คนกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะแย่งงาน (itinlife 556)

กฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก
กฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก

เคยอ่านหนังสือคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเทคนิคการเขียนโปรแกรม ของ รศ.วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 11 ปี 2536 เล่าว่าหนึ่งในปัญหาการเข้ามาของคอมพิวเตอร์ คือ การรบกวนระบบงานปกติ มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า การใช้คอมพิวเตอร์ยังมีผลกระทบต่อจิตใจของพนักงาน ความไม่พอใจ ความกังวลใจที่จะตกงาน ข้อความนี้เป็นที่สนใจของผู้เขียนมาโดยตลอดว่าจริงเท็จประการใด แล้วก็มาพบข่าวว่าที่เมืองไทยเปิดร้านอาหารปิ้งย่าง ชื่อร้านฮาจิเมะ ที่ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะเป็นพนักงานเสิร์ฟ แสดงว่าร้านนี้ใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ในการเสิร์ฟอาหาร ลูกค้าหลายท่านพอใจ แต่สำหรับผู้ใช้แรงงานอาจเห็นเป็นวิกฤตในการหางานก็ได้

บริษัท Foxconn ปลดพนักงาน 60000 คนจากพนักงาน 110000 คน โดยเลือกใช้ AI : Artificial Intelligence แทนมนุษย์ในสายการผลิต แล้วกระแสการปลดพนักงาน หรือเลือกใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่ไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นความจริงว่าผู้บริหารระดับสูงเลือกที่จะมีหุ่นยนต์ไว้ใช้งานแทนมนุษย์ ในยุคฟองสบู่ที่เมืองไทยแตกราวปี 2540 ทำให้ธนาคารจำนวนมากปรับลดพนักงาน ปัจจุบันเราจะเห็นตู้เอทีเอ็ม ตู้ปรับสมุด และตู้รับฝากเงิน ในอดีตจะทำธุรกรรมทางการเงินก็ต้องเดินเข้าไปพูดคุยกับพนักงาน แต่ปัจจุบันธนาคารเลือกลดพนักงานและเพิ่มตู้บริการขึ้นมาแทนที่ นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแย่งงานมนุษย์

อีกหน้าที่หนึ่งที่คอมพิวเตอร์เข้าแย่งงานของมนุษย์ คือ งานแม่บ้านพ่อบ้าน ปัจจุบันงานบ้านถูกแย่งไปทำโดยเครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า เครื่องกวาดบ้าน กล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยเฝ้าบ้าน งานบ้านที่ยากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์ มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพศสัมพันธ์ Dr.Helen Driscoll จาก University of Sunderland ทำนายว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ในสังคมมนุษย์อาจยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหุ่นยนต์เป็นเรื่องปกติ ที่ประเทศไทย Sex toy เป็นของต้องห้าม ที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือส่งออกตามกฎหมายศุลกากร เรื่องวัตถุลามก ถ้ามีกฎหมายนี้อยู่ Sex toy ก็จะเป็นของผิดกฎหมาย และการมีเพศสัมพันธ์กับหุ่นยนต์ก็คงไม่เกิดขึ้นอย่างถูกกฎหมาย


+ http://internet1.customs.go.th/ext/Prohibit/Prohibit.jsp
+ http://www.huffingtonpost.co.uk/dr-helen-driscoll/sexual-relationships-with-robots_b_7909964.html
+ http://www.misterbuffet.com/shop_Hajime.asp?id=283
+ https://www.techtalkthai.com/foxconn-cuts-60000-jobs-and-uses-robots-with-ai-instead/

สอบประวัติผู้สมัครงาน (itinlife 332)

twitter @Pat_ThaiPBS
twitter @Pat_ThaiPBS

3 มี.ค.55 มีผลวิจัยว่า พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคม (Social Network) อาจถูกนำใช้ประกอบการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นส่วนตัว และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน ปัจจุบันเราทราบว่าเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมีไม่มากนัก อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และกูเกิลพลัส ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นไมโครบล็อก (Micro blogging) ที่มีระดับความเป็นส่วนตัวน้อยกว่าบรรดาเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่ในทวิตเตอร์วัดความนิยมจากจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งเจ้าของบัญชีไม่จำเป็นต้องรู้จักกับผู้ติดตาม หรืออนุญาตให้มีการติดตาม ผลการจัดอันดับผู้ติดตามเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2555 พบว่า @Khunnie0624 มีผู้ติดตาม 1,064,797 ส่วน @Woodytalk มีผู้ติดตาม 601,370 ส่วน @vajiramedhi มีผู้ติดตาม 501,925 แสดงว่าการมีผู้ติดตามมาก คือ มีคนเข้าถึงเนื้อหาที่เจ้าตัวเผยแพร่ได้มากนั่นเอง

