31 นโยบายหลักด้านการศึกษา

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์  กรุงเทพมหานคร

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวให้นโยบายถึงการทำงานในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยได้ขับเคลื่อนการทำงานตาม  “31 นโยบายหลักด้านการศึกษา” ๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่  ๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะโยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม  ๔) สอบ O-Net ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  ๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด   ๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา   ๗) แท็บเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา  ๘) เรียน ม.๖ จบได้ใน ๘ เดือน   ๙) กองทุนตั้งตัวได้   ๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน   ๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN  ๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖  ๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship  ๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan  ๑๕) ครูมืออาชีพ  ๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center   ๑๗) การศึกษาดับไฟใต้   ๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA   ๑๙) กระทรวงศึกษาไทย ปลอดภัย ไร้บุหรี่   ๒๐) ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ   ๒๑) อัจฉริยะสร้างได้   ๒๒) อินเทอร์เน็ตตำบลและหมู่บ้าน  ๒๓) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ   ๒๔) โรงเรียนในโรงงาน   ๒๕) อาชีวะไทย ก้าวไกล ใช้เทคโนโลยี   ๒๖) สร้างพลังครู  ๒๗) หลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น   ๒๘) โรงเรียนร่วมพัฒนา   ๒๙) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา  ๓๐) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ   ๓๑) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/477/477.aspx

นอกจากนั้นยังได้เน้นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา อาทิ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ,  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน , โรงเรียนในโรงงาน , การตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ รวมทั้งนโยบายเทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือนแล้ว ได้กล่าวถึงเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเราเอง ซึ่งก็คือการ “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” โดยอธิบายว่าหากเป็นลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร คือให้มองเด็กๆ ให้เป็นลูกหลานของเรา ขณะเดียวกันครูอาจารย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารก็ควรมองให้เป็นเหมือนน้องชายน้องสาว  เพราะว่าผู้บริหารก็เหมือนครูรุ่นพี่ ซึ่งต้องมาช่วยเราสอนลูกของเราให้มีอนาคตมีการศึกษา

นายศักดา  คงเพชร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า  ตนต้องการให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สร้างบุคลากรคุณภาพ  ครูและนักศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ  แต่มีความเป็นห่วงว่าเงินงบประมาณ ปี2556  ซึ่งได้น้อยลงจะทำให้การพัฒนาอาชีวศึกษาที่เข้มแข็งทั้งคุณภาพ และประมาณได้มากน้อยเพียงใด ฝากให้ส่วนกลางจัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษาให้ชัดเจนเพื่อช่วยให้การจัดสรรเงินงบประมาณมีความเป็นธรรม  และตรงกับความต้องการมากที่สุด

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประสานงานขอรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นของกลางที่ไม่สามารถใช้งานได้มาเป็นวัสดุฝึก  หรือนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีรายได้โดยแปลงทักษะวิชาชีพให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ รวมทั้งต้องเตรียมพร้อมการแข่งขันในประชาคมอาเซียน  โดยเน้นให้เด็กสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ  และภาษาอาเซียน

โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ 10 สิงหาคม 2555

นโยบายการใช้บล็อก

km policy
km policy

อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นผลให้อันดับของมหาวิทยาลัยปรับขึ้น ได้ให้นโยบาย ในการประชุมกบม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2555 ว่า การเข้าไปมีกิจกรรมของอาจารย์ และนักศึกษา หรือระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งใน blog, webboard, e-learning ล้วนมีอิทธิพลต่อผลการจัดอันดับทั้งสิ้น เพราะบริการข้างต้นเป็นระบบเปิด ที่ผู้จัดอันดับสามารถมาติดตามความเคลื่อนไหว และใช้เป็นข้อมูลได้

+ http://blog.nation.ac.th
+ http://it.nation.ac.th/webboard
+ http://class.nation.ac.th
+ http://www.nation.ac.th

Content is King : The New NMG

คลิ๊ปเรื่อง Content is King : The New NMG
ความยาว 3.32 บรรยายโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น

สุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2555
ประธานกรรมการบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ยืนยันต่อผู้ถือหุ้นว่า
จะยกระดับเครือเนชั่นสู่สถาบันสื่อไปทุกภูมิภาค ทั้งอาเซียน เอเชีย และทั่วโลก

