค่าสถิติการบอกต่อ (Viral) บางเรื่องที่ถูกกดไลค์ หรือแสดงความเห็นเป็นจำนวนมากก็จะมีค่า viral ที่สูง ซึ่งค่า Virality คือ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้สร้างเนื้อหาเพิ่มหลังมองเห็นต่อจำนวนผู้มองเห็นเนื้อหา แล้วค่านี้มีผลต่ออันดับการนำเนื้อหาไปแสดงในเพจของเพื่อนในเครือข่ายสังคม เกิดจำนวนการรับรู้ต่อข่าวสารนั้นสูง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายของผู้ส่งข่าวสารนั้น

นี่เป็น post แรก ที่ทดสอบใช้ภาพจาก fb page

คิดถึงแต่ตัวเอง จึงใช้คำว่า like

two ways
two ways

คุยกับเพื่อนต่างบ้าน
เขาตั้งคำถามด้วยคำว่า like ผมขอเปลี่ยนเป็น should
เพราะ like = ชอบ ที่มาจากความรู้สึกของตนเอง
แต่ should = ควร ที่มาจากเหตุผล มีวัตถุประสงค์ประกอบ เกี่วกับผู้คน

ทุกคนต่างไม่ผิด แต่ความคิดเราต่างกัน

มาคิดอีกที เขาก็แค่มนุษย์ ปุถุชน อ้างถึงกรณีตัวอย่าง
นายก. พบปัญหาในหมู่บ้าน จึงนำวิทยากรชั้นเยี่ยมมาบรรยาย
หวังให้ชุมชนที่กำลังมีปัญหาได้เข้าใจ และนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้น
หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แม้แต่ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย กรรมการ ก็ไม่เข้า
ต้องไปขนคนนอกหมู่บ้านมาฟัง
คงเพราะไม่ชอบก็เลยไม่เข้า .. คิดถึงแต่ like ไม่ได้คิด should

กรณีอื่นอีกมากมาย
– เหล้า
– บุหรี่
– การพนัน
– วัฒนธรรม
เพราะถามว่า like ผมตอบไม่ถูกเลย
น่าจะมีน้อยคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับคำว่าชอบ
มนุษย์มักใช้ชีวิตอยู่กับคำว่าควร มากกว่าชอบ