SLiMS/Senayan 5 (Meranti)

install senayan
install senayan

12 ต.ค.55 ได้ทดสอบติดตั้งระบบจัดการห้องสมุดบนเว็บไซต์ โปรแกรมนี้ชื่อ SLiMS/Senayan 5 (Meranti) update 6 มีแหล่งเผยแพร่ที่ http://slims.web.id/web/ เป็น open source ที่พัฒนาโดยคนอินโดนีเซีย และมีคนไทยได้พัฒนาส่วนภาษาไทยให้กับเขา เราจึงมี option ภาษาไทย สำหรับการใช้งานระบบนี้

สรุปเฉพาะประเด็นที่สำคัญ เพราะการติดตั้งไม่ยาก
1. มี web server ตัวใดก็ได้
ที่ผมใช้คือโปรแกรมของ http://www.thaiabc.com
2. มี mysql server ที่มี phpmyadmin
ผมก็ใช้ของ thaiabc.com ซึ่งที่มี user:admin password:p
3. ใช้ phpmyadmin ไปสร้าง database ชื่อ senayandb
4. เข้าไปแก้ไขแฟ้ม sysconfig.inc.php
กำหนด user และ password ให้ตรงกับ mysql
5. หากติดตั้งเสร็จแล้ว ระบบเตรียมรหัส admin มาให้แล้ว
user: admin password: admin
6. ถ้าติดตั้งแล้วเขาเตือนว่า ให้ลบห้อง /install เพื่อความปลอดภัย
7. download script ของโปรแกรมแล้วคลาย zip ลงห้อง root
http://slims.web.id/download/slims5-meranti-update6.tar.gz
8. ภาพประกอบ 31 ภาพ
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.532269490120520.133480.506818005999002&type=1

บันทึกเดิมเรื่องนี้ เมื่อ 25 ก.พ.2555
http://www.thaiall.com/blog/burin/3955/

LiMS (Senayan Library Management System) is a free and open source Library Management System. It is build on free and open source technology like PHP and MySQL. SLiMS provides many features such as bibliography database, circulation, membership management and many more that will help “automating”  library tasks. This project was sponsored by Pusat Informasi dan Humas Kemdikbud and licensed under GPL v3.

เสนายัน (SENAYAN) คือ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติโอเพนซอร์ส  สัญชาติอินโดนีเซีย ได้รับรางวัล ICT Award  ของอินโดนีเซียเป็นเครื่องหมายรับประกันว่าถึงแม้จะเป็นของฟรี แต่ก็มีความสามารถสูง เขียนด้วยภาษา  PHP และใช้ฐานข้อมูล MySql  เช่นเดียวกับ OpenBiblio แต่โดยภาพรวมอาจจะมีความสามารถไม่ด้อยกว่า OpenBiblio และถูกพัฒนาให้ใช้ภาษาไทย โดย คุณประสิทธิ์ชัย  เลิศรัตนเคหกาล ซึ่งผู้พัฒนาภาษาไทยให้กับ OpenBiblio ต่อยอดจากต้นฉบับประเทศอินโดนีเซีย ให้ใช้งานภาษาไทย

คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ ทางออกการศึกษาไทย

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

โดย กมลทิพย์ ใบเงิน

คนคุณภาพ” กำลังกลายเป็น “วิกฤติ” ในภาคการผลิตแทบทุกองค์กร รวมถึงภาคราชการ แน่นอนกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หนีไม่พ้นข้อครหาเหล่านี้ ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบการจัดการศึกษาภาพใหญ่ของประเทศถึงร้อยละ 90 นับเป็น “ตัวป้อนคน” เข้าสู่ภาคแรงงานทั้งรัฐและเอกชนมากที่สุด แต่ “ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) นักคิด นักเขียน นักบริหารมือทองระดับมันสมองของไทย ชี้ทางออกของการศึกษาไทยที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
เผอิญเราเป็นเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่สัมผัสกับคนเยอะมาก ในหนึ่งวันเรามีลูกค้าเข้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น 8 ล้านคน ตกเดือนละ 20 ล้านคน บางคนไม่ซ้ำหน้า เราเลยสัมผัสกับคนเยอะของสังคมไทย ผมค่อนข้างจะใกล้ชิดกับการมองภาพรวมของสังคมไทย มองสังคมและมองประเทศไทย ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ผมห่วงสังคม ห่วงประเทศ ห่วงคุณภาพของเด็กไทย เราก็ห่วงของเราไปอย่างนี้มาตลอดคงไม่ได้แล้ว ต้องลงมือทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้สังคมไทยดีขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลานก่อศักดิ์ กล่าวด้วยรอยยิ้ม
ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า พลังหนุ่มสาวจะกลายเป็นเจ้าของประเทศไทย แต่ถามว่าวันนี้ “ผู้ใหญ่” ในบ้านเมืองเราได้เตรียมคนหนุ่มสาวให้พร้อมเพื่อจะมารับ “ไม้ผลัด” ในการดูแลบ้านเมืองจากรุ่นพ่อแม่กันหรือยัง
ด้วยสภาพความเป็นจริงการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ไม่สามารถฝากอนาคตประเทศเอาไว้ได้ ด้วยระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เต็มไปด้วยปัญหาด้าน “คุณภาพการศึกษา” ที่ด้อยลงทุกวัน ไม่ว่าจะวัดคุณภาพในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งที่ในสถาบันการศึกษามีจำนวน “ศาสตราจารย์” และ “ดอกเตอร์”  มากกว่าในอดีต
“ปัจจุบันภาคธุรกิจบ่นคุณภาพปริญญาตรีไม่น่าพอใจ  ส่วนสถาบันอุดมศึกษาก็แก้ตัวว่าเมื่อรับขยะเข้ามาเรียน จบออกไปก็ยังเป็นขยะ ตรงนี้เป็นปัญหา แต่จะให้เรามาแก้การจัดการศึกษาตลอด 16 ปีนั้นคงไม่ไหว เอาแค่ 4 ปีที่ทุกวันนี้ ภาพรวมเด็กจบ ม.ปลายก็มาเดินเล่นในรั้วมหาวิทยาลัย เดินจากตึกโน้นไปตึกนี้ เพื่อเรียนสะสมหน่วยกิต ขณะเดียวกันก็ทำกิจกรรมแบบเด็กๆ ไปด้วย
ดังนั้นเวลา 4 ปีในสถาบันอุดมศึกษา เด็กของเราไม่ได้ถูกฝึกให้เรียนจบแล้วเพื่อมาทำงานได้  มีแต่เรียนๆ เล่นๆ จ่ายเงินครบก็จบแล้ว แต่จบมาแล้วตกงาน แม้จะมีสหกิจศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่เด็กได้ฝึกปฏิบัติแค่เทอมเดียวย่อมไม่เพียงพอ ต่อการเข้าสู่โลกของการทำงานจริงเมื่อสำเร็จการศึกษา”
ก่อศักดิ์” ฟันธงว่าการจัดการศึกษาที่สูญเปล่าแบบนี้ ย่อมไม่เกิดผลดีต่อเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และประเทศชาติอย่างแน่นอนในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการ “อาสา” รับใช้บ้านเมืองด้วยการจัดตั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (Panyapiwat Institute of Management) หรือ PIM เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการจัดตั้งจาก “บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)” นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกๆ ในประเทศไทยที่เป็น Corporate University หรือสถาบันการศึกษาที่เชื่อมโยงกับธุรกิจ
“วันนี้เราได้เปิดหลายสาขาวิชาแล้ว ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างคนเพื่อเรา เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่เราอย่างเดียว ไปทำที่ไหนก็ได้ สาขาการจัดการอาคารและทรัพยากรกายภาพ (Building and Facilities Management) จบแล้วก็สามารถไปทำงานในวงการอสังหาริมทรัพย์ ดูแลอาคารสูง และต้องไปฝึกงานกับสถานประกอบการจริง และถูกจองตัวตั้งแต่ยังเรียนไม่จบอยู่ อย่างนี้ก็ไม่ได้ผลิตเพื่อเรา และที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ Luxury Product Management ซึ่งจริงๆ เราไม่ได้มีสินค้าลักชัวรี่เลย คนที่จบมาเราก็ให้วงการลักชัวรี่ไป สาขาภาษาจีนธุรกิจก็ได้ไปฝึกงานกับองค์กรจีน เช่น ทีซีแอล, คิงเพาเวอร์, พารากอน ซึ่งสามารถได้เรียนและฝึกภาษากับเจ้าของภาษาหลายสำเนียง ไม่ได้เรียนรู้จากซาวนด์แล็บเพียงอย่างเดียว ที่น่ายินดีปีนี้เด็กมาสมัครเข้าเรียนจำนวนถึง 2,300 คน แต่เรารับได้เพียง 1,900 คน”
ก้าวย่างที่สำคัญของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ “ก่อศักดิ์”  กล่าวว่า พีไอเอ็มมีโครงการจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” (Innovative Agricultural Management) เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จะมีพิธีลงนามความร่วมมือในวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555 โดยจะร่วมมือกันพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตรทั้งหมด ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อพี่น้องเกษตรกรไทยโดยเฉพาะชาวนา
“อาจจะเกิดการรวมพื้นที่ทำนาข้าวจากคนในชุมชน ชุมชนละ 20 ไร่ รวมเป็น 2,000 ไร่ นำระบบการบริหารจัดการ เทคนิคพิเศษต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็ลดจำนวนชาวนาลงเพื่อยกระดับให้มาทำอาชีพอย่างอื่น อย่างจีนพลเมืองที่ทำนามีร้อยละ 60 ขณะที่สหรัฐอเมริกามีร้อยละ 6 ของประชากรในประเทศ แต่ปัจจุบันชาวนาสหรัฐอเมริกาลดเหลือเพียงร้อยละ 1 แต่สามารถทำนาเลี้ยงคนทั้งประเทศได้”
โครงการจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” เริ่มจากการที่พีไอเอ็มส่งนักศึกษาไปเรียนร่วมกับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในบางรายวิชา  ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความเชี่ยวชาญสูง รวมถึงการใช้ห้องปฏิบัติการด้วย ส่วนวิชาที่เกี่ยวกับศาสตร์การบริหารจัดการ ทางพีไอเอ็มจะเป็นผู้สอนเอง ในอนาคตมีโครงการขยายกรอบความร่วมมือไปถึงขั้นการร่างหลักสูตรใหม่ร่วมกัน รวมถึงการให้ปริญญาร่วม 2 สถาบัน (Double Degree) คุณลักษณะของบัณฑิตที่จบจากพีไอเอ็มจะเป็นคน “เรียนเป็น คิดเป็น ทำงานเป็น เข้าใจวัฒนธรรม รักความถูกต้อง”
“ผมเชื่อมั่นว่าการจัดการศึกษาแบบ คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ (Corporate University) จะเป็นทางออกของการศึกษาไทย และผมอยากเชิญชวนให้ภาคธุรกิจเครือข่ายใหญ่ของไทย 30-40 บริษัทมาช่วยกันเปิดมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง เรียนจริงปฏิบัติจริง จบแล้วมีสัดส่วนของการได้ทำงานจริง เพราะการให้ทุนการศึกษาจำนวน 1 หมื่นทุน แม้ช่วยการศึกษาชาติได้ก็จริง แต่ไม่ใช่การช่วยจัดการศึกษาชาติได้แบบยั่งยืนครับ”
“ก่อศักดิ์” กล่าวอีกว่า อุปสรรคสำคัญอีกอย่างหนึ่งของคนไทยในการจัดการศึกษา มาจากค่านิยมของพ่อแม่ ผู้ปกครองที่คลั่งใบปริญญา ไม่คำนึงถึงการเรียนจบแล้วทำงานได้จริง แตกต่างจากประเทศเยอรมนีที่ถือการทำงาน หรือความสำเร็จในการทำงานเป็นหลัก ใบปริญญาเป็นรอง คอร์ปอเรท ยูนิเวอร์ซิตี้ คือทางออกของการศึกษาไทยอย่างที่ซีพีทำอยู่แล้ว เราอยากให้เครืออื่นทำตาม แม้ปัจจุบันมีสหกิจศึกษาซึ่งเป็นความคิดที่ดี แต่ยังไม่เพียงพอต่อการฝึกงานเพียงแค่เทอมเดียว

