บ่นเรื่องความไม่ชินกับ tablet

เล่าสู่กันฟัง จากความไม่ชินใน tablet pc
เล่าสู่กันฟัง จากความไม่ชินใน tablet pc

ผมใช้ tablet แบบ two-way ไม่ใช่ readonly หรือ listen only หรือ watch only
จึงมองหาการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนกับผู้คนใน social network พบปัญหากับอุปกรณ์ ดังนี้
1. กดอักษรมากขึ้น : กว่าจะพิมพ์เสร็จ 30 ตัวอักษร จิ้มไปซะ 60 ที จะซ้ายขวาบนล่างก็ต้องใจเย็นกันหน่อย
2. เบิ้นต้องรอ : ถ้าพิมพ์อักษรเบิ้นต้องรอสักครู่ เช่น “สรร” หรือ “มากกว่า” เพราะต่อเนื่องไม่ได้ หลายปุ่มมี 3 ตัวอักษร จะจิ้มอักษรบนต้องกด 3 ครั้ง ถ้ากด 2 ครั้งคือเปลี่ยนตัวไม่ได้ออกเบิ้น
3. แป้นใหม่ : ต้องเรียนรู้แป้นพิมพ์ใหม่ ปกติผมพิมพ์สัมผัส ตอนนี้ต้องจ้อง เพราะใช้สัมผัสไม่ได้ ต้องจำ
4. ของแถม : ปัญหาใหม่ พอพิมพ์เสร็จแล้วส่ง บางทีมีตัวอักษรแถมต่อท้ายเข้าไปใน fb เกิดหลายครั้ง เริ่มสงสัยว่าอุปกรณ์รับสัมผัสเร็วไปรึเปล่า
5. ท่านั่ง : ถ้าต้องค้นงาน แล้วพิมพ์งานติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ยังไม่มีท่านั่งที่เหมาะสม
6. สายตายาว : เวลาใช้ tablet ต้องถอดแว่น เพราะจอเล็ก ตัวเล็ก แม้ซูมได้ ถ้าเปลี่ยนโปรแกรมขนาดก็กลับสุ่มาตรฐาน

มีความเชื่ออยู่ว่า ความเคยชิน ทำให้มนุษย์ลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1. ถ้าชินกับ การเปิดพัดลมนอน ก็จะไม่ถามถึงแอร์
2. ถ้าชินกับ การดื่มน้ำบ่อ ก็จะไม่ถามถึงน้ำสิงห์
3. ถ้าชินกับ การดื่มเหล้าเป็นประจำ ก็จะไม่ถามถึงการรักษาศีล
สักวันหนึ่ง ผมอาจเคยชิน คิดว่า tablet ใช้ง่ายกว่า desktop .. ใครจะไปรู้
ที่รู้แน่ ๆ คือวันนี้ผมยังไม่ชินกับ tablet

นักเรียน ป.1 560,000 คน จะได้รับแท็บเล็ต

tablet สำหรับนักเรียน
tablet สำหรับนักเรียน

ปลาย มี.ค.55 ประชุมบอร์ดแท็บเล็ต สรุปลงนามสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ต หลังวันที่ 2 เม.ย.นี้ ด้าน “อนุดิษฐ์” ยันมีการคุมเข้มคุณภาพแท็บเล็ต กำหนดให้จีนผลิต 2,000 เครื่องรุ่นแรก มารับการทดสอบเข้มข้น ตกทดสอบแม้แต่เครื่องเดียวทุกอย่างวงแตก กลับไปเริ่มต้นใหม่

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหาร ที่มี ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการยกร่างสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ต กับบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ (Shenzhen Scope Scientific Development Co,Ltd) ที่รัฐบาลจีนเสนอมาและได้ข้อสรุป ว่า คู่สัญญาจัดซื้อจะเป็น กระทรวงไอซีที กับ บริษัทเสิ่นเจิ้น โดยจะทำเป็นสัญญาหลัก (Main Cantact ) พร้อมแนบสัญญาจัดซื้อเพิ่มเติม หรือ Repeat Order เพื่อเปิดช่องให้มีการของบประมาณจัดซื้อเพิ่มเติมภายหลัง ทั้งนี้ เพราะงบประมาณที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ประมาณ 1,900 ล้านบาท ไม่เพียงต่อจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามงบประมาณที่ได้ในปี 2555 นั้น ยังขาดอีก 90,000 เครื่อง ซึ่ง สพฐ.จะเปลี่ยนแปลงงบประมาณในส่วนอื่นมาจัดซื้อเพิ่มเติมก่อน แต่ขณะนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่า ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมเท่าไร ขึ้นอยู่กับงบประมาณ 1,900 ล้านบาทนี้ จะสามารถจัดซื้อได้กี่เครื่อง

นายอนุดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานโอนงบประมาณมาให้กระทรวงไอซีที ซึ่งจะเป็นผู้จัดซื้อแทนพร้อมกันในวันที่ 2 เมษายน 2555 และในวันเดียวกันนี้ ไอซีทีจะได้สรุปยกร่างสัญญาจัดซื้อให้แล้วเสร็จเรียบร้อยแล้วส่งไปให้สำนักอัยการสูงสุดตรวจทานร่างสัญญา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเมืองพัทยา และ กทม. มีกฎหมายเฉพาะทำให้ไม่สามารถโอนงบประมาณมาให้ยังไอซีทีได้เช่นกับหน่วยงานอื่นๆ จำเป็นต้องแยกทำสัญญา เพราะฉะนั้นการทำสัญญาจะต้องทำเป็น 3 ฉบับ ซึ่งได้มีการเจรจาเรียบร้อยว่าเงื่อนไขการจัดซื้อจะมีเนื้อหาเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อสัญญาผ่านการตรวจทางจากอัยการสูงสุดแล้วจะเร่งลงนามโดยเร็วที่สุด และเพื่อให้ทุกฝ่ายหมดความกังวลใจในเรื่องคุณภาพ

“ในยกร่างสัญญาจะมี การกำหนดไว้ว่า บ. เสิ่นเจิ้น ต้องผลิตเครื่องแท็บเล็ตรุ่นแรกจำนวน 2,000 เครื่อง ให้เสร็จภายใน 15 วัน หลังจากลงนามแล้ว เพื่อนำแท็บเล็ตรุ่นแรกนี้มาเข้ารับการทดสอบอย่างเข้มข้นจากคณะกรรมการจัด ซื้อของไทยที่จะเดินทางไปประเทศจีนเพื่อตรวจดูการผลิตตั้งแต่ต้น โดยคณะกรรมการจัดซื้อจะร่างเกณฑ์การทดสอบขึ้นมา มีการระบุขั้นตอนและจุดต่างๆ ที่ต้องทดสอบเครื่องโดยละเอียด และเครื่องแท็บเล็ตทั้ง 2,000 เครื่อง จะต้องผ่านการทดสอบ 100% ถึงจะเริ่มกระบวนการผลิตได้ แต่ถ้าการทดสอบปรากฎว่ามีเครื่องแท็บเล็ต แม้แต่เครื่องเดียวที่พบข้อบกพร่องในระบบหลักทั้งหมดก็จะต้องย้อนกลับมา เริ่มดำเนินการใหม่ ยกเว้นถ้าข้อบกพร่องนั้นไม่ใช่จุดสำคัญ ก็จะให้เดินหน้าการผลิตได้หลังจากที่มีการปรับปรุงแก้ไขตามเงื่อนไขที่ทางไทยกำหนดแล้ว” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

นอกจากนี้ จะมีการตั้งสำนักงานบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา พร้อมจัดทำแผนใช้คอมพิวเตอร์ส่งเสริมการสอนเสนอ ครม.ด้วย เบื้องต้นสำนักงานนี้จะแบ่งโครงสร้างเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารสื่อการเรียนการสอน กลุ่มบริหารจัดการระบบสารสนเทศและโครงข่าย กลุ่มบริการและดูแลรักษา และกลุ่มส่งเสริมและพัฒนา

ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า วันที่ 2 เมษายน 2555 ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องโอนเงินไปให้ กระทรวงไอซีที เพื่อดำเนินการจัดซื้อแท็บเล็ตให้กับนักเรียน ป.1 ซึ่งขณะนี้ สพฐ.มีงบประมาณจำนวน 1,182 ล้านบาท เพียงพอกับเด็ก ป.1 จำนวน 470,000 คน ขณะที่ สพฐ.มีนักเรียน ป.1 ทั้งหมด 560,000 คน เท่ากับว่า ยังขาดงบประมาณ 350 ล้านบาท เพื่อจะซื้อแท็บเล็ตอีก 90,000 เครื่อง ให้กับนักเรียนทุกคน ซึ่งจากการหารือกับ สำนักงบประมาณ ได้แนะนำให้ สพฐ.เจียดจ่ายงบประมาณที่ได้รับ

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040145