thaiall logomy background

วัดไหล่หิน วัดไหล่หินหลวง วัดเสลารัตนปัพพตาราม

my town
วัดมิ่งเมืองมูล | วัดจองคา | วัดไชยมงคล | วัดไหล่หิน | มนู | ราตรี | ทรงศักดิ์ | สุดา | สุวรรณ | ไหล่หิน |
หนังสือเผยแพร่ ประวัติวัดไหล่หินหลวง
นางสมพร คำฟู
ครูวิทยฐานะชำนาญการ
รร.ไหล่หินวิทยา
หนังสือเผยแพร่ ประวัติวัดไหล่หินหลวง
Let’s go to Wat Laihin Luang
จาก laihinws.ac.th/information/หนังสือเล่มเล็ก.mht
วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม คือ วัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง ในท้องที่หมู่ที่ 2 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 ก.ม.เศษ มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ประมาณ 50 ไร่เศษ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 218
คำปรารภ
รูสมพร คำฟู ครูชำนาญการโรงเรียนไหล่หินวิทยา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาอังกฤษมานาน เป็นผู้ที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะนำเทคนิควิธีการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากประสบการณ์สอนนักเรียนขาดทักษะการอ่าน และไม่ชอบการอ่านจึงได้จัดทำหนังสือเล่มเล็ก เกี่ยวกับวัดไหล่หินหลวง โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาเขียนเรียบเรียงเป็นนวัตกรรม เรื่อง “Let’s go to Wat Laihin Luang” เป็นบทอ่านอังกฤษสั้นๆ พร้อมบทแปลที่เป็นภาษาไทยและมีการตรวจสอบภาษา โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของภาษา สามารถใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่ออ่านเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ ต่อผู้สนใจทั่วไปสำหรับเพื่อการศึกษาค้นคว้า หรือนำความรู้ไปใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นและชุมชนโดยส่วนรวมต่อไป
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน เห็นสมควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
นายธรณินทร์ เมฆศิริ
ผู้อำนวยการโรงเรียนไหล่หินวิทยา
คำนิยม
หนังสือ “Let’s go to Wat Laihin Luang” เล่มนี้สำเร็จได้โดยความชวยเหลือจากบุคคลหลายฝ่ายดังนี้
1. พระอธิการทอง อนามโย เจ้าอาวาสวัดไหล่หิน เป็นผู้ให้เอกสารเผยแพร่วัดไหล่หินหลวงให้แก่ข้าพเจ้า
2. พ่อหลวงแสน อุตโม ผู้อาวุโสแห่งหมู่บ้านไหล่หิน และครูภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติวัดไหล่หินและให้การสนับสนุนการจัดทำหนังสือเล่มนี้
3. Mr. Roy Stannard ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนห้างฉัตรวิทยา และ Mr. Chris Beard จากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เป็นผู้ตรวจสอบภาษา
4. อาจารย์ประนอม วงค์หมื่นรัตน์ ประธานสาขาวิชาภาษาอังกฤษอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
5. นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
6. คณะครูและผู้ร่วมงานที่ได้ให้กำลังใจในการจัดทำหนังสือเล่มนี้
ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ความช่วยเหลือจนหนังสือเล่มนี้สำเร็จเป็นรูปเล่ม ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญต่อไป
นางสมพร คำฟู
คำนำ
หนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าได้เขียนจากประสบการณ์โดยตรง ในฐานะครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ จากประสบการณ์สอนมานาน ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากนักเรียนขาดทักษะการอ่าน และไม่มีนิสัยรักการอ่าน จึงได้คิดหาวิธีการที่จะให้นักเรียนได้หันมาสนใจ ในการอ่าน เพราะการอ่านเป็นประตูสู่ความรู้ทั้งปวง และอยู่คู่กับบุคคลนั้นๆ ไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามแรงดลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นฉบับแรกสืบเนื่องมาจากมีบุคคลหลายท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ วัดไหล่หินหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ได้เสนอให้ข้าพเจ้าเขียนเกี่ยวกับวัดไหล่หินหลวง เป็นภาษาอังกฤษ เพราะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นประจำ อนึ่งในการเขียนเกี่ยวกับวัดวาอารามคำศัพท์นับว่าเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ตลอดจนคำศัพท์จากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเขียน และบทอ่านได้ทำการตรวจสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของภาษาจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับการเรียนในการฝึกทักษะการอ่าน และผู้ที่สนใจให้ดียิ่งขึ้น และยินดีรับคำติชมจากท่านผู้อ่านและผู้สนใจด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามหากมีสิ่งใดผิดพลาดไปบ้าง ข้าพเจ้าขอกราบอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
นางสมพร คำฟู
มกราคม 2551
วัดไหล่หินหลวง
วัดไหล่หินหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง บางที่เรียกกันว่าวัดไหล่หินแก้วช้างยืน ซึ่งมีชื่อเต็มว่า วัดเสลารัตนปัพพตาราม มีวัตถุโบราณและสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญมากมาย อันประกอบด้วยประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งที่เรียกว่า ประตูโขง เจดีย์ วิหาร ซึ่งวิหารนั้นเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา และมีกุฏิซึ่งพระสงฆ์ใช้เป็นสถานที่พักอาศัย นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ และ โรงธรรมซึ่งเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์วัดไหล่หินหลวงตั้งอยู่ที่หมู่บ้านไหล่หินตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ห่างจากอำเภอเกาะคา ประมาณ 5 กิโลเมตร และจังหวัดลำปาง ประมาณ 25 กิโลเมตรบนถนนสาย เกาะคา-นาโป่งหารเป็นที่นิยมแก่ นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และอยากจะแนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมวัดไหล่หินหลวง
The history of Wat Laihin Luang
Wat Laihin Luang is am ancient temple and one of the most important historical in Lampang. It is sometimes referred to as Wat Lai Hin Kaew Chang Yuen while its full name is Wat Selarattana Pappataram.
It Has many ancient and significant artifacts and features. These include the arched main gate at the entrance-the Pratoo Khong, the Chedi, the Pra Wihan the metting place and living quarters of the resident monks, the Museum and the Sermon Hall-Rongtham-where the scriptures are kept.
Wat Lai Hin Luang is located in the village of Lai Hin, Lai Hin sub district, Ko Kha district in Lampang province. It is on the Ko Kha-Na-Ponghan road, about 5 Kms. From Kho Kha and approximately 25 Kms. From Lampang. It is very popular with tourists and a visit is highly recommended.
ประตูโขง
ประตูรูปโค้ง ที่ได้รับการตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรสวยงาม นั่นคือประตูโขง ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนา และสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบเชียงแสน ลวดลายรอบๆ ประตูโขงประกอบไปด้วยสัตว์ป่าหิมพานต์ รูปเทพต่างๆ ตามตำนานในสมัยนั้น ประตูโขง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในยุคแรกเริ่มของเมืองลำปาง และเป็นสัญลักษณ์ของวัดไหล่หินหลวง
The Arched Main Gate - Pratoo Khong
Of particular note is the high ornamented arch forming the main gate the Pratoo Khong. It is an excellent example of the early Lanna artistic style and Chiengsaen religious architecture. It is beautifully decorated depicting wild animals from the Himmapan forest, demigods and other figures from legend. The main gate is characteristic of an early period in Lampang’s history and is the symbol of Wat Laihin Luang.
วิหาร
วิหารเป็นสถานที่ปลูกสร้างแห่งหนึ่งที่อยู่ในบริเวณวัด ไม่ใหญ่โตมากนัก มีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร ในสมัยก่อนใช้วิหารเป็น ที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา ด้านหน้าของวิหารเป็นศิลปะแบบล้านนาที่เก่าแก่มาก เป็นไม้ แกะสลักเป็นรูปดอกบัว ต้นโพธิ์ กินนร กินนรี และ สัตว์ป่าหิมพานต์อีกจำนวนมาก เช่น กวาง นกยูง และสิงโต ภายในวิหารจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนแท่น นอกจากนี้วิหารแห่งนี้ยัง เป็นแบบฉบับของวิหารอื่นๆ ในยุคต้นๆ ภายในวิหาร ยังคงใช้เป็นสถานที่ในการจุดธูป เทียน บูชาพระพุทธเจ้า ประดับประดาด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม จึงเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวจังหวัด ลำปาง
The Religious Meeting House – Wihan
The Wihan is a building in the Temple grounds, formerly used for religious activities and festivals. It is decorated in a very old Lanna style. On the front are wood carvings of the lotus, the Bodhi tree, gods and goddesses, ginnorn and ginnaree, and many animals from the Himmapan Forest including dear, peacocks, swans and lions. Inside, there is an image of the lord Buddha on an altar. It is not a large building, being only nine metres long and five metres wide. Nevertheless, it is beautifully decorated and is a fine example of a wihan from an early period. It is still used as a place of worship with the lighting of candles and incense to honour the Lord Buddha. And because of its age and beautiful decoration and architecture is a popular attraction for tourists coming to Lampang.