http://www.komchadluek.net/detail/20120926/140877/ชูคอร์ปอเรทยูนิเวอร์ซิตี้.html
โดย…กมลทิพย์  ใบเงิน

คำสอนของขงจื้อ

คำสอนของขงจื้อ
คำสอนของขงจื้อ

20 ก.ย.55 มีผู้ใหญ่เล่าเรื่องนี้ให้ผมฟัง 2 รอบ มารอบหลัง จึงมีโอกาสค้นจากเน็ต และได้รายละเอียดมาชวนแลกเปลี่ยนดังนี้

คำสอนของขงจื๊อ (confucius) สะท้อนให้เห็นถึง อุดมคติของปัญญาชน เช่นเขาเอง
คือ คำสอนที่ว่าด้วย ความประพฤติของชาว “หยู” (ผู้ที่เชื่อในวิถีของวิญญูชน)
ซึ่งไม่ล้าสมัยเลย แม้มองจากมุมของคนในยุคปัจจุบัน ขงจื๊อกล่าวว่า ชาวหยูที่แท้
จะต้องแสวงหา ความรู้ สร้างเสริม คุณธรรม ความสามารถอย่างไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้
เขาจะต้องพยายามทำสิ่งที่ตนศึกษาเล่าเรียนมาให้ปรากฏเป็นจริง และพร้อมที่จะรับใช้บ้านเมืองเมื่อมีโอกาส

ในเส้นทางการพัฒนาตัวเองตามทัศนะของขงจื๊อ

จำแนกคนออกเป็น 5 ระดับ คือ สามัญชน บัณฑิต ปราชญ์ วิญญูชน และอริยบุคคล โดยเรียงลำดับจากขั้นต่ำไปขั้นสูง

