#เล่าสู่กันฟัง 63-006 พลัดหลงกัน แต่หากันจนเจอ ด้วยไอที

เมื่อเดินทางท่องเที่ยว
อาจด้วยโอกาสจาก #ชิมช้อปใช้
ที่ต้องไปต่างจังหวัด ไปเดิน ไปกิน ไปใช้จ่าย
ต่างบ้านต่างเมืองที่ไม่คุ้นชิน
มองไปทางไหนก็ไม่รู้จัก คนต่างเมืองเพียบ
ไม่อู้ภาษาแถวกาดที่อู้อู้อยู่ ฟังบ่าฮู้เรื่องเลย

แต่เทคโนโลยีช่วยได้
ตอนขับรถไปถึงปากทางเข้าตลาด
คนมากมาย รถก็ไม่มีที่จอด คนในรถก็อยากลง
พอลงแล้ว เอารถไปจอด แล้วค่อยเดินหากัน
นัดสถานที่ก็ไม่ได้ นัดเวลาก็ไม่ดี เดินเพลิน

จึงใช้ facebook messenger หรือ line
แชร์ตำแหน่ง #sharelivelocation
ทำให้รู้ว่าจอดรถที่ไหน เพื่อนอยู่ไหน
แต่ละคนอยู่ตรงไหนในระแวกนั้น
แล้วก็เดินไปหา ตำแหน่งปัจจุบัน
ก็จะเคลื่อนที่ตามไปด้วย
หากันจนเจอในที่สุด
หรือประยุกต์ใช้เรื่องติดตามตำแหน่งได้

คนที่เค้าเดินทางไปเป็นหมู่คณะเป็นประจำ
คงใช้ในทุกทริป เช่น เหตุการณ์ในหนัง
เรื่องกวนมึนโอ ที่พระเอกตกทัวร์
ที่นักท่องเที่ยวพลัดหลง ก็คงไม่เกิดขึ้น

https://www.iphonemod.net/how-to-share-realtime-location-on-fb-messager.html

https://www.androidpit.com/whatsapp-tips-tricks-share-live-location

#เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

พบ delegate’s satisfaction survey
ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

– ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
– Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
– ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
– เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
– มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
– ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

App wordpress ช่วยเขียน blog

เล่าสู่กันฟัง 62-289

แอพ wordpress คือ โปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อกับบัญชีระบบ wordpress หากมีหลายไซต์ หรือมีหลายบัญชีในหลายไซต์ ดังนั้นการเขียน blog ผ่าน wordpress ผ่านแอพ จะช่วยให้เขียนบันทึกได้ง่ายขึ้น เพราะแอพเดียวเข้าได้ทุกไซต์ ออกแบบมาให้ทำงานได้ดีบนสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอจำกัด เหมือนเฟสบุ๊คที่มีแอพ ช่วยให้ทำงานได้เร็วกว่า แต่หากมีฟังก์ชันใดที่ไม่มีบริการในแอพ ก็เข้าผ่าน browser ในโหมด desktop แทน
https://wordpress.org/support/topic/403-error-after-changing-a-setting-with-xmlrpc/

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158028917172272&id=350024507271

ปรับ header.php ของ wordpress

หลายวันมานี้

สำหรับผู้ที่ติดตาม thaiall.com จะรู้ว่าเว็บไซต์ล้มไปราว 3 วันครึ่ง (9 พ.ย. 2019 22:33 จน 13 พ.ย.2019 06.00) เพราะระบบ WordPress ที่เปิดไว้ 2 ระบบถูกสแปม เข้าไปที่โพสต์หนึ่งอย่างต่อเนื่อง ผลการถูกโพสต์ comment แบบรัว ๆ เข้าไปประมาณ 3000 โพสต์ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ โฮสแขวนเว็บไซต์ และแจ้งให้ผู้ดูแลลบ code ที่ก่อปัญหา พบว่า เป็นระบบ wordpress ซึ่งตัวโค้ดเองไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหาเกิดจาก 1) ไม่ upgrade และ 2) ไม่ดูแลระบบเลย ในที่สุดก็ต้องลบ wordpress ออกจากระบบ แม้จะเข้าไปคุยแบบ chat กับ support ทั้งหมด 3 รอบ แต่ไม่เป็นผล หากดื้อดึงต่อไป ไม่ลบ wordpress เค้าคงไม่เปิดระบบให้อีก ในที่สุดโฮสก็เลิกแขวน เพราะเข้าไปลบ code ของ wordpress ออก เพื่อเตรียมลงใหม่ทั้งชุด

