บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-26 (ปรับรูปแบบ)
#510 บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ
โดยปกติ ผู้ว่าจ้าง กับผู้ถูกจ้าง เมื่อตกลงกันได้ก็จะเกิดการจ้างงานขึ้น แต่ในส่วนราชการ หรือองค์การบางแห่งที่ได้รับงบประมาณ หรือเงินบริจาค หรือเจ้านายสั่งงานมา เพื่อให้มีงานด้านไอทีเกิดขึ้น อาจทำให้รู้สึกว่าเป็นภาระใหม่ เช่น การมีเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพราะงบประมาณที่มานั้น มาพร้อมกับการประเมินความสำเร็จว่าที่ให้เงินไปนั้นใช้ทำอะไร และได้อะไร ดังนั้นเงินอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของทุกงาน ทุกองค์กรมักมีงานประจำที่รับผิดชอบ เมื่อมีงบประมาณเพิ่มเข้ามาจะมีงานที่ต้องรับผิดชอบเพิ่ม ต้องทำให้เกิดกิจกรรมเพิ่ม บ่อยครั้งเมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด ไม่ใช่เรื่องที่เดิมที่เคยรู้ก็จะมีผลต่อการรับรู้ ความเอาใจใส่ที่ลดลงไป
เคยมีเพื่อนกับลูกศิษย์ตกลงจ้างงานด้านไอที กลายเป็นที่ปรึกษาของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายผู้จ้างก็มีงบประมาณที่ตั้งไว้ในใจแล้ว ส่วนฝ่ายถูกจ้างเมื่อเห็นรายละเอียดของงานก็ต้องมาทำใบเสนอราคา เกิดการเจรจาต่อรองขึ้น แต่ตกลงกันไม่ได้ เพราะฝ่ายผู้จ้างตั้งไว้ต่ำ ฝ่ายผู้ถูกจ้างตั้งไว้สูง มีคำถามว่างานที่ว่าจ้างนั้นควรตั้งงบประมาณเท่าไร คงต้องตอบว่างานด้านไอทีเป็นนั้น ค่าจ้างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจเหมือนจ้างดารามาร้องเพลงที่บ้าน ถ้าจ้างนักร้องดังเกาหลีมาร้องเพลงที่บ้าน ผมคิดว่าจ่ายสักห้าหกร้อยก็น่าจะพอ เพราะที่บ้านเปิดยูทูปได้ แต่น้องนักร้องอาจบอกว่าแสนห้าขาดตัว ร้องเพลงหนึ่งชั่วโมง แล้วแถมเพลงให้อีกหนึ่งเพลง นี่ก็เป็นกรณีตัวอย่างของผู้ว่าจ้างกับผู้ถูกจ้าง
การจ้างงานด้านไอทีไม่เหมือนจ้างนักร้องที่พิจารณาที่ความพึงพอใจเป็นสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผู้ถูกจ้างว่ามีประสบการณ์กับเรื่องที่ว่าจ้างมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นงานซอฟต์แวร์ และเคยพัฒนาระบบแบบที่กำลังถูกว่าจ้างมาหลายครั้ง ค่าจ้างโปรแกรมเมอร์อิสระก็น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของราคาเต็มที่เคยรับจ้างในครั้งแรก เช่น จ้างทำเว็บไซต์ แล้วติดตั้งระบบจูมล่า (Joomla) ถ้าครั้งแรกคิดหมื่นบาท ครั้งต่อไปก็คิดสี่พันก็น่าจะพอเพียง โดยไม่รวมค่าโดเมนหรือค่าโฮสติ้ง แต่ถ้างานที่ถูกว่าจ้างมีการกำหนดความต้องการเป็นการเฉพาะ อาจต้องดูแลปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป ค่าจ้างพัฒนาก็อาจต้องสูงขึ้นกว่างานที่พบเห็นทั่วไป ด้วยต้องใช้เวลาในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และบำรุงรักษากันต่อไป อีกวิธีคือการสอบถามผู้ถูกจ้างมากกว่าหนึ่งรายให้เสนอราคามาเปรียบเทียบ ก็จะรู้ว่าราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าใด โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยรอบด้านทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมา และรายละเอียดการใช้งบประมาณ เป็นต้น
การจ้างงานด้านไอทีไม่เหมือนจ้างนักร้องที่พิจารณาที่ความพึงพอใจเป็นสำคัญ แต่ต้องพิจารณาผู้ถูกจ้างว่ามีประสบการณ์กับเรื่องที่ว่าจ้างมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นงานซอฟต์แวร์ และเคยพัฒนาระบบแบบที่กำลังถูกว่าจ้างมาหลายครั้ง ค่าจ้างโปรแกรมเมอร์อิสระก็น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของราคาเต็มที่เคยรับจ้างในครั้งแรก เช่น จ้างทำเว็บไซต์ แล้วติดตั้งระบบจูมล่า (Joomla) ถ้าครั้งแรกคิดหมื่นบาท ครั้งต่อไปก็คิดสี่พันก็น่าจะพอเพียง โดยไม่รวมค่าโดเมนหรือค่าโฮสติ้ง แต่ถ้างานที่ถูกว่าจ้างมีการกำหนดความต้องการเป็นการเฉพาะ อาจต้องดูแลปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป ค่าจ้างพัฒนาก็อาจต้องสูงขึ้นกว่างานที่พบเห็นทั่วไป ด้วยต้องใช้เวลาในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข และบำรุงรักษากันต่อไป อีกวิธีคือการสอบถามผู้ถูกจ้างมากกว่าหนึ่งรายให้เสนอราคามาเปรียบเทียบ ก็จะรู้ว่าราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าใด โดยเปรียบเทียบจากปัจจัยรอบด้านทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมา และรายละเอียดการใช้งบประมาณ เป็นต้น
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
511.
ตั้งจอทัชสกีนไว้ให้ข้อมูลหน้าร้าน
510.
บางครั้งงานไอทีจ้างให้ก็ไม่ทำ
509.
อุปกรณ์เล็กลงบริษัทก็ต้องปิดลง
508.
หุ่นยนต์คิดแบบในหนังคงยังไม่มี
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 115 มิลลิวินาที สูง: 1831 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net