เป้าหมายสุดท้ายของชีวิตของเรายังคลุมเครือ

ภาพต้นฉบับ ที่จุดสนใจยังไม่ตก 1 ใน 4 จำเป็นต้อง crop ภาพ
ภาพต้นฉบับ ที่จุดสนใจยังไม่ตก 1 ใน 4 จำเป็นต้อง crop ภาพ

เวลาทำงานทำการ ก็มักจะต้องมีเป้าหมาย
กำหนดเป้าหมายไว้ไม่ชัดเจนก็จะเป็นปัญหา
กำหนดแล้วทำไม่ได้ก็จะเป็นปัญหา
ถ้าไม่กำหนด แล้วทำไปวัน ๆ ไม่เห็นปลายทางก็เป็นปัญหา
มีคนบอกว่าคิดมากเป็นทุกข์ .. ไม่คิดอะไรเลยบางทีก็สบายใจนะ

นำภาพต้นฉบับมาทำเส้นกริด ยังไม่มีจุดใดน่าสนใจ ต้อง crop เพื่อให้ได้จุดตัดใหม่
นำภาพต้นฉบับมาทำเส้นกริด ยังไม่มีจุดใดน่าสนใจ ต้อง crop เพื่อให้ได้จุดตัดใหม่

อย่างในลักษณะนี้
อุปมาอุปมัยก็เหมือนชีวิตของเรา
ที่ปลายทางยังคลุมเครือ
คงยังไม่มีใครตอบได้ชัดว่า ปลายทางแต่ละคนเป็นเมื่อใด
ไม่ค่อยชัดเจนว่าตรงปลายทางนั้นจะเป็นอะไร
แล้วคงไม่มีใครอยู่เพื่อปลายทาง จึงปลายทางว่าเป้าหมายไม่ได้
แต่มีหนทางให้เดิน ก็ต้องเดิน จะหยุด หรือถอยก็ไม่ได้
ไม่อยากถึงปลายทาง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ และเกิดขึ้นแน่นอน

ตั้งใจให้จุดที่ 3 เป็นจุดสนใจ แต่ภาพไม่ดีพอ ไม่ค่อยชัดนะ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
ตั้งใจให้จุดที่ 3 เป็นจุดสนใจ แต่ภาพไม่ดีพอ ไม่ค่อยชัดนะ เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

ภาพนี้ตั้งใจถ่าย ตามคำแนะนำของ Scott Kelby
ที่เขียนหนังสือ The Adobe Photoshop CS4 Book for Digital Photographers
แปลโดย รัชตา ซึ้งสุนทร เขียนไว้ในหน้า 170 ว่า
โดยทฤษฎีแล้ว จุดสนใจของภาพจะต้องถูกจัดวางไว้
ที่จุดตัดจุดใดจุดหนึ่งของเส้นกริด
คือ ตำแหน่งตัดกันของเส้นนอน 2 เส้น และเส้นตั้ง 2 เส้น ที่ห่างเท่ากัน
จะเลือกจุดตัดใดเป็นจุดสนใจก็ได้

สร้างจุดตัดให้เห็น ผมเลือกจุดตัดที่ 3 เป็นจุดสนใจ
สร้างจุดตัดให้เห็น ผมเลือกจุดตัดที่ 3 เป็นจุดสนใจ

ถ่ายคลิ๊ปรูปถ่ายหมู่มหาฯ

มหาบัณฑิต ในพิธีประสาทปริญญาบัตรกลางแจ้ง
มหาบัณฑิต ในพิธีประสาทปริญญาบัตรกลางแจ้ง

21 ธ.ค.55 เป็นครั้งที่ 20 ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นจัดพิธีประสาทปริญญาบัตรบัณฑิต และมหาบัณฑิต ณ ลานกลางแจ้ง ในมหาวิทยาลัย ริมอ่างตระพังดาว และเป็นปีแรกที่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเนชั่น หลังรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเซ็นอนุมัติการเปลี่ยนชื่อจาก มหาวิทยาลัยโยนก เป็นมหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 28 พ.ย.54

โดยภาพนี้เป็นภาพหมู่ของมหาบัณฑิต ที่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นรุ่นแรก โดยมี คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น คุณเสริมสิน สมะลาภา และ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นเกียรติ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธี

