
บริการที่ http://www.thaiall.com/swot
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รักการอ่าน สุขภาพ และบันเทิง
บริการที่ http://www.thaiall.com/swot
รศ.เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสอนหนังสือเพื่อนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ให้อ่านหนังสือชื่อ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะเรื่องเล่า เร้าพลัง หรือ Story Telling เหมาะกับนักศึกษาทางบริหารธุรกิจอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารทุกระดับ ผมว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวก็อ่านดีครับ ที่สำคัญอ่านแล้ว อาจช่วยให้ขายดิบขายดีได้
—
ในหนังสือมีกรณีศึกษาที่ใช้แนวการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) แบ่งเป็น 9 บท ได้แก่ 1) บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง 21-26 2) ใช้ Management Tools โดยไม่เข้าใจ 37-42 3) กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง 51-57 4) ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร 65-70 5) ตอบสนองลูกค้าไม่ได้ 77-82 6) การปฏิบัติการล้มเหลว (Bad Operation) 93-98 7) พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง 109-113 8) รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้ 121-125 9) ภาวะผู้นำล้มเหลว 133-138
—
ทีแรกก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือยาก .. แต่พออ่านไม่กี่หน้า ผมว่าหนังสือเล่มนี้สุดยอดจริง ๆ เหมือนเป็นตัวละครในหนังสือเลย .. อ่านแค่ชื่อบททั้ง 9 บท ผมก็ว่ายอดเยี่ยมแล้ว .. ชอบคำหนึ่งคือคำว่า “พูดเอง เออเอง” หน้า 71 ที่เล่าว่าเครื่องมือทางบริหารที่เรียกว่า inside-out กับ outside-in จะเลือกอย่างไร หรือการอธิบายความต่างของ SWOT กับ Balanced Scorecard (BSC) หน้า 44 ว่า Swot นั้นเกิดจากสำนักคิดทางกลยุทธ์ที่เน้นสร้างกลยุทธ์จากความลงตัว แต่ BSC เน้นสร้างกลยุทธ์ให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการวางตำแหน่ง (Positioning)
—
สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่อง อยู่หน้า 149 เป็นกราฟ “ความสัมพันธ์ของสาเหตุแห่งความล้มเหลวขององค์กร” ว่าอะไรที่วินิจฉัยง่าย กับอะไรที่กระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร .. อ่านแล้วนึกถึง Steve Jobs ครับ
http://www.ryt9.com/s/prg/1139329
http://www.hrcenter.co.th/book_detail.php?book_id=1028
http://www.thairath.co.th/content/eco/182486
http://www.lib.ku.ac.th/index.php/2009-03-26-04-10-35/3878-tragedy-of-lost
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การทำแผนปฏิบัติ แล้วดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสอดรับกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก โดยการจัดทำแผนครั้งนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ซึ่งปัจจุบันสถาบันมีฐานะเป็นห้องเรียนบุญวาทย์วิหาร ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ มีปรัชญาของสถาบันคือ จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
การระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ของมหาวิทยาลัยทั้งบุคลากรภายใน คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ เจ้าหน้าที่ พระนิสิต และคนในชุมชน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากเวทีนี้ คือ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT : Strength Weakness Opportunity Threat) เพื่อนำไปสังเคราะห์อย่างเป็นระบบจนกระทั่งได้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ระยะ 5 ปี ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้เรื่องเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบที่เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมีการบรรยายในหัวข้อหลักการ แนวคิด และวิธีการจัดทำแผน โดย ดร.วันชาติ นภาศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยโยนก ซึ่งองค์ประกอบหลักของการวางแผนกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก 2) กำหนดทิศทางพัฒนาองค์กรด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์หลัก 3) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา 4) กำหนดยุทธวิธีการดำเนินงาน
ประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์มีหลากหลาย อาธิ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ e-library database information hardware software ผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ คนในท้องถิ่น การระดมทุน ความเสี่ยง การจัดการความรู้ ตัวบ่งชี้คุณภาพ และเป้าหมาย ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องใช้เวลาในแต่ละขั้นตอนเพื่อกลั่นกรองให้ได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ทบทวนความทันสมัยของแผนยุทธศาสตร์ทุกปี เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ และสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และองค์กรอย่างต่อเนื่องต่อไป