ระดับที่ 1 สามัญชน คือ บุคคลที่ไม่ค่อยเคารพปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สามารถกล่าวเขียนวาจาที่สะท้อนความมีสติปัญญา ไม่เคยคิดที่จะคบนักปราชญ์ ชีวิตไม่มีเป้าหมาย รู้แต่เรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีอุดมคติที่ลึกซึ้งกว้างไกล ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองในเชิงปณิธาน ชอบเปลี่ยนความคิดไปตามกระแส ที่เข้ามากระทบ และไม่ยืนหยัดในหลักการ
ระดับที่ 2 บัณฑิต คือ บุคคลที่แม้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ลึกซึ้ง ไม่สามารถบำเพ็ญคุณธรรมอย่างหมดจด แต่ก็มีความรู้และความเชื่อบางอย่าง ทำงานและประพฤติตัวตามหลักการบางอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงระดับความรู้ความเข้าใจจะมีข้อจำกัดก็ยึดกุมความรู้ความเข้าใจได้ในระดับจำกัดนั้นอย่างแม่นยำ ถึงระดับความสามารถในการพูดจะมีข้อจำกัด ก็เข้าใจเหตุผลที่กำลังพูดอย่างแท้จริง ถึงระดับความสามารถในการสื่อด้วยความประพฤติจะมีจำกัด ก็ระมัดระวังความประพฤติของตัวเองเสมอ พวกเขาจึงสามารถเผชิญความจริงภายใต้ข้อจำกัดของตัวเอง
ระดับที่ 3 ปราชญ์ คือ บุคคลที่ประพฤติตัวอยู่ในทำนองคลองธรรมมีวาจาเที่ยงแท้เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความรู้และคุณธรรมมากพอที่จะเป็นแบบอย่างแก่ราษฎรทั่วแผ่นดินได้
ระดับที่ 4 วิญญูชน คือ บุคคลที่ศึกษาความรู้บ่มเพาะคุณธรรมอย่างทุ่มเท พูดจริงทำจริง ไม่บ่นโทษ ไม่นินทา ไม่พยาบาท มีคุณธรรมสูงส่ง แต่ไม่เย่อหยิ่งทะนงตน มีสติปัญญาเลิศล้ำ แต่กลับมีท่าทีอบอุ่น นอบน้อม จนดูคล้ายไร้สติปัญญา ทั้งที่แท้ที่จริงแล้วมีความสามารถอันลึกล้ำหาผู้ใดเสมอยาก
ระดับที่ 5 อริยบุคคล คือ บุคคลที่มีจิตใจสูงส่งน่าบูชาดุจฟ้าดิน แต่สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีสติปัญญาแจ่มจ้าดุจแสงแห่งสุริยันจันทรา สามารถหยั่งรู้รากเหง้าของสรรพสิ่ง ยามดำเนินมรรคธรรมจะประหนึ่งฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตโดยไม่ลำเลิก และเหล่าราษฎรทั้งปวงก็หารู้ไม่ว่ารับบุญคุณท่านแล้ว คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่า ท่านได้ทำอะไรบ้าง ไม่ทราบว่าท่านมีคุณธรรมสูงส่งเพียงใด ดุจเดียวกับที่ไม่เข้าใจความลับของฟ้าดิน

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=13083

31 นโยบายหลักด้านการศึกษา

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์  กรุงเทพมหานคร

ศ.ดร.สุชาติ  ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวให้นโยบายถึงการทำงานในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  โดยได้ขับเคลื่อนการทำงานตาม  “31 นโยบายหลักด้านการศึกษา” ๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่  ๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะโยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม  ๔) สอบ O-Net ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  ๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด   ๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา   ๗) แท็บเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา  ๘) เรียน ม.๖ จบได้ใน ๘ เดือน   ๙) กองทุนตั้งตัวได้   ๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน   ๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN  ๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖  ๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship  ๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan  ๑๕) ครูมืออาชีพ  ๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center   ๑๗) การศึกษาดับไฟใต้   ๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA   ๑๙) กระทรวงศึกษาไทย ปลอดภัย ไร้บุหรี่   ๒๐) ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ   ๒๑) อัจฉริยะสร้างได้   ๒๒) อินเทอร์เน็ตตำบลและหมู่บ้าน  ๒๓) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ   ๒๔) โรงเรียนในโรงงาน   ๒๕) อาชีวะไทย ก้าวไกล ใช้เทคโนโลยี   ๒๖) สร้างพลังครู  ๒๗) หลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น   ๒๘) โรงเรียนร่วมพัฒนา   ๒๙) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา  ๓๐) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ   ๓๑) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/477/477.aspx

นอกจากนั้นยังได้เน้นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา อาทิ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ,  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน , โรงเรียนในโรงงาน , การตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ รวมทั้งนโยบายเทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือนแล้ว ได้กล่าวถึงเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเราเอง ซึ่งก็คือการ “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” โดยอธิบายว่าหากเป็นลูกของคุณ คุณจะทำอย่างไร คือให้มองเด็กๆ ให้เป็นลูกหลานของเรา ขณะเดียวกันครูอาจารย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารก็ควรมองให้เป็นเหมือนน้องชายน้องสาว  เพราะว่าผู้บริหารก็เหมือนครูรุ่นพี่ ซึ่งต้องมาช่วยเราสอนลูกของเราให้มีอนาคตมีการศึกษา

นายศักดา  คงเพชร  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า  ตนต้องการให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สร้างบุคลากรคุณภาพ  ครูและนักศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ  แต่มีความเป็นห่วงว่าเงินงบประมาณ ปี2556  ซึ่งได้น้อยลงจะทำให้การพัฒนาอาชีวศึกษาที่เข้มแข็งทั้งคุณภาพ และประมาณได้มากน้อยเพียงใด ฝากให้ส่วนกลางจัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษาให้ชัดเจนเพื่อช่วยให้การจัดสรรเงินงบประมาณมีความเป็นธรรม  และตรงกับความต้องการมากที่สุด

