อันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลกยังไม่สุดท้ายซะทีเดียว .. 37 จาก 40

Education changing in thailand วาระแห่งชาติ เล่มที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา : วาระแห่งชาติ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่จะพาประเทศพ้นวิกฤต .. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [974-241-263-4]

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
http://www.sesa10.go.th/sesa10/data/mar55/2.pdf

http://www.scribd.com/doc/115003666

29 พ.ย.55 ฟินแลนด์และเกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษาชื่อดังจากสหรัฐฯ “เพียร์สัน

thailand 37 from 40
thailand 37 from 40

การจัดอันดับ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากผลการสอบในระดับนานาชาติและข้อมูล เช่น อัตราการศึกษาในระหว่างปี 2006 และ 2010  เซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านการศึกษาของเพียร์สัน เปิดเผยว่า ประเทศที่ติดในอันดับที่ดีส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับ ครูผู้สอน รวมถึงการมีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี

ตามหลังฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในอันดับที่ 3-5 นั้น ล้วนมาจากเอเชียทั้งสิ้น ได้แก่ ฮ่องกง (จีน) อันดับ 3, ญี่ปุ่น อันดับ 4 และ สิงคโปร์ ในอันดับ 5 ขณะที่อันดับ 6 ตกเป็นของอังกฤษ ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ในอันดับที่ 7 และ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และแคนาดาในอันดับที่ 8-10 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ อย่างสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเยอรมนี อยู่ในอันดับรองลงไป

โดยในการจัดอันดับที่มีจำนวน 40 ประเทศนั้น อินโดนีเซีย บราซิล และเม็กซิโกมีคะแนนต่ำสุด ในอันดับที่ 40, 39 และ 38 ตามลำดับ ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 37

รายงานระบุว่า ความสำเร็จของประเทศในเอเชีย ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากประเทศดังกล่าวให้ความสำคัญกับการศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ปกครองต่างก็พร้อมจะทุ่มเทให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

แต่สิ่งที่สำคัญนอกจากการทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีนั้น สะท้อนให้เห็นค่านิยมที่ให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง รวมถึงการคาดหวังของผู้ปกครอง ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยสำคัญแม้ครอบครัวจะย้ายไปยังประเทศอื่น

ขณะที่อันดับหนึ่งและสองอย่างฟินแลนด์และเกาหลีใต้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันหลายประการ แต่มีปัจจัยร่วมกัน คือ ความเชื่อทางสังคมที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและจุดประสงค์ด้านศีลธรรมที่แอบแฝงอยู่

รายงานดังกล่าวยัง เน้นเรื่อง คุณภาพของครูผู้สอน และความจำเป็นต่อการจ้างครูที่ดีที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงการได้รับความเคารพในทางวิชาชีพและสถานะทางสังคม เช่นเดียวกับรายได้ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี การจัดอันดับไม่ได้แสดงจุดเชื่อมโยงที่แน่ชัดระหว่างรายได้สูงและการสอนที่มีคุณภาพ รายงานระบุว่า ระบบการศึกษาที่สูงและต่ำยังมีผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พึ่งพาแรงงานที่ใช้ทักษะ

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์
http://prachatai.com/journal/2012/11/43934
http://thelearningcurve.pearson.com/content/download/bankname/components/filename/FINAL%20LearningCurve_Final.pdf

http://www.breakingnewsenglish.com/1211/121129-education.html

5 บทเรียนสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
(Five lessons for education policymakers)

1. การพัฒนาการศึกษาไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ แล้วจะสำเร็จ ต้องใช้เงินลงทุน เชื่อมโยง และต่อเนื่อง จึงจะได้ผล
2. ถ้าได้ครูดี ผลคือนักเรียนดี จึงต้องรักษาครู และพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเพิ่มเทคนิค หรือเพิ่มเครื่องมือ
3. มีวัฒนธรรมเชิงลบบางเรื่องที่ต้องเปลี่ยน แล้วสนับสนุนวัฒนธรรมเชิงบวกที่มีผลต่อการศึกษา
4. พ่อแม่ต้องเข้าใจและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. การศึกษาคือการเติมเต็มทักษะในปัจจุบัน เพื่อนำไปใช้ในอนาคต