ส่วน facebook และ google+ มีระดับความเป็นส่วนตัวสูงกว่า หากจะเข้าไปดูข้อมูลจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของบัญชี แต่ผู้ใช้บางรายยอมรับเพื่อนใหม่ง่าย และมีไม่น้อยที่เขียนบันทึกอย่างรู้เท่าไม่ถึงภัย จนส่งผลไม่พึงประสงค์ภายหลัง สิ่งหนึ่งที่พึงระวัง คือ นายจ้าง หรือว่าที่เจ้านายอาจเข้ามาดูข้อมูลที่สะท้อนลักษณะเฉพาะบุคคลตาม ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait Theory) ซึ่งมี 5 เกณฑ์ คือ 1) ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก (Extraversion) 2) ความซื่อตรง มีคุณธรรม (Conscientiousness) 3) ความเป็นมิตร ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ (Agreeableness) 4) การจัดการกับอารมณ์ (Neuroticism) 5) เปิดกว้างเพื่อประสบการณ์ทำงานหรือเรียนรู้ (Openness to Experience/Intellect) โดยทฤษฎีถูกใช้ในหัวข้อวิจัยที่ Northern Illinois University, Evansville University  และ Auburn University ได้ร่วมกันศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา

เมื่อนำเกณฑ์ข้อ 1 คือ ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก มาใช้คัดเลือกบุคลากร ก็มักมีการมองหาพฤติกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงบวกต่อประเด็นรอบตัว มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีสมดุลในการแสดงออกทั้งภายในและภายนอก มุมมองต่อสังคม การเมือง องค์กร ครอบครัว หรือตนเองเป็นอย่างไร ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกบุคลากรก็แตกต่างกันไปตามตำแหน่ง เช่น นักประชาสัมพันธ์ หรือนักพัฒนาชุมชน ก็ย่อมต้องการคนที่คิดบวก และชอบแสดงออก แต่ถ้าผู้พิพากษา หรือพนักงานทำความสะอาด เกณฑ์ข้างต้นก็คงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ ประเด็นคือท่านคิดว่าสิ่งที่ปรากฎใน profile ของท่าน เป็นภาพบวกหรือลบ หากปรากฎสู่สายตาของนายจ้าง

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1128/

http://www.lab.in.th/thaitrend/rank-follower.php

พฤติกรรม โซเชียล เน็ตเวิร์ค อาจถูกใช้พิจารณารับคนทำงาน

วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง
วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง

26 ก.พ.55 อ่าน บทความของ วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง ใน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่าปัจจุบัน อาจมีบริษัทที่ดูพฤติกรรมของผู้สมัครงานในโซเชียล เน็ตเวิร์ค มาใช้ประกอบการคัดเลือกคนเข้าทำงานก็ได้

พบว่างานวิจัย ของ มหาวิทยาลัย Northern Illinois ร่วมกับมหาวิทยาลัย Evansville และมหาวิทยาลัย Auburn ศึกษานักศึกษาที่กำลังจะจบ ด้วยแบบสอบถาม และบางส่วนยอมให้เข้าดู fb profile  เพื่อการวิจัย โดยมีการวิเคราะห์ และให้เกรด ตามทฤษฎีบุคลิกภาพตามลักษณะนิสัย

ทฤษฎีบุคลิกภาพตามลักษณะนิสัย (Trait Theory)

1. Extraversion (ชอบเข้าสังคม ชอบแสดงออก)
2. Conscientiousness (ความซื่อตรง มีคุณธรรม)
3. Agreeableness (ความเป็นมิตร ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ)
4. Neuroticism (การจัดการกับอารมณ์)
5. Openness to Experience/Intellect (เปิดกว้างเพื่อประสบการณ์ทำงานหรือเรียนรู้)

http://en.wikipedia.org/wiki/Trait_theory

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/worawisut/20120223/437739/news.html

http://online.wsj.com/article/SB10001424052970204909104577235474086304212.html

http://www.thaiall.com/blogacla/admin/1177/