เจดีย์
เจดีย์เป็นสิ่งก่อสร้างอย่างหนึ่ง ที่สำคัญทางศาสนาเป็นสถานที่ ที่ประชาชนทำการสักการบูชาสืบเนื่องกันมาช้านาน เชื่อกันว่าภายในเจดีย์นั้นได้บรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้า ประชาชนจะทำการสรงน้ำเจดีย์ โดยการเดินสาดน้ำไปรอบๆ องค์เจดีย์ และอธิษฐาน เป็นการสักการะ บูชาพระพุทธเจ้า ตรงฐานของเจดีย์ จะมีรูปปั้นของสัตว์ในสมัยก่อน 12 ราศี และเจดีย์แห่งนี้ยังเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดแท่นบูชาจะถูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในสมัยก่อน มีเพียงจำนวนน้อยที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน และเหลือไว้ซึ่งความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา
The Stupa – Chedi
The Stupa, also known as a Chedi is an old structure built along traditional limes and is an important place of religious veneration since it is thought to contain relics of the Lord Buddha. A ceremony is held annually during the Song Kran Festival when people walk around the Chedi and throw water on it as a symbol of their devotion to the lord Buddha. This is an important and deeply satisfying ceremony for them. At the base of the Chedi, there are images of the twelve zodiac signs from early times. The Chedi is another example of historical architecture at the Wat. The shrine was built in the traditional architectural style, of which few examples have survived to the present day. It is a beautiful reminder of the long history of Buddhism.
โรงธรรม
โรงธรรม คือ สถานที่เก็บคัมภีร์ของวัด ซึ่งเก่าแก่มาก คัมภีร์ถูกเขียนด้วยอักษรล้านนาบนใบลาน โดยพระมหาป่าเกษรปัญโญ พระภิกษุซึ่งจำพรรษา อยู่ในวัด ในคัมภีร์นั้นได้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า มีจำนวน 900 ฉบับ ถูกเก็บใส่ถุงผ้าไว้ในตู้ คัมภีร์เหล่านี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นหลักฐาน ของผู้คนในสมัยก่อน ที่พึงประพฤติ ปฏิบัติตามหลักธรรม ตลอดจนการแสดงความเคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ ต่อพระพุทธเจ้า และให้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ แก่ผู้คนรุ่นหลังสืบต่อมา
The Sermon Hall – Rongtham
Rongtham is where many of the Wat’s scriptures are kept. They are very old, dating back to the earliest period of the Wat. The scriptures are written in the Lanna alphabet on Bailan leaves. They were composed by Pra mahapa Ketsara – panyo, a monk at the temple. The scriptures comprise the teachings of the Lord Buddha. There are 900 series of scriptures in the collection. They are stored separately in small cloth bags in cabinets. These scriptures are important historically. They are evidence from earlier times of people’s devotion for the Lord Buddha and are a guide for future generations.
พิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ คือ สถานที่ที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่สำคัญในสมัยโบราณ ภายในพิพิธภัณฑ์มีเครื่องตกแต่งในบ้านหลายชนิด เช่น เตียงนอน ที่นั่ง และที่ใส่สิ่งของ เครื่องใช้ของคนในสมัยก่อน เครื่องใช้ในบ้าน เช่น ถ้วยชาม ผ้ายัณห์ที่มีการเขียนด้วยลวดลายต่างๆ หลักฐานทางศาสนา อาวุธต่างๆ และตัวอย่างเครื่องแต่งกายของทหารในสมัยก่อนที่ได้รับการปลุกเสกโดยพระผู้ปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่าป้องกันอันตรายจากศัตรู และไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ จากการต่อสู้ ตรงฐานของพระพุทธรูปเหล่านั้นล้วนทำด้วยแก้ว ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ยากในปัจจุบันภายในพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมมากมาย ทำให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนาในสมัยก่อน ท่านจะได้รับสิ่งที่มีคุณค่า และความประทับใจอย่างยิ่ง เมื่อได้มาเที่ยวชมวัดไหล่หินหลวง
The Museum
The Museum is a repository of many interesting and culturally significant artifacts from earlier times. There are several pieces of furniture, including beds and carriages; domestic item such as dishes, a variety of decorative amulets, religious documents, weapons and some examples of soldiers’ clothing which was blessed by a monk and thought to confer protection from battle injury. A prominent feature among the exhibits is a large Buddha statue surrounded by a collection of smaller statuettes of the Buddha. These are unusual items in that they are made of glass, a material rarely used nowadays. The Museum give an interesting insight into the life – style of the people of Lanna in former times and is well worth seeing after visiting the main attraction, the Wat Laihin Luang.
ประวัติวัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม หรือ วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน
ความเป็นมาของ วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพตาราม หรือ วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน
ลำปาง หรือ เขลางค์นคร เป็นเมืองเก่าแก่คู่กับหริภุญชัย(นครลำพูน)พรั่งพร้อมด้วยรมณีย์สถานโบราณวัตถุซึ่งควรแก่การทัศนาการศึกษากราบไว้และยังมีโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของนักศึกษาและนักค้นคว้าอยู่ในขณะนี้ นั่นคือ วัดไหล่หิน ซึ่ง วัดไหล่หินหรือวัดเสลารัตนปัพพะตาราม (ไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) ชาวบ้านมักจะเรียกสั้น ๆ ว่า วัดไหล่หิน หรือวัดหลวงนั่นเอง ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ เกาะหนึ่งในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 กม.เศษ มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ประมาณ 50 ไร่เศษสร้างปี พ.ศ. 218
าสตราจริกา อ้างว่าสมัยหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังทรงพระทรมานสำราญอยู่ในเขตเชตวันวิหาร มีคืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่งพระองค์ทรงรำพึงว่าตั้งแต่กูตถากตะได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูตญาณมา ถึงบัดนี้นับได้ 25 พรรษา แล้วต่อเมื่อกูมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา เมื่อใดกูตถากตะก็จะได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วควรกูจะอธิษฐานธาตุให้ย่อยเพื่อให้คนทั้งหลายและพระอรหันต์ได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่บูชาเสมอเหมือนดังกูตถากตะยังทรงมีพระชนอยู่ทรงรำพึงดังนี้แล้ว
อพระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วได้ 218 ปี ยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ศรีธรรมโศกราชได้ทรงชนะข้าศึกทั้งหลายแล้วได้อาศัยเจ้านิโครธสามเณรอยู่ได้เลิกถอยความเลื่อมใสต่อพวกเดียรถีย์ทั้งหลายเสียแล้ว จึงบังเกิดปสาทศรัทธาอันแก่กล้าต่อบวรพระพุทธศาสนาอยากจะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจำนวน 84,000 องค์พระธรรมขันธ์ ต่อมาพระองค์ทรงพิจารณาหาพระสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ดังกล่าว ก็พบที่เมืองราชคฤห์นครแล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่เมืองปาตรีบุตรนคร พระองค์ทรงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมอบให้พระเถระเจ้าทั้งสองพระองค์ คือ พระกุมารกัสสปะและพระเมฆิยะเถระเจ้า ท่านได้นำพระอัฐิของพระพุทธองค์บรรทุกหลังช้างมาจากประเทศอินเดีย เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง พอขบวนอัญเชิญมาถึงม่อนหินแห่งนี้ ขบวนช้างเชือกนั้นก็ไม่ยอมเดินทางต่อถึงเจ้าจะขับจะใสอย่างไร ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ อันเป็นเหตุที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก องค์พระอรหันต์ผู้เป็นประมุขของขบวนนั้น จึงพร้อมด้วยผู้คนที่ติดตามได้ปรึกษาหารือกันว่าสมควรที่จะสร้างองค์พระเจดีย์องค์หนึ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์และได้อัญเชิญพระอัฐิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุเอาไว้ด้วย โดยก่อพระเจดีย์สูง 4 ศอก
ระอรหันต์ทั้งสองพระองค์ทรงทำนายพยากรณ์เอาไว้ว่า สถานที่แห่งนี้จักได้ชื่อตามเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า "วัดเสลารัตนปัพพตาราม" (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เพื่อให้สมกับที่เป็นมาของวัด แล้วพระอรหันต์ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยผู้คนที่ติดตามก็นำขบวนช้างไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ก็ไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ฉะนั้น ท่านผู้เฒ่าผู้แก่เล่า สืบ ๆ กันมาว่า วัดไหล่หิน เป็นพี่ของวัดพระธาตุลำปางหลวงเพราะว่าพระบรมธาตุ นำมาบรรจุทีหลัง
ต่อมาราวประมาณ จ.ศ. 1000 เศษ (ตรงกับพุทธศักราชได้ 2181) โดยสร้างเป็นอารามเล็ก ๆ สถานที่แห่งนี้มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยบวชเรียนเป็นจำนวนมาก และมีสามเณรน้อยองค์หนึ่งได้เดินทางมาจากวัดหลวงป่าซางเมืองหริภุญชัย (ตอนนี้ยังไม่แน่และไม่ปรากฏชัด) ได้มาอาศัยร่วมกับสามเณรวัดนี้ สามเณรน้อยองค์นี้เป็นผู้สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ใช้ผ้าจีวรสีคล้ำ และไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะบนศีรษะมีแต่โรคเรื้อรัง (โรคขี้โขกขี้ขาก) ไม่มีใครจะสนใจและนับถือ พระเณรในวัดเดียวกันที่โตกว่าก็ชอบรังแก อีกประการหนึ่งก็ไม่ชอบท่องบ่น เล่าเรียน เขียนอ่าน ตามสมภารวัดท่านสั่งเท่าไรนัก ไม่เอาใจใส่มักเก็บตัวอยู่แต่ผู้เดียวปลีกตัวออกจากหมู่คณะ
มีวันหนึ่ง ครั้นใกล้เข้าฤดูเข้าพรรษา พระอาจารย์ที่ท่านได้มอบธรรมใบลาน มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มหาพลให้ไปท่องเล่าเรียนเพื่อจะได้แสดงโปรดคณะศรัทธาฟังเสียงทำนองเณรน้อย พอวันเข้าพรรษา แต่สามเณรน้อยองค์นี้ก็หาได้ท่องบ่นเล่าเรียนไม่ คล้ายกับไม่สนใจใยดีอะไรเลยถึงกับท่านอาจารย์ไม่พอใจหาว่าเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนพอถึงวันเข้าพรรษาวันนั้นท่านอาจารย์ก็เรียกสามเณรน้อยองค์นั้นไปแสดงธรรมให้ศรัทธาชาวบ้านฟังแต่เณรน้อยองค์นั้นเมื่อกราบพระรัตนตรัยและท่านอาจารย์แล้ว จึงได้วางธรรมใบลานผูกนั้น ไว้หน้าพระประธานตนเองก็ขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์ด้วยมือเปล่า แสดงโดยปฏิภาณปากเปล่า ท่านอาจารย์ก็นึกสงสัย จึงหยิบธรรมใบลานผูกนั้นมาตรวจดูตามไปด้วย แต่ปรากฏว่าสามเณรเทศนาได้ดีไม่มีผิดพลาดแม้แต่ตัวเดียวตลอดทั้งกัณฑ์เมื่อท่านอาจารย์ทดสอบความรู้ความสามารถของเณรน้อยนี้แล้วท่านอาจารย์จึงเก็บธรรมใบลานทั้งหมดที่มีอยู่ในวัดมาตัดเชือกออกทุกผูกทุกกัณฑ์มากองปนกันเป็นกองเดียวกันแล้ว ให้เณรน้อยเป็นผู้เรียงให้ได้เป็นผูกใดผูกนั้น ปรากฏว่าสามเณรน้อยองค์นั้นเรียงได้เป็นอย่างดีใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อยไม่มีผิดพลาดให้เหมือนเดิมทุกอย่างแม้แต่ใบเดียวต่อจากนั้นมาจึงมีผู้เลื่อมใสในตัวสามเณรน้อย และมีผู้เกรงขามเลื่องลือในตัวท่าน
ต่อมา จ.ศ. 1012 (พ.ศ. 2193) ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นามฉายาตามที่พระอุปัชฌาย์ท่านตั้งไว้ว่า "มหาเกสระปัญโญภิกขุ" และได้ตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำให้วัดไหล่หินหลวงเจริญรุ่งโรจน์ เพราะท่านเป็นผู้เลื่องลือและก็ได้เล่าสืบ ๆ กันมาดังนี้
ระมหาเกสระปัญโญ เป็นพระนักปฏิบัติ นักศึกษาศาสนธรรมคำสั่งสอนอันยืนยงปรากฏว่าท่านมีความรู้แตกฉานสามารถแต่งและเขียนธรรม (จาร) ได้วันละมาก เล่ากันว่าท่านเขียนอักขระพื้นเมืองเหนือลงในใบลานด้วยเหล็กจารวันหนึ่ง ๆ ได้มูลเหล็กจารเต็มกะลามะพร้าว (มะพร้าวเต่า) ซึ่งหาใครเสมอเหมือนมิได้เลย นอกจากนี้ท่านยังได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรมอย่างจริงจังโดยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำฮางฮุ้ง (ถ้ำฮุ้งคาว) ซึ่งอยู่ใกล้บ้านทุ่งขาม หมู่ที่ 5 ต.ไหล่หิน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ต.ใหม่พัฒนา) จนจิตเป็นสมาธิได้ฌาณสมาบัติมีอภินิหาร เป็นอัจฉริยะสามารถเหาะเบื้องบนหนอากาศได้เพราะท่านพระมหาเกสระปัญโญ มีอภินิหารดังกล่าวแล้วนี่เอง จึงเลื่องลือท่านว่า ท่านไปบิณฑบาต โปรดสัตว์ ให้ศรัทธาสาธุชนถึงที่ไกล ๆ ได้ เล่ากันว่าท่านจำวัตรอยู่ที่วัดไหล่หินตื่นเข้าไปบิณฑบาต ศรัทธาถึงหมู่บ้านไทยใหญ่ แคว้นเชียงตุง (เป็นเขตของสหภาพพม่าเดี๋ยวนี้) ทุกเช้าจนวันหนึ่งอุบาสกไทยใหญ่ (เงี้ยว) ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านได้มนัสการถามท่านว่า "ท่านพระคุณเจ้าจำพรรษาอยู่วัดใดพระคุณเจ้า" ฝ่ายท่านพระมหาเกสระปัญโญ จึงตอบเป็นคำปริศนาว่า "เจริญพรอาตมาอยู่วัดกัดไม่แตก" (ขบไม่แตก) เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงได้ฟังดังนั้น แล้วได้สั่งให้เสนาอำมาตย์เที่ยวค้นวัดชื่อดังกล่าวจนทั่วเมืองเชียงตุง ก็ไม่พบวัดชื่อดังกล่าวแห่งใดด้วยแรงศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านเป็นล้นพ้น อยู่มาวันหนึ่งเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงก็สั่งให้เสนาอำมาตย์เอามะพร้าวลูกหนึ่งมาปลอกเปลือกออกแล้วขูดให้เกลี้ยงแล้วผ่ากะลาออกเป็นสองซีกแล้วให้เก็บรักษาเอาไว้ซีกหนึ่ง อีกซีกหนึ่งเอาไปใส่บาตรพระเถระเจ้า ขณะเมื่อมาบิณฑบาตในตอนเช้าพร้อมกับนมัสการว่า "ขออาราธนาพระคุณเจ้าฉันเนื้อมะพร้าวแล้วเก็บกะลาไว้ด้วย" ข้าพเจ้าจะได้ไปรับเอากะลาทีหลัง
ากนั้น อุบาสกไทยใหญ่ ได้สั่งให้บริวารออกติดตามหาวัดของพระเถระเจ้า และกะลามะพร้าวดังกล่าวโดยแรงศรัทธาแรงกล้า ในองค์พระเถระต่อมาเป็นเวลา 7 เดือน เสนาอำมาตย์พวกหนึ่งได้เดินทางมาทางเขลางค์นครได้ถามสืบ ๆ กันมาก็ได้พบวัดไหล่หินแห่งนี้ จึงได้แวะนมัสการพระเถระก็เกิดความปรีดาปราโมทย์ยิ่งนัก พวกเสนาอำมาตย์จึงมนัสการถามท่านว่า "กะลามะพร้าวที่ท่านเจ้าฟ้าเชียงตุงได้ถวายพระคุณเจ้ามีอยู่หรือเปล่า" พระมหาเกสระปัญโญเจริญพรตอบว่า ยังมีอยู่พร้อมกับหยิบกะลามะพร้าวออกมาจากใต้เตียงนอน ยื่นให้เสนาอำมาตย์ของเจ้าฟ้าเชียงตุงก็ได้ตามความประสงค์ที่ได้เที่ยวตามหาเป็นเวลาแรมปี อย่างนี้ก็ได้เอาซีกกะลามะพร้าวของท่านพระมหาเกสระปัญโญและซีกของตนมาประกบดูก็ใช่คู่กันจริง จึงกราบลาท่านมหาเกสระปัญโญ กลับไปแจ้งความให้เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงได้รับทราบแล้ว จึงได้พาข้าทาสบริวารเดินทางมาทางจังหวัดเชียงรายได้ผ่านดอยมันหมูมาจึงได้ให้เสนาอำมาตย์ตัดไม้มันหมูมาเป็นเสาพระวิหารที่นำมาจากดอยมันหมูนั้น มีอยู่ตรงหน้าพระประธานทางทิศใต้ต้นที่หนึ่ง เดี๋ยวนี้ได้เอาปูนหล่อครอบ เสาต้นนี้ปรากฏว่าเมื่อฝนจะตกน้ำจะท่วมบ้าน จะปรากฏว่ามีน้ำมันซึมออกมาให้เห็นเป็นข้อสังเกตเอาไว้นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
