แรงบันดาลใจ ของนักศึกษากลุ่มนิเทศศาสตร์

แรงบันดาลใจ ของนักศึกษากลุ่มนิเทศศาสตร์

3.1 ความรักกับมิตรภาพ (มิตรภาพระหว่างกัน)
หลายคนให้นิยามของความรักไว้ต่างๆนานา “ความรักคือการให้” “ความรักเป็นสิ่งสวยงาม” “ความรักคือความซื่อสัตย์” รักคือการให้ และอีกมากมาย แต่หากความรักไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้ เมื่อความรักต้องสิ้นสุดลง มันก็สร้างความเจ็บปวดให้กับคนเรา
ความรัก คือสิ่งที่สวยงาม มีอยู่ทุกที่ ที่เราไป
แต่บางคนอาจจะมองว่า “ความรัก”
เป็นสิ่งเจ็บปวดเมื่อเราเสียมันไป
และความเจ็บปวดนั่นแหละที่จะทำให้ “ใจ” ของเรา
เข็มแข็งขึ้น และสามารถเดินไปข้างได้
อย่าเก็บเรื่องราเก่า ๆ มาผูกมัดตัวเราเอาไว้
แค่เก็บมันเป็นความทรงจำที่สวยงาม หรือบทเรียน
แค่นั้นก็พอแล้ว สำหรับหัวใจดวงน้อย ๆ ดวงนี้
1.    ภัทรีพันธ์   มะโนพฤษ์
2.    กันต์กนิษฐ์  สท้านไตรภพ
3.    นภสินธุ  นิตย์ใหม่
4.    อิทธิกร  ขุนนราศัย
5.    กรกนก  เผือกใจแผ้ว
6.    อิทธิกร   ยิ้มละมัย
http://www.youtube.com/watch?v=ifBRuuQ4LnE

3.3 กลุ่มหนุ่มพเนจร (ไปเลี้ยงสุนัขที่วัด)
แรงบันดาลใจนี้มาจากศิลปินคนหนึ่ง ที่มีใจเป็นจิตอาสา เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อสังคม
1.    วรวุฒิ  กิตติอภิญญา
2.    กิตติ  กิติรส
3.    รัฐโรจน์  กุลธีรประเสริฐ
4.    ภีรศีลป์  ชมพูลาว

3.4 ความพยายาม (ตกแล้วเริ่มต้นใหม่)
ทุกความพยายามอาจไม่ได้นำมาซึ่งความสำเร็จ แต่ทุกความสำเร็จต้องอาศัยความพยายาม คนทุกคนเกิดมาจะต้องพบกับความทุกข์กันทุกคน แต่จะผ่านความทุกข์นั้นไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความพยายามและกำลังใจจากคนรอบข้าง ถ้ามีความพยายามเราก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ ขอเพียงอย่าท้อให้กับอุปสรรค และความทุกข์ที่ผ่านเข้ามา เพราะความทุกข์อยู่กับเราไม่นาน เมื่อเกิดควาทุกข์ขึ้นก็ให้ลุกขึ้นสู้ เพียงเราปรับตัวให้มีความสุขกับมัน ไม่คิดมาก ไม่ว่าจะทุกข์ในเรื่องตกงาน อกหัก หรือเรื่องใดก็ตาม เราก็จะสามารถผ่านความทุกข์ต่าง ๆ เหล่านั้นไปได้
1.    วรวรรณ นาควิโรจน์
2.    มธุรส วงศ์แก้วมูล
3.    ภัทรพีร์ กรัณย์ไท
4.    ฉัฏฐมี วนชยางค์กูล
http://www.youtube.com/watch?v=cDrYtNhKh3o

3.5 หายใจเพื่อตัวเอง (คบหาและเปลี่ยนใจ)
บางครั้งคนเราก็จำเป็นต้องเจ็บปวดเพื่อให้เราเติบโตขึ้น
จำเป็นต้องล้มเหลว เพื่อแลกกับประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่
เพราะบทเรียนที่มีค่าที่สุดในชีวิต
คือบทเรียนที่แลกมาด้วยความเจ็บปวด
บางครั้งการลบใครบางคนออกไปจากชีวิต
ก็ทำให้เรามีที่ว่างสำหรับคนที่ดีกว่า
1.    ฐิติยา ธรรมสอน
2.    วีรภัทร อภัยกาวี
3.    สุชาวลี ทาจันทร์
4.    ญาณิศา สิริกุลขจร
5.    ณัฐภัทร บุญอุ้ม
6.    เบ็ญจา พรมเปียง
7.    มณีรัตน์ หลากสุขถม
http://www.youtube.com/watch?v=ig45EGlOmWs