ประกวดภาพถ่าย

photo contest
photo contest

การส่งภาพประกวด Nation U Photo Contest กับคอนเซ็บต์
Fun Fin Feel @Songkran Festival 2013

เงื่อนไขการร่วมสนุก
• ผู้ร่วมกิจกรรมต้องมีบัญชีเฟสบุ๊ค (Facebook Account) เป็นของตนเอง
• ผู้ร่วมกิจกรรมต้องกด Like เพื่อเป็น Fan ของหน้าเพจ Nation U News ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
• ผู้เข้าประกวดต้องเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปวช, หรือ ปวส. หรือเทียบเท่า (เท่านั้น)
• ผู้ร่วมสนุกต้องทำตามกติกาให้ครบถ้วนตามที่ระบุ
• ผู้ได้รับรางวัลต้องติดต่อกลับเพื่อมารับรางวัลภายในเวลา 15 วันนับจากประกาศผล หากผู้ได้รับรางวัลไม่มารับรางวัลภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าผู้ได้รับรางวัลสละสิทธิ์
• มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไขเหล่านี้ได้ทุกเมื่อโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบ โดยอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของทีมงาน คำตัดสินของคณะกรรมการและมหาวิทยาลัยถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีสิทธิ์โต้แย้ง หรือขอให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น
• ผู้ร่วมกิจกรรมรับทราบ และยินยอมปฏิบัติตามกติกาการร่วมสนุกฉบับนี้

กติกา
• ต้องเป็นภาพประเพณีสงกรานต์ ปี 2556 ถ่ายจากกล้อง DSLR หรือกล้องดิจิตอลคอมแพ็ค ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 5 ล้านพิกเซล
• จำกัดจำนวนภาพที่ส่งเข้าประกวดของผู้เข้าประกวด 1 USERNAME ต่อ 1 ภาพ
• ภาพที่ส่งประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใดๆมาก่อน และต้องเป็นผลงานของผู้เข้าประกวดเองเท่านั้น
• ผู้ส่งภาพเข้าประกวดสามารถใช้เทคนิคการถ่ายภาพได้อย่างอิสระ แต่ห้ามตัดต่อ เพิ่มเติม หรือบิดเบือนภาพไปจากเดิม ยกเว้นการปรับสี ความอิ่มตัวสี แสง และคอนทราสต์ของภาพที่ไม่เกินจากความเป็นจริง
• ผู้ได้รับรางวัล กรุณาถือไฟล์ภาพจริงมาแสดงให้แก่คณะกรรมการตัดสิน
• ลิขสิทธิ์ภาพที่ส่งประกวด ตกเป็นของมหาวิทยาลัยเนชั่น เพื่อใช้จัดพิมพ์ เผยแพร่ ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
• การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้น
• ภาพทั้งหมดจะได้รับโพสต์ ลงเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเนชั่น และโซเชียวมีเดียของมหาวิทยาลัย

กำหนดปฏิทินการประกวด
• ส่งภาพเข้ามาภายในวันที่ 22 เมษายน 2556
• กรรมการตรวจตัดสินการประกวดภาพถ่าย วันที่ 29 เมษายน 2556
• ประกาศผลภาพถ่ายผ่าน www.nation.ac.th และทางแฟนเพจ www.facebook.com/NationUNews
และมอบรางวัล วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา

เผยแพร่
http://www.nation.ac.th/
http://www.facebook.com/NationUNews
http://www.facebook.com/CommartsNationuBangkok

รางวัลการประกวด
• รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 2,000 บาท

