สตาร์ทอัพ (StartUp) ไทย ติดอันดับโลก
Startup | Tec | Handbill | VdoTeach | Terms | Glossary | ศีล 5 | Myshare |
ความหมายของ Startup

ธีทัต และ กฤษดา
ธุรกิจเกิดใหม่ คือ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก จากมุมมองที่สร้างสรรค์ เช่น เกิดจากแนวคิด หรือไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเป็นสำคัญ มักเริ่มจากการเห็นช่องทาง หรือโอกาสที่คนอื่นยังไม่ได้มองเห็น และไม่มีใครทำมาก่อน เป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว (Growth) ออกแบบให้ทำซ้ำได้ง่าย (Repeatable) ขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหัวใจหลัก (สุพเนตร แสนเสนา และคณะ, 2561; ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี, 2562 และ Finance-Rumour, 2020)
ไทยติดอันดับ 50 ประเทศระบบนิเวศสตาร์ทอัพ ดีที่สุดของโลก
หลังจาก ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ ก้าวข้ามเส้นที่ยังไม่เคยมีสตาร์ทอัพใดในประเทศไทยทำได้มาก่อน อย่างการระดมทุนเพิ่มมูลค่ากิจการทะลุ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จนกลายเป็น ‘ยูนิคอร์น’ ตัวแรกของประเทศไทย มาติดตามการเปิดตัว 6 สตาร์ทอัพ ตัวเต็ง ‘ยูนิคอร์น’ ไทย (2 มิ.ย.2564)
ข่าว 8 ธ.ค. 2564 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA = National Innovation Agency) เผยข้อมูลจากการจัดอันดับดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก ประจำปี 2564 (Global Startup Ecosystem Index 2021) ซึ่งเว็บไซต์ StartupBlink ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศนวัตกรรมทั่วโลกได้มีการ จัดอับดับ 100 ประเทศ และ 1,000 เมือง ที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุดของโลก พบว่า กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 71 เมืองที่เอื้อต่อการทำสตาร์ทอัพจาก 1,000 เมืองทั่วโลก ส่วนเชียงใหม่อันดับ 397 ภูเก็ตอันดับที่ 442 และพัทยาอันดับที่ 833 เป็นจังหวัดแจ้งเกิดสตาร์ทอัพระดับโกลบอล
ปัจจัยหลักในการประเมินของเว็บไซต์ StartupBlink มีดังนี้ 1) ปัจจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย - จำนวนสตาร์ทอัพ - จำนวนโคเวิร์คกิ้งสเปซ - จำนวนโปรแกรมเร่งการเติบโต - จำนวนกิจกรรมพบปะของสตาร์ทอัพ 2) คุณภาพของสตาร์ทอัพ และสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย - จำนวนผู้ใช้งานสตาร์ทอัพ - จำนวนบริษัท/สาขาของบริษัทที่ดำเนินงานด้านการวิจัยและเทคโนโลยี - จำนวนสาขาของบริษัทข้ามชาติ ปริมาณการลงทุน - จำนวนลูกจ้าง - จำนวนสตาร์ทอัพระดับ Unicorns, Exits และ Pantheon - จำนวนสตาร์ทอัพที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับโลก - จำนวนเหตุการณ์เกี่ยวกับสตาร์ทอัพระดับโลก 3) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย - ความสะดวกในการทำธุรกิจ - ความเร็วอินเทอร์เน็ต - อิสระในการใช้อินเทอร์เน็ต - การลงทุนด้านงานวิจัย - ความพร้อมของเทคโนโลยีด้านการบริการ - จำนวนผู้ถือสิทธิบัตรต่อประชากรทั้งหมด - ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ

RRanking Methodology (For Top Ecosystems) - Overall Ranking (The overall global ecosystem ranking is a weighted average of the following factor scores:) 1) Performance: 30% 2) Funding: 25% 3) Market Reach: 15% 4) Connectedness: 5% 5) Talent & Experience: 20% 6) Knowledge: 5%
เกณฑ์การประเมิน (โดยละเอียด)
ไทยติดอันดับ 50 ประเทศระบบนิเวศสตาร์ทอัพ ดีที่สุดของโลก
startup-genome-2021-global-startup-ecosystem-report
Global_Startup_Ecosystem_Report_GSER_2021 (pdf)
งาน Startup Thailand & Digital Thailand

Startup Thailand 2016
by Mr.Jerry Wu, Alibaba
20.49 นาที
