#เล่าสู่กันฟัง 62-291 งาน educa 2019

พบ delegate’s satisfaction survey
ที่นำผลประเมินมาทำ infographic ให้เข้าใจง่าย หัวข้อ สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุก ในยุค 4.0 Creativity-based learning งานจัด 16 – 18 ต.ค.62 ที่ impact อ่านได้จากเว็บไซต์ educathai.com งานมีผู้เข้าร่วมกว่า 425 คน

การประเมินผล แล้วนำมาทำแผนภาพ วันที่ 16 ต.ค.62 จากห้อง sapphire 206 ช่วง 9.00 – 10.30 ผู้ฟังทั้งหมดเป็นคุณครู ป.ตรี พบว่า เทียบมา 4 ประเด็น

1. หัวข้อน่าสนใจ 4.45 จาก 5
2. การถ่ายทอดความรู้ 4.73 จาก 5
3. ตอบคำถาม 4.50 จาก 5
4. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 4.59 จาก 5

จากภาพ #infographic ทำให้นึกถึงประเด็นการศึกษามากมาย มองจากอดีต มาทำปัจจุบัน เพื่อให้เกิดผลในอนาคต ซึ่ง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ โพสต์ในเฟสบุ๊คให้อ่านเสมอ และโพสต์นี้ท่านพูดถึงการประเมินเพื่อพัฒนา

– ปัจจุบันการศึกษามีการประเมินเพื่อพัฒนาอยู่มากมาย
– Pisa สนใจ การอ่าน คณิต และวิทย์
– ประเมินด้านการศึกษา สนใจ ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน ประเมินระหว่างหัวข้อการสอน แบ่งเป็น พุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรียก curriculum mapping ที่แต่ละวิชากำหนดจุดดำจุดขาวไม่เหมือนกัน การเรียนในหลักสูตรแบ่งวิชาเป็นหลายกลุ่ม เช่นกลุ่มทั่วไป กลุ่มพื้นฐาน กลุ่มเฉพาะ
– เป้าหมายการได้ผู้เรียนแต่ละปีแต่ละภาคเรียนก็ไม่เหมือนกัน วัดผลกันรายหลักสูตร รายปี รายวิชา รายหัวข้อ รายชั่วโมง รายผู้สอน
– มาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กก็ไม่เหมือนกัน แยกตามวิชาชีพ ตามหลักสูตร ตามสถาบัน ตามโรงเรียน บางที่ละเอียดลงไปถึงตามครูผู้สอน เพราะครูที่สอนสร้างสรรค์ย่อมต่างกับครูที่สอนแนวอื่น
– ประเมินผลก็มีหลายด้าน เด็กประเมินครู ครูประเมินเด็ก ประเมินเป็นความพอใจ คะแนนสอบ กระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ มีทวนสอบว่าสอนตรงตามแผน ออกข้อสอบตามแผน เด็กได้รับผลตามแผน ประเมินสิ่งสนับสนุน อาจมีประเมินสิ่งรายล้อม ระบบไอที น้ำ ไฟ เอกสาร อาหารเครื่องดื่ม ประเมินงานของเพื่อน ผู้ช่วยสอน เป็นต้น

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2823490554339577&id=109357035752956

ขอชมคนญี่ปุ่นว่าทำถูกแล้ว

airport taxi
airport taxi

ชาวญี่ปุ่นคนนี้คงชินกับ ระบบ (system) ที่ประกอบด้วย IPOO
(Input – Process – Output – Outcome)
หรือวงจรเดมมิ่ง ที่ต้องมี p d c a
ซึ่ง action จะนำผลการติเตียน มาปรับพฤติกรรม
และนำไปสู่การวางแผนใหม่ในอนาคต

แต่เท่าที่รู้คนกลุ่มหนึ่งไม่ชอบติเตียน ไม่ชอบรวมกลุ่มกันพูดถึงปัญหา
ไม่ชอบทำ AAR (after action review)
ชอบให้อะไรผ่านแล้ว ก็ผ่านไป เหมือนอดีตไม่เคยเกิดขึ้น
การพูดถึงปัญหา ในคนกลุ่มหนึ่งถือว่าเป็นมารยาทที่ไม่งาม
ช่วงหนึ่งผมมักคิดและโพสต์ออกแนวบู้ไปหน่อย
มีเพื่อน unfriend ไปหลายคน
ตอนหลังมาต้องหลับตาซ้ายเล็งด้วยตาขวา ทำใจไม่รู้ไม่เห็นแตะมากไม่ได้
ก็ไม่รู้ถูก unfriend ไปอีกกี่คน เพราะลดบทบาทการมีปฏิสัมพันธ์ลงไปเยอะ
ในโลกที่ผู้คนมีความคิดหลากหลาย ที่คนไม่ชอบเปลี่ยนแปลง มากกว่าคนชอบเปลี่ยน
เหมือนกบในกะทะ ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน)
บางทีต้องทำไม่รู้ไม่เห็นน่าจะดีกว่า .. แต่ชมว่าชาวญี่ปุ่นคนนี้ “ทำถูกแล้ว