สร้างแบรนด์ผ่านการแชร์ภาพ

kfc egg tart
kfc egg tart

คุณฮัน share บทความเรื่อง “เคล็บลับการสร้างแบรนด์ผ่านการแชร์ภาพถ่ายสินค้า

ที่คุณ charathBank สรุปไว้ 5 ประเด็น
1. เริ่มเปิดการสนทนาด้วยการแชร์รูป
(Open up to a dialogue of sharing)
– ภาพสินค้าที่ถูกแชร์ขึ้นไปนั้นโดยเจ้าของแบรนด์หรือผู้ดูแลจะถูกจินตนาการและตีความหมายโดยผู้ที่ได้เห็นเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นแล้วการเลือกรูปเพื่อที่จะสื่อสารกับลูกค้าที่ติดตามและสนใจเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะต้องทำให้ครอบคลุมกับสิ่งที่เราต้องการสื่อให้ลูกค้าได้เหมือนกับที่เราต้องการ รวมทั้งสร้างความอยากให้ลูกค้าซื้อสินค้าจากรูปที่เราแชร์
2. สร้างบทสนทนาขึ้นมาจากภาพที่ลูกค้าเป็นคนมาโพสต์ภาพไว้
(Let that dialogue spark conversations)
– นอกจากการโพสต์รูปจากทางเจ้าของแบรนด์แล้ว ลูกค้าก็สามารถมาโพสต์รูปส่งมาหาเราได้เช่นกัน เช่นทาง Facebok Page หรือ Twitter ดังนั้นแล้วผู้ดูแลแบรนด์จะต้องพยายามสร้างการสนทนากับลูกค้ที่โพสต์รูปขึ้นมา เพราะนอกจากลูกค้าเองที่จะแฮปปี้แล้ว ยังมีลูกค้าคนอื่นๆ ที่ติดตามหน้าเว็บที่จะคอยดูและติดตามการสนทนาอีกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบโดยอ้อมกับคนที่อ่าน
3. อย่าจงใจขายสินค้าโดยตรง
(Stop trying to sell something)
– เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าทุกวันนี้กลุ่มลูกค้าผู้บริโภคฉลาดที่จะเลือกซื้อสินค้ามากขึ้นและรู้ทางเจ้าของแบรนด์มากขึ้นว่าจะทำอะไร 1 ในสิ่งที่รับรู้ได้โดยง่ายในปัจจุบันนั่นคือการยัดเยียดขายสินค้าโดยตรง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าอึดอัดโดยตรงและจะทำให้เราเสียลูกค้าไปแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นแล้วการทำ 2 ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และสินค้าได้โดยอ้อมซึ่งจะมีผลในระยะยาวในการมัดใจลูกค้านั่นเอง
4. เปิดใจให้ลูกค้าแชร์ข้อมูล
(Validate consumers to boost their ego)
– ทุกวันนี้เรามักจะเห็นการแชร์ข้อมูลผ่านออนไลน์เพื่อบรรยายการใช้งานให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ รวมไปถึงสอบถามว่าใช่หรือไม่ในสิ่งที่เขาสงสัย ดังนั้น สิ่งที่เราจะทำได้นั่นคือการแชร์รูปนั้นซ้ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นและให้ได้รับรู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉยต่อการส่งข้อมูลมา และอย่าลืมที่จะตอบข้อสงสัยของลูกค้านั้นด้วยนะครับ
5. ช่วย 1 คนเหมือนได้ช่วยหลายคน
(Help people help each other)
– อีก 1 ในเหตุผลในการแชร์รูปบนโซเชียลเน็ตเวิร์คนั่นคือ การขอความช่วยเหลือ ดังนั้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้อมูลที่เอามาแชร์ จงกระตุ้นให้ลูกค้าของคุณทำการแชร์รูปกับผลิตภัณฑ์ของเรา ตัวอย่างเช่น หากขายเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ เจ้าของแบรนด์อาจมีการขอให้ลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าไปแล้วทำการแชร์รูปสินค้าที่ถูกสวมใส่หรือใช้งานจริง เพื่อให้คนอื่นได้เห็นและเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นเรายังสามารถที่จะแนะนำแนวทางการเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากทางเราทั้งหมด (แต่อย่าลืมข้อ 3 ด้วยนะครับ)
จะเห็นได้ว่า ภาพถ่ายมีส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและแบรนด์ สามารถสร้างสังคม (Community) ของคนที่ชอบสินค้าเดียวกัน และสร้างให้ผู้ใช้ผลิตภัณฆ์มีความจงรักภักดี (Loyalty) กับแบรนด์ที่เราดูแลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะทำให้แบรนด์อยู่ในใจกับลูกค้าไปได้ตลอดนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลโซเชียลเน็ตเวิร์คนั้นๆ ว่าจะมีความสม่ำเสมอในการเข้าไปดูแลจัดการ รวมทั้งสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้าได้เห็น เพื่อที่จะให้ลูกค้ายังคงใช้งานกับเราไปอีกนานๆ แถมเพิ่มลูกค้าหน้าใหม่ๆ ได้อีกด้วย
บทความจาก