สำหรับพ่อปู่ทอนและพ่อปู่ยักข์ก็ได้มารวมก่อสร้างร่วมกับเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ในปี จ.ศ. 1045 พ.ศ. 2226 และไม่ยอมกลับบ้านเชียงใหม่จนเป็นที่มาของเหล่าปู่ทอนและเหล่าปู่ยักข์ มาจนถึงปัจจุบันนี้

การประกาศขึ้นทะเบียน
ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2523

วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน วัดไหล่หิน
ระวัติ วัดเสลารัตนปัพพตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เรียบเรียงโดย สามเณรดวงจันทร์ ครุขยัน ซึ่งเว็บมาสเตอร์ได้ซีดีจากพ่อหลวงดวงจันทร์ จึงนำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งมาเผยแพร่ เป็นวิทยาทาน ถ้าต้องการข้อมูลทั้งหมดก็ขอให้ติดต่อพ่อหลวงดวงจันทร์ได้ ท่านมีข้อมูลมากมายในตัวท่าน
ประวัติวัดไหล่หินหลวง ลำปางหรือเขลางค์นครเป็นเมืองเก่าแก่คู่กับหริภุญชัย หรือเมืองลำพูนในปัจจุบัน พรั่งพร้อมด้วยรมณียสถานทัศนา การศึกษา ถึงประวัติความเป็นมาของนครเมืองลำปางและยังมีโบราณวัตถุ ซึ่งควรแก่การศึกษาพร้อมกับความโบราณ ที่มีความสวยงามศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง ซึ่ง วัดไหล่หินหลวง หรือวัดเสลารัตนปัพพะตาราม(ไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) คือ วัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง ในท้องที่หมู่ที่ 2 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 ก.ม.เศษ มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ประมาณ 50 ไร่เศษ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 218 นับว่าเป็นวัดหนึ่งของจังหวัดลำปางที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์การสร้างเมืองลำปางหรือเขลางค์นคร
พราะว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นขณะที่ พระอรหันต์ได้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาไว้ยังม่อนหินแห่งนึ้ จึงมีตำนานที่สำคัญจะได้เล่าขานโดยสังเขป ดังนี้ ศาสตราจริกา อ้างสมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังทรงทรมานสำราญอยู่ในเขตเชตวันมหาวิหารมีคืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่งพระองค์ทรงรำพึงว่า ตั้งแต่กูตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณมา ถึงบัดนี้ได้ 25 พรรษาแล้ว ต่อเมื่อกูมีพระชมมายุอยู่ได้ 80 พรรษาเมื่อใดกูตถาคตก็ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ควรกูจะอธิฐานธาตุให้ย่อยเพื่อให้คนทั้งหลายและพระอรหันต์ได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่สักการะบูชา เสมอเหมือนกูตถาคดยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่
ระพุทธองค์ทรงรำพึงดังนี้แล้วพอพระองค์ดับขันธปรินิพพานไปแล้วได้ 218 ปี ยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ศรีธรรมาโศกราชได้ทรงชนะข้าศึกทั้งหลาย แล้วได้อาศัยเจ้านิโครธสามเณรอยู่ ได้เลิกถอยความเลื่อมใสพวกเดียรถีย์ทั้งหลายแล้ว จึงบังเกิดความเลื่อมใสอันแก่กล้าในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงดำริที่จะสร้างพระเจดีย์เป็นที่บรรจุซึ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน 84,000 องค์พระธรรมขันธ์ ต่อมาพระองค์ทรงพิจารณาหาพระบรมสารีริธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พบที่เมืองราชคฤห์แล้ว พระองค์ก็อัญเชิญเข้าสู่เมืองนครปาตรีบุตรนคร พระองค์ทรงแบ่งพระบรมสารีริธาตุมอบให้พระเถระทั้งสองพระองค์ คือ พระกุมารกัสสปะ และพระเมฆิยะเถระเจ้า ท่านได้พระบรมสารีริธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัญเชิญขึ้นบนหลังช้าง มาจากประเทศอินเดีย เพื่อมาประดิษฐานยังวัดพระธาตุลำปางหลวง พอขบวนช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถึงยังม่อนหินแห่งนี้ ขบวนช้างเชือกนั้นก็ไม่ยอมเดินทางต่อ ถึงเจ้าจะขับจะ จะใสอย่างไร ช้างก็ไม่ยอมที่จะเดินทางต่อ อันเป็นเหตุที่น่าอัศจรรย์เป็นยิ่งนัก องค์พระอรหันต์ผู้เป็นพระประมุขของขบวนนั้น จึงพร้อมด้วยผู้คนที่ติดตามได้ปรึกษากันที่จะสมควร สร้างองค์พระเจดีย์บรรจุเอาพระบรมสารีริธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อไว้เป็นที่กราบไว้สักการะบูชาตลอดกาลนาน และเป็นอนุสรณ์ที่ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมายังที่แห่งนี้ด้วย
รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. พระมหาเถระเจ้า (ไม่ทราบชื่อและฉายาที่แน่นอน
2. พระอุตมะ (องค์แรก)
3. ครูบาคันธวงศา
4. พระสุมนต์
5. พระสินชัย
6. พระสังฆราชกุดี
7. พระมหาป่าเกสระปัญโญ
8. ครูบากาวี (แตกฉานทางศัพทศาสตร์)
9. ครูบาคำ
10. ครูบาอุตมะ(องค์กลาง)
11. ครูบากาวี (องค์กลาง)
12. ครูบาอุตมะ(องค์เล็ก)
13. ครูบาปวงคำ
14. ครูบากาวี(องค์สุดท้าย)
15. พระอินถา ถาวโร
16. เจ้าอธิการแก้ว สุทัทธสีโล
17. พระคำป้อ พลธมฺโม รก.
18. เจ้าอธิการจันทร์ตา จนฺทรํสี(อุรา)
19. เจ้าอธิการศรีวรรณ จกกวโร (ตาวี)
20. พระสมพร เขมธมฺโม (ธรรมนูญ)รก.
21. พระครูอภัยสุวรรณกิจ (พระอธิการทอง อนามโย - จอมแปง)
มรณภาพเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 18.05 น. สิริอายุได้ 72 ปี พรรษา 37
22. พระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร อตฺตสาโร)
ข้อมูลจาก : ! watlaihinluang.com/templehistory.php (expired มิถุนายน 2551)
หัวข้อที่น่าสนใจ
- ประวัติ วัดเสลารัตนปัพพตาราม(วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)
- ประวัติวัดไหล่หินหลวง
- ประวัติหลวงพ่อมหาป่า เกสระปัญโญ
- ประวัติ พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)
- พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน ... แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในวิถีชุมชนพอเพียง
- สิ่งของเล่าถึงประวัติชีวิตชุมชนอย่างไร
- ฐานข้อมูล พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในประเทศไทย
- ตำบลไหล่หิน และงานวิจัยเรื่องานศพ
พระอธิการทอง อนามโย
เจ้าอาวาสวัดไหล่หินหลวง
( วีดีโอ )
ทรงศักดิ์ แก้วมูล
ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง
( บทความ | วีดีโอ )
แนะนำเว็บไซต์
วัดชัยมงคลธรรมวราราม
โรงเรียนไหล่หินวิทยา
! ประวัติวัดไหล่หินหลวง โดย photoontour.com
ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร
เครื่องราง
หอนิทรรศการวิถีชีวิตคนไหล่หิน

google ภาพขยาย
อ่านเพิ่มเติม
สื่อมัลติมีเดีย : วัดไหล่หินหลวง
สมเด็จพระเทพเสด็จเยี่ยมวัดไหล่หินหลวง บันทึกในบล็อก
28ต.ค.52 9.00น. สมเด็จพระเทพเสด็จเยี่ยมวัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง เป็นที่ปิติยินดีของชาวไหล่หินหาที่สุดมิได้ ลูกทั้ง 3 ของผมและพ่อตาบรรจง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอยู่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง เป็นครั้งแรกของพวกลูกที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าเจ้านายใกล้ชิดเพียงนี้ ครอบครัวของเราก็ยินดีที่ได้รับโอกาสดีเช่นนี้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้านายท่านจะเสด็จมาหมู่บ้านนี้อีก ถ้ามาโอกาสแบบนี้อีกในครั้งใดก็จะพาลูกเขาไปเฝ้าเช่นนี้ทุกครั้งไป สำหรับตัวแทนชาวไหล่หิน นำโดย นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ฯ ถวายรายงานใกล้ชิด พบรายละเอียดจากทีวีหลายช่องเป็นที่ประจักษ์
[รวมภาพ]
ประเพณีตานก๋วยฉลาก ณ วัดไหล่หินหลวง
บันทึกในบล็อก