เมื่อระบบตื่นขึ้นจนเห็นหน้าตามเว็บไซต์แล้ว

เข้าไปเปลี่ยนรุ่นของ php เป็น 7.3.2 จาก 5.3.29 และติดตั้ง wordpress 5.3 ตัวใหม่ที่ดาวน์โหลดแบบ .zip มา แล้วหลังติดตั้ง พบว่า มีการยิงเข้าไปที่โพสต์หนึ่งอย่างต่อเนื่องเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จึงต้องไปเปลี่ยนนโยบายของการส่ง comment ว่า ถ้าไม่ใช่สมาชิกก็โพสต์ไม่ได้ การส่งสแปมจึงยุติลง

หลังใช้ wordpress ได้แล้ว

ก็ใช้ theme : Twenty Sixteen เลือก header image สวยแบบเดิม และพบว่าพื้นที่ส่วนของ header image น่าเปลี่ยนเป็น a d s e n s e จึงทำการลบ code ของ header image และเปลี่ยนใช้ code ของ a d s e n s e แทน

สรุปว่า

วันนี้ขอเล่าเพียงแต่ว่าได้เปลี่ยน header image ด้วยการแก้ไข header.php ส่วน truehits.net นั้นแก้ไขใน footer.php ก็ใช้ div เพิ่มก่อนปิด body

ภาพในอีเมล

ปรับความสูงของ site-header หรือระยะห่างต่าง ๆ ใน wordpress

style css
style css

แฟ้ม style.css ของ Theme: Twenty sixteen
ใน wordpress มีกำหนดไว้เยอะมาก
ตัวหนึ่งที่ใช้กำหนดความสูงของ header คือ site-header

inspector chrome
inspector chrome

การกำหนดให้ padding: เป็น 0em และ 0%
ทำให้ส่วนของ header มีขนาดเล็กลง
ไม่ต้องมีขอบกินพื้นที่ของเนื้อหา

inspector firefox
inspector firefox

การตามแก้ไข css ใช้ inspector ของ browser
ทั้ง firefox และ chrome ช่วย developer ได้มาก
หาตำแหน่งได้ง่ายขึ้นมาก โดยกด ctrl-shift-i
จากนั้นคลิ๊ก inspector
เมื่อทราบว่าตำแหน่งใดที่กำหนด css ผ่านตัวใด ก็เข้าแก้ไขได้
เช่น

ลดขนาด margin-top หรือ padding เป็น 0em เป็นต้น
ลดขนาด margin top กับ left ของ site เหลือ 2px
ลดขนาด padding ของ site-content
จาก padding: 0 4.5455%; เป็น padding: 0 1%;
เพิ่มขนาด width: 71.42857144%; เป็น 80%
ของ body.no-sidebar:not(.search-results) article:not(.type-page) .entry-content
ลดขนาด width: 21.42857143%; เป็น 10%
ของ body:not(.search-results) article:not(.type-page) .entry-footer

ปรับแฟ้ม header.php ของ Theme: Twenty sixteen ใน wordpress

 

wp banner in header
wp banner in header

20 พ.ย.59 วันนี้เห็นว่าภาพ Banner ใน Header ของ Blog
ได้สุ่มภาพขึ้นมาแสดง ผ่านคุณสมบัติของ Theme
พบว่า คลิ๊กแล้วอยู่ที่หน้าเดิม คือ http://www.thaiall.com/blog
จึงคิดว่าน่าจะคลิ๊กแล้ว พาออกไปข้างนอก Blog ปัจจุบัน
นั่งคิดแป๊ปนึง ก็คิดได้ว่าที่ http://www.thaiall.com/km
มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “การจัดการความรู้”
แล้ว Blog เองก็เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการจัดการความรู้ที่ดีมาก