http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/executive-summary

การสัมมนาเชิงวิชาการผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ของ ศธ.
โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวว่า ศธ.มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนคุณภาพทางการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ รมว.ศธ.ยังมีนโยบายด้านการศึกษา ๘ ข้อ ซึ่งมีจุดเน้น ๓ ด้าน ดังนี้
1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งการดำเนินงาน ๖ เดือนที่ผ่านมา ศธ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และวางระบบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองอย่างชัดเจน และแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ซึ่งได้นำเป้าหมาย ตัวชี้วัด มาดำเนินการ ขณะนี้มี Road Map แผนปฏิบัติการ และผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
2. ครู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ศธ.ได้วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ โดยเริ่มจากการผลิตครู ซึ่ง กนป.ได้อนุมัติให้ผลิตครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ อัตรา ได้ตั้งเป้าหมายไว้ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ศธ.จะผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้ ๒๐๐,๐๐๐ คน การพัฒนาครูทั้งระบบ ซึ่ง สพฐ.ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการทดสอบสมรรถนะครู อบรมหลักสูตรของครู และของผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่การสร้างครูต้นแบบ Master Teacher และให้แรงจูงใจ ในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สำหรับการใช้ครูนั้น ศธ. ได้คืนครูให้กับโรงเรียน โดยจ้างพนักงานธุรการและตำแหน่งอื่น เช่น บรรณารักษ์ มาแทนครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้กลับสู่ห้องเรียน และ ศธ.ยังได้เพิ่มขวัญและกำลังใจครูด้วยการพัฒนาค่าตอบแทนครู ยกมาตรฐานวิชาชีพครู และแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบด้วย
3. ยกระดับการใช้ ICT เพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา คือ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๕๐ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร้อยละ ๓ ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดย ศธ.ได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา และบรรจุการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ในรายจ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๕๔ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่ง ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยกองทุนมีงบประมาณเริ่มต้น ๕ ล้านบาท และได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน โดยมี รมว.ศธ.เป็นประธาน

รมว.ศธ.ได้ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน ICT ขับเคลื่อนนโยบาย ๓ เรื่องให้เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ยกระดับพัฒนาโครงข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา Ned Net โดยทุกองค์กรหลักของ ศธ.ต้องให้ความร่วมมือภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังด้านงบประมาณ ด้านการใช้ และด้านบุคลากร ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว หากสามารถรวบรวมได้อย่างเป็นระบบ โครงข่ายก็จะมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (Education Information System) จัดให้มีข้อมูลนักเรียน สถานศึกษาที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ศธ.มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลของโรงเรียนเอกชน และต้องการให้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพที่ชัดเจน เพื่อช่วยเหลือเด็กทุกคนไม่ว่าอยู่ในสถานะใด ให้ได้รับประโยชน์จากโครงการเรียนฟรี เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างว่า ข้อมูลผิดพลาด นักเรียนได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการคำนวณตัวเลขไม่ชัดเจนทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ฝากให้ช่วยคิดว่าจะทำให้เกิดระบบศูนย์กลางสารสนเทศในระดับชาติได้อย่างไร เพราะข้อมูลสารสนเทศกับโครงข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
3. ยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ศธ.มีศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ETV, มีรายการ Student Channel ออกอากาศทาง NBT, มีรายการ Teacher TV ที่จะขอออกอากาศทาง Thai TV หาก ศธ.สามารถรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาว่า ต้องมีการศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับให้มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ. ซึ่งถ้าเป็นไปได้ในอนาคตต้องการให้เป็น free TV ต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยคิดว่า จะสามารถนำรายการที่มีอยู่มารวมกันได้อย่างไร เพื่อให้เกิดพลังความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและเครื่องมือ นำไปสู่การยกระดับสถานีวิทยุโทรทัศน์ของ ศธ.อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

http://www.moe.go.th/websm/2010/sep/287.html
http://www.kroobannok.com/36672

thailand tutor for students
thailand tutor for students

About 10,000 students attend a tutorial at a shopping mall in Bangkok in preparation for entrance exams to study medicine at an university. (Photo by Apichit Jinakul)

Thailand scores badly in education assessment ranking

Thailand’s education system is ranked 37th out of 40 countries assessed in latest global index ranking published by British education and publishing group Pearson Plc.