คิดต่อจากการอ่านข่าว
สาปแช่งผมทำไม ติเตียนแท็กซี่ไทยผิดมากหรือ?” เปลือยใจยุ่นจวกยับสุวรรณภูมิ
http://www.thairath.co.th/content/476364

http://www.suvarnabhumiairport.com/th/801-airport-deverlopment-project

ตัวอย่าง sql ใน microsoft access

query
query

เป็น sql ที่ได้จาก query ที่เชื่อมโยง 3 ตาราง คือ sumscoreok53, limitlcn และ course มีการใช้ static text, right join และ left function เพื่อคัดลอกข้อมูล แล้วนำไปใช้ในอีกระบบที่ต้องใช้ผลการประเมินการเรียนการสอน ประกอบการจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน ซึ่งใช้แฟ้มประเภท csv หากผมต้องหาวิธีสร้างแฟ้ม eval25541 อีก ก็จะกลับมาค้นใน blog ว่าใช้ sql แบบใด

SELECT 2554 AS Expr1, 1 AS Expr2, sumscoreok53.codes, COURSE.SUBJT, limitlcn.SECLC, COURSE.CREDTT, sumscoreok53.cid, sumscoreok53.cnt, Left([avg],5) AS avg5 FROM (limitlcn RIGHT JOIN sumscoreok53 ON (limitlcn.SECLC = sumscoreok53.s) AND (limitlcn.CODES = sumscoreok53.codes)) LEFT JOIN COURSE ON sumscoreok53.codes = COURSE.CODES;

ตัวอย่างกราฟประเมินวิดีโอ

graph of evaluation
graph of evaluation

เป็นการใช้ MS Excel 2010 กรอกข้อมูล แล้วใช้ฟังก์ชัน sum และ averagea หาค่าผลรวม และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ใช้ประเมินจำนวน 5 เกณฑ์ ซึ่งผลของผลรวม กับค่าเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจากมีผู้ประเมินคนหนึ่งไม่ประสงค์ จะแสดงความเห็นเรื่องนักแสดง การหาค่าเฉลี่ยจึงใช้ averagea ที่สามารถเลือกเฉพาะค่าที่มีตัวเลขมาหาค่าเฉลี่ย กราฟของรวม และเฉลี่ยจึงมีความหมายต่างกัน

แต่ในเกณฑ์ที่ผมเสนอให้นักศึกษาใช้มี
1. เนื้อหา
2. ตัวละคร
3. ภาพ
4. เสียง
5. เทคนิค
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ความสมบูรณ์ในภาพรวม
เพื่อให้นักศึกษาพึงระวังในระหว่างการจัดทำ ว่ามีประเด็นได้ต้องให้ความสำคัญ และต้องนำไปใส่ใน MS Powerpoint ในการนำเสนอคลิ๊ปวีดีโอ .. กรณีนี้ใช้สำหรับ BCOM 500 มีนักศึกษา 46 คน

วิธีการสอน/พัฒนา 37 วิธี

เรียบเรียงจากวิธีการสอน/พัฒนาใน Course Specification ของ CU-CAS
1. การบรรยาย (Lecture)
2. การอภิปราย (Discussion)
3. การสอนแบบสัมมนา (Seminar)
4. การสอนโดยใช้การนิรนัย/อนุมาน (Deductive) คือ อ้างความรู้เดิมให้ได้ความรู้ใหม่หรือข้อสรุป
5. การสอนโดยใช้การอุปนัย/อุปมาน (Inductive) คือ การสรุปจากความจริงย่อยหลายข้อมาเป็นข้อสรุป
6. การใช้กรณีศึกษา (Case)
7. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
8. ภาคสนาม (Field Work)
9. การไปทัศนศึกษา (Site Tour)
10. การใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
11. การแสดงละคร (Dramatization)
12. การสาธิต (Demonstration)
13. การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
14. การใช้เกม (Game)
15. การทดลอง (Experiment)
16. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)/ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน /การเรียนแบบผสมผสาน/การเรียนแบบออนไลน์
17. การฝึกปฏิบัติ (Practice)
18. การฝึกงาน/การฝึกสอน (Training)
19. การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Instruction)
20. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Instruction)
21. การสะท้อนความคิด (Reflective Thinking)
22. การสอนแบบสืบสอบ (Inquiry-based instruction)
23. การศึกษาค้นคว้าโดยอิสระ (Independent Study)
24. การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning)
25. การสอนโดยใช้โครงงาน (Project-based Instruction)
26. การเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ/ปราชญ์ (Professional Model)
27. การเรียนการสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
28. การนิเทศการปฏิบัติการวิชาชีพ (Supervision)
29. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
30. การให้คำปรึกษารายบุคคล (Individual Advisor)
31. กลุ่มติวเตอร์ (Tutorial Group)
32. การระดมสมอง (Brain Storming)
33. การสรุปประเด็นสำคัญ / การนำเสนอผลของการสืบค้นที่ได้รับมอบหมาย (Conclusion Presentation)
34. กิจกรรม (Activities)
35. การสอนข้างเตียง/เรียนจากผู้ป่วย (Problem Learning)
36. การฝึกแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior Presentation)
37. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Study)

การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ดร.วิยดา เหล่มตระกูล
ดร.วิยดา เหล่มตระกูล

14 มิ.ย.54 เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา มี อ.ดร.วิยดา เหล่มตระกูล และ อ.พงษ์วัชร ฟองกันทา เป็นวิทยากร มีเนื้อหาในการอบรม 4 เรื่อง ได้แก่
1) หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2) การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างเครื่องมือวัดด้านคุณลักษณะ
4) การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติ
สอดรับกับ มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Benjamin S. Bloom, 1956 อ้างอิงถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, 2540) มีดังนี้
1) ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจและความคิด เป็นความสามารถทางสถิปัญญา ซึ่งมี 6 ระดับ ดังนี้ (1) ความรู้ความจำ (Knowledge) (2) ความเข้าใจ (Comprehension) (3) การนำไปใช้ (Application) (4) การวิเคราะห์ (Analysis) (5) การสังเคราะห์ (Syntehsis) (6) การประเมินผล (Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) (2) การตอบสนอง (Responding) (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)
3) ด้านทักษะพิสัย  (Psychomotor domain/skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความชำนาญ หรือทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งมี 7 ระดับ ดังนี้ (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided Response) (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) (6) การปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ (Adaption) (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination)

มีโอกาสฝึกปฏิบัติสร้างเครื่องมือวัด แบ่งเป็น 3 ด้าน
1) ด้านพุทธพิสัย มีประเด็นวัดผล 6 ด้านคือ (1) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด (2) ความเข้าใจ (Comprehend) (3) การประยุกต์ (Application) (4) การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ (5) การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่ (6) การประเมินค่า ( Evaluation)
2) ด้านจิตพิสัย จะมีองค์ประกอบที่ใช้วัด 3 ส่วนคือ เป้าหมาย (Target) ทิศทาง (Direction) และความเข้มข้น (Intensity)
3) ด้านทักษะพิสัย จะมีจุดประสงค์ปลายทางได้ 3 แบบ คือ การปฏิบัติ (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (product) และวัดได้ 2 แบบคือวัดภาพรวม และวัดองค์ประกอบ
หมายเหตุ. มีบทเรียนที่ได้จากการอบรมมากมาย แต่ขอสรุปสั้น ๆ ไว้เพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณนักศึกษาฝึกงานที่ช่วยทดสอบข้อมูลกับระบบฐานข้อมูล

banner design
banner design

โดยปกติแล้ว .. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลไปได้ระยะหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบข้อมูลกับระบบ ซึ่งระบบประเมินบุคลากร 360องศา และระบบที่เกี่ยวข้องมีถึง 6 ส่วนหลัก ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้เข้าดำเนินการในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และแยกรายงาน เพื่อการติดสินใจที่แตกต่างกันอีกหลายรายงานหลัก .. ในส่วนของการทดสอบก็ต้องใช้ปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น เพื่อทดสอบในส่วนของการประมวลผลความถี่ และค่าเฉลี่ย ตามลักษณะบุคคลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท คือ บุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุน ซึ่งแต่ละสายก็จะแบ่งเป็นผู้มีตำแหน่งบริหารกับไม่มี

23 พฤษภาคม 2554 เป็นครั้งแรกที่มี คุณกิตติภพ ยอดศิริ (น้องมีน) และคุณณัฐพงษ์ ชมพูงาน (น้องปั้ม) นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เข้ามาช่วยในการทดสอบข้อมูลกับตัวระบบ ทำให้เห็นข้อมูลที่วิ่งเข้ามาในระบบก่อนเปิดใช้จริง และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงของระบบได้ทัน
+ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150190381742272&set=a.423083752271.195205.350024507271