ขั้นตอนการแก้ไขแฟ้ม header.php
1. เปิดแฟ้ม header.php
2. มองหาบรรทัดที่ 276 แบบด้านล่างนี้
<a href=”<?php echo esc_url( home_url( ‘/’ ) ); ?>” rel=”home”>
เปลี่ยนเป็น
<a href=”http://www.thaiall.com/km” rel=”home”>
3. ทดสอบ view ดูหน้า blog ว่าคลิ๊กแล้ว
ไปหน้า KM (Knowledge Management) หรือไม่

อีกเหตุผลหนึ่ง ที่ลิงค์จาก Banner ใน Blog
ไปยัง KM Page คือ ยอด Pageview ของหน้า KM
ติด TOP ในเว็บเพจทั้งหมดของเว็บไซต์ thaiall.com
ใจจริงแล้วอยากลิงค์ไปยัง http://www.thaiall.com/handbill
เพราะมีเนื้อหาของ Handbill เรื่องภาพยนตร์ ที่สอดคล้องกับ Banner
อาจต้องใช้เวลาปรับเว็บไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อปลุก Handbill ขึ้นมา
ถึงจะพาจาก Movie Banner ใน Blog ไปยังหน้า Handbill ได้

ใครก็ตอบได้ กับคำถาม “มีลูกเพื่ออะไร” 

picsart_11-20-01-43-52

 

ความนำ
เกิดเป็นคนครั้งหนึ่ง
จะมีคำถามมากมายผ่านมาในชีวิต
เช่นคำถามว่า “มีลูกไปเพื่ออะไร ไม่มีไม่ได้หราา”
แต่ละคนก็คงจะมีคำตอบในใจ เป็นของตัวเอง
ที่แตกต่างกันได้ ตามความคิดของแต่ละคน
จากการพบเห็นผู้คนใน(สื่อ)สังคมทั่วไป
ขอแชร์สรุปไว้ 3 เหตุผล
1. ไว้เป็นเพื่อน
2. ไว้ดูแลเรา ยามเจ็บไข้
3. ไว้ดูแลเรา ยามชรา

คำถาม
1. สำหรับท่านที่มีลูก บรรลุวัตถุประสงค์รึยัง
2. สำหรับท่านที่เป็นลูก ทำให้พ่อแม่บรรลุวัตถุประสงค์รึยัง
3. สำหรับท่านที่ไม่มีลูก ก็คงมีแผนสำรองกันอยู่แล้ว

คำตอบ
แต่ละคนมีปัจจัยประกอบการตัดสินใจเยอะ
1. เชื่อได้ว่าสมเหตุสมผลทุกคน
2. เชื่อได้ว่าทุกการตัดสินใจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
3. เชื่อได้ว่าหลายคนเชื่อว่าทางเลือกของตนถูกต้อง

ท่านเคยตอบคำถามนี้รึยังแบ่งปันกันได้
ผมตัดสินใจตอบคำถามตอนอายุ 48 ปี
เมื่อวันที่ 18 พ.ย.59 ว่าจะทำอะไรให้แม่เค้าหน่อย