วมพลังสตาร์ทอัพเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย (Startup Thailand and Digital Thailand Day) มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำ ในระดับนานาชาติ ในการพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ 2) เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนสตาร์ทอัพในต่างประเทศและประชาคมโลก ได้ตระหนักถึง ศักยภาพ ความพร้อม และจุดแข็งของประเทศไทย ในการเป็นกลไกขยายเข้าสู่ตลาดโลก ผ่านระบบนิเวศผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup Ecosystem) 3) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ (Startup) ในประเทศไทย ผ่านกิจกรรมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 4) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจ แก่ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจและสร้างตลาดใหม่ (Scalable) สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด (High growth)
+ thailandstartup.org
การศึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ
ด้ติดตามเฟสบุ๊คของ อ.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ได้แชร์ภาพบรรยากาศ และกำหนดการประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ 10 วันที่ 23 ส.ค.59 เรื่อง "การศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup)" โดยชื่อเรื่องที่ประชุมน่าสนใจมากสำหรับก้าวใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในการประชุมมีการนำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อข้างต้น โดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี

ต่อมาได้อ่านบทความเรื่อง "สำรวจข้อมูลผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพไทยปี 2016 โดย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai Venture Capital Association)" เขียนโดย Isriya Paireepairit เมื่อ 22/08/2016 ใน brandinside.asia ซึ่งสรุปมาจาก slideshare.net พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพ” (Startup Founders) ว่า
- เพศ: ชาย 93.3% หญิง 6.7%
- อายุ: กลุ่มที่เยอะที่สุดคือ 30-39 ปี (60%) ตามด้วย 26-29 ปี (30%)
- ระดับการศึกษา: ปริญญาโท 50% ไล่เลี่ยกับปริญญาตรี 46.70%
- ประวัติการทำธุรกิจ: เคยทำธุรกิจสำเร็จ 23.30%, เคยทำแต่ล้มเหลว 16.70%, เคยทำทั้งสำเร็จและล้มเหลว 36.70%, ไม่เคยทำ 20%
- อาชีพก่อนมาทำสตาร์ตอัพ: เจ้าของธุรกิจ 46.70%, พนักงาน/ลูกจ้าง 33.30%, ธุรกิจครอบครัว 13.30%, จบใหม่ 3.30%
- พื้นเพการศึกษา (เฉพาะของ CEO): วิศวกรรม (30%), วิทยาศาสตร์ (16.70%), ธุรกิจ-การเงิน (30%), เศรษฐศาสตร์ (10%)
- เหตุผลหลักที่มาเปิดสตาร์ตอัพ: หาโอกาสธุรกิจ (60%), ต้องการแก้ปัญหาที่ตัวเองพบ (56.70%)
- ประเทศที่จดทะเบียนนิติบุคคล: ไทย 66.70%, สิงคโปร์ 23.30%, สหรัฐอเมริกา 6.70%
- ระดับการรับเงินทุน: Series B 6.70%, Series A 23.30%, Pre-Seed/Seed/Pre-series A มากที่สุดคือ 70%
- กลุ่มอุตสาหกรรมของสตาร์ตอัพ: ไลฟ์สไตล์ มากที่สุด 33.30%, ตามด้วยคอมเมิร์ซ 23.30%, FinTech 17%
- ประเทศที่ทำตลาด: ไทยอย่างเดียว 60%, ไทยแลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 30%, ไทยและประเทศอื่นนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10%
- จำนวนผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท: กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ 2-3 คน (50%), 4 คนขึ้นไป (36.70%), ทำคนเดียว (13.30%)
- ผู้ก่อตั้งยังอยู่กับบริษัทครบทุกคนหรือไม่: ยังอยู่ (73.30%), ไม่ครบแล้ว (26.70%)
- มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นคนสายเทคนิคหรือไม่: มี (83.30%) ไม่มี (16.70%)
- เคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสตาร์ตอัพของรัฐบาลหรือไม่: เคยและไม่เคย อย่างละเท่ากัน 50%