12ก.ย.52 ได้จัดก๋วยและฉลากไปทานที่วัดไหล่หินหลวง ถึงญาติสนิทผู้ล่วงลับ 3 ท่าน คือ ตาแสน ยายแก้ว และยายนี เป็นประเพณีที่ทำกันทุกปีในบ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีเพื่อนบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียง มาร่วมตานกันทุกปี ประเพณีนี้เรียกว่า “ตานก๋วยฉลาก” โดยชาวบ้านเช่น ครอบครัวของผม จะดาครัว หรือเตรียมก๋วย สมัยก่อนใช้ไม้ไผ่สานเป็นก๋วยหรือภาชนะใส่ของ แล้วใช้ใส่ข้าวของเครื่องใช้ อาหารคาวหวานใส่ลงไป ผู้ล่วงลับจะได้พกพาไปไหนได้สะดวก ปัจจุบันเห็นใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็ยังใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของตาน อาจใช้ย่าม กะละมังก็ทำได้ สำหรับของที่ตาน หรืออุทิศไปให้ผู้ล่วงลับอาจมีบ้านจำลอง เตียง หงส์จำลอง นกจำลอง หรืออะไรต่อมิอะไรตามจิตศรัทธา เป็นของตาน
ช่วงเช้าไปถึงวัดก็จะเอาฉลาก หรือเส้นไปลงทะเบียนกับกรรมการวัด เพื่อจัดสรรมอบให้พระสงฆ์ หรือเณรที่มาจากวัดใกล้เคียงรวมกว่า 100 รูป และผู้เกี่ยวข้อง เพราะมีเส้นในปีนี้กว่า 4000 เส้น ก็คือของตาน 4000 ชุดจากหลายร้อยครอบครัว สำหรับพระที่ได้รับเส้นหรือฉลากมา อาจมอบให้กรรมการวัดไปตามหา แล้วนำมาจัดสรรในภายหลัง มีความเชื่อว่าถ้าของตานชุดใดถูกรับไปก่อน หมายถึงผู้ล่วงลับมารับส่วนบุญไปเร็ว ชุดใดออกช้า แสดงว่ายังไม่มารับ แต่สุดท้ายก็ได้ตานทุกชุด ต่างกันเพียงแต่ว่าจะหมดช้าหรือหมดเร็ว แต่ละครอบครัวจะเตรียมก๋วยไว้หลายชุด บางบ้านมากกว่า 10 ชุด เพราะมีญาติที่ล่วงลับไปแล้วหลายคน
มื่อผมไปถึงวัดก็พบคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ในฐานะกรรมการวัดที่มีบทบาทสำคัญในการจัดงานนี้ จึงขอถ่ายภาพท่านมาเขียน blog และนานนานครั้งผมจะได้มีโอกาสไปร่วมงาน เพราะถ้าวันงานตรงกับวันทำงานก็จะมอบให้ญาติท่านอื่นไปทำหน้าที่ ครอบครัวผมมีคนมารับตานเร็ว กลับถึงบ้านประมาณ 12.30 น. ออกบ้านกันแต่เช้าตั้งแต่ 09.00 น. เพราะมีพิธีทางศาสนาในศาลา ที่กระทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ก็ต้องลุ่นว่าปีต่อไปจะนำลูก ๆ ไปร่วมกิจกรรมนี้ได้อีกหรือไม่ ก็ภวนาให้เป็นวันหยุด .. จะได้ไปร่วมตานอีก
ประวัติหลวงพ่อมหาป่า เกสระปัญโญ
ข้อมูลจาก : !http://www.watlaihinluang.com/historymahapar.php
วัดไหล่หินหลวงปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลไหล่หินอำเภอเกาะคาจังหวัดลำปางเป็นวัดที่มีประวัติความ เป็นมาอันยาวนานเกี่ยวกับความศรัทธาที่ต่อพระพุทธศาสนามีพระมหาเถระรูปหนึ่งที่ทรงอภิญญาพระเถระรูปนั้นก็คือ พระมหาป่าเกสระปัญโญพระที่อาศัยการธุดงค์วัตรเป็นสำคัญ โดยมีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้ เมื่อราว พ.ศ.2179 ระยะที่สกุลขุนตานสุตตาเมืองเถินชวลกุลบุตรอยู่ที่ตำบลลำปางหลวงและมี ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างพระเถระลำปางหลวงวัดปงยางคกวัดลำปางหลวงมีเรื่องราวครูบามหาป่าวัดหินแก้ว(วัดไหล่หินหลวงในปัจจุบัน)หรือวัดหินล้นได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวง(ตามพงศาวดารเถิน)
มื่อ พ.ศ. 2226 ปรากฏชื่อจารึกไว้บนแผ่นไม้วิหารวัดไหล่หินมีใจความว่า " จุลสักกปตได้ 1045 ตัว ปีป่าไก่เดือน 4เป็งเม็ง 4 ไตเต้าสง้า พระหมาป่า เกสระปัญโญเป็นเจ้ามูลประธานกับทั้งศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้ชักเชิญ พระสังฆเจ้าดาแปลงยังเสลารัตนปัพพตารามหลังนี้ และศรัทธานาบุญตังหลายทั้งมวลชุคน จุงมาอนุโมทนามาเตอะ" พระมหาป่า เกสระปัญโญรูปนี้นับเป็นพระเถระองค์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดสูงเม่นเมืองแพร่อย่างมากปรากฏเรื่องราววัดสูงเม่งเมืองแพร่เคยเดินทางมาขน เอาคัมภีร์ครูบามหาป่าเกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวงถ่ำดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว 10 กิโลเมตรเศษนำขึ้นช้างพลายต่าง(นำใส่หลังช้าง) กลับเมืองแพร๋ประวัติการถ่ายทอดพระคัมภีร์ของพระมหาป่าวัดไหล่หินหลวง ของครูบาวัดเม่นเมืองแพร่ ปรากฏในหลักฐานคัมภีร์สถาวกัณณี มีความที่เจรจาไว้ท้ายตำนานผูกที่ 3 จารเมื่อ จ.ศ.1201 (พ.ศ.2398) ว่า "อุบาสกมูลศรัทธา หนานมณีวรรณค้ำชูครูบาเจ้าวัดสูงเม่น เมืองแพร่มาเมตตาในวัดป่าหินแก้วกล้างริมยาวไชยวรรณแล " คำจารในสถาวกัณณีฉบับดังกล่าวแสดง ว่าการคัดตำนานจากต้นฉบับของพระมหาป่า เกสระปัญโญร้อยกว่าปี และเป็นสมัยที่ผ่านเข้ามาถึง สมัยเจ้าวงศ์ 7ตนครองเมืองนครลำปางแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่ต้น ฉบับที่คัดไว้นี้ไว้ที่ วัดไหล่หิน ตังจริงคงจะไปอยู่ที่วัดสูงเม่นเมื่อ พ.ศ.2382 ประวัติพระมหาป่า เกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวง คู่กับประวัติมหาปัญโญ วัดพระธาตุลำปางหลวง คือ เป็นพระองค์ฟี่และ องค์น้อง เดิมฟี่น้องทั้งสองคนนี้ เป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเสด็จ เป็นชาวบ้านแม่แก้ เขตตำบลลำปาง ต่อมาสามเณรองค์ฟี่ได้ไป ศึกษาที่วัดป่าซางเมืองลำพูน เป็นสามเณรที่มีความผิดแปลกไปจากสามเณรรูปอื่น ๆ ตรงที่ว่าเงียบขรึม ท่องบ่นธรรมคัมภีร์โดยไม่ยอมออกเสียง เหมือนกับสามเณรรูปอื่น และชอบเขียนตัวอักษรบนใบลาน ความเงียบขรึมของสามเณรเกสระนี้เองที่ทำให้เจ้าอธิการวัดป่าซางเฮือก ลำพูน วิตกกังวลเรื่องการเทศน์ เกรงว่าจะแข่งกับสามเณรอื่น ที่มี ความขยันไม่ได้ ในการท่องบ่นพระธรรมกันเจื่อยแจ้วในระหว่างพรรษาหนึ่ง เจ้าอธิการได้มอบธรรมเวสสันดรชาดก ให้ท่องบ่น ก็มิเห็นสามเณรรูปนั้นท่องบ่น
รั้งถึงวันเทศกาลออกพรรษาแล้ว มีการตั้งธรรมหลวง สวดเบิก และเทศนาจับสลาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนจัดได้กัณฑ์ มหาพนและตรงกับเวรสามเณรเกสระเจ้าอธิการมีความวิตกกังวลมากที่สุดแต่ปรากฏว่า สามเณรเกสระสามารถเทศน์ได้โดยปากเปล่า โดยมิต้องอาศัยการอ่าน เทศน์ได้ถูกต้อง นอกจากนี้เวลามีการรวบรวมคัมภีร์ต่าง ๆที่กระจัดกระจาย เชือกผูกหลุดหลายคัมภีร์ใบลานปะปนกันหลายผูก สามเณรรูปนี้ก็สามารถรวบรวมปะติดได้อย่างคล่องแคล่วเก็บเรียบร้อยเข้าที่เดิมซึ่งเป็นวิธีสอบปฏิภาณแบบหนึ่ง เจ้าอธิการซึ่งก็ทรงทราบแต่บัดนั้นว่า " สามเณรเกสระ มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งเหนือกว่าสามเณรรูปอื่น ๆ เป็นที่เลื่อมใสตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าซางเมืองลำพูน พระมหาป่า เกสระปัญโญ ซึ่งในคำจารึกบนแผ่นไม้ในการสร้างพระวิหาร ในปีพ.ศ.2226ประวัติศาสตร์พื้นฐานปริยัติที่ได้จาลำพูน แต่ท่านก็เป็นพระที่ถือธุดงค์วัตรจนมีชื่อเป็นพระมหาป่ารูปหนึ่ง ของวัดไหล่หิน แต่ท่านจะเป็นองค์เดียวกับพระมหาป่าวัดไหล่หิน ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลำปางกลาง ตามที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเถินหรือไม่ ไม่อาจจะยืนยันได้ในขณะนี้ แต่เมื่อพิจารณาความตามพงศาวดารเถินน่าจะอยู่ในระยะเหตุการณ์ เดียวกัน โดยในประเพณีให้วัดเมืองเถินและวัดลำปางหลวง เป็นครูเดียวกันปฏิบัติเยี่ยมเยือนกันเป็นประเพณีคือวัดเวียง วัดอุมลอง วัดล้อมแรด วัดห้วยเกี่ยง วัดป่าตาล วัดห้างนา ในสายเถิน ลายลำปาง มีวัดลำปางหลวง วัดลำปางกลาง วัดไหล่หินหลวงวัดปงยางคก คือเป็นวัดครูในเครือเดียวกันสืบมา ผลงานของพระมหาป่า เกสระปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เป็นที่แพร่หลายด้วยการจารใบลานไว้มาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ทางศักราชจารึก สมัยพระมหาป่า เกสระปัญโญสร้างพระวิหารวัดไหล่หินหลวงในปี พ.ศ. 2226 และความสมบูรณ์เป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบันนี้เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นของนักศึกษานักวิชาการ จิตกรในปัจจุบัน..........

