สรยุทธ สุทัศนะจินดา เล่าเรื่อง trueplookpanya.com

ปลูกปัญญาดอทคอม
ปลูกปัญญาดอทคอม

4 ต.ค.54 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ฟังคุณสรยุทธ เล่าเรื่องเว็บไซต์ ปลูกปัญหาดอทคอม สะกดตรงตัวคือ trueplookpanya.com พัฒนาโดย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเนื้อหาสำหรับเยาวชนที่เข้าถึงได้ฟรี มีคลิ๊ปตัวอย่างดี ๆ มากมาย ลองเข้าไปท่องเว็บไซต์นี้แล้วก็ประทับใจ มีบริการ blog ด้วยครับ เป็นสหายร่วมอุดมการณ์กับ  gotoknow.org และ thaiteachers.tv ผมว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่องค์กรใหญ่ ๆ หันมาสนใจการศึกษาของเยาวชน .. ส่วนชื่อเว็บไซต์ก็ความหมายยอดเยี่ยมเลยครับ .. ผมช่วยเชียร์ด้วยครับ

ผมชอบแรงบันดาลใจของเว็บไซต์ครับ
ด้วยแรงบันดาลใจจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธาน คณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นที่กล่าวไว้ว่า “การเข้าถึงสาระความรู้โดยผ่านสื่อต่างๆของคนไทยนั้น ยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน” จึงถือว่าการได้มีส่วนร่วมในการนำสื่อรูปแบบต่างๆ ของ ทรู มาช่วยสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นพันธกิจที่สำคัญยิ่ง และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มบริษัททรูที่จะต้องมีส่วนร่วมและเป็น กำลังสำคัญในการทำกิจกรรมเพื่อผลักดันให้คนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าว สาร สาระความรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ทัดเทียมกัน ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
โดยในระยะแรกของการดำเนินโครงการปลูกปัญญา เราได้เล็งเห็นว่าสื่อสารสนเทศที่เป็นสื่อหนึ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพใน การนำความรู้ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งภาพและเสียง ช่วยบอกเล่าความรู้ใหม่ๆ และสร้างแรงบันดาลใจทางการศึกษาได้เป็นอย่างดีแก่เด็ก เยาวชน และคนไทยทั่วประเทศ รวมถึงสามารถเข้าถึงพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร โดยผ่านระบบดาวเทียมแล้ว ยังช่วยพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดทำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ผ่าน สื่อในรูปแบบเว็บไซต์ที่สามารถให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบมัลติมีเดีย พร้อมกับการค้นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้อย่างกว้าง ขวาง
http://www.trueplookpanya.com/true/about_us.php

เน็ตเร็วเหนือจินตนาการ (307)

ultra hi-speed internet
ultra hi-speed internet

9 ก.ย.54 ราวปีพ.ศ.2540 มีบริการอินเทอร์เน็ตที่ใช้โมเด็มความเร็ว 14.4 Kbps และใช้โปรแกรมบราวเซอร์ของ Netscape ซึ่งเว็บไซต์ยอดนิยมคือ yahoo.com ส่วนนักพัฒนาเว็บไซต์ก็จะใช้บริการฟรีของ geocities.com ประกอบกับเทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงมีโมเด็มความเร็ว 28.8 และ 56 Kbps ตามด้วย ISDN ที่เร็วกว่าโมเด็มกว่าเท่าตัว แต่ ISDN ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในยุคนั้นร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เลือกใช้ด้วยโมเด็มเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการหลายราย แก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตของรายหนึ่งหลุดก็ยังให้บริการลูกค้าต่อไปได้ และใช้ซอฟท์แวร์ช่วยทำการแบ่งปันการใช้งานของผู้ใช้ให้ออกไปยังผู้ให้บริการได้อย่างลงตัว

เทคโนโลยี DSL หรือบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต เริ่มให้บริการปลายปี 2547 และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เริ่มต้นที่ความเร็ว 256 Kbps มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปในแต่ละราย และการปรับปรุงอุปกรณ์ขยายโอกาสให้ผู้ใช้นอกเขตเมืองหลวงได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้โมเด็มกำลังจะหายไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องเน็ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน สำหรับเครื่องแท็บเล็ตพีซีหลายรุ่นไม่รองรับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำอีกต่อไป การเชื่อมต่อแบบไร้สายในอาคารได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น พร้อมการมาของระบบไร้สายยุค 3G ไปถึง 4G

การพัฒนาความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก้าวกระโดดไปอีกขั้น โดยบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ได้นำเสนอ Ultra Hi-speed Internet ที่มีความเร็วหลายระดับให้เลือก เริ่มจาก 7 Mbps มีค่าใช้จ่าย 599 บาท/เดือน ไปจนถึง 100 Mbps มีค่าใช้จ่าย 4,999 บาท/เดือน ถ้าผู้ใช้ดูคลิ๊ปจาก youtube.com เรื่องหนึ่งใช้ความเร็วประมาณ 400 Kbps หากในบ้านมีสมาชิกดูคลิ๊ปพร้อมกัน 20 คน จะใช้ความเร็วประมาณ 8 Mbps บางทีการพัฒนาบริการที่ต้องดาวน์โหลดแบบใช้ bandwidth ปริมาณสูง อาจยังไม่ทันกับการพัฒนาความเร็วของสื่อรับส่งข้อมูล เพราะความเร็วระดับ 100 Mbps คงไม่เหมาะกับผู้ใช้ตามบ้าน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูคลิ๊ปพร้อมกัน 2 เรื่องก็ยังใช้ความเร็วไม่ถึง 1 Mbps แล้วจะมีบริการอะไรที่จำเป็นต้องใช้ความเร็วระดับสูงสุด เป็นเรื่องที่น่าคิด และชวนให้ติดตามกันต่อไป