ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน

เพื่อนท่านหนึ่งพูดให้ฟังว่า “ไม่ใช้เฟซบุ๊คในการทำงาน” เมื่อจับความได้ ก็นำมาพิจารณาก็พบว่า ปัจจุบันผู้คนจำนวนไม่น้อยใช้งานเฟซบุ๊ค เมื่อใช้มาก ๆ เข้าก็หลงใหลถึงขั้นติดงอมแงม (คุณโน๊ต : fb เพื่อ บ่น ปฏิญาณตน อวด แอ็บแตก ทำคำคม) เหมือนที่ คุณโน๊ตอุดม พูดไว้ใน เดี่ยว 8 เรื่อง Hi5 ว่า “ถ้าบริษัทมึงเจ้งกูก็ไม่แปลกใจ” นั่นหละครับ

ความสามารถของ fb ที่เด่นและเห็นได้ชัดมี 3 บริการ
1. profile มีไว้คุยกับคนที่ยอมรับเราเป็นเพื่อน
2. page มีไว้นำเสนอข้อมูลข่าวสารแบบบล็อก หรือตอบข้อซักถาม
3. group มีไว้พูดคุยเฉพาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน

สรุปประเด็น
1. profile มีประโยชน์ต่อการทำงานที่หวังเป้าหมายในระดับบุคคลถือว่าต่ำสุด แม้จะใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล แต่ก็ต้องเป็นเพื่อนเท่านั้น ถ้าเพื่อนในองค์กรไม่รับท่านเป็นเพื่อน ก็คงสื่อสารด้วยเฟซบุ๊คกันไม่ได้
2. page มักถูกใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรในแบบบล็อกเป็นสำคัญ แต่เปรียบเทียบกับ website ไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สามารถนำเสนอเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพคลิ๊ป ในรูปมัลติมีเดีย และอินเทอร์แอ็คทีฟได้สมบูรณ์ สามารถควบคุม header และ footer ที่ไม่มีโฆษณาของ facebook มากวนใจ มีระบบบล็อก และเว็บบอร์ดที่ควบคุมได้ และสามารถจัดการ seo ได้อย่างสมบูรณ์
3. group มีประโยชน์ในการทำงานสูงสุด แต่มีข้อแม้เพียงข้อเดียว คือไม่เข้ามาใช้ประโยชน์ กลับเลือกใช้บริการที่ไม่ก่อประโยชน์ในการทำงานเหมือนที่คุณโน๊ตว่าไว้

ผมเชื่อว่า มีองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ facebook for working ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ บุคลากรต้องไม่เป็นแบบที่โน๊ตว่าไว้ และการใช้งานต้องมีการควบคุม เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการใช้งานที่วัดได้


หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ
หนึ่งวันของมนุษย์ออฟฟิซ

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151022111276768&set=a.493024076767.276129.370539266767

สอบประวัติผู้สมัครงาน (itinlife 332)

twitter @Pat_ThaiPBS
twitter @Pat_ThaiPBS

3 มี.ค.55 มีผลวิจัยว่า พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคม (Social Network) อาจถูกนำใช้ประกอบการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นส่วนตัว และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ปัจจุบันเราทราบว่าเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมีไม่มากนัก อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และกูเกิลพลัส ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นไมโครบล็อก (Micro blogging) ที่มีระดับความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบรรดาเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่ในทวิตเตอร์วัดความนิยมจากจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งเจ้าของบัญชีไม่จำเป็นต้องรู้จักกับผู้ติดตาม หรืออนุญาตให้มีการติดตาม ผลการจัดอันดับผู้ติดตามเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2555 พบว่า @Khunnie0624 มีผู้ติดตาม 1,064,797 ส่วน @Woodytalk มีผู้ติดตาม 601,370 ส่วน @vajiramedhi มีผู้ติดตาม 501,925 แสดงว่าการมีผู้ติดตามมาก คือ มีคนเข้าถึงเนื้อหาที่เจ้าตัวเผยแพร่ได้มากนั่นเอง

