#เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

พบ delegate’s satisfaction survey
ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

– ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
– Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
– ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
– เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
– มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
– ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

สร้างกลุ่ม เพื่อพูดคุย สื่อสารกันตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

17 ธ.ค.62 มีโอกาสสร้างกลุ่มอีก 3 กลุ่ม เป็นกลุ่มส่วนตัวไว้พูดคุยกับสมาชิกแบบส่วนตัว พบว่า นโยบายของ facebook เริ่มเปิดให้สร้างกลุ่มโดยไม่ต้องมีสมาชิกมากกว่า 1 คนแล้ว (ในอดีตต้องมีมากกว่า 1 คน) ทำให้สามารถสร้างกลุ่มรองรับการเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มในภายหลังได้ เช่น CPSC241_621 (Private Group)

เมื่อพูดถึงการสร้างกลุ่ม (Group creating) ก็ต้องเลือกว่าจะเป็น Public หรือ Private ก็มักพูดถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม ทุกครั้งที่สร้างกลุ่มก็จะต้องมองไปที่ description ที่จะเพิ่มรายละเอียดให้รู้ว่ากลุ่มนี้พูดเรื่องอะไร มีเงื่อนไข ข้อตกลงอย่างไร วัตถุประสงค์คืออะไร ไม่มากก็น้อย เพื่อให้การอยู่รวมกลุ่มกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางทีแค่ชื่อกลุ่มก็รู้แล้วว่าจะพูดคุยเรื่องอะไร กลุ่มสาธารณะเหล่านี้ ที่มีชื่อกลุ่มชัดเจน เช่น กลุ่มผู้บริจาคโลหิต อวัยวะ และร่างกายกลุ่มผู้สูงอายุ (Older Person) / กลุ่ม KM+Ebook / กลุ่มสังคมคนรักอ่าน / กลุ่ม Lampang City (250K)

เปิดรับนิสิตทันตะ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล .. ไม่ยากอย่างที่คิด

มหาวิทยาลัยเนชั่น เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ ประจำปี 2563
รอบที่ 1 รอบรับตรงไม่จำกัดเขตพื้นที่ 1-30 พ.ย.62
รอบที่ 2 รอบแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) 1 ธ.ค.-30 ธ.ค.62
รอบที่ 3 รอบรับตรงเขตพื้นที่ 3 ก.พ.- 23 มี.ค.63
โดยหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีสภาวิชาชีพกำกับ
ได้รับเอกสารรับรองการเปิดหลักสูตรจากทั้ง 3 สภาวิชาชีพแล้ว

หลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดรับนิสิตใหม่ มีดังนี้

  1. ทันตแพทยศาสตร์
  2. เทคนิคการแพทย์
  3. พยาบาลศาสตร์
  4. สาธารณสุขศาสตร์
  5. นิเทศศาสตร์
  6. ธุรกิจการบินและการขนส่งทางอากาศ
  7. บริหารธุรกิจ
  8. บัญชี
  9. รัฐประศาสนศาสตร์
  10. วิทยาการคอมพิวเตอร์

https://www.blockdit.com/articles/5dcd322ee94a9d76769efe9e

ติดต่อสอบถาม
มหาวิทยาลัยเนชั่น ต. พระบาท อ. เมืองลำปาง จ. ลำปาง 52000
โทรศัพท์ 054-265-170
โทรศัพท์ 054-265-173 – 6
โทรศัพท์ 054-820-098 – 9
มือถือ 063-092-1247
มือถือ 063-092-1256
โทรสาร 054-265-184
Email : admission@nation.ac.th
Line ID : สมัครเรียน ม.เนชั่น
http://www.nation.ac.th/index.php/th/component/sppagebuilder/437-nation-u-information

ประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง

9 ส.ค.62 มี การประชุมคณะทำงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง โดยคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ได้รับการประกาศแต่งตั้งโดย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และประธานกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง เมื่อ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 36 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน นำเสนอความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล และปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา ในประเด็นยุทศศาสตร์ที่น่าสนใจ ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ และ สร้างความเข้าใจแนวทางการกำหนดฐานข้อมูล การออกแบบระบบ และการใช้งานระบบร่วมกัน 4) ดำเนินการเผยแพร่ โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจถึงทิศทาง และแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดลำปาง 5) ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนคณะทำงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ประกาศแต่งตั้งพร้อมชุดข้างต้น ซึ่งกรรมการชุดที่แต่งตั้งนี้มีทั้งสิ้น 27 คน มีหน้าที่ 5 ข้อ ดังนี้ 1) จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา ให้ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในระดับพื้นที่ 2) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัดที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และสามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ทดลองและทดสอบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา การใช้งานระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 4) รายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาประจำปี ให้คณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดลำปางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่งประธานคณะทำงานทั้งสองชุด ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้แจ้งเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา พ.ศ.2560  และมีเรื่องเสนอพิจารณา 3 เรื่อง คือ  1) กำหนดกรอบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) การประสานงานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
3) แนวทางการกำหนดฐานข้อมูล

นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง คณะทำงาน/เลขานุการ และผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน
ได้บรรยายตามสไลด์เรื่อง Big Data ของกระทรวงศึกษาธิการ
และนำเสนอ “สารสนเทศทางการศึกษา”
http://datacenter.lpgpeo.info/
และบรรยายเรื่อง “10 อาชีพในอนาคต ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย
https://www.kroobannok.com/79488

ระหว่างประชุมนั้น นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง ทำหน้าที่เลขาฯ
– ได้เชิญกรรมการทุกท่านเข้ากลุ่มไลน์ เพื่อใช้สื่อสารกัน
– ได้สอบถามข้อมูลจากแต่ละสถานศึกษา
ว่าที่มีให้ และที่ต้องการ เพื่อเป็นข้อมูลไปประกอบการพัฒนาระบบ
ซึ่งสถาบันในระดับอุดมศึกษา ตัวแทนได้เสนอใช้ข้อมูลไปในทางเดียวกัน
ว่าเตรียมข้อมูลให้ได้ ตามที่เคยส่งให้กับสกอ. เป็นประจำทุกปี
ที่ http://www.data3.mua.go.th/dataS/

บรรยากาศในห้องประชุมบรรยากาศในห้องประชุม

ส่วนผมเสนอแนะในเบื้องต้น
ตามประเด็น “.. ปัจจัยความสำเร็จ ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดข้อมูลสารสนเทศ ..
1. ให้สามารถสืบค้นข้อมูลตาม keyword จากระบบได้
เช่น เกาะคา ทุนการศึกษา ผลสอบ หรือ รางวัลพระราชทาน
2. ให้มี Top 10 หรือ Ranking จากข้อมูลที่มีอยู่
ก็จะเป็นข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล และช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้
3. ให้มีความเด่นเชิงสรุป เช่น โรงเรียนใดเด่นด้านใด หรือได้รางวัลอะไร หรืออยู่ระดับใด
ซึ่ง นายบรรพ์ ใสแจ่ม ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ได้เล่าความเด่นของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
หากมีข้อมูลแบบนี้ในเว็บไซต์ก็จะมีผู้ปกครองเข้ามาใช้ข้อมูลกันมาก
4. ให้สามารถค้นโรงเรียนใกล้เคียงเพื่อตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่ง นายวิศนุพงศ์ ถ้ำทอง นำเสนอระบบ ว่าปัจจุบันสามารถแสดงผ่านระบบ GIS/Google Map ได้ดี

ข้อมูลจากโฮมเพจ “สารสนเทศทางการศึกษา
ที่พัฒนาไปแล้วระดับหนึ่ง นำเสนอข้อมูลลึกลงไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล
หากผู้ใช้มีรหัสเข้าระบบตามสิทธิ ก็จะทราบได้ว่านักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลอย่างไร
ซึ่งเก็บไว้ถึง 40 กว่าเขตข้อมูลสำหรับนักเรียนแต่ละคน
http://datacenter.lpgpeo.info/

เมนูสำหรับเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย
– สารสนเทศทางการศึกษา 2561
– สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง
– ข้อมูลและสถิติพื้นฐานด้านการศึกษา
– สารสนเทศภูมิศาสตร์
– ระบบข้อมูลประชากรวัยเรียน
– แบบประเมินความพึงพอใจ