Finland took first place with a score of 1.26 points, followed by South Korea and Hong-Kong. Following them are two other Asian countries: Japan and Singapore.

Thailand scored badly, with 1.46, and had only three countries below it in the ranking.

The index ranking is based on cognitive skills – test scores in reading, writing, and mathematics – and educational attainment – literacy and graduation rate – accumulated from 40 developed countries.

Sir Michael Barber, Pearson’s chief education adviser, said successful countries gave their educators a high status and have a culture that is supportive of education.

Thai netizens posted messages on various webboards on Wednesday, mostly criticising the Thai education system.

“It’s because of the educators,” said a postor in posttoday.com.

“I feel that education does not account to how successful you are in the real world,” said a comment in pantip.com. “These highly educated people have the knowledge but can’t perform.”

Another netizen suggested that Thailand should improve the social belief in education, spend more money to improve the quality of teachers and school autonomy to climb up the ranking.

“The quality of some private universities is really worrying. The quality of graduates with a bachelor’s degree here is lower than high school graduates in other countries,” one netizen said. “If you pay all the tuition fees here, you’ll definitely graduate.”

http://www.bangkokpost.com/news/local/323571/thailand-almost-lowest-in-global-education-ranking

ลีนุกซ์มิ้นแรงแซงไม่เห็นฝุ่น (it370)

linux distribution 323
linux distribution 323

24 พ.ย.55 ลีนุกซ์มิ้น (Linux Mint) คือ ระบบปฏิบัติการที่มีการนำลีนุกซ์อูบุนตู หรืออูบันตู (Linux Ubuntu) มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา และอูบันตูเองก็พัฒนาต่อมาจากลีนุกซ์เดเบียน (Linux Debian) ทั้งหมดล้วนเป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชัน (Linux Distribution) หรือดิสโทร (Distro) โดยลีนุกซ์มิ้นเน้นไปที่การพัฒนา Desktop เป็นหลัก ซึ่งเป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้นั่นเอง โดยเน้นที่การใช้งานง่าย มีโปรแกรมสำหรับมัลติมีเดียมาให้พร้อมสำหรับดูหนัง ฟังเพลง และเปิดอินเทอร์เน็ต

http://mirror1.ku.ac.th/linuxmint/

หลังติดตั้งแล้ว จะมีโปรแกรมแต่งภาพ โปรแกรมแชท โปรแกรมชุด LibreOffice สำหรับพิมพ์เอกสาร สเปรทชีท งานนำเสนอ และรองรับภาษาไทย ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับ Microsoft office  และแยกชุดเดสท็อป (Desktop) มาให้เลือกหลากหลาย ได้แก่ Cinnamon, GNOME, KDE, MATE และ Xfce จากการทดสอบติดตั้ง Linux Mint 13 (Maya) บนเครื่องเสมือนจริง (Virtual Machine) โดยเลือกโปรแกรม Virtual box ของบริษัท Oracle มาทดสอบเป็นเครื่องเสมือนจริง แล้วติดตั้งในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  เพื่อให้การคัดลอกระบบจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้วไปยังเครื่องอื่นได้ง่าย เพราะต้องการประหยัดเวลาในการสาธิตการติดตั้งระบบปฏิบัติการ และการใช้งาน

ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ Linux Mint มากเป็นอันดับหนึ่งจากการจัดอันดับของ distrowatch.com พบว่าแซงรุ่นพี่อย่าง Ubuntu, Mageia, Fedora, Debian, OpenSUSE, CentOS, PCLinuxOS ไปกว่า 2 เท่าตัว แล้วยังมีความเห็นจากนักคอมพิวเตอร์ในสื่ออีกมากมาย อาทิ ความเห็นสนับสนุนว่าลีนุกซ์มิ้นใช้งานง่าย รองรับมัลติมีเดีย ติดตั้งง่าย จาก Steven J. Vaughan-Nichols ใน zdnet.com ซึ่งผมได้ทดสอบแล้วก็ยืนยันว่าใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำไปติดตั้งเป็นเครื่องบริการ เพราะออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไป

linux mint
linux mint

http://distrowatch.com/dwres.php?resource=popularity

http://distrowatch.com/table.php?distribution=mint

http://agilecat.tumblr.com/post/13209065788/ubuntu-linux-losing-popularity-fast-new-unity

