ธนาคารดิจิทัล (itinlife568)

digital banking of TMB
digital banking of TMB

จากประเทศไทย 3.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตเชิงอุตสาหกรรมหนัก เรากำลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ value-based economy ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องอาศัยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจและภาครัฐที่หนุนเสริมกัน แล้วพัฒนาสังคมดิจิทัลให้เติบโตไปพร้อมกัน เศรษฐกิจยุคใหม่จะอาศัยดิจิทัลเป็นฐานที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้ายุคดิจิทัลที่สามารถทำทุกอย่าง ได้จากทุกที่ ทุกเวลา เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตสำหรับสรรพสิ่ง (Internet of Things)

หนึ่งในนวัตกรรมการบริการที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อต้นปี 2559 คือ การเปิดบริการธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) เป็นธนาคารที่ไม่ต้องมีพนักงานคอยให้บริการ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าด้วยดี ตัวอย่างบริการที่น่าสนใจคือการขอเปิดบัญชี จากการให้บริการที่ปรากฏในข่าว พบว่าสามารถกระทำได้ด้วยการที่ลูกค้าทำรายการเปิดบัญชีใหม่ด้วยตนเอง ส่งเอกสารรอการอนุมัติแบบออนไลน์ แล้วธนาคารก็จะตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนส่งข้อความแจ้งผลการพิจารณาขอเปิดบัญชีให้ลูกค้าทราบผ่าน SMS ส่วนพนักงานที่เคยประจำอยู่ในธนาคารที่ถูกยุบสาขาก็จะถูกย้ายไปยังสาขาอื่นตามความสามารถของแต่ละบุคคล

 

digital maturity model
digital maturity model
https://thefinancialbrand.com/46218/digital-banking-strategies-report/

ธนาคารดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่ ในหลายประเทศเปิดให้บริการทำรายการทางการเงินโดยไม่มีพนักงานคอยให้บริการ เป็นนวัตกรรมให้บริการที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารงบประมาณในส่วนทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาด้านดิจิทัลทำให้องค์กรสามารถลดขั้นตอน ลดเวลา และลดการใช้ทรัพยากรได้ชัดเจน มีข้อมูลสถิติของประเทศในเอเชีย เมื่อปี 2557 พบว่าประเทศเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน มีร้อยละของผู้ใช้บริการธนาคารดิจิทัลมากกว่าร้อยละ 90 และผลสำรวจในประเทศไทย เมื่อปีสิ้นปี 2558 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ใช้บริการ Internet Banking และ Mobile Banking ของธนาคารทหารไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 750 ทำให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลจะตอบความต้องการของผู้รับบริการอย่างแน่นอน
http://www.thaiall.com/digitalcommunity
http://thaipublica.org/2016/01/tmb-digital-banking/
http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=857
http://thefinancialbrand.com/46218/digital-banking-strategies-report/

จุฬาถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตลูกศิษย์

ถอนปริญญา ลูกศิษย์
ถอนปริญญา ลูกศิษย์

พระท่านว่า “มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ ก็ย่อมมีนินทา

ผมแค่ไม่เคยชินกับเรื่องนี้ .. จรรณยาบรรณครู พ.ศ.2539
ข้อ 4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
http://www.thaiall.com/learn/toremember.htm

ข่าว http://www.suthichaiyoon.com/detail/32344

นายกสภาจุฬาฯไม่หวั่นถูก “ศุภชัย” ฟ้อง‏กรณีถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต แจงไม่รับคำท้าเดิมพันด้วยตำแหน่ง เพราะเป็นหน้าที่ของ “อธิการบดีจุฬาฯ”

ที่โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กทม.วานนี้ (27 มิ.ย.) ศ.กิตติคุณ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครองกรณีที่สภาจุฬาฯ มีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิต เนื่องจากตรวจพบมีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการ และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ทำให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีว่า ขณะนี้ทางจุฬาฯ อยู่ระหว่างการทำหนังสือแจ้งถึงมติสภาจุฬาฯ ดังกล่าว พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดเหตุผลประกอบมติที่ออกมาด้วย จึงต้องใช้เวลา

“ส่วนที่นายศุภชัยจะยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองก็ถือว่าเป็นสิทธิที่จะดำเนินการได้ และถือเป็นเหตุการณ์ปกติสำหรับเมืองไทย ไม่ได้วิตกทุกข์ร้อนอะไร เพราะการดำเนินการทุกอย่างของสภาจุฬาฯ ก็มีกระบวนการผ่านขั้นตอนมาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่พิจารณาโดยไม่ได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบและรอบด้าน ซึ่งเชื่อมั่นว่าแต่ละส่วนก็ต้องทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ก่อนที่จะยื่นเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย” นายกสภาจุฬาฯ กล่าว

ส่วนกรณีที่นายศุภชัยท้าเดิมพันด้วยตำแหน่งหากศาลปกครองตัดสินว่าใครถูก อีกฝ่ายต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งนั้น นายกสภาจุฬาฯ กล่าวว่า ก็คงต้องให้เป็นหน้าที่ของ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ไปรับคำท้า ในฐานะเป็นหัวหน้าส่วนสำนักงาน เรื่องแบบนี้ปิดกันไม่มิดเวลาจะเป็นเรื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้

“เรื่องนี้ถูกนำเสนอเข้าสู่สภามหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี 2551 มีการพิจารณามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาจุฬาฯ ได้มีมติเพิกถอนปริญญาดุษฎีบัณฑิตเนื่องจากตรวจพบมีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการ และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ทำให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรี เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จนกระทั่งสภาจุฬาฯ มีมติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หากหลักฐานไม่เพียงพอ” นายกสภาจุฬาฯ กล่าว

ด้าน ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันท์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติออกมาอย่างไร จะเคารพในมติของสภามหาวิทยาลัย ถือว่าทุกอย่างได้ยุติแล้ว จะไม่มีการฟ้องร้องใดๆ ทั้งสิ้น