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประสานงานขอรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นของกลางที่ไม่สามารถใช้งานได้มาเป็นวัสดุฝึก  หรือนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีรายได้โดยแปลงทักษะวิชาชีพให้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ รวมทั้งต้องเตรียมพร้อมการแข่งขันในประชาคมอาเซียน  โดยเน้นให้เด็กสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ  และภาษาอาเซียน

โดย กลุ่มประชาสัมพันธ์ 10 สิงหาคม 2555

คิดมากจนไม่ได้ทำ

คิดมากจนไม่ได้ทำ กับ ทำมากจนไม่ได้คิด
คิดมากจนไม่ได้ทำ กับ ทำมากจนไม่ได้คิด

คิดมากจนไม่ได้ทำ โดย ดร.บวร ปภัสราทร

งานจะสำเร็จได้นั้นว่ากันว่าต้องมีการวางแผนที่ดีเป็นเบื้องต้น แต่มีแผนที่ดีไม่ได้หมายความว่างานทุกงานจะประสบความสำเร็จ

งานจะสำเร็จได้ ต้องมีคนลงมือทำงานนั้น ไม่ว่างานเล็กงานใหญ่ก็ต้องลงมือทำเสียก่อนงานจึงจะเสร็จได้ หลายงานที่ว่ากันว่ามีการวางแผนมาเป็นอย่างดีนั้นกลายเป็นวิมานในอากาศคือมีแต่แผนสวยหรู แต่งานจริงไม่เกิดขึ้น ยิ่งในยามที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จะทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีขั้นตอนการวางแผนที่พิสดารเกินกว่าที่บ้านอื่นเมืองอื่นเขาทำกัน เกาหลีมีแผนไอทีไม่กี่หน้ากระดาษ แต่สร้างงานจริงได้อย่างมหาศาลจนเปลี่ยนให้เกาหลีเป็นเจ้าตลาดผลิตภัณฑ์ไอทีหลากหลายชนิดได้อย่างน่ามหัศจรรย์ บ้านเรามีแผนไอทีสองสามแผน แต่ละฉบับหนานับร้อยหน้า แผนก็ดีจริงๆ ด้วย แต่วันนี้บ้านเราก็ยังห่างไกลจากเกาหลีอย่างมากมาย แผนไอทีไม่กี่หน้าเอาชนะแผนไอทีหนานับร้อยหน้าได้อย่างสบายเพราะเกาหลีมีแผนแล้วมีคนลงมือทำตามแผนอย่างจริงจังจนกระทั่งบรรลุผล
อะไร ทำให้คนมัวแต่คิดแผน หรือคิดว่าจะทำตามแผนได้อย่างไร จนกระทั่งรีรอไม่ลงมือทำงาน คิดเรื่องแผนว่าดีไม่ดีอย่างไรจนไม่มีใครลงมือทำตามแผนนั้น แผนดีมีอยู่จริง แต่งานดีไม่มีสักเรื่องที่เกิดขึ้น เหตุที่คนมัวแต่ถกเถียงกันเรื่องแผนนั้นมาจากการที่ไม่ได้ตกลงกันให้ชัดเจนก่อนว่าคำว่าประสบความสำเร็จนั้นคือเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้ายังมองไม่ชัดว่าแค่ไหนเรียกว่าประสบความสำเร็จในงานนั้น ต่างคนต่างก็นิยามความสำเร็จของตนเองขึ้นมาแล้วอนุมานไปเองว่าคนอื่นก็ใช้นิยามของความสำเร็จของงานนั้นเหมือนกับที่ตนเองเชื่อ การถกเถียงจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ว่าจะเริ่มงานกันอย่างไร เพราะปลายทางของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเริ่มต้นลงมือทำงานจะเกิดขึ้นได้เร็วช้าขึ้นกับว่าเราตกลงความหมายของคำว่างานสำเร็จได้เร็วเพียงใด การตกลงเรื่องความสำเร็จนี้ ขอเพียงแค่ทุกคนยอมรับว่าคำว่าความสำเร็จของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกันไปตามอายุงานและขีดความสามารถของแต่ละหน่วยงาน ผลงานอย่างหนึ่งที่เรียกว่าประสบความสำเร็จในหน่วยงานหนึ่งอาจหมายถึงผลงานที่ล้มเหลวในอีกหน่วยงานหนึ่งก็ได้
เริ่มทำงานมาแค่สองสามปี คงไม่สามารถนิยามความสำเร็จของงานได้เหมือนกับหน่วยงานที่ทำงานมาเกือบร้อยปี มีคนแค่สามสี่คนคงไม่อาจใช้นิยามความสำเร็จของงานได้เหมือนกับหน่วยงานที่มีคนนับร้อยนับพัน ยอมรับและรู้จักขีดความสามารถของกลุ่มของตนได้มากเท่าใด เวลาที่ใช้ในการตกลงนิยามของความสำเร็จก็เร็วขึ้นเท่านั้น