ค่าใน _SERVER[“REQUEST_URI”] เปลี่ยนไปใน PHP 5.2.6

PHP 5.2.6 & PHP 4.4.9
PHP 5.2.6 & PHP 4.4.9

พบปัญหาใน script : managefile.php ที่ให้บริการจัดการแฟ้มแบบออนไลน์ หลัง upgrade server ตัวหนึ่ง แบบย้ายเครื่องแล้ว clone ข้อมูล มีการติดตั้ง webserver version ใหม่ พบว่าความสามารถในการกำหนดรหัสผ่านใหม่ ซึ่งใช้เทคนิคการ encrypt + password embedded + replace script โดยใช้ค่าที่รับจากตัว script เอง .. กลับใช้งานไม่ได้ แล้ว script ตอบมาว่าติดปัญหา security ไปตรวจดูก็พบว่าค่าของ  $_SERVER[“REQUEST_URI”] ของ PHP 5.2.6 ต่างไปจากเดิม แก้ไขโดยเปลี่ยนจาก $_SERVER[“REQUEST_URI”] เป็น  $_SERVER[“SCRIPT_NAME”]

http://thaiwebsearch.hypermart.net/perlphpasp/source.pl?9102

ปล.ต้องหาเวลาเข้า upgrade script แล้ว

วันนี้พบปัญหา editor ไม่ refresh เมื่อ paste ข้อมูลที่มี chr(10)

line feed was hidden in editplus when i paste data from excel cell
line feed was hidden in editplus when i paste data from excel cell

เล่าสู่กันฟัง

– เหตุเกิดจากพัฒนา thaiall.com/research/glossary.php และ glossary.xlsx
– โดยเริ่มทำข้อมูลใน excel 2010 แล้วมีบาง cell ที่ใส่ข้อมูลเป็น \n หรือ chr(10) หรือรหัสตัดบรรทัด
– แล้วคัดลอกทั้งหมดไปวางใน editplus 2 ซึ่งวางข้อมูลทั้งหมดเข้าไปในตัวแปรตัวหนึ่ง
– แล้ว split ด้วย \n ปรากฎว่าผลการแยกไม่ถูกต้อง จึงสงสัยว่าข้อมูลหลังวางแล้วเป็นอะไรกันแน่ใน glossary.php
– เมื่อมองด้วย debug ถึงทราบว่า editplus ไม่ refresh
– ถ้า refresh ก็ต้องมีการตัดบรรทัดหลัง paste ข้อมูลที่มี chr(10) ลงไป
– เมื่อปิดโปรแกรม editplus แล้วเปิดใหม่ ก็พบว่าข้อมูลมีการปัดบรรทัดในตำแหน่งที่สงสัยจริง
– ทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ paste จาก excel จะทำให้เกิดการปัดบรรทัด แต่ไม่แสดงผลในทันทีบน editplus 2
– จึงแก้ไขด้วยการเติมอักษรพิเศษที่ cell แรกของระเบียน แล้ว split ตามอักษรพิเศษนั้นแทนการใช้ \n
– ผมเลือก 255 เพราะไม่คิดว่า text ธรรมดาจะต้องใช้อักษรนี้

เพิ่มเติม

เหตุที่ไม่ใช้ระบบฐานข้อมูล ก็เพื่อให้เพื่อน ๆ ที่สนใจข้อมูล สามารถ  download glossary.xlsx ไปใช้ต่อยอดได้ การกรอกข้อมูลก็สะดวกผ่าน excel จะย้ายไปประมวลผลบน server ตัวใดก็ทำได้ทันที  หรืออาจมีเพื่อนมาช่วยปรับข้อมูลก็สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องคิดเรื่อง import , export ให้ซับซ้อน

รูปแบบบทความ NCCIT

nccit diagram
nccit diagram

ชื่อบทความ (Anasana New ขนาด 20 จุด)
Title (Time New Roman, size 14 points)
ชื่อผู้แต่งไทย1 (English1)1  และชื่อผู้แต่งไทย2 (English Name2)2
1ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
2ชื่อภาควิชาหรือหน่วยงาน ชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย
name1@anywhare.com, name2@anywhere.com

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นตัวอย่างสำหรับการเตรียมการเขียนบทความที่จะส่งให้คณะกรรมการพิจารณาลงพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุม NCCIT บทความนี้จะกล่าวถึงรูปแบบการเขียนบทความ ขนาดตัวอักษรที่ใช้ แบบตัวอักษรที่ใช้ในส่วนต่างๆ
คำสำคัญ: คำค้น1  คำค้น2  คำค้น3  คำค้น4  คำค้น5

Abstract
This paper presents a guideline for preparing a paper to submit to the NCCIT committee for considering publishing in the NCCIT proceeding. The paper describes the format, the sizes, and font types used in each section.
Keyword: word 1, word 2, word 3, word 4, word 5.

