เริ่มต้น การพัฒนาหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์

หลังอ่านความคิดเห็นที่มีความคิดสร้างสรรค์ของชาวโซเชียล และได้เห็นนโยบายภาครัฐ ละครสั้นจีน หรือ ซีรีส์จีน ทำให้นึกถึงการพัฒนา ว่าน่าจะมีการตั้ง คณะอนุกรรมการการพัฒนาหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน้าที่ 4 ข้อหลัก ดังนี้ ให้คณะอนุกรรมการการพัฒนาหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ มีหน้าที่ ดังนี้

  1. ทบทวนหลักสูตร เนื้อหาวิชา และกระบวนการจัดการเรียนการสอนความคิดสร้างสรรค์ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันว่ามีระดับความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
    (Review)
  2. พัฒนาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ หรือนำเสนอรูปแบบการจัดหลักสูตร ในแต่ละระดับ ทั้งเนื้อหาและกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐานการสอนความคิดสร้างสรรค์ ในระดับนานาชาติ
    (Develop the procedure)
  3. นำเสนอระดับความสามารถของครูผู้สอนความคิดสร้างสรรค์ ว่าควรมีกี่ระดับ และแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถการสอน ของครูผู้สอนความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการยกระดับคุณภาพของครูผู้สอน
    (Presentation)
  4. ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านการบริหารจัดการ การกำหนดคุณสมบัติของครูความคิดสร้างสรรค์ การให้เงินเดือนหรือค่าตอบแทนของครู เพื่อนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    (Suggestion)

/policy300/

ออกแบบหลักสูตรใหม่ เน้นทักษะที่ได้ใช้จริง

https://www.thaiall.com/dramaseries/

/dramaseries/

    เกมสนุกและสร้างสรรค์ #puzzle #1

    โค้ดเกมหากุญแจ ที่เขียนด้วย javascript ใน homepage นี้ มีวัตถุประสงค์ในการสุ่ม กุญแจ (key) และสร้างคำแนะนำ (hint) ทั้ง 5 ข้อ ให้กับผู้เล่นเกมได้ทายตัวเลข 3 ตัวที่ไม่ซ้ำกัน กรอกลงในช่อง 3 ช่องแบบไม่ซ้ำ แล้วกดปุ่ม check ถ้าทายถูกก็จะพบคำว่า “You Crack it.” แต่ถ้าทายผิดก็จะพบคำว่า “Try once again.”

    ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีขั้นตอนที่ 1 คือ การกระตุ้นความสนใจ ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยการคำนวณชวนคิดอย่างมีจินตนาการ เพื่อตามหาตัวเลข 3 ตัว หรือตามหากุญแจที่หายไป จากลายแทงที่เตรียมให้ทั้งหมด 5 ลายแทงดังตัวอย่าง เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นความสนใจ ก่อนเข้าสู่บทเรียนได้เป็นอย่างดี สำหรับ การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL = Creative-Based Learning)

    What is the key?


    ซึ่ง CBL ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Interested) ขั้นตอนที่ 2 ตั้งปัญหารายบุคคลและกลุ่มตามความสนใจ (Problem) ขั้นตอนที่ 3 ค้นคว้าและทดลอง (Search and Test) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลงาน (Result) ขั้นตอนที่ 5 สรุปและประเมินผล (Conclusion) พบว่า เวทิสา ตุ้ยเขียว สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ และ อัญชลี สิริกุลขจร (2563) ศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ซึ่งผลการวิจัยมีแนวทาง 5 ขั้นตอน อ้างอิงจาก Luachaiphanit, W. (2015). Creativity-Based Learning (CBL). Journal of Learning Innovations Walailak University,1(2), 23-37. [in Thai]

    https://www.thaiall.com/php/whatisthekey.htm

    ถ้าเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ จึงมีการสอนแบบสร้างสรรค์

    จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์
    ของสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี 2016

    หน้า 6 ได้ให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านดังนี้
    1) บารอน และเมย์ (Baron and May. 1960) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เช่น เอดิสันค้นพบหลอดไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้านานาชนิด ยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลก
    2) กิลฟอร์ด (Guilford. 1950) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้
    3) เวสคอตต์ และสมิท (Wescott and Smith. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางสมองที่รวมการนำประสบการณ์เดิม จัดให้อยู่ในรูปใหม่ เดรฟดาล (Dredahl. 1960) ให้ความหมายว่า เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดสร้างผลผลิตหรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ออกมาในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงกระบวนการหรือวิธีการก็ได้
    4) วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ
    5) สเปียร์แมน (Spearman. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง อำนาจจินตนาการของมนุษย์ สามารถสร้างผลผลิตใหม่ ๆ
    6) ออสบอร์น (Osborn. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง จินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบ

    ซึ่งในบทที่ 5 หัวข้อ 5.1 เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    นำเสนอไว้ 7 เทคนิค
    [1] เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม
    [2] เทคนิคการสร้างสรรค์ความคิดใหม่
    [3] เทคนิคแผ่นตรวจของออสบอร์น
    [4] เทคนิค CAI (Cognitive Affective for Implementing)
    [5] เทคนิคอุปไมยความเหมือน (Synectices)
    [6] เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ
    [7] เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats Technique)

    https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf

    #เล่าสู่กันฟัง 63-013 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคต

    อ่านเรื่อง 9 แนวคิดการศึกษาในโลกอนาคตของแจ็ค หม่า ใน eduzones.com และเขียนบรรยายเพิ่มเติมได้น่าสนใจ มีประเด็นที่ผมสนใจ ว่าประเด็นเหล่านี้จะไปอยู่ในโลกอนาคต หรืออดีต หรือปัจจุบันอย่างไร

    แล้วแยกคำออกมาตามหัวข้อในภาพ นึกถึงเรื่องจริยธรรม สอดคล้องข้อ 7 “มีหัวใจ” ที่อยากชวนนิสิตได้วิพากษ์ ในทั้ง 9 ข้อ

    1. รายได้เป็น key point
    2. ถูกต้อง เพิ่มการวิเคราะห์
    3. ทำงานเป็นทีมในหมู่เด็ก
    4. เป้าหมายการศึกษา สอบเข้าไม่พอ
    5. เรียนรู้ตลอดชีวิต
    6. เรียนรู้ให้เร็ว จบให้เร็ว
    7. มีหัวใจ
    8. โลกไร้พรมแดน
    9. สร้างสรรค์และนวัตกรรม

    ข้อ 9 นี่นึกถึง coding และ research
    แต่ eduzones มองข้อ 9 เช่น ศิลปะ กีฬา เต้นรำ

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157815247706171&id=284423006170

    http://www.thaiall.com/ethics

    #เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

    พบ delegate’s satisfaction survey
    ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

    การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

    1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
    2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
    3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
    4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

    จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

    – ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
    – Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
    – ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
    – เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
    – มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
    – ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

    แข่งขันการพัฒนาเกม ภายในเวลา 48 ชั่วโมง กับ ant.dpu

    Bangkok game dev by Global game jam 2018
    Bangkok game dev by Global game jam 2018

    พบว่ามีการ แข่งขันการพัฒนาเกม ภายในเวลา 48 ชั่วโมง (Development game in 48 hours) เป็น sponsor ใน facebook.com จึงตามเข้าไปดู เห็นข่าวสารข้อมูลน่าสนใจ จึงนำไปแชร์ไว้ที่  thaiall.com/games  และคิดว่าเหล่าเซียนเกม หรือเกมเมอร์ใน RoV : Garena Thailand ที่มีถึง 7 แสน  ซึ่งน่าจะขึ้น 8 แสนในต้นกุมภาพันธ์ 2561 และ กลุ่ม RoV Thailand ( พูดคุย / หาทีม / ลงแข่ง ) by GAMER ที่มีสมาชิกกว่า 2 แสนแล้ว .. จะให้ความสนใจการแข่งขันการพัฒนาเกม ที่ใช้เครื่องมือได้อย่างอิสระ ไม่จำกัดทั้งเครื่องมือ และจำนวนสมาชิกในทีม กติกาบอกว่าขนกันมาได้เลย

    พบรายละเอียดจากแฟนเพจ facebook.com/antdpu ว่ามีการจัดงาน Bangkok game dev by Global game jam 2018 ระหว่าง 26 – 28 มกราคม 2561

    รายละเอียด
    ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างเกมตามหัวข้อ ที่ Bangkok Game Dev by Global Game Jam 2018 กำหนดขึ้น ในระยะเวลาที่จำกัดไว้เพียง 48 ชั่วโมง ผู้เข้าแข่งขันสามารถรวมกันเป็นกลุ่มได้โดยไม่ระบุจำนวน  และสามารถใช้เครื่องมือ

    เช่น
    Unity Game Engine ,
    Unreal Engine ,
    Godot ,
    Cocos2D ,
    Adobe Anime
    และสามารถใช้เทคนิคได้อย่างไม่จำกัด

    เพื่อได้ตัวเกมที่สามารถทำงาน หรือเล่นได้จริงบนทุกแพลตฟอร์มที่ต้องการนำเสนอ ได้โปรโมตให้กับผู้ที่สนใจ และผู้ร่วมแข่งขันเข้าเล่น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซต์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โทร. 02-954-7300 ต่อ 714

    COLLEGE OF CREATIVE DESIGN AND ENTERTAINMENT TECHNOLOGY
    COLLEGE OF CREATIVE DESIGN AND ENTERTAINMENT TECHNOLOGY

    ค่าใช้จ่ายต่อผู้เข้าร่วมสมัคร 500 บาท ต่อ 1 คน
    http://ant.dpu.ac.th/BangkokGameDev2018/

    ประกวด Cosplay และ LowCost Cosplay มีเงินรางวัล
    ประกวด Cosplay และ LowCost Cosplay มีเงินรางวัล

