บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง

โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ
โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ

จากละครฉากที่หนึ่ง บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง p.21 – 26 ในหนังสือ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล (หนังสือเล่มนี้แฟนให้ผมอ่าน เพราะอาจารย์แนะนำมา)

ถอดบทเรียน ในฐานะผู้อ่านคนหนึ่ง

ปัญหา
มนุษย์ในเรื่อง .. พยายามนำเสนอผลงานของตนให้ [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ในฐานะประธานของที่ประชุมผู้บริหารได้ทราบ โดยเลือกเฉพาะผลสำเร็จที่ตนรับผิดชอบมานำเสนอ อาจมองข้าม หรือตั้งใจมองไม่เห็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากหน่วยของตน ก็เพื่อให้ผู้บริหารได้ชื่นชมผลงาน และหวังจะได้รับความดีความชอบ แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น” แล้ว .. [กิมหงส์] นำเสนอความจริง ว่ายอดไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  แม้ข้อมูลสรุปผลจะกองอยู่บนโต๊ะของท่านประธาน แต่ .. [คุณณัฐวุฒิ อภิศัยกิติศักดิ์] ขาดศักยภาพข้อที่ 3 ที่คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ขาดคือ Numerical เขาไม่เข้าใจตัวเลข ไม่รู้จักการอ่านตัวเลข แล้วนำมาใช้ตัดสินใจ จึงไม่รู้ว่าลูกน้องบอกความจริงไม่ครบ และที่สำคัญ เขาไม่เข้าใจปัญหา และเสนอทางแก้ปัญหาที่หลงทิศทาง

ข้อเสนอแนะ
ผมว่าที่สำคัญที่สุด .. ประธานมีปัญหานะครับ
ในหนังสือได้เสนอ ระบบการวัดผลขององค์กร
พบคำสำคัญคือ วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ เป็นต้น

ปล. หากผมถอดบทเรียน 2 เรื่องคือ ปัญหา และข้อเสนอแนะได้ไม่ดีก็ขออภัยด้วย เพราะใช้เวลาอ่านไม่ถึง 2 ชั่วโมงสำหรับละคร 9 ฉาก และก็ถอดบทเรียนในฐานะปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่นักวิชาการสายใด จึงไม่ได้นำ theory มาจับประเด็นครับ

http://www.thaiall.com/blog/burin/4063/
http://thaitrainingnetwork.com/speakers.html

โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost)

tragedy of lost
tragedy of lost

รศ.เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาสอนหนังสือเพื่อนคนหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ให้อ่านหนังสือชื่อ โศกนาฏกรรมองค์กรหลงทิศ (Tragedy of Lost) เขียนหนังสือโดย สุธี ปิงสุทธิวงศ์ สุรีพันธุ์ เสนานุช และยิ่งศักดิ์ นันทิวรรณกุล หนังสือเล่มนี้เขียนในลักษณะเรื่องเล่า เร้าพลัง หรือ Story Telling เหมาะกับนักศึกษาทางบริหารธุรกิจอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหารทุกระดับ ผมว่าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวก็อ่านดีครับ ที่สำคัญอ่านแล้ว อาจช่วยให้ขายดิบขายดีได้

ในหนังสือมีกรณีศึกษาที่ใช้แนวการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) แบ่งเป็น 9 บท ได้แก่  1) บริหารจัดการโดยไม่ใช้ข้อมูลจริง 21-26 2) ใช้ Management Tools โดยไม่เข้าใจ 37-42 3) กำหนดกลยุทธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง  51-57 4) ไม่รู้ว่าลูกค้าคือใคร 65-70 5) ตอบสนองลูกค้าไม่ได้ 77-82 6) การปฏิบัติการล้มเหลว (Bad Operation) 93-98 7) พัฒนาบุคลากรโดยไร้ทิศทาง 109-113 8) รักษาบุคลากรที่ดีไว้ไม่ได้ 121-125 9) ภาวะผู้นำล้มเหลว 133-138

ทีแรกก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นคนอ่านหนังสือยาก .. แต่พออ่านไม่กี่หน้า ผมว่าหนังสือเล่มนี้สุดยอดจริง ๆ เหมือนเป็นตัวละครในหนังสือเลย .. อ่านแค่ชื่อบททั้ง 9 บท ผมก็ว่ายอดเยี่ยมแล้ว .. ชอบคำหนึ่งคือคำว่า “พูดเอง เออเอง” หน้า 71 ที่เล่าว่าเครื่องมือทางบริหารที่เรียกว่า inside-out กับ outside-in จะเลือกอย่างไร  หรือการอธิบายความต่างของ SWOT กับ Balanced Scorecard (BSC) หน้า 44 ว่า Swot นั้นเกิดจากสำนักคิดทางกลยุทธ์ที่เน้นสร้างกลยุทธ์จากความลงตัว แต่ BSC เน้นสร้างกลยุทธ์ให้เกิดความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการวางตำแหน่ง (Positioning)

สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่สุดอีกเรื่อง อยู่หน้า 149 เป็นกราฟ “ความสัมพันธ์ของสาเหตุแห่งความล้มเหลวขององค์กร” ว่าอะไรที่วินิจฉัยง่าย กับอะไรที่กระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร .. อ่านแล้วนึกถึง Steve Jobs ครับ

http://www.ryt9.com/s/prg/1139329
http://www.hrcenter.co.th/book_detail.php?book_id=1028
http://www.thairath.co.th/content/eco/182486
http://www.lib.ku.ac.th/index.php/2009-03-26-04-10-35/3878-tragedy-of-lost