มีความเชื่อฝังหัว หรือมีข้อมูลฝังอยู่ในหัวมากมาย
และมีความเชื่อว่าข้อมูลในสมองของมนุษย์สามารถถ่ายโอนได้
มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่เชื่อมโยงกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
—
เรื่องแรกที่นึกถึง คือ แฝงร่างขวางนรก (Source code) ปี 2011
มีการทำวิจัยเรื่องการย้ายความคิดของคนมาใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์
พระเอกเป็นทหาร เครื่องบินตก ร่างตาย แต่สมองไม่ตาย
มีนักวิจัย นำร่างพระเอกมาศึกษา
แม้ร่างจะมีปัญหา แต่เชื่อมสมองไปเข้าเครื่องคอมได้
แล้วก็สื่อสารกันรู้เรื่อง รวมถึงเข้าไปแทนสำนึกของสมองก่อนอื่นได้
ประเด็น คือ ทำสำเนาได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
เรื่องนี้ได้นำความคิดของพระเอก ไปใส่ในสมองของเหยื่อรายหนึ่ง
ที่เสียชีวิตจากเหตุระเบิดรถไฟ โดยหวังว่าจะล่าตัวมือระเบิดได้
การส่งพระเอกเข้าไปในสมองที่เป็นความทรงจำ
กลับกลายเป็นว่าเป็นการย้อนอดีตจริง ๆ และสามารถเปลี่ยนเหตุการณ์ได้จริง
—
เรื่องที่สอง คือ คอมพ์สมองคนพิฆาตโลก (Transcendence) ปี 2014
พระเอกตอนมีชีวิตอยู่ เป็นนักวิจัย สร้าง AI ที่เสมือนมีความรู้สึกนึกคิด
แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ชอบเทคโนโลยี ทำให้พระเอกต้องตายด้วยกัมมันตภาพรังสี
หลังตาย ได้ย้ายสมองไปเข้าคอมพิวเตอร์
มีการขยายหน่วยความจำ เพิ่มหน่วยประมวลผล และแหล่งพลังงาน
จนพระเอกทำวิจัยต่อได้อย่างรวดเร็ว หลังไปอยู่ในคอมพิวเตอร์
จนงานวิจัยก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีนาโน
การรักษาสมดุลธรรมชาติ การรักษาพยาบาล และการพัฒนาเนื้อเยื่อ
ทุกคนเข้าใจผิด และกลัวพระเอก จึงร่วมมือกันทำลาย ให้พระเอกหายไปด้วยไวรัส
แม้จริง ๆ แล้วพระเอกพยายามจะรักษาโลก
ที่ป่วยจากการทำลายด้วยมือมนุษย์ก็ตาม
—
เรื่องที่สาม คือ คนสมองเดือด (Criminal) ปี 2016
มีนักวิจัย ทำโครงการที่คิดว่าจะสามารถคัดลอกสมองคนหนึ่ง
ไปไว้ในสมองส่วนหน้าที่บกพร่องได้ ของอีกคนหนึ่งได้
แล้วก็มีพระเอก 2 คน
คือ พระเอกที่เป็นสายลับ แต่ถูกจับได้และฆ่าตาย เหลือแต่สมอง
กับ พระเอกที่เป็นฆาตกร มีสมองส่วนหน้าผิดปกติ
เนื่องจากเคยถูกพ่อโยนออกจากรถตอนเด็ก
ทำให้สมองส่วนหน้าที่เป็นเรื่องความรู้สึกเสียหาย
นักวิจัยได้คัดลอกสมองพระเอกที่ตาย ไปยังสมองส่วนหน้าที่เสียหาย
หลังคัดลอกแล้ว พระเอกก็มีบุคลิกของพระเอก และผู้ร้ายในคนเดียวกัน
แต่เนื้อเรื่องหลัก คือ ประเทศสหรัฐติดตั้ง Firewall ของประเทศ
แล้วมีนักวิจัยหนุ่มแอบฝังรูหนอน สำหรับสั่งการอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
เขาทรยศ จะเอาผลงาน หรือรูหนอนหรือประตูหลังไปขาย
ผมมองว่าเรื่องนี้มีนักวิจัย 2 คน
คนแรกเป็นนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องการคัดลอกสมองของมนุษย์
คนที่สองเป็นนักวิจัยที่รับพัฒนา Firewall ของประเทศ
—
อันที่จริงนึกถึง ดาย ฮาร์ด 3 แค้นได้ก็ตายยาก (Die hard 3) ปี 2007
ที่การยึดครองระบบต่าง ๆ ของประเทศ ใช้แฮก-เกอร์
ร่วมกับอดีตผู้มีความชำนาญด้านความปลอดภัยของประเทศ
ที่หันมาหักหลังประเทศของเขาเอง เพื่อเงิน
พระเอก คือ Walter Bruce Willis
—
อีกเรื่องที่นึกถึง คือ ไฟนอล คัท ตัดต่อสมองคน (The Final Cut) ปี 2004
ที่พระเอกมีหน้าที่เป็นสัปเหร่อเทคโนโลยี
สามารถนำข้อมูลจากสมองออกมาเก็บในสื่อเก็บข้อมูล
แล้วนำมาฉายเป็นภาพในอดีต ว่าผู้ล่วงลับเห็นอะไรบ้าง
เรื่องราวคือ มีคนอยากเห็นในสิ่งที่อยู่ในหัว และมีบางคนไม่อยากให้เห็น
พระเอก คือ Robin Williams
Tag: source code
ภาพยนตร์ Source code
แนวคิดแรก มีว่าคนที่เสียชีวิตแล้ว สมองจะมีความทรงจำส่วนหนึ่งหลงเหลืออยู่ และมีงานวิจัยที่พยายามจะเข้าไปใช้ความทรงจำ (memory) นี้
แนวคิดที่สอง มีว่าคนที่ร่ายกายตาย แต่สมองยังไม่ตายอาจเข้าไปในความทรงจำ และควบคุม (Control) ซากสมองของคนอื่นได้
แนวคิดที่สาม เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีว่าถ้าร่างกายของคนคือ โปรแกรมประมวลผล (application) ที่นำมาใช้ได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้นซอร์ทโค้ด (source code) คือ รหัสต้นฉบับ หรือต้นตอที่นำไปสู่การสร้างร่างกายที่สมบูรณ์ และเรื่องนี้พระเอกของเราก็เหลือเพียง source code เท่านั้น
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ (Utilization) จากสามแนวคิดนี้ เป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่อง source code
แนวคิดซับซ้อนพอกับ Matrix แต่ effect ในเรื่องนี้ มีไม่มากนัก
http://www.youtube.com/watch?v=QxDY6QNg7nQ