กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
อีเลินนิ่ง (e-Learning) หรือการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ ระบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่เปิดให้ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษา หรือเรียนรู้ ได้จากทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนในโรงเรียนตามตารางแบบเดิม เปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความพร้อมด้านเวลา ความใฝ่รู้ และมีวินัยในตนเอง แต่ความคิดเห็นของนักวิชาการกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการนำอีเลินนิ่งมาใช้ทดแทนการเรียนแบบปกติ เพราะเชื่อว่าการมีปฎิสัมพันธ์ทางตรงระหว่างครู และนักเรียน มีความจำเป็นต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ขาดไม่ได้ เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล
อีเลินนิ่งมีประโยชน์มากสำหรับนักเรียนในปัจจุบัน เพราะการนำเสนอสื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม จะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิผล แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จถ้านักเรียนไม่ให้เวลากับการอ่าน ขาดความสามารถในการควบคุมตัวเอง ขาดวินัยในการเรียน ขาดการร่วมกิจกรรมในกลุ่ม หรือค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมน้อยเกินไป ก็อาจไม่ได้ประโยชน์จากระบบอีเลินนิ่งเต็มรูปแบบเท่าที่ควร
ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องประชาชนให้ความสำคัญกับการอ่านน้อย ทำให้หลายองค์กรเริ่มให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการอ่าน หรือคำขวัญปีล่าสุดก็สนับสนุนให้เยาวชนให้ความสำคัญกับการอ่านมากขึ้น ทักษะด้านการอ่านของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ระบบอีเลินนิ่งประสบความสำเร็จ อีเลินนิ่งคือการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะด้านการอ่านอย่างเต็มที่ เพื่อเข้าถึงองค์ความรู้ที่ผู้สอนตั้งใจนำเสนอ ถ้านักเรียนให้เวลา หรือมีทักษะด้านการอ่านน้อย การเรียนรู้ผ่านระบบอีเลินนิ่งย่อมล้มเหลว ปัญหามักเกิดจากตัวนักเรียนที่ขาดวินัย และทักษะในการอ่าน
ผู้เขียนศึกษาเรื่องอีเลินนิ่งมาตั้งแต่ปี 2542 และจัดทำสื่อการสอนแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์มาอย่างต่อเนื่อง พบว่าเยาวชนไทยบางส่วนไม่สนใจศึกษาหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมเลยถ้าไม่ถูกบังคับ แต่ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์กลุ่มบันเทิงเพียงอย่างเดียว เช่น นักเรียนไม่สามารถเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษาเพราะติดเกมออนไลน์ ข้อมูลสถิติการเข้าเว็บไซต์จาก truehits.net พบว่าคนไทยเข้าใช้เว็บไซต์กลุ่มการศึกษาเพียง 1.76 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อาจเป็นเพราะครูไทยไม่เป็นแม่พิมพ์อย่างที่ควร ปัจจุบันเราพบผลงานทางวิชาการของครูที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าท่านเป็นประชาชนคนไทย คิดว่าควรทำอย่างไรให้ครูไทยเผยแพร่ผลงานเพื่อการศึกษามากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อบุตรหลาน และตัวท่านเอง
จากคุณ :
บุรินทร์
.
12:04am (5/04/06)
บ
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
O
pinion
แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Truehits.net
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 120 มิลลิวินาที สูง: 964 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net