1. บทนำ
บทความที่จะส่งต้องใช้กระดาษขนาด A4 (21 ซ.ม. x 29.7 ซ.ม.) จำนวน 6 แผ่น (ห้ามเกินเด็ดขาด) โดยรวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบต่าง ๆ แล้ว   บทความนี้จะกล่าวถึงคู่มือการเขียนบทความทั้งในส่วนของขนาดตัวอักษร การเว้นระยะ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเขียนบทความสำหรับลงพิมพ์ใน NCCIT Proceeding

2. รูปแบบบทความ
2.1 ขอบเขตกระดาษ
เนื้อหาในบทความต้องอยู่ภายในขอบเขต กว้าง 6-7/8 นิ้ว (17.5 ซ.ม.) และสูง 8-7/8 นิ้ว (22.54 ซ.ม.)  อย่าให้เนื้อหาใดอยู่นอกขอบเขตนี้  เนื้อหาต้องจัดให้อยู่ในสองคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์มีความกว้าง 3-1/4 นิ้ว (8.25 ซ.ม.) และมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ทั้งสอง 5/16 นิ้ว (0.8 ซ.ม.) เนื้อหาต้องจัดแบบหน้าและหลังตรง (Justify)
2.2 บทคัดย่อ
บทความที่เขียนเป็นภาษาไทย ต้องมีบทคัดย่อเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สำหรับบทความภาษาไทยใช้คำว่า “บทคัดย่อ” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนาและจัดกลาง  เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Abstract” เป็นหัวข้อเริ่มต้น ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนาจัดกลางหน้า   เนื้อหาในบทคัดย่อให้ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 10 จุด ให้จัดแบบหน้าหลังตรงและตัวอักษรเอียง ระยะระหว่างบรรทัด 1.5 จุด  หลังจบบทคัดย่อ ให้เว้นระยะระหว่างบทคัดย่อกับเนื้อหาหลัก 1 บรรทัด บทคัดย่อควรยาวไม่เกิน 3 นิ้ว
บทคัดย่อ ให้เขียนสรุปย่อเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำ โดยกล่าวถึงปัญหาในงานเก่าหรือความต้องการ และกล่าวถึงสิ่งที่ได้นำเสนอเพื่อแก้ไข วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการ และผลของการดำเนินการวิจัย อย่ากล่าวถึงสิ่งอื่นที่ไม่ได้นำเสนอในบทความ
2.3 เนื้อหาหลัก
ชื่อเรื่องอยู่หน้าแรก ห่างจากขอบบน 1-3/8 นิ้ว (3.49 ซ.ม.) จัดกลางหน้า ตัวหนา ชื่อเรื่องภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 20 จุด  ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษให้ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด โดยคำนาม คำสรรพนาม คำคุณสรรพ คำกิริยา และคำขยายกิริยา ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำตัวเดียว ตัวอักษรที่สองเป็นต้นไปใช้ตัวพิมพ์เล็ก  สำหรับคำเชื่อมต่าง ๆ ให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก และให้เว้นบรรทัดหลังชื่อบทความสองบรรทัด
2.4 ชื่อผู้แต่ง และสถานที่ติดต่อ