หลายครั้ง ที่มีประเด็นที่มาถกเถียงกันจนไม่ได้ลงมือทำงานกันสักที นั้นมาจากข่าวลือบ้าง มาจากคำติเตียนอย่างไม่สร้างสรรค์บ้าง มาจากคำแนะนำของบางคนที่ดูเหมือนว่าจะหวังดีแต่จริงๆ แล้วเจตนาร้ายคือไม่ต้องการให้งานเดินหน้าได้บ้าง โบราณกล่าวไว้ว่าจิ้งจกทักให้รับฟังก็จริง แต่ถ้าไม่ยอมออกจากบ้านไปไหน เพราะมัวแต่กังวลกับจิ้งจก การงานคงไม่อาจเดินหน้าไปได้ ทั้งนี้ ต้องยอมรับความจริงไว้ด้วยว่าหลายคนรักษาหน้าที่การงานของตนไว้ได้ด้วยการคอยติเตียนงานของคนอื่นว่าเป็นไปไม่ได้บ้าง ว่าวางแผนไม่ดีพอบ้าง ทั้งๆ ที่พอย้อนถามกลับว่าที่ต้องทำเพิ่มเติมนั้น ต้องทำอะไรบ้าง คนเหล่านี้ก็ตอบไม่ได้ ดังนั้น หากไม่อยากกังวลกับสารพัดเรื่องจนรีรอไม่กล้าลงมือทำงานกันอย่างจริงจัง ต้องรู้จักเอาหูไปนา เอาตาไปไร่กับคำนินทาหรือคำเล่าลือต่างๆ เกี่ยวกับงานนั้นเสียบ้าง ถ้าตกลงกันเรื่องนิยามของความสำเร็จของงานนั้นได้แล้วให้ลงมือทำทันที อย่ากลัวคำนินทา อย่ารีรอกับสารพัดคำแนะนำเสนอแนะต่างๆ มากจนเกินไปเพราะลงมือทำงานแล้วงานจะดีเลวอย่างไรก็ยังบอกได้ว่างานได้เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าทีมงาน มีคนที่ชิงดีชิงเด่นกันมาร่วมทำงานกัน ปรากฏมามากต่อมากแล้วว่างานจะเริ่มต้นได้ช้ามาก เพราะหมดเวลาไปกับการที่ต่างฝ่ายต่างหาทางกีดกันอีกฝ่ายหนึ่งให้ห่างไกลจากความสำเร็จของงาน ถ้าไม่ใช่งานที่ฉันได้ประโยชน์แล้ว ฉันไม่ยอมให้ใครได้หน้าได้ตาจากความสำเร็จของงานที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าอยากเริ่มลงมือทำงานตามแผนได้เร็ว ต้องขอให้ทุกคนที่มาทำงานด้วยกันแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกไปก่อน ขอให้ลงมือทำงานก่อนแล้วค่อยมาชิงดีชิงเด่นกันทีหลัง หรือถ้าทำได้ขออย่าได้เลือกทีมงานที่มัวแต่ชิงดีชิงเด่นกัน เลือกคนไม่เก่งแต่ไม่เกี่ยงงานดีกว่าเลือกคนเก่งที่อิจฉาตาร้อนไปหมดทุกเรื่อง การชิงดีชิงเด่นกันนั้นดีสำหรับงานที่ต่างคนต่างทำ ชิงดีชิงเด่นในงานเดียวกันไม่เคยทำให้งานนั้นสำเร็จได้

ความกังวล ที่มากเกินไปกับการที่ผลงานที่ได้อาจไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่คาดหวังไว้ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่หลายงานจบลงที่ว่าได้คิดงานนั้น แต่ไม่ได้ทำงานนั้น ถ้าคาดหวังว่างานนั้นต้องสมบูรณ์แบบมากเกินไป ก่อนลงมือทำงานก็เลยต้องคิดมากหน่อย คิดมากไปจนกระทั่งต้องมาคบคิดเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ถึงหนึ่งในล้าน วันเวลาผ่านไปก็ยิ่งสนุกกับการคิดประเด็นที่สมมุติขึ้นมาว่าถ้าเกิดเช่นนี้ ต้องทำอะไร จนหมดสนุกที่จะลงมือทำงานอย่างจริงจัง ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่ายักษ์ใหญ่ในวงการไอทีไม่เคยรีรอที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาพร้อมกับความบกพร่อง ออกตัวมาก่อนแล้วค่อยตามแก้ไขภายหลัง ทุกวันนี้ เราจึงได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ไอทีที่ออกตัวเร็วแต่มีการตามแก้ไขสารพัดเรื่องอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อย่ากังวลกับความสมบูรณ์แบบของผลงานมากเกินไป แต่ให้เร่งลงมือทำไปก่อน ผิดพลาดประการใดก็น่าจะมีเวลาแก้ไขให้ถูกต้องได้ ลงมือทำงานด้วยกันดีกว่าลงแรงวิตกสารพัดเรื่องร่วมกัน