3.6 ความสำเร็จเป็นผลของความพยายาม (กลุ่ม dance)
ถ้าคนเราเปรียบความสำเร็จเป็นเหมือนเส้นชัยนั้น
เราก็จะเปรียบความพยายามเป็นตัวช่วยระหว่างทาง ความพยายามสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ทุกคนสามารถก้าวผ่านอุปสรรค ระหว่างทางไปได้ เพียงใจของเราเข้มแข็งและไม่ย่อท้อ แม้บางครั้งจะมีล้มไปบ้าง แต่เราก็สามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่ เพียงแค่จิตใจเรานั้น พยายามก็พอแล้ว
1.    สุภิญญา ปาปุ๊ดปลูก
2.    รันติญา ธรรมศรีใจ
3.    ธนพัทธ อาสนเวช
4.    ธนิดา วรธงไชย
5.    ศิริกมล หลี้แซม
6.    พฤกษา คนเที่ยง
http://www.youtube.com/watch?v=HC7zBMmFo8g

3.7 แรงบันดาลใจ (สาวเหนือ)
คลิ๊ปนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีบุคคลอีกหลายคน หลายกลุ่มที่มีฐานะยากจน ขาดแคลน ด้อยโอกาส จึงต้องทนทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการเพื่อครอบครัว คนที่รัก ถึงแม้ว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานมากเพียงใดก็ต้องทำ ซึ่งอาจจะเปรียบได้ว่า เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลในทั้งด้านการใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอด และเป็นกำลังใจให้ผู้ที่สิ้นหวังได้เห็นว่าชีวิตของคนเราไม่แน่นอนเสมอไป จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่าด้วยความไม่ประมาท
1.    นัคนันท์ นัคพันธ์
2.    พิชัยยุทธ สุดใจ
3.    พิมชนก วังอ้าย
4.    สุรัชยากร พานิชย์
5.    ไอริน นาขัยลอง
6.    ธิดารัตน์ คงงาม

โค้ชสู่ผู้เล่น .. นิเทศศาสตร์บน Digital TV Field

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน
คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง
ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน

http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสารมวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบการบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

http://www.facebook.com/chinnagrit.ntu

นิเทศอาจารย์ ปี 2555 เรื่อง มคอ. ประกัน และข้อตกลงภาระงาน

21 ก.ค.55
21 ก.ค.55

21 – 22 ก.ค.55 มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิเทศอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ และปรับความเข้าใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามกรอบ มคอ. ในปีการศึกษา 2555 โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ท่านอธิการบดีเป็นผู้นำบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำข้อตกลงภาระงาน การทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ การตัดเกรดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีผู้ช่วยบรรยายได้แก่ ดร.วันชาติ นภาศรี และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มีการทำ workshop เรื่องของการกำหนดกระบวนการการประกันคุณภาพ และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มข้อตกลงภาระงาน

22 july 2555
22 july 2555

การรวมประชุมครั้งนี้ ฝึกบันทึกประเด็นที่ใช้ mindjet บน samsung galaxy tab 10.1 แล้วส่งภาพไปเก็บใน dropbox แล้ว export กลับมาเข้า samsung แล้วใช้ fb apps อัพโหลดเข้า group ของเพื่อนบุคลากร เพื่อชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร หลายคำอ่านยาก แต่พอเดาได้

บรรยากาศ
บรรยากาศ

ไลฟ์บล็อก – สตอรีไฟ (Live Blog – Storify)

แฟนของผม วาง หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2555 แล้วก็ชำเรืองไปพบหัวข้อที่น่าสนใจ จึงหยิบขึ้นมาอ่าน เห็นคำว่า สตอรีไฟ และ บทบาทที่น่าสนใจของ นักนิเทศศาสตร์ หลายท่าน แล้วไปค้นข้อมูลจากเน็ต รวมถึงทดสอบใช้บริการของ http://storify.com/ajburin/storify ที่สามารถดึงเนื้อหาจาก social media มารวมกันใน post เดียวได้ง่าย แบบที่เรียกว่า right to left and up to down