ประวัติ พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม
ประวัติ พิพิธภัณฑ์วัดเสลาบัพพาตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน)
ตั้งอยู่ที่ ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา ลำปาง วัดไหล่หินเป็นวัดเล็กๆ ในอำเภอเกาะคา อยู่ไม่ไกลจากวัดพระธาตุลำปางหลวงนัก มีตำนานเล่ากันว่าเป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยพระนางจามเทวี สร้างขึ้นก่อนการสถาปนาวัดพระธาตุลำปางหลวง ด้วยเหตุนั้น จึงมีแผนผังคล้ายคลึงกัน เพียงแต่มีสัดส่วนย่อมกว่า นอกจากนั้น ภูมิสถานที่ตั้ง ก็ยังเป็นเนินใหญ่คล้ายกับวัดพระธาตุลำปางหลวง และเป็นที่มาของชื่อ ไหล่หิน (ไหล่/หล่าย คือเนิน) ด้วย
น่ายินดีที่ทางวัดไหล่หินได้รักษาโบราณวัตถุสถานต่างๆ ไว้ได้อย่างดี ปูชนียสถานสำคัญในเขตพุทธาวาสได้แก่ วิหารไม้และองค์พระธาตุ ซึ่งล้อมรอบด้วยศาลาบาตร ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูโขง ส่วนในเขตสังฆาวาสก็ยังมีโรงธรรม โครงสร้างไม้ ผนังก่ออิฐถือปูน เป็นที่เก็บรักษาหีบพระธรรม และคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก คัมภีร์บางฉบับที่พบในวัดไหล่หิน มีอายุถึงกว่าห้าร้อยปี
ตั้งแต่เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ทางวัดไหล่หิน ริเริ่มเก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้ ในชั้นต้นนำไปวางแสดงในกุฏิหลังเก่า ต่อมาจึงได้สร้าง “หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนา สุวัณณะกีฏะศรัทธาสามัคคี” ขึ้น แยกเป็นเอกเทศออกมา ในปี พ.ศ.2530 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2532
ายใน ตรงกลางห้องประดิษฐานพระพุทธรูปบุเงิน บุทอง ขนาดเล็กๆ จำนวนมากไว้ในตู้ มีลูกกรงเหล็กล้อมรอบไว้อย่างมั่นคงถึงสองชั้น ของอื่นๆ ที่นำมาเก็บไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ก็มีอาทิเครื่องถ้วย เครื่องเขิน เงินตราโบราณ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี หากแต่ที่โดดเด่นก็คือบรรดาเครื่องไม้จำหลักทางศาสนา นอกจากนั้นก็ยังเครื่องรางของขลัง ผ้ายันตร์และตะกรุดแบบต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นคติความเชื่อในท้องถิ่นที่ยังมิได้มีการศึกษาค้นคว้ากันนัก
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถือได้ว่ามีกำเนิดมาจากหมู่คณะศรัทธาของชาวบ้านร่วมกับพระสงฆ์โดยแท้ จนถึงบัดนี้ คณะกรรมการสองคน จากจำนวน 20 คน จะผลัดเปลี่ยนกันมาเฝ้าดูแลทุกวัน ท่านเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นขุมคลังความรู้มหาศาล ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของวัด ชุมชน และวัตถุสิ่งของที่นำมารวบรวมไว้ ได้ดียิ่งกว่าแผ่นป้าย หรือหนังสือนำชมใดๆ
ช่เพียงเท่านั้น ในปัจจุบันนี้ ภายใต้โครงการวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏลำปาง โรงเรียนวัดไหล่หิน และชุมชน ได้ทำให้วัดไหล่หินหลวงมีฐานะกลายเป็น “พิพิธภัณฑ์” ที่เป็น “แหล่งเรียนรู้” ของนักเรียน ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรียนเพื่อรู้ แต่เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องสืบเนื่องกับชีวิตจริง เช่นการเรียนเกี่ยวกับตุงในวิชาศิลปะ ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้จากผู้อาวุโสในครอบครัวหรือในชุมชน เมื่อเข้าใจแล้วจึงฝึกหัดทำ เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ต้องใช้งานจริง จึงมีการจัดงานบุญก่อพระทรายกันที่วัดไหล่หิน อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น ความผูกพันระหว่างเด็กๆ ในชุมชนกับวัดไหล่หิน ยังปรากฏออกมาในรูปของชมรมมัคคุเทศก์น้อย ซึ่งจะร่วมกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัดไหล่หิน เนื่องในโอกาสเทศกาลต่างๆ อีกด้วย
พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน
พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน ... แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาในวิถีชุมชนพอเพียง
จาก !http://www.sedb.org
โดย ทรงศักดิ์ แก้วมูล

“ข้าวของเครื่องใช้ โบราณทั้งหลาย หากปล่อยทิ้งไว้ในบ้านเรือน ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด” ดังนั้น เมื่อ 10 ปีก่อน ชุมชนไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง จึงได้นำสิ่งของโบราณที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ อาทิ หมวกจิกโบราณ พานไม้เก่า ของใช้สำหรับศาสนกิจ ไม่ว่าจะเป็น ตุงกระด้าง อาสนะ และตาลปัตร เป็นต้น โดยนำมาเก็บรวมรวบไว้ที่วัดพร้อมกับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้น ณ วัดไหล่หิน วัดเก่าแก่ของชุมชนที่มีศิลปะล้านนาที่งดงาม
แต่กระนั้น การเรียนรู้ของชุมชนและคนภายนอกเกี่ยวกับคุณค่าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังไม่แพร่หลาย...เป็นเสมือนห้องที่ปิดตาย เพราะยังขาดเรื่องราวอธิบายและสะท้อนถึงคุณค่าของสิ่งของเหล่านั้น แม้ว่าโรงเรียนบ้านไหล่หินจะเป็นสถานศึกษาที่สำคัญของชุมชน แต่เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการเรียนการสอนกลับยังไม่สอดคล้องกับวิถีของชุมชน การจัดตั้งตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นจึงเป็นเสมือนการจุดประกายให้ครู นักเรียนและชุมชนเริ่มคิดที่จะเรียนรู้จักตนเองและวิถีชุมชน ผ่านกระบวนการสืบค้นความรู้ผ่านข้าวของต่างๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นปราชญ์ทางด้านต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาของชุมชน กระทั่งมีการสร้างหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาของโรงเรียนบ้านไหล่หินขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
สืบค้นข้อมูล..เรียนรู้ตนเอง..ภูมิคุ้มกันชุมชน
เมื่อชุมชนหันมาให้ความสำคัญและเกิดความตระหนักในมรดกอันมีค่าของตัวเองซึ่งก็คือ วัดไหล่หิน พิพิธภัณฑ์ฯ ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ รวมไปถึงวิถีชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับจารีตประเพณีอันดีงาม เมื่อ พ.ศ. 2543 ชุมชนบ้านไหล่หิน วัดและโรงเรียนจึงผสานความรู้กับนักวิชาการภายนอกร่วมกันทำงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นวิชาศิลปศึกษาเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ โบราณสถานที่วัดไหล่หิน ซึ่งเป็นงานวิจัยใน ชุดโครงการระบบการศึกษากับชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
จากกระบวนการสืบค้นข้อมูลนี้เอง “ทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยคิดว่าตนเองไม่มีค่า เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ มีคุณค่าขึ้น” เพราะเป็นบุคคลสำคัญที่คอยตอบคำถามเด็กๆ เกี่ยวกับข้าวของเครื่องใช้โบราณ โดยรวมตัวผู้เฒ่าผู้แก่จำนวน 50 – 60 คนผลัดเปลี่ยนมาอยู่เวรที่วัดรอคอยให้เด็กๆ ในโรงเรียนบ้านไหล่หินที่เข้ามาซักถาม บางคนก็เข้าไปเป็นวิทยากรสอนเด็กๆในโรงเรียนอีกด้วย โดยเฉพาะปราชญ์ที่มีความชำนาญและเป็นที่รู้จักของเยาวชน อาทิ พ่อหลวงกุ้ม วรรณมณี ปราชญ์ทางด้านภาษาคำเมือง, พ่อแก้ว ครุขยัน ปราชญ์ด้านการสาน, แม่หลวงปี๋ ดวงแก้ว ปราชญ์ด้านการทำบายศรีและงานใบตองที่มีชื่อเสียงโด่งดังกระทั่งได้ไปสอนนักโทษที่ทัณฑสถาน จ.ลำปาง และพ่อแสน อุตโม ปราชญ์ทางด้านจักสาน (ไม้ไผ่) ผู้รู้เหล่านี้จะผลัดเปลี่ยนกันแวะเวียนกันไปสอนเด็กๆ ในโรงเรียนโดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ปัจจุบันชุมชนร่วมกันขึ้นทะเบียนข้าวของต่างๆ และรวบรวมประวัติพร้อมทั้งรายละเอียดไว้เป็นหมวดหมู่ รอกรมศิลปากรมาขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ และทำหอศิลป์แยกออกจากพิพิธภัณฑ์ของวัดโดยจะเน้นเครื่องใช้โบราณที่ใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน และมีคำอธิบายเกี่ยวกับวัตถุแต่ละชิ้นอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งวิธีดังกล่าวได้เรียนรู้มาจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