ส่วน facebook และ google+ มีระดับความเป็นส่วนตัวสูงกว่า หากจะเข้าไปดูข้อมูลจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของบัญชี แต่ผู้ใช้บางรายยอมรับเพื่อนใหม่ง่าย และมีไม่น้อยที่เขียนบันทึกอย่างรู้เท่าไม่ถึงภัย จนส่งผลไม่พึงประสงค์ภายหลัง สิ่งหนึ่งที่พึงระวัง คือ นายจ้าง หรือว่าที่เจ้านายอาจเข้ามาดูข้อมูลที่สะท้อนลักษณะเฉพาะบุคคลตาม ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait Theory) ซึ่งมี 5 เกณฑ์ คือ 1) ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก (Extraversion) 2) ความซื่อตรง มีคุณธรรม (Conscientiousness) 3) ความเป็นมิตร ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ (Agreeableness) 4) การจัดการกับอารมณ์ (Neuroticism) 5) เปิดกว้างเพื่อประสบการณ์ทำงานหรือเรียนรู้ (Openness to Experience/Intellect) โดยทฤษฎีถูกใช้ในหัวข้อวิจัยที่ Northern Illinois University, Evansville University  และ Auburn University ได้ร่วมกันศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา

เมื่อนำเกณฑ์ข้อ 1 คือ ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก มาใช้คัดเลือกบุคลากร ก็มักมีการมองหาพฤติกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงบวกต่อประเด็นรอบตัว มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีสมดุลในการแสดงออกทั้งภายในและภายนอก มุมมองต่อสังคม การเมือง องค์กร ครอบครัว หรือตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกบุคลากรก็แตกต่างกันไปตามตำแหน่ง เช่น นักประชาสัมพันธ์ หรือนักพัฒนาชุมชน ก็ย่อมต้องการคนที่คิดบวก และชอบแสดงออก แต่ถ้าผู้พิพากษา หรือพนักงานทำความสะอาด เกณฑ์ข้างต้นก็คงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ ประเด็นคือท่านคิดว่าสิ่งที่ปรากฎใน profile ของท่าน เป็นภาพบวกหรือลบ หากปรากฎสู่สายตาของนายจ้าง

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1128/

http://www.lab.in.th/thaitrend/rank-follower.php

อัปเปหิตนเอง ออกการเป็น admin ของ page

page admin & member
page admin & member

คำว่า อัปเปหิ หมายถึง ขับไล่ ผลักไสให้ออกไป
แล้วผมใช้คำว่า “ผมได้อัปเปหิตนเองออกจากการเป็น admin จาก page”
เพื่อแปรเปลี่ยนสถานะของตนเองเป็นเพียง member

ทำให้ต่อไป การ post ข้อความต่าง ๆ ก็จะทำได้ในฐานะ member

เดิมการเป็น admin ของ page
จะพบว่า ผลการ post ถูกแสดงออกมาในบทบาทของกลุ่ม admin

ดังนั้น เพื่อสร้าง identity ที่หลายหลายในการ comment
และเป็นภาพการเกิดกิจกรรมจากการมีส่วนร่วม

จึงตัดสินใจ อัปเปหิตนเอง ออกจากเพจดังกล่าว
เพราะต้องการให้เห็น activities จากบุคคลที่หลากหลายกว่า
มิใช่เกิดจากกลุ่ม admin เท่านั้น

บริการที่แตกต่างกันของ fb
1. group ใน fb มีเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม
และมีภารกิจบางอย่างต้องทำร่วมกันให้บรรลุ
2. page ใน fb มีเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของเพจที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แต่ละเพจก็จะมีผู้ดูแล ซึ่งมีบทบาทตามวัตถุประสงค์ข้างต้น
3. profile ใน fb มีเพื่อบันทึกเรื่องราวของตนเอง
อาจเป็นภาพ เอกสาร หรือคลิ๊ปเกี่ยวกับตนเอง