คนข่าวยุคเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ (Facebook-Twitter) ต้องบูรณาการแบรนด์ตัวเองสู่ ไลฟ์บล็อก-สตอรีไฟ (Live Blog – Storify) … “สุทธิชัย หยุ่น” ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำทีมคนข่าวเนชั่นเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย @imsakulsri หรือ “สกุลศรี ศรีสารคาม” อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ มาอัพเดทเทรนด์โซเชียลมีเดีย 2012
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการใช้ “โซเชียลมีเดีย เพื่อการรายงานข่าว” (Social Media & Journalism) อ.สกุลศรี ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียนั้น จะช่วยเสริมความต้องการของผู้บริโภคจากสื่อกระแสหลัก เนื่องจากมีความเร็ว ความลึก สามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ช่วยรายงานข่าวหรือใช้ข้อมูล ตลอดจนช่วยเผยแพร่หรือบอกต่อข่าวนั้นได้
ขณะเดียวกัน คนข่าวก็ต้องสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงข่าวสารจากโซเชียลมีเดียมารวมไว้ เป็นแหล่งเดียว เพื่อเพิ่มความกว้างและลึกของประเด็นข่าวนั้นด้วยการใช้พื้นที่จากเว็บไซ ต์ข่าว แสดงผลจากการกระจายปัญหาไปยังฝูงชน เพื่อให้ร่วมค้นคำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหา  อย่างกรณีน้ำท่วมซึ่งมีผู้เช็กอินเข้ามารายงานสถานการณ์พื้นที่น้ำท่วม กองบรรณาธิการต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่นำเสนอจะมีทั้งรูป คลิปวิดีโอ และเนื้อหา โดยให้เครดิตผู้ที่ส่งข้อมูลเข้ามาด้วย นอกจากนี้ คนข่าวก็ต้องเขียนบล็อกไลฟ์ เพื่อรายงานสดถ่ายทอดประเด็น ต่อยอดเนื้อหาข่าวนั้นๆ พร้อมด้วยคลิปและภาพ เพื่อดึงผู้คนในสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นแฟนคลับ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

“ยกตัวอย่าง งานศพของวิทนีย์ ฮุสตัน ก็นำไลฟ์บล็อกมาอัพเดทความเคลื่อนไหวทั้งภาพ ข้อความ และคลิป หรือ “Cholas Kristof” ผู้สื่อข่าวจากนิวยอร์กไทม์ เขียนเฟซบุ๊กรายงานสดสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เช่นเดียวกับ “Amanda michel” จากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางสื่อสารตอบโต้ประเด็นข่าว โดยมี “สตอรีไฟ” รวบรวมข้อมูลจากโซเชียลมีเดียไว้ในที่เดียวกัน” อ.สกุลศรี กล่าว
ทั้งนี้ “สตอรีไฟ” คือ การเล่าเรื่องด้วยโซเชียลมีเดีย มีลักษณะคล้ายกับการเขียนบล็อก แต่ “สตอรี่ไฟ” สามารถดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ อย่าง เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, คลิปวิดีโอจากยูทูบ ฯลฯ ซึ่งอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เดียวกัน ด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงลากและวาง (drag and drop) เท่านั้น ตอนนี้ก็มีเว็บข่าวจำนวนมากใช้บริการสตอรีไฟอยู่ อาทิ กอว์เกอร์ (Gawker), วอลล์สตรีท เจอร์นัล (Wall Street Journal), การ์เดี้ยน (Guardian) เป็นต้น

ด้าน @jin_nationสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์” บก.ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ผู้ผ่านประสบการณ์การทำข่าวตั้งแต่ยุคส่งข่าวทางโทรศัพท์สาธารณะ มาจนถึงยุคทวีตส่งข่าว ยอมรับว่า สื่อต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มาก และกำลังสนใจไลฟ์บล็อก และสตอรีไฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมและนำเสนอข่าวที่น่าสนใจมากช่องทางหนึ่ง
“สุทธิชัย” เสริมว่า สตอรีไฟเป็นช่องทางที่น่าสนใจ คนข่าวทีวีสามารถนำไปขึ้นหน้าจอทีวีได้เลย แล้วอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านสตอรีไฟ ใครเริ่มทำก่อนจะเท่มาก ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียนอกจากจะมีประโยชน์ต่อคนทำข่าวแล้ว ยังใช้สร้างแบนด์ส่วนตัวได้ สมัยก่อนกระบวนการทำข่าว 80 เปอร์เซ็นต์จะเสียไปกับขั้นตอนการส่งข่าว แต่ปัจจุบันกระบวนการส่งข่าวเร็วขึ้นใช้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงมีเวลามากพอที่จะทำข่าวที่มีเนื้อหา กว้าง ลึก ผ่านโซเชียลมีเดียได้

“นักข่าวของเราปรับตัวใช้โซเชียลมีเดียมา 4-5 ปีแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พวกเราจะยืนอยู่แถวหน้า ก้าวนำคนอื่นอยู่ 2-3 ก้าว หากถึงวันที่โซเชียลมีเดียทำเงินได้ เราจะเป็นกลุ่มแรกที่อยู่รอด เพราะเราก้าวพ้นความกลัวมาแล้ว และผมยังเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะไม่ตาย สื่อทีวีก็ไม่ตาย เพราะมีโซเชียลมีเดียมาเสริมซึ่งกันและกัน” สุทธิชัย กล่าว