- วิธีการหาระดมเงินทุนก้อนแรก: เงินส่วนตัว (Bootstrap) 50%, เครือข่ายคนรู้จัก (26.70%), หาจากงานอีเวนต์ (16.70%)
เริ่มทำสตาร์ทอัพอย่างไรดี
bounce=เด้ง iterate=ย้ำ equity=ส่วนได้เสีย
ขั้นตอนการทำธุรกิจเกิดใหม่
ขั้นตอนที่ 1 การมองไปในอนาคต
ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 เขียนผังความคิด เพื่อให้สามารถออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ขั้นตอนที่ 4 สร้างตัวต้นแบบ
ขั้นตอนที่ 5 นำตัวต้นแบบไปนำเสนอคน 100 คน เพื่อรับฟังความคิดเห็น
ขั้นตอนที่ 6 นำความคิดเห็นที่ได้ มาพัฒนาตัวต้นแบบผลิตภัณฑ์ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ขั้นตอนที่ 7 สร้างทีมงานและหาผู้ร่วมก่อตั้ง
ขั้นตอนที่ 8 จดทะเบียนบริษัทให้เป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนที่ 9 มองหาเงินทุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการไปในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 10 เริ่มนำต้นแบบที่ผ่านการวิเคราะห์วิจารณ์มาในระดับหนึ่งนำไปใช้
ขั้นตอนที่ 11 ควรติดตามผลจากการที่ได้นำต้นแบบที่สร้างขึ้นและส่งไปถึงลูกค้าแล้ว มีลูกค้ามาใช้ หรือไม่
ขั้นตอนที่ 12 จำนวนลูกค้ามีถึง 1,000 คน หรือไม่
ขั้นตอนที่ 13 เพิ่มการเติบโต 5 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์
ขั้นตอนที่ 14 ถ้าหากสามารถทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 5 ต่อสัปดาห์ จะสามารถขยายฐานลูกค้าได้ถึง25 ล้านคนภายในสี่ปี

ธีทัต ตรีศิริโชติ และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). การประยุกต์ใช้หลักการคิดเชิงออกแบบกับธุรกิจนวัตกรรมเกิดใหม่: รูปแบบและกรณีศึกษา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 295-307.

Storify เป็นอีกสตาร์ทอัพที่ปิดตัวลง
Storify คือ บริการเครือข่ายสังคมที่เปิดให้ผู้ใช้สร้างเรื่อง หรือเส้นเวลา ร่วมกับสื่อสังคมอื่น ๆ เช่น Twitter, Facebook และ Instagram เปิดให้บริการเมื่อกันยายน 2010 แล้วเปิดเป็นสาธารณะเมื่อเมษายน 2011 และปิดตัวลงในวันที่ 16 พฤษภาคม 2018 ซึ่ง Storify เป็นสตาร์ทอัพที่ถูกซื้อโดย Livefyre ในกันยายน 2013 แล้วเปลี่ยนไปเป็นของ Adobe System ในพฤษภาคม 2016 แล้วก็หยุดบริการในปี 2018 (อ่านเพิ่มเติม brochure แนะนำ Storify แบบ PDF ของ KMUTT คลิ๊กที่นี่)
wikipedia.org/wiki/Storify
How to storify
storify.com/ajburin ใน archive.org
บริษัทขนส่ง ประกาศปิดกิจการ เลิกจ้างพนักงาน ริษัท อัลฟ่า เพอร์ฟอร์มาซ์ กรุ๊ป จำกัด หรือ Alpha FAST ผู้ให้บริการส่งพัสดุด่วนสำหรับอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจออนไลน์ และธุรกิจค้าปลีก ได้ส่งหนังสือบอกเลิกจ้างแก่พนักงานลงวันที่ 11 มิถุนายน 2564 และมีผล 13 มิถุนายน 2564 โดยชี้แจงว่า อย่างที่ท่านได้ทราบเป็นอย่างดี หลายปีที่ผ่านมาการขนส่งพัสดุอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันที่รุนแรง อัลฟ่าได้แข่งขันและถูกจัดอันดับสูงสุดในเรื่องของคุณภาพการให้บริการที่ดี โดยลูกค้าของเรา ทั้งนี้ อัลฟ่า ซาบซึ้ง และขอขอบคุณทุกท่านมาก กับการมีส่วนร่วมของท่านทั้งหลาย
ต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นโยบายการแข่งขันในอุตสาหกรรมของเราได้กลายเปลี่ยนจากคุณภาพการให้บริการเป็นการตัดราคามากขึ้น และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดราคาในปีนี้ ได้เป็นไปในระดับที่ไม่ยั่งยืนเป็นการตัตราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ผู้เล่นในอุตสาหกรรมของเราส่วนใหญ่ ยังขาดทุน และใช้วิธีแก้ไขการขาดทุน โดยการระดมทุนมากขึ้น น่าเสียดายที่แม้อัลฟ่าจะมีความพยายามมากมาย สุดท้ายแล้วเราก็ไม่สามารถระดมทุนเพิ่มเติมจากนักลงทุน เพื่อต่อสู้กับอุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูงนี้ได้อีก