เมื่อชุมชนรู้จักตนเอง รู้จักส่วนดีและส่วนด้อยของชุมชนที่ยังต้องการให้หน่วยงานภายนอกมาเติมเต็มความรู้เพื่อนำมาปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ทั้งนี้การรู้จักตัวเองของครู นักเรียน และชุมชนไหล่หิน ตลอดจนการนำไปใช้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นในวิชาศิลปศึกษาของโรงเรียนบ้านไหล่หินของนักเรียนทุกช่วงชั้น ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชนได้ในระดับหนึ่ง
“นักเรียนจะถามทุกวันว่าเมื่อไหร่คุณครูจะพาไปเรียนที่วัด เพราะ เด็กๆชอบที่จะได้มาที่วัดไหล่หิน เพื่อมาวาดรูป ได้พูดคุยกับปราชญ์ของชุมชน ที่เด็กๆ มักจะกรูเข้ามาหาผู้เฒ่าผู้แก่ที่มานั่งรอเพื่อให้ความรู้อยู่แล้ว เด็กๆ จะชอบมาฟังนิทานโบราณที่แฝงไว้ซึ่งอารมณ์ขันและเรื่องราวของโบราณวัตถุต่างๆที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เด็กจะจดบันทึก นำกลับไปทบทวนจนเล่าเรื่องได้ เด็กบางคนที่เก่งแล้วถ้าว่างก็จะมาเป็นวิทยากรในพิพิธภัณฑ์และวัดไหล่หินด้วย” อาจารย์สุดา แผ่นคำ ครูโรงเรียนบ้านไหล่หิน เล่าให้ฟัง
ในขณะที่ เด็กชายเกียรติศักดิ์ ทวีคำ หรือ น้องอั้ม ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านไหล่หิน หนึ่งในเยาวชนที่ยังคงดำเนินกิจกรรมสืบค้นประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมกับอบต. เล่าว่า “ ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียนบ้านไหล่หินอาจารย์จะพาไปเรียนวิชาศิลปะที่วัดไหล่หินหรือให้ปราชญ์ในหมู่บ้านไปสอนพับหงส์จากใบลาน ก๋วยสลาก หรือทำบายศรีที่โรงเรียน และมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของวัดและประวัติเกี่ยวกับวัตถุโบราณต่างๆ ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันกับชุมชนมากยิ่งขึ้น”
มีเหตุมีผล...บนความรู้...พอประมาณ
สู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
วัดไหล่หิน และ พิพิธภัณฑ์โบราณล้านนาสุวรรณกีฏะศรัทธาสามัคคี ที่เกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธา ตระหนักรู้ตนของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของชุมชนแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่นักท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมชื่นชอบ เพราะ นอกจากจะได้สัมผัสความสวยงามทางศิลปะของวัดไหล่หินแล้วยังได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนจากข้าวของเครื่องใช้โบราณและงานประเพณีต่างๆในชุมชน โดยเฉพาะงานบุญใหญ่ เช่น สลากภัตรที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก ซึ่งก่อนหน้างานบุญ เด็กๆ ในโรงเรียนก็จะมาร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ช่วยกันทำบายศรี ช่วยกันทำตุง พับหงส์ สานก๋วยสลากเข้าวัดที่ทำจากไม้ไผ่แทนถังพลาสติกสีเหลืองที่นิยมใช้กันมาก แต่ในช่วงหลังชุมชนตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม มากขึ้นจึงมีการรณรงค์ให้ใช้วัสดุธรรมชาติแทน ถือเป็นทางเลือกของชุมชนในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น บุคคล ข้าวของ ธรรมชาติ และการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างพอประมาณ ดังจะเห็นได้จากวิทยากรที่มาประจำอยู่ ณ วัดไหล่หิน อันประกอบด้วย ชมรมคนชราที่ผลัดกันมาทำหน้าที่วันละ 5 คน อบต. และเยาวชนบางส่วนนั้นจะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ แต่ทุกคนล้วนเข้ามาทำด้วยความเต็มใจ ดังที่พ่อหลวงกุ้ม วรรณมณี หนึ่งในวิทยากรเอ่ยว่า “ การมาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ นอกจากจะได้รับรู้เล่าเรื่องราวของวัดไหล่หิน สิ่งของต่างๆที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ให้เด็กๆ และนักท่องเที่ยวฟังแล้ว การอธิบายถึงสิ่งของแต่ละชิ้นก็เหมือนกับการได้รู้เรื่องราวของชุมชนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และการที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับผู้มาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอนั้น เป็นประโยชน์ต่อตัวเรา ต่อชุมชนมากแล้ว ...สิ่งตอบแทนที่พวกได้รับจึงมีค่ามากกว่าเงิน”
“เราจะไม่พัฒนาวัดไหล่หินและพิพิธภัณฑ์ให้เป็นธุรกิจท่องเที่ยวเหมือนวัดอื่นๆ แต่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมแก่คนในชุมชนและคนภายนอกที่สนใจในวิถีชีวิตของชุมชนไหล่หิน ที่สำคัญคือเด็กนักเรียนบ้านไหล่หินจะได้นำความรู้เหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการสืบสานหน้าที่ต่อไป ” ทรงศักดิ์ แก้วมูล อบต.ไหล่หิน วิทยากรอีกคนของพิพิธภัณฑ์กล่าว
ชุมชนไหล่หิน เป็นแบบอย่างที่ดีของการผสานความรู้ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ได้อย่างกลมกลืน ผ่านการสืบค้นความรู้ ภูมิปัญญาที่นำไปสู่ความรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ส่งผลให้การพัฒนาของชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของจารีต ประเพณี และวิถีชาวบ้านอย่างไม่แปลกแยกเหมือนที่ผ่านมา ฉะนั้นการรู้จักตนเอง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสู่การพึ่งพาตนเอง และการมีเหตุมีผลในการเลือกทางเดินของชุมชนไหล่หิน ทำให้ชุมชนแห่งนี้เกิดความเข้มแข็งและสามารถต่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

วัดไหล่หิน (วัดเสลารัตนปัพตาราม) หมู่ 2 ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
นายทรงศักดิ์ แก้วมูล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลไหล่หิน 089-953-6887,089-433-8284 Email :anajuk2@hotmail.com
สิ่งของเล่าถึงประวัติชีวิตชุมชนอย่างไร
สิ่งของเล่าถึงประวัติชีวิตชุมชนอย่างไร
จาก !http://203.185.130.68/Subdetail/ may_article/old_article/New7_4/New7_4.htm
โดย ทรงศักดิ์ แก้วมูล และปราโมทย์ ภักดีณรงค

จากการทำงานร่วมกัน ระหว่าง พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงกับศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ในฐานะแกนนำผู้ดูแล พิพิธภัณฑ์ คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล และ คุณปราโมทย์ ภักดีณรงค์ นักวิจัย ภาคสนามของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำงาน กระบวนที่ใช้ในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค ประสบการณ์การทำงานของพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หิน น่าจะเป็นตัวอย่างการทำงาน อีกบทหนึ่งที่ชาวพิพิธภัณฑ์สามารถเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ได้ตามสมควร
การทำงานของเรา2 เริ่มต้นด้วยความพยายามจะจัดการกับวัตถุจำนวน มากที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ด้วยการทำทะเบียนวัตถุ พร้อมกับการทำความเข้าใจ กับชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับงานพัฒนาพิพิธภัณฑ์ โดยที่เรามุ่งหวังว่าชาวบ้าน ในชุมชนไหล่หินจะเข้าใจถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงในฐานะของ การเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน ความพยายามดังกล่าวนำไปสู่การพา ชาวบ้านบางส่วนไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นทั้งในเขตภาคเหนือและ ภาคกลาง หลังจากการดูงานเราพยายามจะถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้กับ ชาวบ้านทุกคนด้วยการจัดทำ “ข่าวสารพิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นบทความที่พยายามจะประชาสัมพันธ์และบอกเล่าความคืบหน้าของการทำงานของพิพิธภัณฑ์ให้กับ ชาวบ้านไหล่หินทั่วไปได้รับรู้ “ข่าวสารพิพิธภัณฑ์” จะแจกให้กับเด็กนักเรียนของ โรงเรียนวัดไหล่หิน เพื่อนำข่าวสารจากพิพิธภัณฑ์กลับไปที่บ้าน
ในการทำงานของเราทุกครั้งจะอาศัยการประชุมปรึกษาหารือกับ คณะศรัทธาของวัดไหล่หินหลวง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ของบ้าน ไหล่หิน ที่มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับงานของวัดและชุมชน ผลจากการประชุม คณะศรัทธาวัดมีมติให้คุณทรงศักดิ์เป็นผู้จัดการงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งคุณทรงศักดิ์ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้น่าสนใจว่า การที่ คณะศรัทธาวัดมอบความไว้วางใจให้กับตนนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับตัวเอง เพราะเท่ากับว่าทุกคนเชื่อใจให้ทำงาน และการพัฒนาก็จะสามารถทำได้อย่าง รวดเร็ว แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าชาวบ้านไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ ร่วมกัน งานพัฒนาที่อยากเห็นทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การทำให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ร่วมกันจึงเป็นแนวทาง หลักที่เราใช้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของเราในระยะต่อมา