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/03/12/entry-1

http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2012/03/live-blogs-storify.html

http://www.wired.com/gadgetlab/2011/10/apple-iphone-5-live-blog/

live blogging
live blogging

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1314/

เครือเนชั่นบุกตลาดปั้นนักศึกษานิเทศมืออาชีพ

nation nited
nation nited

18 พ.ค.54 มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตลำปาง-กรุงเทพฯ เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เน้น “เรียนกับมืออาชีพ” ชูจุดเด่นสื่อ-การตลาดเครือเนชั่น เน้นสาขานิเทศฯ-บริหารธุรกิจ เน้นคุณภาพมาตรฐานนิสิต มั่นใจ นิสิต นักศึกษาสนใจสมัครเรียนแน่

นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG) ในฐานะ นายกสภามหาวิทยาลัยเนชั่น เปิดเผยถึงแนวทางการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์กว่า 40 ปี ว่ามหาวิทยาลัยเนชั่น โยนก ลำปาง และสอนนอกที่ตั้งกรุงเทพฯ ที่อาคารไอทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิต (อาคารฐานเศรษฐกิจเดิม) ทั้งแห่งจะเปิดสอนในเดือนพฤษภาคมนี้ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเอ็มบีเอ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาต่างประเทศ

โดยอาศัยความแข็งแกร่งขององค์กรสื่อในเครือเนชั่นประสบการณ์กว่า 40 ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อครบวงจร ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ดิจิทัล มีเดีย เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาทักษะจากประสบการณ์จริง พร้อมขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการผลิตรายการทีวี ละคร ค่ายเพลง เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในทุกแขนงของสาขานิเทศศาสตร์

“ปัจจุบันธุรกิจสื่อบันเทิง และกลุ่มดิจิทัล มีเดีย ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทุกองค์กรเรียกร้องบุคลากรที่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี และประสบการณ์จริงในการทำงาน จึงถือเป็นโอกาสของมหาวิทยาลัยเนชั่น ในการพัฒนาหลักสูตรพร้อมให้ประสบการณ์ทำงานสื่อ เพื่อสร้างโอกาสที่ดีกว่าในการทำงานในแวดวงสื่อและบันเทิงหลังจบการศึกษา” นายธนาชัยกล่าว

นายธนาชัย กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นจะสร้างจุดต่างด้วยความได้เปรียบในการ “เรียนกับมืออาชีพ” โดยนักศึกษามีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์ นอกเหนือจากภาคทฤษฎี ด้วยการเรียนกับอุปกรณ์ปฏิบัติการของจริง ในสภาพการทำงานจริง และกับมืออาชีพในสายนิเทศศาสตร์ เพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้และฝึกงานกับบริษัทพันธมิตร ทำให้นักศึกษาที่จบมา มีโอกาสในการหางานทำได้สูงกว่า สามารถเลือกทำงานกับบริษัทในกลุ่ม และพันธมิตรของเครือเนชั่น ได้หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

“มหาวิทยาลัยเนชั่น โยนก เปิดสอนทั้งหมด 11 สาขา ในพื้นที่ 165 ไร่ เรามีอาจารย์ที่มีองค์ความรู้ที่เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ ไว้รองรับนิสิต นักศึกษาที่มาเรียนกับเรา อย่างศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ทีปรึกษาฝ่ายวิชาการ ร่วมสอนในสาขารัฐศาสตร์ ส่วนสาขานิเทศศาสตร์ จะมีมืออาชีพจากเนชั่นผลัดเปลี่ยนหมุนมาสอนเป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่น วิชาข่าว ก็มีคุณสุทธิชัย หยุ่น หรือมืออาชีพท่านอื่นด้วย วิชาการสื่อสาร ก็จะมีผมร่วมด้วย” นายธนาชัย กล่าว

มหาวิทยาลัยเนชั่น (วิทยาเขตโยนก จ.ลำปาง) จัดกิจกรรม Summer Experience 2011 เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้รับความรู้และฝึกฝนทักษะในด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาคน รู้จักการทำงานร่วมกันได้อย่างดี สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ และตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้นอกห้องเรียน ภายในงานกิจกรรมมากมายจากการฝึกทักษะกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นีน่า กุลนัดดา, คริส คริสโตเฟอร์ ไรท์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม-17 มิถุนายน ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ รับจำนวน 80-100 คน เช่นเดียวกับผู้ที่สนใจสมัครเรียนต่อระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โทร.0-5426-5170-6

http://www.suthichaiyoon.com/detail/10000
http://www.nation-u.com