สถาบันการศึกษามองพฤติกรรมผู้สมัครเรียนจากเฟซบุ๊ค

ranking
ranking

ประเด็นที่สนใจเพิ่มเติม
1. บทความนี้ฉายภาพได้ชัดว่าคุณภาพของสถาบันขึ้นกับคุณภาพนักเรียนที่เข้ามา
2. ทำไมนักเรียนไม่เปิดเผย fb ที่มี profile ที่ดี แต่กลับปกติ profile ที่ไม่ดี
3. บางคนคิดว่ากฎใหม่นี้ไม่ยุติธรรม
4. The Internet is written in ink, not in pencil
+ http://nation.time.com/2012/11/15/when-colleges-look-up-applicants-on-facebook-the-unspoken-new-admissions-test/

When Colleges Look Up Applicants on Facebook:
The Unspoken New Admissions Test
สถาบันการศึกษามองพฤติกรรมผู้สมัครเรียนจากเฟซบุ๊ค

บทความนี้ จาก http://nation.time.com/category/education/

Judging by its Facebook network, Hastings (ฉับไว) High School in New York has one strange senior class.

A student named “FunkMaster Floikes” is somehow rubbing shoulders with Lizzie McGuire and the fictional parents from That ‘70s Show.

Meanwhile Samwise Gams (a nickname of a hobbit in Lord of the Rings) is listed as a 2012 alum.

At first glance, such social media profiles have all the makings of crude online pranks.

But in reality, they have been strategically created by actual Hastings seniors determined to shield themselves from the prying eyes of college admissions officers.

“There’s a fairly big party scene there,” says Sam “Samwise” Bogan, who is now a freshman at Dickinson College in Pennsylvania.

“When the college search process comes around, people start changing their Facebook name or untagging old photos that they don’t want anyone to see.
It’s kind of a ritual.”

Amid decades-old worries about GPAs, resumes, extracurricular activities and campus interviews, today’s college applicants must reckon with a new high-tech dilemma: Are colleges judging me based on my online activities?

With top schools closely guarding the reasoning behind admissions decisions, many high schoolers are now assuming the worst and implementing online safeguards that would have never occurred to teenagers five years ago, when Facebook was just a private network and Google was still a noun.

It turns out students have good reason to worry.

According to a recent Kaplan Test Prep survey of 350 admissions officers, more than 25 percent of school officials said they had looked up applicants on Facebook or Google.

Off campus, a similar percentage of private scholarship organizations also acknowledge researching their applicants online, according to a National Scholarship Providers Association survey. Still, many admissions directors are reluctant to provide specifics in how they scour social feeds.

No, many say, they don’t look up every applicant online, but yes, if they somehow come across an inappropriate tweet or Facebook post, it could factor into their decision.

No, they’d never use it as the deciding factor between two similar applicants, but yes, students should be mindful of what they post.

Such ambiguity has sparked an array of conspiracy theories.
Bogan speculates that colleges use the emails they gather on campus tours to later find students online, even if they’ve changed their names to cover their tracks. Other students openly claim that schools are colluding with Facebook to gain full access to applicants’ restricted online profiles.
Meanwhile, some students worry that going dark on Facebook will make them seem anti-social,when colleges are actually looking for outgoing applicants.

Numerous students interviewed by TIME ultimately opted for a full social media lockdown, ahead of submitting their applications.

Abigail Swift, a senior at BASIS Scottsdale in Arizona, deleted her Facebook account at the start of her junior year, just as she was beginning her college search.

She says she plans to revive it in 2013, after being accepted to a university.

“I don’t want what I put on my Facebook or what I don’t put on my Facebook to sway their opinion of me,” she says. “I just don’t think it’s fair for them to base acceptance on that.”

Many of her classmates agree, and have already restricted privacy settings so that their names don’t appear in a public Facebook search.

One student went so far as to delete photos taken during 8th grade that didn’t reflect the image she is now trying to convey to schools.

As young as 16, some students are already making an effort to wipe the digital slate clean. Just in case.