C = ME 3

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ ปี 2555
เครือเนชั่นจะขยายคอนเทนท์หรือเนื้อหาเป็นมัลติคอนเทนส์ (Multi-content)
ให้หลากหลายครอบคลุมผู้รับสื่อทุกกลุ่มทุกวัย
และจะมุ่งขยายด้านแพลทฟอร์มส่งผ่านเนื้อหาที่ดีที่สุดออกไปในทุกรูปแบบ
เป็นมัลติแพลทฟอร์ม (Multi-platform) ทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิวมีเดีย
นอกจากนี้จะยกระดับเครือเนชั่นสู่สถาบันสื่อในทุกภูมิภาค อาเซี่ยน เอเชียและทั่วโลก
หรือมัลติรีเจียน (Multi-Region)
โดยเชื่อว่าจากปัจจุบันที่มีผู้รับสื่อของเนชั่นทุกรูปแบบอยู่ 35 ล้านคน
แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือในปี 2015 จะมีผู้เข้าถึงสื่อเครือเนชั่น 70 ล้านคน

Term
– Education
– Entertainment
– E-Business
– Generation X : ผู้ใหญ่
– Generation Y : วัยรุ่นปัจจุบัน
– Generation C : วัย Click อย่างเดียว

http://www.oknation.net/blog/nationtv/2012/04/26/entry-1

tweet หนึ่งจากทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร

5 มีนาคม 2555 อ่านทวิตเตอร์ของ อ.อุดม ไพรเกษตร พบเรื่อง “แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ไม่ใช้สมองก็ต้องใช้สติ” มีลิงค์ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/242249 มีความตอนหนึ่งที่ คุณลม เปลี่ยนทิศ เขียนว่า

การแจกคอมพิวเตอร์ “แท็บเล็ต” ก็เป็นอีกตัวอย่างที่รัฐบาลพยายาม “ซื้อเร็วแจกเร็ว” ทั้งๆที่ยังไม่มีความพร้อมสักอย่าง ไม่ว่าระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบไฟฟ้าในโรงเรียน “ครูผู้สอน” ที่ยังขาดทักษะความรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาฯ จะต้องมีการอบรมให้เรียนรู้เสียก่อน รู้ว่าจะใช้แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
แม้แต่ “ตัวนักเรียน ป.1” เองก็ไม่มีความพร้อม “ขี้เยี่ยว” เด็กยังต้องให้ครูและพี่เลี้ยงดูแล เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่รัฐบาลกลับซื้อแท็บเล็ตแจกให้เด็ก 4–5 ขวบรับผิดชอบคนละ 1 เครื่อง และให้ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนเด็กต้องหอบหิ้วไปมาระหว่างบ้านกับ โรงเรียน ต้องคอยเสียบปลั๊กไฟชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งเด็กทำเองไม่ได้ต้องมีคนช่วย การแจกแท็บเล็ตเพื่อใช้เรียนใช้สอนเด็ก ป.1 จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ถูกเวลาในเวลานี้แน่นอน
ถ้าเป็น โรงเรียนที่ห่างไกล ไฟฟ้าไปไม่ถึง แท็บแล็ตก็เป็นเครื่องขยะใช้งานไม่ได้ เหมือนโครงการ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีต ที่ไปลงทุนสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนชนบท อ้างว่านักเรียนในชนบทจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อท่องไปสู่โลกกว้าง สามารถเรียนรู้ทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตแต่คอมพิวเตอร์ทั้งห้องเปิดใช้งาน ไม่ได้ เพราะโรงเรียน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต


ในวันที่ 5 มีนาคม 2555
เมื่ออ่านข้อความข้างต้นแล้ว .. ก็รู้สึกว่าโลกเรามีคนอยู่หลายแบบนะครับ
http://twitter.com/suthichai
http://twitter.com/udompk

http://www.youtube.com/watch?v=Mhyac_GNpFw

เปลี่ยนนโยบายจากบล๊อกสมาคม เป็นวาไรตี้บล็อก

8 ก.พ.54 โฮมเพจ thaiall.com/blogacla เปลี่ยนนโยบายการให้บริการจากการเป็น blog แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาคมศิษย์เก่า เป็น “อะค่ะบล็อก” ที่เป็นวาไรตี้ของมนุษย์ มีประเด็นนำเสนอเกี่ยวกับ คลิ๊ป ภาพ ดารา เกม ชีวิต การศึกษา วิจัย วิถีชีวิต บันเทิง การค้า กีฬา ศาสนา แต่ก็เปิดให้ลงทะเบียนได้ทั่วไป เพราะหัวข้อของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปางยังไม่หายไป หากต้องการเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยินดี .. เห็นผลสำคัญในการเปลี่ยนนโยบายของบล็อก เพราะระบบของ facebook.com/aclalumni มีความสมบูรณ์ในการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้รับความนิยมจากสมาชิกของสมาคม มากกว่าระบบบล็อก ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ สิงหาคม 2552 ถึง กุมภาพันธ์ 2554