    23 พฤศจิกายน นี้ พบกับงาน ANT Showoff ACT 2. งานเสวนาด้านเกม และการ์ตูน หัวข้อ อาชีพเรา เขาไม่รู้ พบกัน Open House มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
    23 พฤศจิกายน 2560 พบกับงาน ANT Showoff ACT 2. งานเสวนาด้านเกม และการ์ตูน หัวข้อ อาชีพเรา เขาไม่รู้ พบกัน Open House มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

    https://www.facebook.com/ANTDPU/

    สอนให้นักศึกษาบูรณาการ media กับ content

    windows movie maker
    windows movie maker

    แนะนำให้นักศึกษาบูรณาการ media กับ content โดยใช้ wmm เป็นเครื่องมือ มีคำสำคัญ อาทิ task, collection, timeline, storyboard, video, audio, picture, creative, true story telling, love story telling, title at begin and end, animation, text style
    มี url ประกอบการสอนดังนี้
    http://www.thaiall.com/media
    http://www.yonok.ac.th/anuchit/flower.mpg
    http://www.yonok.ac.th/anuchit/ynsong06.mp3
    http://www.yonok.ac.th/song
    http://www.thaiall.com/vdoteach 2.1 และ 99.6 ex: http://www.thaiall.com/office
    ex: http://www.yonok.ac.th/e-book/
    ex: http://www.thaiall.com/e-book/
    ex: http://www.yonok.ac.th/anuchit/flipviewer463.rar
    ex: http://www.thaiall.com/flip/eduzones.htm

    ภาพสร้างสรรค์ ชวนให้คิด ชวนให้มีอารมณ์

    hero turko
    hero turko

    22 ส.ค.53 รวมภาพสร้างสรรค์ (Creative) ชวนให้คิด ชวนให้มีอารมณ์ ในรูปของ Blog ที่มี Freelance เข้าไปฝากผลงานไว้มากมาย จัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ 3D Models AD Works Art Images Dating – PUA Documentaries E-Books Fashion Fonts Footages Funny Stuff Games Icons Magazines Magic & Illusion Magical Treasure Medical Mobile Movies (BluRay) Movies (DVD) Movies (Xvid) MUSIC Off Topic Others PhotoShop Plugins Portfolios RF Images Software Sound & Music Stock Images CD’s Templates Tutorials TV (Box Set) TV Shows Vectors Video Wallpaper
    + http://www.heroturko.org

    ค้นหาชื่ออาจารย์ creative ใน google.com ได้แล้ว

    ข้อมูลบุคลากร กับหลักฐานประกันคุณภาพ

    12 มิ.ย.53 ผลจากการอบรมให้บุคลากรนำหลักฐานเอกสาร ที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2552 เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ผลการประกันคุณภาพ และมุ่งเป็นมหาวิทยาลัย creative ที่มีคุณภาพ โดยประเด็นเริ่มจากการปรับรายงานแสดงเอกสารหลักฐานตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพให้จัดกลุ่มที่เชื่อมโยงกับชื่อบุคลากรเจ้าของหลักฐาน ให้ดูเข้าใจง่าย จนลามไปถึงการเชื่อมโยงชื่อบุคลากร กับฐานข้อมูลบุคลากร และพบว่า google.com เก็บข้อมูลเว็บเพจเก่า ที่เป็นฐานข้อมูลบุคลากรที่ทำไว้หลายปีก่อน จึงได้ ฤกษ์ ปรับให้โปรแกรมตัวเก่าดูดข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลใหม่ โดยลิงค์เดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ google.com ไม่เสีย วันนี้ค้นชื่อ คนึงสุข นันทชมภู หรือ คงศักดิ์ ตุ้ยสืบ ก็จะพบลิงค์เดิมที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจใหม่เรียบร้อยแล้วครับ
         ณ วันนี้ข้อมูลมากมายของมหาวิทยาลัย ยังคงสืบค้นได้จาก google.com  โดยตรง ไม่จำเป็นต้องหาลิงค์จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เพราะข้อมูลถูกดูดเข้าสู่ระบบ google.com มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูล .. เล่าสู่กันฟัง
    + http://www.yonok.ac.th/sar
    + http://www.yonok.ac.th/person

    ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็นวิทยากรปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

    ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

    10 มิ.ย.53 วันนี้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ให้เกียรติรับเชิญจากมหาวิทยาลัยโยนกเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเรียนแบบ Creative ให้กับนักศึกษาใหม่ ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบริหารธุรกิจ ระหว่าง 11.00น. – 12.00น. โดยเน้นว่านักศึกษายุคนี้ต้องมีความคิดแบบสร้างสรรค์คือ คิดใหม่ คิดต่าง คิดไม่เหมือนใคร ให้ดีกว่าเดิม ซึ่งข้อคิดสำคัญประการหนึ่งคือ นักศึกษายุคนี้ต้องเก่ง โดยมีให้เลือก 4 เก่งหรือจะเก่งทั้งหมดก็ยิ่งดี คือ เก่งภาษา (Language) เก่งประสาน (Merge) เก่งเชี่ยวชาญ (Expert)  และเก่งคิด (Think)