ตัวชี้วัดกับผลงานการปฏิบัติงาน

18 มี.ค.54 ในการทำข้อตกลงภาระงาน หรือรายงานการปฏิบัติงาน มีช่อง “ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์” ซึ่งมีช่องย่อย 2 ช่องที่มักถูกนำมาพูดคุย คือ ตัวชี้วัด และผลงาน ผู้ปฏิบัติงานมักสอบถามว่าจะใส่อะไร  ก็มีตัวอย่างจากการประกันคุณภาพการศึกษาว่า ตัวชี้วัดนั้นต้องนับได้ ส่วนผลงานก็คือผลที่ทำได้ ซึ่งเป็นค่าที่นับได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
1. สอนหนังสือ ตัวชี้วัด 3 วิชา ผลงาน 3 วิชา
2. รับนักศึกษา ตัวชี้วัด 20 คน ผลงาน 19 คน
3. โครงการสะเปาบก ตัวชี้วัด 3 ชั่วโมง ผลงาน 5 ชั่วโมง
4. อบรมอบต.บ้านดง ตัวชี้วัด 3000 บาท ผลงาน 2500 บาท
5. จัดทำเอกสารประกอบการสอน ตัวชี้วัด 2 วิชา ผลงาน 1 วิชา
6. ส่งเอกสารให้ผู้ปกครอง ตัวชี้วัด ร้อยละ 100 ผลงาน ร้อยละ 90
7. รับโทรศัพท์ ตัวชี้วัด วันละ 8 ชม. ผลงาน วันละ 8 ชม.
8. ผลประเมินคุณภาพระดับสาขา ตัวชี้วัด 3.51 ผลงาน 3.52
9. ผลประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูล ตัวชี้วัด 4.21 ผลงาน 4.30
10. การบริการวิชาการแก่ชุมชน ตัวชี้วัด 2 ครั้ง ผลงาน 3 ครั้ง

ใช้ ppt นำเสนอผลการเปรียบเทียบ

job evaluation
job evaluation

1 มี.ค.54 ภาพนี้ทำขึ้นมาด้วย Powerpoint ว่าจะใช้เป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นการประยุกต์ใช้ Powerpoint นำเสนอแทนตัวอักษร เพราะแผนภาพจะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว .. ดังโบราณว่าไว้ 10 ปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น และสิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ และสิบมือคลำไม่เท่าพบสัจธรรมด้วยหนึ่งใจ
http://www.thaiall.com/office
ผมเพิ่มคุณธรรม เพราะเห็นเอกสารข้างล่างนี้ครับ
http://www.edupolice.org/edu_P/indicate/criterion/doc/3.1.21%283%29.pdf

ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของงานวิจัย

validity step
validity step

4 ก.พ.54 สรุปย่อเกี่ยวกับความเที่ยงตรง (validity) จากการฟัง อ.ทันฉลอง รุ่งวิทู บรรยายเรื่อง งานวิจัย โดยนำเสนอผ่านกรณีศึกษาที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
1. face Validity ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านประเด็น construct ด้วยการพบหน้าโดยตรง
2. convergent validity ตรวจว่าประเด็นคำถามใช้กับกลุ่มคำถามกลุ่มนั้น เพราะแบบสอบถามมีหลายกลุ่มคำถาม ไม่ใช่ถามนอกกลุ่ม หรือนอกเรื่อง
3. discriminant validity ตรวจว่าประเด็นคำถามถูกใช้นอกกลุ่มคำถามไม่ได้ ถ้าย้ายกลุ่มได้ หรือใช้มากกว่าหนึ่งกลุ่ม แสดงว่าเป็นคำถามที่ไม่ดี
4. content validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นรายละเอียดที่จะนำมาใช้ในแบบสอบถามอย่างชัดเจน
5. construct validity
ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายประเด็นในวัตถุประสงค์ครบถ้วน
6. internal validity ตรวจว่ามีวรรณกรรมอ้างอิง อธิบายการเชื่อมโยงระหว่างประเด็น หรือความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ ก็ต้องมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นั้นอย่างชัดเจน
7. external validity ตรวจว่าสามารถใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ่ม นอกกลุ่ม หรือทั่วไป แล้วผลไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ถามพฤติกรรมรักในวัยเรียนของนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชากรุงเทพ ย่อมต่างกับนักเรียนในชนบท ถ้าใช้กลุ่มอื่นได้แสดงว่ามีความเชื่อมั่นแบบนี้

http://changingminds.org/explanations/research/design/types_validity.htm
http://linguistics.byu.edu/faculty/henrichsenl/researchmethods/RM_2_18.html
http://www.activecampaign.com/blog/validity-in-research-design/
http://www.socialresearchmethods.net/kb/introval.php