โพลล์หลายค่ายได้ผลสำรวจไม่ตรงกับความจริง ในเลือกตั้งผู้ว่ากทม.56

vote ออกเสียง
vote ออกเสียง

โพลล์พลาดครั้งที่ 2
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งก่อนเลือกตั้ง และ exit poll ในการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 8.00น. – 15.00น. พบว่าสำนักโพลล์เกือบทุกแห่งสรุปผลว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จะได้รับคะแนนเสียงสูงสุด แต่หลังจากนับคะแนนอย่างเป็นทางการ ผลที่ได้คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนนเสียงสูงสุด ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่ผลสำรวจผิดพลาดจากการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ
+ http://news.mthai.com/bangkokelection2013

สวนดุสิตโพล ผู้ว่ากรุงเทพฯ 2556
สวนดุสิตโพล ผู้ว่ากรุงเทพฯ 2556

โพลล์พลาดครั้งที่ 1
ครั้งแรกนั้นเกิดในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 24 ของประเทศไทย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผลโพลล์สำหรับพื้นที่เป็นกรุงเทพฯ มีการเผยแพร่ว่าผลสำรวจที่ระบุว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับเลือกเป็นจำนวนที่มากกว่า แต่เมื่อผลออกมาอย่างเป็นทางการพบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 23 เขต และพรรคเพื่อไทยได้ 10 เขต จากทั้งหมด 33 เขตในกรุงเทพฯ
+ http://hilight.kapook.com/view/60420
+ http://www.siamintelligence.com/thai-general-election-2011/

กรุงเทพฯ โพลล์ ผู้ว่ากทม. 2556
กรุงเทพฯ โพลล์ ผู้ว่ากทม. 2556

ผลสำรวจของดุสิตโพลล์ 2556
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กรณี  “การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในสายตาของคนกรุงเทพฯ” จำนวน 3,214 คน โดยกระจายครบทั้ง 50 เขตเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 26-30 มกราคม 2556 สรุปผล ดังนี้

อันดับ 1    พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ    41.00%
อันดับ 2    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร    36.12%

อันดับ 3    พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส      6.88%
อันดับ 4    นายโฆษิต สุวินิจจิต      0.97%
อันดับ 5    นายสุหฤท สยามวาลา      0.53%
*    ยังไม่ตัดสินใจ    13.93%

+ http://www.krobkruakao.com/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1/

นิด้าโพลล์ เลือกผู้ว่า 2556
นิด้าโพลล์ เลือกผู้ว่า 2556
บ้านสมเด็จโพลล์ และเอแบคโพลล์ เลือกผู้ว่า 2556
บ้านสมเด็จโพลล์ และเอแบคโพลล์ เลือกผู้ว่า 2556

อึ้งผลสำรวจเด็กไทยพร้อมลอกข้อสอบ ขี้โกงถ้ามีโอกาส


มีโอกาสไปโรงเรียนสอนพิเศษของครู alex เห็นนิตยสารดาราสาวสวยวางบนโต๊ะ ระหว่างรอ 5 นาที พลิกอ่านไปมาจนจบพอดี ก็เลยมาค้นจาก net เพราะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ทำให้ทราบสาเหตุของการสอบตกของเด็กไทย โบราณว่า “เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า”

เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกงถ้ามีโอกาส

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:06 น. ข่าวสดออนไลน์
น.พ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551–2552 ในส่วนของพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมและจริยธรรม(อีคิว) ของเด็กไทย ว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน 9,035 คน ใน 20 จังหวัด ด้วยการใช้แบบทดสอบพ่อแม่ และเด็ก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 1-5 ปี  6-9 ปีและ 10-14 ปี เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการต่างกัน เปรียบเทียบเมื่อปี 2544 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6-9 ปี สำรวจ 8 ด้าน คือ วินัย สติ-สมาธิ เมตตา อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัด การควบคุมอารมณ์และพัฒนาสังคม พบว่า ผลการทดสอบพัฒนาการด้านสังคม ได้คะแนนสูงกว่าด้านอื่นๆ ส่วนด้านที่ได้คะแนนต่ำ คือ ความมีวินัย ความมีสติ-สมาธิ ความอดทนและความประหยัด โดยพัฒนาการด้านที่เด็กได้คะแนนน้อยซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัฒนาการด้านความมีวินัยในเด็กชาย การมีสมาธิในเด็กหญิง ด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ทั้งเด็กชายและหญิง
ด้านกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี สำรวจ 14 ด้าน ได้แก่ ความตระหนักรู้ในตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด การสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การควบคุมอารมณ์และคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ในภาพรวมแม้ว่าเด็กจะมีคะแนนดีขึ้น แต่มีหลายด้านที่พบว่าคะแนนการสำรวจยังไม่ดีขึ้นกว่าปี 2544 ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การแก้ปัญหา และการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นจุดที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำ เมื่อแยกย่อยในส่วนของด้านจริยธรรม เด็กกลุ่มนี้ เห็นว่า “การเล่นขี้โกงเมื่อมีโอกาส” และ “การลอกข้อสอบถ้าจำเป็น เป็นพฤติกรรมที่เด็กยอมรับได้มากขึ้น
“ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาจริยธรรม พบว่า ตัวแปรสำคัญคือระดับการศึกษาของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู พ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงขึ้น เด็กจะมีจริยธรรมและพฤติกรรมในทางที่ดีมากขึ้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ว่าควรจะเลี้ยงลูกอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่ควรพัฒนาในเด็กอายุ 1-5 ปี คือ การทำตามระเบียบกติกา ในเด็ก 6-9 ปี ในเด็กชายและเด็กหญิงควรพัฒนาด้านความเมตตาและการควบคุมอารมณ์ และสำหรับเด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึกการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์วิจารณ์”  รศ.นพ.วิชัย กล่าว

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeE5qWXdOamcwTkE9PQ

http://picpost.mthai.com/view/17043

เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกง ถ้ามีโอกาส
เด็กไทยลอกข้อสอบ ขี้โกง ถ้ามีโอกาส