มีหลายงาน ที่ผู้บริหารบอกให้ทำเพื่อให้ดูเหมือนว่าได้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้ผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งที่จริงแล้วผู้บริหารไม่ได้อยากให้เกิดผลงานอย่างที่บอกไว้ แค่มีงานไว้ใช้บอกกล่าวเป็นการแก้ตัวว่ากำลังอยู่ระหว่างดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง งานแบบนี้ลงมือทำได้ยากเพราะมีความไม่แน่นอนว่าจะให้ทำอะไรกันแน่ ดังนั้น ถ้าเห็นว่างานใดผู้บริหารสรรหามาให้ทำเพียงเพื่อใช้แก้ตัวในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็อย่าตกอกตกใจที่งานไม่เดินหน้าเสียที แค่แกล้งทำท่าทำทางว่ากำลังจะลงมือทำก็เป็นที่พอใจของผู้บริหารแล้ว เคล็ดลับคือถ้าต้องทำงานภายใต้การบริหารของใคร ให้สร้างทักษะในการแยกแยะระหว่างงานที่ผู้บริหารหวังว่าจะให้เกิดขึ้นจริง กับงานที่มีไว้ใช้แก้ตัวในบางเรื่อง ถ้าแยกแยะไม่ได้ให้ระวังให้ดีว่าเราจะไปสร้างความสำเร็จกับงานที่ผู้บริหารไม่ตั้งใจจะให้เสร็จโดยไม่รู้ตัว งานสำเร็จแต่คราวนี้ตัวเราก็เสร็จตามไปด้วย

โดย ดร.บวร ปภัสราทร
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ประจำคอลัมน์ “ก้าวไกล วิสัยทัศน์

http://www.bangkokbiznews.com

ปล. ผมพบเรื่องนี้ เพราะ อ.อุดม ไพรเกษร ได้ share link มาให้อ่าน เมื่อวันที่ 30 ก.ค.55
แต่กว่าผมจะเข้ามาเก็บประเด็นได้ ก็21 ส.ค.55 แล้วครับ

open book and open quipment sample

ติ้งต่างว่า นี่คือ ตัวอย่างข้อสอบแบบ open อุปกรณ์
สามารถนำ samsung galaxy tab 10.1
ที่มหาวิทยาลัยจัดหาให้กับนักศึกษาใช้ประกอบการเรียนการสอน
1. จากหนังสือ “หนังสือสตีฟ จ็อบส์ โดยวอลเตอร์ ไอแซคสัน
ที่ได้ฟังบรรยายจากคุณสุทธิชัย หยุ่น และสามารถดาวน์โหลดบทความที่เกี่ยวข้องได้จากระบบอีเลินนิ่งนั้น
คำว่า สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field)
ที่ปรากฎในบทที่ 11 จงตอบคำถาม 2 ข้อ คือให้เหตุผลว่าความคิด หรือพฤติกรรมข้างต้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับสตีฟ จ็อบส์
และคนรอบตัวเขามีความคิดอย่างไร ให้ยกตัวอย่างชื่อบุคคล พร้อมคำกล่าวของคนเหล่านั้นมาพอสังเขป
2. จงบอกชื่อ app บน android และนำเสนอประสบการณ์การใช้งาน
ในประเด็นได้ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งมี 4 ด้าน
และ capture screen ที่มีชื่อของท่านใน apps
ส่งไปตามอีเมลที่ระบุในข้อสอบ ในระหว่างการสอบ

การประยุกต์ใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา

tabletpc for education
tabletpc for education

มีผู้รู้สรุปว่าการวิเคราะห์คือการแยก หากจะวิเคราะห์ประโยคที่ว่า “ประยุกต์ใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา” ก็จะพบว่ามีคำสำคัญทั้งหมด 3 คำ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ (Application) แท็บเล็ต (Tablet PC) และการศึกษา (Education) คำที่เชื่อมโยงคำอื่นคือคำว่าการประยุกต์ใช้ ก็ต้องมาวิเคราะห์กันต่อว่าแท็บเล็ตนำมาประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง และการศึกษาจะสามารถใช้แท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร คำว่าการศึกษามีผู้เกี่ยวข้องมากมาย อาทิ นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน รัฐมนตรีฯ ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชา วัด และชุมชน ซึ่งทั้งหมดควรเข้าใจคำว่าแท็บเล็ต
แต่ละกลุ่มมีบทบาทเกี่ยวข้องที่ต่างกัน อาทิ เป้าหมาย กระบวนการ ความคาดหวัง ระบบ กลไก บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ ค่านิยม วัฒนธรรม และทัศนคติ กรณีที่นักเรียน ป.1 ได้แท็บเล็ตล็อตแรกเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือ ครูใหญ่ที่ต้องเข้าใจ วางแผน มอบหมาย กำกับ ติดตามให้คุณครูได้ใช้งานอุปกรณ์ตามแผนการจัดการเรียนการสอน และกำหนดแนวการประเมินให้คุณครูประจำชั้นไว้ถือปฏิบัติ และเข้าใจตรงกันทั้งชั้น ดูเหมือนในระดับโรงเรียนทุกอย่างเริ่มต้นที่ครูใหญ่ที่รับนโยบายจากกระทรวงฯ และครูใหญ่ก็ควรเข้าใจการประยุกต์ใช้แท็บเล็ต ถ้าครูใหญ่ใช้ไม่เป็นหรือไม่เข้าใจ แล้วจะกำกับสนับสนุนให้ครูน้อยได้ใช้เครื่องมือสุดวิเศษที่เปรียบเสมือนแก้วสารพัดนึกนี้ได้อย่างไร
เมื่อนโยบายพร้อมอุปกรณ์มาถึงครูน้อยที่สอนในชั้นป.1 ก็จำเป็นที่ผู้รับผิดชอบต้องร่วมกันวางแผนรับมือกับอุปกรณ์ ศึกษาใช้งานให้ชำนาญในระดับหนึ่ง  จึงจะสามารถควบคุมการใช้งานของนักเรียนในประเด็นว่าโดยใคร เมื่อไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร เพราะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไฟฟ้า เปราะบาง ซับซ้อน มาใหม่ และมีมูลค่า หากวางแผน กำกับ ติดตาม พัฒนาได้ไม่ดีก็จะส่งผลให้การใช้ประโยชน์นั้นขาดประสิทธิภาพ แล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย หรือ ตัวชี้วัด/มาตรฐานและจุดเน้นตามหน่วยการเรียนรู้ ก็จะไม่บรรลุตามที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายกับการศึกษาไทยในพ.ศ.นี้

