กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน #512 ความเป็นเพื่อนขึ้นกับเป้าหมาย</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน #512 ความเป็นเพื่อนขึ้นกับเป้าหมาย ()<br /> การมีตัวตนอยู่ในเครือข่ายสังคม ทุกคนเข้าไปอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น คุณป้าท่านหนึ่งใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างสงบ ปลูกต้นไม้ อบขนม ทำงานหัตถกรรม เดินจงกลม หมักน้ำป้าเช็ง ดูแลอาการเจ็บป่วยของตนเอง ท่านเลือกไม่เข้าเครือข่ายสังคม และไม่ดูข่าวสารผ่านทีวี เพราะไม่อยากสื่อสารกับใคร ไม่อยากรับรู้ มากคนก็มากความ มากเรื่องก็เรื่องมาก เพราะการเข้าสังคมต้องตามมาด้วยเรื่องราวที่ทำให้ใจไม่สงบ ดังคำพระท่านว่าความสุขคือความสงบ เมื่อเข้าไปในเครือข่ายสังคม ความสงบก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นกระแส facebook หรือ line ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ตอบความต้องการของคนบางกลุ่มเท่านั้น แม้แต่เยาวชน หรือนักศึกษาบางคนก็ยังไม่มีเครือข่ายสังคมด้วยปัจจัยหลายอย่างก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา<br /> น้องสาวท่านหนึ่งเล่าว่าตัวตนของเธอ กับตัวตนที่หัวหน้าของเธอรู้จักเป็นคนละคน เธอมักอัพภาพคิขุหวานแหวว สลับกับภาพสาวเปรี้ยวจอมซนให้เห็นเป็นประจำ แต่ตอนอยู่ที่ทำงานเธอแต่งตัวตามฟอร์มเหมือนครูโรงเรียนอนุบาลตีนดอย ซึ่งเธอก็ไม่เป็นเพื่อนกับหัวหน้าในเครือข่ายสังคม เพราะเป้าหมายการใช้เครือข่ายสังคม กับเป้าหมายในการใช้ชีวิตจริงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นสะท้อนว่าการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมไม่สามารถตอบสนองการขับเคลื่อนองค์กรได้เสมอไป สอดคล้องกับอีกหลายท่านที่เป็นคนเข้าสังคมมีเพื่อนมากมาย แต่ปฏิเสธการสื่อสารกับเพื่อนในที่ทำงาน ชีวิตนอกที่ทำงานเป็นสังคมอีกเครือข่ายหนึ่ง แต่ชีวิตในที่ทำงานก็จะเป็นสังคมอีกแบบหนึ่ง ทำให้นึกถึงซุปเปอร์แมนที่มีอาชีพเป็นนักข่าวตัวเล็ก แต่ภาพที่คนทั้งโลกมองเห็น เขาคือฮีโร่ตัวจริงผู้ไร้เทียมทาน<br /> อารมณ์มักมาเหนือเหตุผลได้ง่าย การมีตัวตนในเครือข่ายสังคมของแต่ละคนพองโตขึ้นกว่าตัวจริง เช่น การเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้พิพากษา และนักวิจารณ์ ทุกข่าวจะมีผู้เข้าไปร่วมตัดสินว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด แสดงความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ เชื่อหรือไม่เชื่อ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง แล้วก็มีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจน้อยลงไม่มีใครมากำกับติดตาม การแชร์เรื่องเท็จ หรือเรื่องไม่จริงก็ทำได้ง่ายไม่ถูกตรวจสอบ ไม่ต้องรับผิดชอบถึงผลการกระทำ เช่น หนุ่มรองเท้าขาดบน BTS ถูกโพสต์รูปว่าซ่อนกล้องแอบถ่ายใต้กระโปรงถูกตำหนิจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน หรือโพสต์ข้อความกล่าวหาว่าแท็กซี่ผ่านแอพ Grab Taxi มอมยา เป็นเหตุให้ถูกบล็อกจนกระทบอาชีพของเขา ในรายการคุยข่าวร้อน<br /> https://www.youtube.com/watch?v=Xc70EYfjsdo<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='182.52.159.47'>.</a><br> 09:18pm (11/08/15)</font></td></tr></table></center>