ปล. ประชุมครั้งนี้พบมิตรสหายหลายท่าน
พบศิษย์เก่า ม.เนชั่น 2 คนทำงานอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง
พบ พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโม ผอ.สำนักงานวิชาการ มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
พบคุณนงลักษณ์ ใจปลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ  สำนักงานจังหวัดลำปาง
และเพื่อนที่คุ้นหน้าคุ้นตาจากหลายหน่วยงาน

https://web.facebook.com/tourlampangna/posts/2444758279076904

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ที่ classstart.org

http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรูปแบบเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์ ผ่านบริการของ Classstart.org ซึ่งเป็นสื่อเสริมช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ที่คณะวิชาสนับสนุนการใช้บริการสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตไว้หลายวิชา ในหลายระบบ
อาทิ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ที่จัดการสอนโดย อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ เตรียมไว้ ดังนี้

1. BUSI 452 / MKTG 434 การบริหารตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า
2. BUSI 103 หลักการจัดการและพฤติกรรมองค์การ
3. BUSI 322 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังได้จัดสื่อการสอนแบบอีเลินนิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน ผ่านเครื่องบริการที่ติดตั้งในมหาวิทยาลัย
ที่ http://class.nation.ac.th หรือแบ่งปันสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ e-document ในแต่ละรายวิชา ทั้ง มคอ.3 หรือ เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นเครื่องบริการภายในมหาวิทยาลัย

อ้างอิงจาก
http://www.thaiall.com/blog/burin/8972/
http://www.nation.ac.th/index.php/th/research-of-bba

กิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเนชั่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตจัดตั้งให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2531 ในนามมหาวิทยาลัยโยนก โดยมีวัตถุประสงค์ที่ มุ่งหวังที่จะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยโยนกได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อันได้แก่การเปลี่ยน ผู้รับอนุญาต และการเปลี่ยนอธิการบดี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังผลทำให้เกิดการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ให้เป็น “ศูนย์กลางความรู้และภูมิปัญญาแผ่นดิน” ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการใหม่ เพื่อก้าวสู่ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง การดำเนินกิจกรรมก็เช่นกันได้มีการปรับเปลี่ยน กรอบการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตที่ พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย คือ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกต่อสิ่งสาธารณะและในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยโยนก เป็น มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีการบริหารจัดการลักษณะรูปแบบธุรกิจการศึกษา ภายใต้ บริษัทเนชั่นยู ที่มีความเชื่อมั่นว่า คุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับปัญญา องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเอื้ออาทรที่มีต่อกันระหว่างมวลมนุษยชาติ ดังปรัชญาที่ว่า “ ปัญญาพัฒนาชีวิต ” ในการที่จะทำให้คุณภาพชีวิต ดีขึ้นนั้น มหาวิทยาลัย ยั่งได้ตระหนักถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ของโลก จึงได้กำหนดแนวทางกระบวนการในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่จำเป็นในทศวรรศข้างหน้า โดยเน้นวิธีการ ในรูปแบบ “ การเรียนกับมืออาชีพ ” โดยกำหนดเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ดังนี้
เอกลักษณ์
– เรียนกับมืออาชีพ
– บัณฑิตจิตอาสา
อัตลักษณ์ : 3 Skill
– ทักษะด้านวิชาชีพ (Professional Skill)
– ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English Skill)
– ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication Skill)

ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังกล่าว นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุมในทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งทักษะด้านการใช้ชีวิต ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากการได้ดำเนินการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดยผ่านกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยและสโมสรนักศึกษา สาขาวิชา ชมรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้น ในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษานั้น ถือได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์

http://www.nation.ac.th/

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัย

ประวัติมหาวิทยาลัยเนชั่น

มหาวิทยาลัยเนชั่น เดิมมีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยโยนก” ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ดำเนินการโดยมูลนิธิโยนก วิทยาลัยโยนกได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยโยนก” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2549 และต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยเนชั่น” มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท โดยเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบันรวม 26 ปี (พ.ศ. 2531 – 2557) มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วมากกว่า 6,900 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 5,700 คนและระดับปริญญาโท 1,200 คน

มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของจังหวัดลำปางที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้แก่สังคมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเป็นนักคิด ใฝ่เรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ การประยุกต์ใช้ และมีคุณธรรม จิตสำนึกต่อสาธารณะ โดยมีกิจกรรมเพื่อฝึกฝนให้นิสิตมีประสบการณ์จริงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ บรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเป็น “อุทยานการศึกษา” มีการจัดการเรียนการสอนที่นิสิตมีความใกล้ชิดกับคณาจารย์ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ อาทิ ห้องสมุด หอพักนิสิตชาย หอพักนิสิตหญิง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการสื่อสาร (ฝึกปฏิบัติการถ่ายทอดโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง) ศูนย์ภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 444 ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และเปิดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ที่ศูนย์เนชั่นบางนา ตั้งอยู่เลขที่ 1854 ถนนบางนาตราด กม. 4.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

1. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2531 – 2543
2. ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน 2544 – 2545
3. ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ 2546 – 2549
4. อาจารย์สันติ บางอ้อ ต.ค.2549 – ก.ย.2552
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา งามสุทธิ ก.ย.2552 – ก.พ.2553
6. รองศาสตราจารย์อรวรรณ ทิตย์วรรณ ก.พ.2553 – ก.ย.2553
7. อาจารย์ทันฉลอง รุ่งวิทู ต.ค.2553 – พ.ค.2554
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม มิ.ย.2554 – ก.ค.2561
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ ส.ค.2561 – ปัจจุบัน

Image may contain: 9 people, including Adisak Champathong, Nirund Jivasantikarn, Yaowapa Sangkhasilapin, Pong-in Rakariyatham, Chinda Ngamsutdi and Kritsada Pop Tunpow, text that says "Adisak Champathong 2531 2543 2546 2549 2544 2545 2549 2552 2552 2553 2553 2553- 2554 2554 25611 1 ชม. ถูกใจ ตอบกลับ 2561- 2561-ปัจจุบัน"

ข้อมูล ทำเนียบอธิการบดี
พบใน doc/Academic_regulation

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น
รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น

โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส

วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ

วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ

วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ
วัดสร้างสุข 5ส สัปปายะ

15 ก.พ.2562 ณ วัดมิ่งเมืองมูล มีกิจกรรมเกี่ยวกับ
โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส
ถึง 2 กิจกรรม ในช่วงเช้า และช่วงบ่าย
โดยช่วงเช้าเป็นการประชุมทำความเข้าใจ
และลงมือปฏิบัติตามแนวทางของโครงการในหลายขั้นตอน
เป็นการจับมือระหว่าง วัด กับ องค์กรเอกชน
โดยพระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี,ผศ. เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จับมือกับ
คุณวิภาวรรณ ลิมป์ไพบูลย์ ผู้บริหารบริษัท ควอลิตี้เซรามิก
คุณไพรวัลย์ ชัยยา หัวหน้าฝ่าย HR และทีมงานของบริษัทควอลิตี้เซรามิก
โดยมี คุณจุฑาภรณ์ นันทจินดา สสส. และ
คุณอนงค์ ตามคุณ สำนักพระพุทธศาสนา จังหวัดลำปาง มาร่วมขับเคลื่อน และ
ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ นักวิจัย และ
อ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมสนับสนุนกิจกรรม
มีการจัดตั้งกรรมการ เดินสำรวจ และแบ่งหน้าที่ตามแผนผังของวัด
แบ่งเป็นส่วน A, B, C, D, E ที่กำหนดผู้รับผิดชอบในเบื้องต้น

ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง
ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง

ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง
ชี้แจงโครงการ 75 คู่ที่ลำปาง

แล้วในช่วงบ่าย
คุณจุฑาภรณ์ นันทจินดา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
บรรยายให้ความรู้ ทำความเข้าใจ และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการ
สำหรับ วัด และ เทศบาล/อปท. ที่จับมือกันทำโครงการฯ 75 คู่
โดยกล่าวเปิดงาน และนำสวดมนต์
โดย พระจินดารัตนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง(ม)
ซึ่ง พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี,ผศ. เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล
รับเปิดเจ้าภาพสถานที่ในการจับประชุมครั้งนี้

โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข สร้างสัปปายะด้วยวิถี ๕ ส
มีเฟสบุ๊คที่ https://web.facebook.com/watsangsook/
มีเว็บไซต์ที่ http://www.watsangsook.com
คู่มือที่ https://drive.google.com/open?id=1lBW2d3nCbyNQ8Rq42NxRZml6XXwAn7Pt

โหลดคู่มือจาก watsangsook.com
โหลดคู่มือจาก watsangsook.com

งานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย

ดร.นิรันดร์ จิวะสันติการ ประธานมูลนิธิโยนก
และอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโยนก
ไปร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต มหาบัณฑิต และผู้ปกครอง
ในงานและพิธึประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562
สถาบันแห่งนี้มีนักศึกษาสำเร็จไปแล้ว 30 รุ่น
ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตไปแล้ว 8000 คน