ความเป็นมาที่เริ่มวาดสติ๊กเกอร์ไลน์ 3 ชั่วโมง

หลายปีมานี้ มอบหมายงานใน วิชาสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นิสิตใช้ Powerpoint วาดภาพแบบ Vector ได้ผลงาน คือ ภาพตนเอง กับภาพการ์ตูน ส่วนวิชาโค้ดดิ้งหลายวิชาก็จะเขียนคำสั่งวาดภาพเรือ ภาพรถ หรือโดราเอมอน ทำให้นึกถึงภาพแบบ .svg ที่ save as ออกมาจาก .ppt ได้ ส่วนงานมอบหมาย infographic ในวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก็มักต้องใช้การวาดภาพแบบ Vector ซึ่งเครื่องมือที่เป็นที่นิยมในกลุ่มมืออาชีพ คือ Adobe illustrator แต่การใช้ Powerpoint ซึ่งเป็นเครื่องมือประจำเครื่อง ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ประกอบกับพบภาพ Sticker มากมายที่เป็นแบบ Vector ที่นิสิตน่าจะต่อยอดบทเรียนไปวาดภาพตนเองเป็น Line Sticker ไว้ใช้งานใน Line ได้

เมื่อต้นมกราคม 2565 ได้คุยกับนิสิต M.Ed. มีงานมอบหมายเป็น Poster และ Brochure พบว่า มีนิสิตเลือกใช้ Adobe Illustrator และบางท่านก็มี Avatar เป็นภาพประจำตัว ทำให้กลับมามองภาพ Avatar ที่เคยทำไว้เมื่อหลายปีก่อน และคิดว่าน่าจะถึงเวลาอัพเกรดภาพ Avatar เข้าไปอยู่ใน Line Sticker จากการศึกษาการวาดภาพ Sticker พบว่า มีเครื่องมือมากมาย แต่สุดท้ายระบบของ Line ต้องการภาพแบบ Transparency ขนาดไม่ใหญ่นัก จำนวนภาพเริ่มต้นที่ 8 ภาพ จึงลองวาดภาพตัวอย่างง่าย ๆ ด้วย Powerpoint แล้วจัดการแปลงเป็น Transparency ด้วย Irfanview

ลงมือวาด ตั้งใจให้เสร็จใน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มต้นเข้าระบบ ไปจบที่ส่งผลงานให้ Line จนถึงขั้นตอน “รอการพิจารณา” 1) เข้า creator.line.me เพื่อจะส่ง sticker ไปขาย โดยใช้ line account ที่ผูกกับอีเมลแล้ว ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ยาก กรอกข้อมูล และยืนยันไปตามปกติ 2) ต้องเลือกบัญชีที่จะรับเงินว่าจะใช้ Paypal หรือ Rabbit line pay ซึ่งผมเลือก Line pay ในขั้นตอนนี้จะตรวจสอบบัตรประชาชน ถ่ายรูปบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าจนกว่าจะตรงกัน คล้ายกับแอปเป๋าตัง หรือ Bitkub 3) ใช้ Powerpoint สร้างภาพจำนวน 8 รูปสติกเกอร์ + main คือ รูปภาพหลัก และ tab คือ รูปภาพแท็บห้องแชท รวมเป็น 10 ภาพ แล้วส่งออกเป็น .png แล้วไปปรับขนาดใน Irfanview รวมถึงลบพื้นหลังในขั้นตอนนี้ 4) อัพโหลดทีละภาพ หรือรวมภาพทั้งหมดเป็น .zip แล้วอัพโหลดครั้งเดียว

https://www.thaiall.com/linesticker/

วาดเอง ซื้อเอง ขายได้แล้ว

ความเป็นมาของการส่งความสุขที่เปลี่ยนไป (itinlife 481)

ส.ค.ส. ที่มีรูปธงไตรรงค์ ธงชาติไทยที่เก่าแก่ที่สุด
ส.ค.ส. ที่มีรูปธงไตรรงค์ ธงชาติไทยที่เก่าแก่ที่สุด

http://tccontent.blogspot.com/2013/11/blog-post_3001.html

ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ พบว่าเริ่มมีการส่งบัตรเยี่ยม หรือ การ์ดข้อความมามากกว่า 200 ปีแล้ว ประเทศไทยรับธรรมเนียมการส่งบัตรอวยพรจากต่างชาติ แบบแรกคือ บัตรอวยพรปีใหม่ ซึ่งพบหลักฐานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เคยจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2409 ปรากฏในหนังสือพิมพ์ The Bangkok Recorder ของ หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ต่อมาได้เกิดคำว่า ส.ค.ส. ที่ย่อจาก ส่งความสุข ในต้นรัชกาลที่ 5 จนมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเมษายน เป็นมกราคม ตามแบบสากลเมื่อ พ.ศ.2483 และนิยมสงการ์ดอวยพรเรื่องมาถึงปัจจุบัน

เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างมาก หลายปีก่อนนิยมส่งข้อความถึงกันด้วยอีเมล (E-Mail) และมีบริการส่งบัตรอวยพรทางเว็บไซต์ ทำให้บัตรอวยพรที่ส่งทางไปรษณีย์เริ่มเสื่อมความนิยมลง แต่มีการรับส่งบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (E-Card) ทางอีเมลกันมากขึ้น ต่อมาโทรศัพท์มีบริการรับส่งข้อความแบบสั้น หรือ SMS (Short Message Service) ทำให้การส่งความสุข หรือข้อความยินดีในแต่ละเทศกาลเริ่มเปลี่ยนไป บางท่านที่มีเพื่อนมากอาจได้รับข้อความในเทศกาลปีใหม่นับร้อย บางท่านมีเพื่อนน้อยอาจได้รับเป็นสิบข้อความเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในต้นปี 2558 สถิติการส่งข้อความสั้นลดลงตามคาด และลดลงมากกว่าปีที่ผ่านมา จากรายงานข้อมูลของผู้ให้บริการทั้ง ดีแทค เอไอเอส และทรูมูฟ เอช

การใช้งานดาต้าในช่วง 23.45 – 00.15น. เปลี่ยนปีเก่าเป็นปีใหม่ เทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่ามียอดการใช้งานสูงขึ้น 3 – 4 เท่า ซึ่งผู้ใช้ส่งข้อความหากันผ่านโซเชียลมีเดียหลัก 3 ราย คือ Line, Facebook และ Instagram ทั้งนี้กระแสการใช้งาน Line Sticker ได้รับการสนับสนุนประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ มีแบบสติ๊กเกอร์ 16 แบบให้ดาวน์โหลดฟรี เพื่อส่งเสริม “ค่านิยมสิบสองประการ” และแบบที่ 13 มีคำว่า “สวัสดีปีใหม่” ซึ่งผมก็ได้รับจากเพื่อนหลายท่าน แต่ในทางตรงกันข้ามปีนี้กลับไม่ได้รับข้อความส่งความสุขทาง SMS เลย ต่อจากนี้แนวโน้มการส่งข้อความของผู้ใช้เทคโนโลยีก็จะใช้บริการผ่าน Line และ Facebook เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าท่านกำลังพิจารณาว่าจะส่งความสุขถึงใครสักคนก็คงต้องพิจารณาว่าผู้รับจะสะดวกรับทางใด ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากนักในยุคสังคมก้มหน้า

http://www.jobmarket.co.th/news/detail.php?dd=5978

http://www.manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000000110

http://www.mxphone.net/010115-3-operetor-new-year-data-usage-up/