กระแสไลค์ในเฟซบุ๊ค (itinlife378)

facebook in cities
facebook in cities

http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

12 ม.ค.56 ปี 2555 ที่ผ่านมาเป็นอีกปีหนึ่งที่กระแสการใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทวีความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลใน zocialrank.com ที่ให้ข้อมูลว่าเฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) เมื่อต้นปี 2555 มีคนกดถูกใจ (Like) ถึงล้านคนเพียง 2 เพจ แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงปีพบปริมาณการกดไลค์เพจเพิ่มขึ้นเกินคาด  ข้อมูลต้นปี 2556 พบว่ามีเพจที่ถึง 2 ล้านจำนวน 3 เพจ และยอดเกินล้านมีถึง 35 เพจ เกือบทั้งหมดเป็นเพจด้านความบันเทิง แต่ไม่มีเพจใดมีเนื้อหาหลักด้านการศึกษา มีเพียงเพจของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ที่เน้นด้านการศึกษาทางธรรม มียอดคนกดไลค์เกินล้าน

ผู้สื่อข่าวทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย ใช้ข้อมูลที่อยู่ในเฟซบุ๊ค นำมาพูด บอกต่อ ตีความ ขยายความ แสดงความเห็นทั้งเชิงบวก เชิงลบ จนทำให้เกิดการรับรู้ พูดถึงเรื่องราวที่มาจากเฟซบุ๊ค ออกไปสู่สังคมภายนอกได้รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การกดไลค์ต่อเพจมิใช่เครื่องแสดงถึงประสิทธิภาพของการสื่อสารในเพจ แต่เป็นจำนวนคนเข้ามามีส่วนร่วม (Engage) ที่วัดด้วยค่า “ถูกพูดถึง (Talking about this)”  ที่มาจากจำนวนกดไลค์ในแต่ละข้อความ (Post like) จำนวนการแบ่งปัน (Share) จำนวนความคิดเห็น (Comment) และกิจกรรมอื่น ๆ

สถิติการกดไลค์และการถูกพูดถึงมักเกิดกับเฟซบุ๊คเพจด้านความบันเทิง ที่ผู้ดูแลนิยมโพสต์ภาพ หรือข้อความเกี่ยวกับความรัก ทั้งสมหวัง ผิดหวัง ประชด ตัดพ้อ หรือคำพูดที่น่าประทับใจที่อ้างอิงว่ากล่าวโดยพระสงฆ์ หรือปราชญ์ อาทิ ดร.เทียม โชควัฒนา หรือขงจื้อ ข้อมูลทางสถิติเมื่อต้นเดือนมกราคม 2556 จาก socialbakers.com เปรียบเทียบในระดับเมืองพบว่า มีผู้ใช้ในกรุงเทพฯ เป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 12,797,500 เฉือนจากาต้าของอินโดนีเซียไม่มากนัก ส่วนระดับประเทศข้อมูลของประเทศไทยคือ 18,335,420 ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจสถานภาพความสุขและมุมมองการใช้ชีวิตของชาวโลก พบว่าชาวไทยติดอันดับ 5 ของโลก ก็อาจเป็นเพราะเรามีเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล โดยเมืองหลวงของไทยมีประชากรเข้าถึงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกย่อมจะมีความสุขในอันดับต้น ๆ เช่นกัน แต่ระบบการศึกษาของไทยไปอยู่ท้ายของรายการก็อาจเป็นเพราะเรามีความสุขแบบไม่ยึดทางสายกลาง

http://www.oknation.net/blog/roisaii/2012/12/23/entry-1

http://www.pawoot.com/like-and-who-talking-about

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2335/

e-marketing

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

19 พ.ค.55 วันนี้ได้ฟังคุณป้อม บรรยายเรื่อง e-marketing แล้วพูดถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้เทคโนโลยีว่า สมัยนี้เข้าห้องน้ำกันนานขึ้น เพราะเวลาตื่นมาเข้าห้องน้ำ จะนำ Tablet PC เข้าไปนั่งด้วย ทำให้ใช้เวลาในห้องน้ำนานกว่าปกติ และเสียสุขภาพ .. เป็นมุขขำขำ
อาจารย์ ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (ป้อม) บรรยายหัวข้อ “กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทำเว็บไซต์ให้ทั่วโลกรู้จัก” ณ ห้องประชุม อาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 มีประเด็นในสไลด์ที่สำคัญ คือ
การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
1. กำหนดวัตถุประสงค์ (sell or image)
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (5W 1H season sex)
3. วางแผนงบประมาณ (cpd cpm cpc cpa)
cost per duration
cost per impression
cost per click
cost per action
4. กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ (หาจุดขาย ลูกเล่น ไอเดีย)
5. วางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา (กลยุทธ์อะไร สื่ออะไร เมื่อใด)
6. ดำเนินแผนการ
7. วัดผล และประเมินผลลัพธ์