ดังนั้น เราจึงไม่สามารถให้บริการทางธุรกิจของเราต่อไปได้ เราต้องหยุดการดำเนินธุรกิจและเลิกกิจการในประเทศไทย โดยอัลฟ่ามีความเสียใจที่แจ้งให้ท่านทราบว่าพนักงานทุกคนจะถูกเลิกจ้าง โดยมีผลในวันที่ 13 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ อัลฟ่าและผู้บริหารทั้งหมดขอโทษสำหรับเหตุการณ์นี้ และเราจะทำให้แน่ใจว่า เราได้ให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานที่ได้รับความเดือดร้อนในระดับความสามารถที่ดีที่สุดของบริษัท
บริษัทขนส่งเอกชน 10 อันดับ มี 1) Alpha Fast 2) Deliveree 3) Flash Express 4) Giztix 5) Inter Express Logistics 6) Kerry Express 7) Lalamove 8) Nim Express 9) Ninja Van 10) SCG Express
สตาร์ทอัพไทยแลนด์ (itinlife564) มีเพื่อนในแวดวงธุรกิจ แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ (Startup) มาให้อ่าน ซึ่งประเทศไทยจัดงาน Startup Thailand 2016 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่าง 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2559 เพื่อแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ และเปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ กลุ่มนักลงทุน และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจได้มาพบกัน คำว่า สตาร์ทอัพ มีความหมายเน้นไปที่การเติบโต (Growth) อาจสรุปได้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพ คือ ธุรกิจที่อาศัยนวัตกรรมเป็นฐาน และถูกออกแบบให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านทีมงาน การลงทุน การผลิต การตลาด กลุ่มลูกค้า และผลตอบแทน
ปรียบเทียบกับประเภทธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน คือ ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME = Small Medium Enterprises) มีสิ่งที่แตกต่างกันคือการเติบโต ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเติมโตเร็ว แต่ธุรกิจเอสเอ็มอีจะเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ร้ายขายของชำ ร้านเสริมสวย จะมีแนวโน้มเติบโตช้ากว่า โดยธุรกิจสตาร์ทอัพอาจไม่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี แต่สนใจเฉพาะโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็วที่อาจโตไปถึงปีละ 1000% ธุรกิจออนไลน์มักเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ จำนวนลูกค้า จำนวนสินค้า ตลาด หรือเวลา สตาร์ทอัพจะมีโอกาสรองรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้มาก ผลิตสินค้าได้มาก ส่งของจำนวนมากได้ และขยายฐานได้อย่างรวดเร็ว
ตาร์ทอัพสามารถขอรับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนสตาร์ทอัพ เพราะนักพัฒนาอาจมีความคิดใหม่ที่เป็นไปได้ แต่ขาดเงินทุนในการพัฒนาก็สามารถเสนอขอรับทุนได้จากการระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding) เช่น KickStarter หรือแบบธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) เช่น กองทุน 500 Tuktuks หรือ Y combinator หรือ TechStars แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่สามารถได้เงินกู้จากธนาคารตามขั้นตอนปกติอย่างแน่นอน เพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเริ่มจากการสร้างผู้ใช้ให้มากพอก่อนเริ่มต้นหารายได้ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในไทย เช่น Wongnai, Priceza, Ookbee, StockRadars, Builk, Kaidee, Eko, Jitta และ aCommerce แล้วมีคำแนะนำว่าการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสตาร์ทอัพเสมอไป หากธุรกิจมีความชัดเจนก็สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบปกติได้เลย
แนะนำเว็บไซต์ (Website guide)
rspsocial
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ = 321 มิลลิวินาที สูง = 2720 จุด กว้าง = 1264 จุด
Thaiall.com