มติผู้ตรวจการแผ่นดินพิทักษ์ 3G

4g speed
4g speed
8 พ.ย.55 ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองพิจารณา คำร้องระงับการออกใบอนุญาต 3G โดยมองว่าการประมูลเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่โดยปราศจากการแข่งขัน และขัดต่อรธน.
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้แถลงถึงผลการพิจารณา กรณีที่มีผู้ร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ว่ามีความไม่​ชอบธรรม โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ต่อศาลปกครอง ให้ทำการพิจารณาและวินิจฉัยต่อไป โดยมีการยื่นเอกสารทั้งหมดให้ศาลปกครองไปแล้ววันนี้ (8 พ.ย.55)
โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีความเห็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่จัดขึ้นโดย กสทช. นั้น เข้าข่ายมีลักษณะไม่ใช่การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยมองว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับ 3 บริษัทใหญ่ โดยปราศจากการแข่งขัน จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งชะลอการออกใบอนุญาตไปก่อน และทำการพิจารณาและวินิจฉัย ว่าการจัดประมูลดังกล่าวเป็นไปโดยชอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ว่าด้วยการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่
โดยหลังจากผู้ตรวจการแผ่นดินทำการแถลงเสร็จ สหภาพแรงงานของบริษัททีโอทีจำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติม เพื่อร้องเรียนความไม่ชอบธรรมในกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยกล่าวว่าการโอนย้ายทรัพย์สินจากคลื่นความถี่ 2G ไปเป็น 3G ของทั้งบริษัททีโอที และ CAT เทเลคอม ยังไม่เสร็จสิ้นดี การออกใบอนุญาตกำเนินการ 3G ในขณะนี้ จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของชาติเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสน 7 หมื่น 7 พันล้านบาท

Thailand 4G LTE – จากปัญหาคาราคาซังของ 3G ที่อาจกล่าวได้ว่า ทำให้การพัฒนาด้านโทรคมนาคมในบ้านนี้เมืองนี้ นั้นไม่เดินหน้าอย่างที่มันควรจะเป็น และในขณะที่โลกสากลกำลังเดินเกมสู่เทคโนโลยี 4G LTE อันมีรากฐานและต่อยอดอย่างเป็นระบบมาก่อน การก้าวเดินแบบสเต็ปสากลของไทยจึงอยู่ในสภาวะที่หลายฝ่ายกังวลว่าประเทศชาติ อาจจะล้าหลังเชื่องช้า หนักไปถึงถูกเพื่อนบ้านที่เคยตามหลังหลายช่วงวิวัฒนาการ แซงหน้าจนต้องรั้งท้ายตารางประเทศกำลังพัฒนา (อย่างเชื่องช้า) ไปได้ เนื่องมาจากระบบการสื่อสารมีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งไปถึงระบบการศึกษา!!

อย่างไรก็ดีล่าสุดมีรายงานว่า กสทช. อนุมัติคำร้องขอร่วมจาก TOT และ AIS เพื่อทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายLTE บนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz รวมทั้งสิ้น 20 ช่องสัญญาณ โดยการทดสอบจะติดตั้งตัวส่งสัญญาณ 84 จุดในกรุงเทพฯ และบางหัวเมืองใหญ่ ใช้เวลาทดสอบทั้งสิ้น 90 วัน และสามารถขยายเพิ่มได้อีก 90 วัน (เป็น 180 วัน)

ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดพื้นที่และระยะเวลาในการทดลองสัญญาณ เพิ่มเติมจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัทTrue เป็นอีกค่ายที่มีการยื่นคำร้อง รวมถึง CAT, Dtac ด้วย แม้จะเป็นเพียงการทดลองระยะสั้น แต่หลายฝ่ายก็คาดหวัง (โดยเฉพาะผู้บริโภค) การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี เสียแต่ว่างานนี้อาจเป็นแสงหิงห้อยที่อายุขัยการเปล่งแสงแสนจะสั้นก่อนดับวูบไปเช่น 3G โปรเจ็กส์…เอวัง!!

http://tech.mthai.com/mobile-tablet/other-mobile/12119.html

ความเร็วที่ไม่มีวันพอ (itinlife297)

3bb
3bb

9 ก.ค.54 ราวปีพ.ศ.2539 มีโอกาสเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม (Modem) ซึ่งเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างสัญญาณอนาล็อกในสายโทรศัพท์พื้นฐานและสัญญาณดิจิทอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นอุปกรณ์มีความเร็ว 14.4 Kbps โดยใช้โปรแกรม NCSA Mosaic หรือ Netscape browser สำหรับสืบค้นข้อมูล และเว็บไซต์ยอดนิยมที่ทุกคนตอบตรงกันคือ yahoo.com ซึ่งเป็นเบอร์หนึ่งในฐานะเว็บท่า (Portal Website) เริ่มต้นราวปีพ.ศ.2538 พัฒนาโดย เจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) นักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

อีกไม่กี่ปีต่อมาก็มีการพัฒนาโมเด็มให้มีความเร็ว 28.8 Kbps ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากเดิม ทำให้สามารถดาวน์โหลดภาพ ข้อมูล คลิ๊ปวีดีโอ และโปรแกรมได้เร็วขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาให้รองรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมดีขึ้น และโมเด็มความเร็ว 56 Kbps ก็ถือกำเนิด และถูกยอมรับให้เป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับความเร็ว 56 Kbps นั้นเทียบได้กับความเร็วในการดาวน์โหลดภาพขนาด 100 KB ใช้เวลา 15 วินาที หรือ 1 นาทีดาวน์โหลดภาพได้ 4 ภาพ ซึ่งในอดีตภาพดิจิทอลมักมีขนาดไม่ใหญ่ และผู้พัฒนาทราบข้อจำกัดนี้ จึงไม่ใช้สื่อดิจิทอลที่มีขนาดใหญ่เกินจำเป็น มิเช่นนั้นผู้สืบค้นข้อมูลอาจอดทนรอไม่ได้ แล้วเปลี่ยนใจไปเข้าเว็บไซต์อื่นแทน แต่เมื่อค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่ำลง อุปกรณ์ถูกพัฒนาควบคู่กัน ทำให้ผู้สืบค้นข้อมูลได้รับบริการความเร็วสูงที่ขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากบ้านผ่าน ADSL Modem ที่ทำได้ง่าย และเชื่อมต่อได้พร้อมกันหลายคน

ความต้องการของมนุษย์มีไม่สิ้นสุดฉันใด การพัฒนาทางเทคโนโลยีเพื่อตอบความต้องการก็จะต้องดำเนินต่อไปฉันนั้น ในปีพ.ศ.2554 มีการประชาสัมพันธ์ Broadband internet ของ 3BB ว่าให้บริการเชื่อมต่อความเร็วดาวน์โหลด 9 Mbps และอัพโหลด 1 Mbps มีค่าใช้จ่ายเพียง 900 บาท เมื่อเปรียบเทียบความเร็วของอุปกรณ์สองยุค  พบว่า ปัจจุบันบริการ ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็ม 14.4 Kbps ถึง 640 เท่า เมื่อเปรียบเทียบเวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน ADSL ที่ต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้โมเด็มจะต้องรอถึง 26 วันทีเดียว อาจสรุปได้ว่าอินเทอร์เน็ตก็เปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึก ต้องการอะไรก็เข้าอินเทอร์เน็ต คิดดีก็ได้ดี แต่ถ้าคิดไม่ดี หรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่สุจริต ก็อาจเป็นผลร้ายต่อตนเอง ดังนั้นการจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีการยับยั้งชั่งใจและพิจารณาให้ถี่ถ้วน