ดังนั้นการทำงานในระยะที่ 2 จึงเน้นการทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น ด้วยการเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับผู้คน วิถีชีวิตของชุมชนในอดีต ที่เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำผ่านการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ วิธีการเก็บ ข้อมูลของเรามีทั้งการจดบันทึก การให้คนเฒ่าคนแก่เขียนความทรงจำลงบน กระดาษ การเล่าผ่านภาพถ่าย และการเก็บรวบรวมภาพถ่ายเก่า เราพบว่า วิธีการนี้สามารถสร้างความสนใจให้คนในชุมชนโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่เข้ามา มีส่วนร่วมกับงานของเราได้มากขึ้น แต่การทำงานของเรายังจำกัดอยู่เฉพาะแวดวงของคนบางกลุ่มเท่านั้น ฉะนั้นทำอย่างไรที่จะเปิดโอกาสให้คนในชุมชน ทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และแบ่งปันความทรงจำที่มีคุณค่าเหล่านี้ คำถามนี้ จึงเป็นที่มาของการทำงานของเราในระยะต่อมา
ระยะที่ 3 ของการทำงาน เราพบว่า เราสามารถแบ่งปันความสุข ความทรงจำที่คุณค่าของคนเฒ่าคนแก่ให้กับคนทั่วไปในชุมชนได้ด้วยการจัด นิทรรศการ ประกอบกับช่วงเวลานั้นมีการสวดเบิกในเทศกาลยี่เป็งของ วัดไหล่หิน เราจึงคิดว่า นี่เป็นโอกาสดีที่เราจะนำภาพถ่ายเก่ามาจัดนิทรรศการ เพื่อให้คนทั่วไปได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน ดังนั้นนิทรรศการ ไหล่หิน ในอดีต คุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงเกิดขึ้น และผลตอบรับที่เราได้รับเป็นสิ่ง ที่เกินความคาดหมายของเรา มีคนจำนวนมากที่มาชมนิทรรศการ มีเสียง บอกเล่าถึงประสบการณ์ที่ร่วมสมัยกับภาพถ่าย มีเสียงหัวเราะ มีรอยยิ้มปรากฏ บนใบหน้าของคนที่มาชม และที่สำคัญทำให้คนที่หันหลังให้กันสามารถมา จับมือกันได้อีกครั้ง สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งตอบแทนที่มีค่าสำหรับการทำงานของ พวกเรา
ในตอนท้ายคุณทรงศักดิ์เปรียบเทียบการทำงานตลอดระยะเวลา 1 ปี ของพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงไว้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นกบที่อยู่แต่ในกะลาไม่รู้ว่า โลกกว้างใหญ่เพียงใด มาวันนี้พิพิธภัณฑ์มีความก้าวหน้า แต่ก็ไม่ได้คิดว่า นี่คือ สิ่งที่ดีที่สุด ถึงตอนนี้จะไม่ใช่กบที่แข็งแกร่ง แต่เราก็เป็นกบที่พร้อมจะออกนอก กะลาไปเรียนรู้โลกกว้างได้อย่างไม่อายใคร วิธีการทำงานของเราเป็นเพียง การทำงานที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน ไม่ใช่พิมพ์เขียว สำเร็จรูปสำหรับพิพิธภัณฑ์ใดๆ เราหวังว่า พิพิธภัณฑ์ที่สนใจจะนำเอาวิธีการ ทำงานของเราไปปรับใช้ให้เหมาะกับการทำงานของพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เกิด ประสิทธิผลสูงสุด

เรียบเรียงโดย จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธุ์ นักวิจัยภาคสนาม โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
“เรา” ในบทความนี้ หมายถึง คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล และคุณปราโมทย์ ภักดีณรงค์
ปล่อยโคมลอย
วัดไหล่หินหลวง ปล่อยโคม ปล่อยโคม
ระเพณียี่เป็ง คือ ประเพณีล่องสะเปา หรือลอยกระทงในแบบล้านนา คำว่า ยี่ แปลว่า สอง คำว่า เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนที่มีพระจันทร์เต็มดวง เป็นประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย โดยงานประเพณีจะมีขึ้นสามวัน คือ 1) วันขึ้นสิบสามค่ำ เป็นวันเตรียมข้าวปลาอาหารไปวัด 2) วันขึ้นสิบสี่ค่ำ เป็นวันทำบุญและจัดทำกระทงใหญ่ 3) วันขึ้นสิบห้าค่ำ เป็นวันนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยน้ำเพื่อเป็นพุทธบูชา
ล่อยโคมลอย คือ ประเพณีในช่วงเทศกาลลอยกระทง หรือล่องสะเปาที่ชาวพุทธ เชื่อว่าเป็นพุทธบูชา ในช่วงงานประเพณียี่เป็ง เพื่อปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดีงามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์
ปี2566 นี้ วัดไหล่หินหลวง จัดเทศกาลแขวนโคมล้านนาทุกวันถึง 21.00น. ถึง 27 พฤศจิกายน 2566 และในวันสุดท้ายมีสวดมนต์ตั๋น ฟังธรรมอานิสงส์ผางประตีต สวดเบิก ล่องสะเปา รำวง
เฟซบุ๊กวัดไหล่หินหลวง
ฐานข้อมูล พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในประเทศไทย
ฐานข้อมูล พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในประเทศไทย
จาก https://db.sac.or.th/museum/search/list-view?keyword=&province=21&exhibit=
เงื่อนไขในการค้นหา   คือ    จังหวัด=ลำปาง
ค้นพบพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดจำนวน 30 แห่ง
ลำดับที่ ชื่อ อำเภอ จังหวัด ภาค
1พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิงเกาะคา ลำปางภาคเหนือ
2พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวงเกาะคา ลำปางภาคเหนือ
3พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงเกาะคา ลำปางภาคเหนือ
4ศูนย์ศิลปะชุมชนเมืองงาว(บ้านจ้างหลวง)งาว ลำปางภาคเหนือ
5ศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ย้อนยุคงาว ลำปางภาคเหนือ
6พิพิธภัณฑ์สถานภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนแจ้ห่มวิทยาแจ้ห่ม ลำปางภาคเหนือ
7บ้านป่องนักเมือง ลำปางภาคเหนือ
8บ้านเสานักเมือง ลำปางภาคเหนือ
9พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยลำปางเมือง ลำปางภาคเหนือ
10พิพิธภัณฑ์วัดพระเจ้าทันใจเมือง ลำปางภาคเหนือ
11พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จเมือง ลำปางภาคเหนือ
12พิพิธภัณฑสถานเขลางค์นครเมือง ลำปางภาคเหนือ
13พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามเมือง ลำปางภาคเหนือ
14ศูนย์วัฒนธรรมเขลางค์นคร ร.ร.เขลางค์นครเมือง ลำปางภาคเหนือ
15ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนลำปางกัลยาณีเมือง ลำปางภาคเหนือ
16สำนักศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเมือง ลำปางภาคเหนือ
17ห้องแสดงศิลปวัตถุ วัดปงสนุกเมือง ลำปางภาคเหนือ
18พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแม่ทะแม่ทะ ลำปางภาคเหนือ
19พิพิธภัณฑ์ประตูผาแม่เมาะ ลำปางภาคเหนือ
20พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษาแม่เมาะ ลำปางภาคเหนือ
21ศูนย์บ้านปูนิทัศน์สบปราบ ลำปางภาคเหนือ
การเผยแผ่สาระธรรม มีด้วยกัน 2 แนวทาง รุก - การเผยแผ่สาระธรรมเชิงรุก (Proactive Dhamma Propagation) คือ การเผยแผ่สาระธรรม โดยกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ซึ่งยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้น แต่เป็นเป้าหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย เป็นสิ่งที่ทำเพื่อการป้องกัน มิใช่แก้ปัญหา อาทิ การค้นหาพื้นที่เป้าหมาย และเผยแผ่สาระธรรม การจัดทำเอกสารเผยแผ่เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแบ่งปันไปยังพื้นที่เป้าหมายใหม่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนได้คิดดีทำดี มีที่พึ่งทางจิตใจ มีใจกุศล เมตตา กรุณา รู้จักการทำทาน และการแบ่งปัน
รับ - การเผยแผ่สาระธรรมเชิงรับ (Reactive Dhamma Propagation) คือ การเผยแผ่สาระธรรม เมื่อมีสถานการณ์เข้ามาบีบบังคับให้ได้ตอบสนองอย่างเหมาะสม อาทิ มีนิมนต์ไปสวดศพก็ตอบรับคำเชิญ มีศรัทธามาถวายสังฆทานก็สวดมนต์ให้พร มีกิจกรรมเวียนเทียนที่วัดก็รับเป็นประธานนำสวดและเดินรอบอุโบสถ มีคุณใหญ่ชวนไปเทศที่โรงเรียนให้นักเรียนฟังก็ไป
การจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดลำปาง
พิพิธภัณฑ์ชุมชน
วัดปงสนุก
วัดปงสนุก
วัดบ้านหลุก
วัดบ้านหลุก
วัดไหล่หิน
วัดไหล่หิน
วัดบ้านก้อง
วัดบ้านก้อง
วัดบ้านต๋อมกลาง
วัดบ้านต๋อมกลาง
วัดน้ำจำ
วัดน้ำจำ
Thaiall.com