http://www.thairath.co.th/content/edu/235477

นิเทศอาจารย์ ปี 2555 เรื่อง มคอ. ประกัน และข้อตกลงภาระงาน

21 ก.ค.55
21 ก.ค.55

21 – 22 ก.ค.55 มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิเทศอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ และปรับความเข้าใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามกรอบ มคอ. ในปีการศึกษา 2555 โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ท่านอธิการบดีเป็นผู้นำบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำข้อตกลงภาระงาน การทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ การตัดเกรดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีผู้ช่วยบรรยายได้แก่ ดร.วันชาติ นภาศรี และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มีการทำ workshop เรื่องของการกำหนดกระบวนการการประกันคุณภาพ และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มข้อตกลงภาระงาน

22 july 2555
22 july 2555

การรวมประชุมครั้งนี้ ฝึกบันทึกประเด็นที่ใช้ mindjet บน samsung galaxy tab 10.1 แล้วส่งภาพไปเก็บใน dropbox แล้ว export กลับมาเข้า samsung แล้วใช้ fb apps อัพโหลดเข้า group ของเพื่อนบุคลากร เพื่อชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร หลายคำอ่านยาก แต่พอเดาได้

บรรยากาศ
บรรยากาศ

เพลง ม.ให้อะไร

เพลง  ม.ให้อะไร
ศิลปิน  พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เขาหวังเขารอด้วยความแกร่ง
รอนแรมจากครอบครัวมา
หวังปริญญามหาวิทยาลัย
อุดมการณ์อุดมความแกร่ง
โรคแล้งน้ำใจจะแก้ไข
ให้ความเป็นธรรม
ทุกชนทุกชั้นทั่วไป
ไต่เต้ารับราชการยศต่ำ
คุณธรรมยังนำความอยากในใจ
เพื่อนฝูงอย่างไร
กินได้รวยไปไม่สนใจ
จิตใจของคนต่ำสูงไม่เทียมเท่ากัน
เขายังหวังซักวัน
ว่าเพื่อนเขาจะกลับใจ
อยู่ไปอยู่มาถึงจึงรู้ว่า
โลกนี้คนดีมันน้อยเกินไป
แค่คนไม่ชั่ว
ไม่ต้องดีไม่รู้อยู่ไหน

เขาจึงมองย้อนไปถึงชีวิตในมหา’ลัย
แล้วตั้งคำถามมหา’ลัยให้อะไรเรา
ไม่ได้สอนให้เรียน
แข่งขันอย่างคลั่งบ้า
ไม่ได้สอนคิดบ้าว่าเป็นคนเหนือคน
จบเห็นแก่ตน
แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย
มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา
เป็นข้าประชาชน
ไม่ได้สอนให้เรียน
แข่งขันอย่างคลั่งบ้า
ไม่ได้สอนคิดบ้าว่าเป็นคนเหนือคน
จบเห็นแก่ตน
แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย
ไม่ได้สอนให้โกงให้กลอกกลิ้ง
ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา
ไม่ได้สอนให้จบออกมา
เหยียดหยามประชาชน
ไม่ได้ให้ปัญญาเอาไว้คดโกงสังคม
มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา
เป็นข้าประชาชน
(ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา)
(ไม่ได้สอนให้จบออกมา)
(เหยียดหยามประชาชน)
(ไม่ได้สอนว่าเป็นเทวดา)
(จบเห็นแก่ตน)
(แต่งงานสืบพันธุ์แล้วตาย)
(ไม่ได้ให้ปัญญาไว้โกงสังคม)
(มหา’ลัยสอนไว้ให้เรา)
(เป็นข้าประชาชน)

ม.ให้อะไร? – พงษ์สิทธ์ คำภีร์ คอร์ดกีต้าร์ Guitar Chord

อ.แม็ค แนะนำเพลงนี้ให้ผมฟังครับ สงสัยอยากให้ผมรู้คิง