สำหรับภาษาไทย ชื่อผู้แต่งและสถานที่ติดต่อ ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด จัดกลางหน้า และตัวเอียง ดังที่แสดงตัวอย่างข้างบน  ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ Time New Roman ขนาด 10 จุด ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อผู้แต่ง เช่น ยศ หรือตำแหน่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษสามารถย่อชื่อต้นได้ เช่น Phayung Meesad อาจใช้ย่อเป็น P. Meesad
2.5 หน้าที่สองเป็นต้นไป
สำหรับหน้าที่สองเป็นต้นไป เนื้อหาให้เริ่มห่างจากขอบบน 1 นิ้ว (2.54 ซ.ม.)  และห่างจากขอบล่าง 1-5/8 นิ้ว (4.13 ซ.ม.) ของกระดาษ A4
2.6 รูปแบบ และชนิดตัวอักษร
ตัวอักษรภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 14 จุด ส่วนภาษาอังกฤษตัวเลข สมการคณิตศาสตร์ ใช้ Times New Roman  ขนาด 10 จุด อย่าใช้ ตัวอักษรชนิด bit map
2.7 รูปแบบอักษรในเนื้อหาหลัก
การพิมพ์เนื้อหาภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด และภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 10 จุด  ถ้าบรรทัดใดเป็นภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษผสมไทย กำหนดระยะระหว่างบรรทัดเป็น single space ถ้าเป็นภาษาอังกฤษอักษรแบบ Times New Roman ให้ใช้ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5
ทุกย่อหน้าให้บรรทัดแรกขึ้นต้นที่ประมาณ 1 pica (ประมาณ 1/6-inch หรือ 0.17 นิ้ว หรือ 0.422 ซ.ม.) ใช้จัดย่อหน้าแบบหน้าตรงและหลังตรงทุกย่อหน้า  ไม่ต้องเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้าในหัวข้อย่อยเดียวกัน
สำหรับภาพและตาราง คำว่า “ภาพที่” และ “ตารางที่” AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา ส่วนรายละเอียดภาพและตารางให้ใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 12 จุด ตัวธรรมดา ตัวอย่าง เช่น
ภาพที่ 1: นี่คือตัวอย่างภาพ
ตารางที่ 1: นี่คือตัวอย่างตาราง
2.8 หัวข้อลำดับที่ 1
ตัวอย่าง เช่น 1. บทนำ ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 12 จุด ตัวหนา   ภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 16 จุด ตัวหนา จัดชิดด้านซ้าย เริ่มต้นที่ด้านซ้านสุด ไม่ต้องมีย่อหน้า  เว้นบรรทัดหนึ่งบรรทัดก่อนหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด และหลังหัวข้อลำดับที่หนึ่ง 1 บรรทัด ใช้จุด (“.”) หลังตัวเลขหัวข้อ (ตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้)
2.9 หัวข้อลำดับที่ 2
ภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ Times New Roman ขนาด 11 จุด ตัวหนาและจัดแบบชิดซ้าย ส่วนชื่อหัวข้อภาษาไทยใช้ตัวอักษร AngsanaNew ขนาด 14 จุด ตัวหนา เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อลำดับที่ 2  ไม่ต้องเว้นบรรทัดหลังหัวข้อลำดับที่ 2 ให้ขึ้นเนื้อหาได้เลย (ให้ดูตัวอย่างจากการเขียนเอกสารนี้ประกอบ)

3.  การเขียนเนื้อหาหลัก
เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. บทนำ   2. วิจารณ์วรรณ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3. วิธีการใหม่ที่นำเสนอ/ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย  4. ผลการดำเนินการวิจัย  และ  5. สรุป
3.1 บทนำ
บทนำหรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โดยกล่าวถึงงานวิจัยในปัจจุบันมีสถานะเป็นอย่างไร งานวิจัยหรือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาอะไร ให้ระบุปัญหาให้ชัดเจน มีวิธีการอะไรที่ใช้แก้ไขได้บ้างในปัจจุบัน สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันยังต้องการสิ่งใดที่จะทำให้ดีขึ้น ผู้เขียนจะนำเสนอสิ่งใดเพื่อแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการนั้นๆ ระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน งานที่ทำนี้เป็นสิ่งใหม่ที่การดำเนินการมาก่อน เป็นงานที่ประยุกต์มาจากงานอื่น เป็นงานประดิษฐ์ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งเก่า เป็นการเปรียบเทียบสิ่งเก่ากับสิ่งที่พัฒนาขึ้นใหม่ เป็นการหาผลสัมฤทธิ์ของวิธีการหรือสิ่งที่พัฒนาขึ้นในงานนี้ เป็นต้น
3.2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เป็นการกล่าวถึงทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ ทฤษฎีที่ใช้ในเป็นพื้นฐานสำหรับทำวิจัยนี้ โดยให้นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องจริง ๆ หรือที่ใช้จริง ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ต้องนำเสนอ ส่วนงานวิจัยของผู้อื่นให้วิจารณ์จุดดีจุดด้อยของงานที่เกี่ยวข้อง และระบุปัญหาของงานเก่าเหล่านั้นว่ายังต้องการพัฒนาหรือทำอะไรต่อ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในความแตกต่างระหว่างงานเก่าและงานวิจัยใหม่ที่นำเสนอในครั้งนี้ โดยใช้การอ้างอิงจากเอกสารงานวิจัยต่าง ๆซึ่งควรมีความใหม่ ควรมีจำนวนเอกสารอ้างอิงประมาณ 10-20 เรื่อง
3.3 วิธีการดำเนินการวิจัย
เป็นการนำเสนอนวัตกรรมที่นำเสนอ เทคนิคใหม่ที่นำเสนอ หรือ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเก่า  รวมทั้งการนำเสนอวิธีการดำเนินงานวิจัย โดยแสดงขั้นตอนในการออกแบบ การพัฒนา การทดลอง การทดสอบ การหาประสิทธิภาพ และการหาผลสัมฤทธิ์ของงาน   ถ้าเป็นนวัตกรรมใหม่ ต้องแสดงถึงขั้นตอนการออกแบบ การสร้าง การทดสอบ ถ้ามีการใช้ทฤษฎีของผู้อื่นต้องอ้างอิงไปที่ต้นฉบับด้วย ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ต้องมีขบวนการพิสูจน์ทางคณิตศาตร์ หรือการจำลองสถานการณ์ด้วย ในการนำเสนอเทคนิคใหม่ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าด้วย  ถ้าเป็นงานประเภทประยุกต์ ต้องระบุถึงวิธีและเทคนิคที่ใช้มีอะไรบ้างและอ้างอิงจากที่ใด ระบุขั้นตอนการประยุกต์ การออกแบบระบบ การทดสอบ และอื่นๆ
3.4 ผลการดำเนินงาน
เป็นการอธิบายผลการการดำเนินงาน เช่น หน้าจอระบบที่ได้ ผลการทดสอบในกรณีต่างๆ ผลการหาผลสัมฤทธิ์ ผลการเปรียบเทียบ เป็นต้น
3.5 สรุป
กล่าวถึงสิ่งที่ทำทั้งหมด เริ่มจากมีปัญหาอะไร นำเสนอสิ่งใดในการแก้ปัญหา มีวิธีการทำอย่างไร ได้ผลลัพธ์อย่างไร และควรมีการอภิปรายถึงเหตุผลจากผลการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ว่างานวิจัยนี้มีปัญหาอะไรอีกบ้างที่ต้องการแก้ และจะทำวิจัยอะไรต่อในอนาคต

4. เลขหน้า
ไม่ต้องใส่เลขหน้าในบทความ

5. ภาพประกอบต่างๆ
ภาพทุกภาพให้ใช้ภาพสีขาวดำหรือสีเทาที่คมชัด ไม่ใช้ภาพสี ขนาดกว้างไม่เกินหนึ่งคอลัมน์

6. การส่งบทความ
ส่งบทความที่ได้รับการจัดรูปแบบ เขียนตามคำแนะนำ และพิสูจน์อักษรแล้ว (ไม่เกิน 6 หน้า) โดย ปิดชื่อเจ้าของบทความและสถาบัน ไม่ลงเลขหน้า สามารถส่งเอกสารเพื่อพิจารณาลงพิมพ์ เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ pdf ไฟล์ (ควรทดลองพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อตรวจดูคุณภาพให้เรียบร้อย) ก่อนส่งไปที่ https://www.easychair.org/login.cgi?conf=nccit2012

7. การอ้างแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อหา ให้อ้างเป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยมเช่นกัน เช่น [1], [2], [3]  โดยจะถูกแสดงไว้ที่ เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งใช้เป็นตัวเลขในวงเล็บสี่เหลี่ยม ตามลำดับการอ้างในเนื้อหา ในรายการเอกสารอ้างอิง เอกสารภาษาอังกฤษใช้ Times New Roman ขนาด 9 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น 1.5 และภาษาไทยใช้ AngsanaNew ขนาด 12 จุด ระยะระหว่างบรรทัดเป็น single spacing
ชื่องานวิจัยที่อยู่ใน Journal, Transactions, Magazine, หรือใน proceedings ของงานประชุมวิชาการ ให้เขียนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด “ “  ส่วนชื่อ Journal, Transactions, Magazines, หรือ Proceedings ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง
สำหรับเอกสารอ้างอิงประเภทหนังสือ ชื่อหนังสือ ให้ใช้ตัวอักษรแบบเอียง ตามด้วยสำนักพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ และปีที่พิมพ์

เอกสารอ้างอิง
[1]    P. P. Lin, and K. Jules, “An intelligent system for monitoring the microgravity environment quality on-board the International Space Station,” IEEE Trans. on Instrumentation and Measurement, vol. 51, no. 5, pp. 1002-1009, 2002.
[2]     P. K. Simpson, “Fuzzy min-max neural networks-part 1: classification,” IEEE Trans. Neural Networks, vol. 3, no. 5, pp. 776-786, 1992.
[3]    S. Wu and T. W. S. Chow, “Induction machine fault detection using SOM-based RBF neural networks” IEEE Trans. on Industrial Electronics, vol. 51, no. 1, pp. 183-194, 2004.
[4]    P. Meesad, “A One Pass Algorithm for Generating Fuzzy Rules from Data” The 8th National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC 2004), Hat Yai , Songkhla, Thailand, Oct 21-22, 2004.
[5]     P. Meesad and G. Yen, “Fuzzy Temporal Representation and Reasoning,” Proceedings of the IEEE International Symposium on Circuits and Systems (ISCAS03), Bangkok, Thailand, May 25-May 28, 2003, Vol. 5, pp.789-792.
[6]    P. Meesad and G. Yen, “Combined Numerical and Linguistic Knowledge Representation for Medical Diagnosis,” IEEE transactions on Systems, Man, and Cybernetics-Part A: systems and humans, Vol.33, No. 2, pp. 206-222, 2003.
[7]     P. Meesad and G. Yen, “Accuracy, Comprehensibility, and Completeness Evaluation of a Fuzzy Expert System,” International Journal of Uncertainty, Fuzziness and Knowledge-Based Systems (IJUFKS), Vol. 11, No. 4, pp. 445-466, 2003.
[8]     พยุง มีสัจ และ สมิช บัตรเจริญ, “การเปรียบเทียบผลพยากรณ์ปริมาณเลขหมายของชุมสายโทรศัพท์ระหว่างการถดถอย พหุคูณกับโครงข่ายประสาทเทียม” วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548 หน้า 54-64.
[9]    พยุง มีสัจ และ สมพิศ โยมา, “ระบบสารสนเทศสำหรับงานการจัดการเรียนการสอนของระบบงานทวิภาคี,” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 51 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2547 หน้า 69-75.
[10]    Elaine Rich and Kevin Knight, Artificial intelligence, McGraw-Hill: New York, 1991.

http://www.nccit.net/paper_submission.html
http://www.nccit.net/download/Format_for_Thai_NCCIT2013.doc
http://www.scribd.com/doc/129217081/
http://www.thaiall.com/project/nccit07.htm