Almost every student has heard a horror story.

At the start of the school year, a BASIS college counselor told her class of a student whose acceptance to an elite college was revoked when he was caught badmouthing the school on Facebook.

At Williams College, a student’s admission was rescinded because he posted disparaging remarks on a college discussion board.

At the University of Georgia, when an admissions officer discovered an applicant’s racially charged Twitter account, he took a screenshot and added the tweets to the student’s application file.

Though these are extreme examples, it’s difficult to pinpoint when a teenager’s social media habits shift from innocuous to alarming in the eyes of admissions officers. Anna Redmond, a 30-year-old former interviewer for Harvard University who blogs about college admissions, says she began regularly googling prospective students years ago (interviews with alumni are a minor component of Harvard’s admissions criteria).

“You could sometimes find old blog posts where they were complaining,” she says. “Maybe there was a photo of a kid drinking a beer. I don’t think it’s personally that damning, but somebody else might.”

With the Kaplan survey showing that only 15 percent of colleges abide by a strict social media policy when it comes to applicants,such vetting is often at the discretion of individual officials. College officials point out that time restraints would make it nearly impossible to analyze every applicant through social media. However, some admit to exploring applicants’ social media timelines to make a “high stakes” decision, like awarding a prestigious scholarship, says Nora Barnes, a marketing professor at the University of Massachusetts Dartmouth who has interviewed hundreds of schools about their social media practices. She says the actual number of schools doing online sleuthing could be higher than statistics show, with some wary of being viewed as invasive if they own up to the practice.

“It’s a touchy subject in academia,” Barnes says. “It’s common knowledge that employers do it, and people seem to accept that.  But somehow higher ed is held to a higher standard.”

Nancy McDuff, associate vice president for admissions and enrollment management at the University of Georgia, says an applicant’s online profile is fair game to be evaluated.

“If a student mentions something in their application that isn’t well explained, and you’re looking for more information, you may check their Facebook,” she says.

“They’re writing about themselves. That’s no different from what a guidance counselor may write about them when they ask for someone to write a letter of recommendation.”

But other admissions directors say including an inconsistent variable like Facebook profiles into the regimented application process can be unfair to students.

“We like to get the same information from every candidate,” says Christoph Guttentag, the dean of undergraduate admissions at Duke University.

“What one might find [on Facebook] would be close to random. There’s no guarantee that we would be getting the same kind of information between two applicants.”

For students who choose to change their Facebook names to ensure privacy, there can be consequences for violating the company’s official terms of use.

About eight percent of the network’s 1 billion accounts are fakes or duplicates, according to summer filings with the Securities and Exchange Commission. Facebook can ban such users permanently when caught, and the company encourages users to report fake accounts. Some colleges might also view such tactics as unethical: “If a student changes their name on Facebook because they want to hide something, you just wonder whether they want to be at an institution that values an Honor Code,” McDuff says.

Back at Hastings High School, students don’t view their actions as unethical.

“One way a lot of people in my class coped with the stressful college application process was by being a little bit cynical about it,” Bogan says.

“This is just a part of that. It’s kind of a coping mechanism.”

While some students rebel, others adapt. Among many high schoolers, there is a grudging acceptance that these are the new rules of engagement in the 21st-century admissions game.

“Maybe it is a little unfair, but at the same time you’re being judged on what you have created for yourself in the past four years of your high school experience,” says Maxton Thoman, a freshman at the University of Alabama.

“All that stuff is cumulative, and so is Facebook.” Thoman, who boosted his privacy settings and untagged photos of himself during the college admissions process, continues to keep a close eye on his digital profile at college.

He knows that medical schools and later employers may one day be interested in what he’s posted online, so he considers his status updates before spouting off.

He and many of his peers, rejecting the culture of oversharing, seem to understand intuitively a fact that has taken some adults years to grasp: “The Internet is written in ink, not in pencil.”

บทเรียนจากฟุตบอล กับบริษัทไอทีปี 2555 (itinlife369)

company 2012
company 2012

การเปลี่ยนแปลงได้มาถึงอเมริกาแล้ว (Change has come to America) เป็นคำกล่าวของ บารัก ฮุสเซน โอบามา ในการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 44 แล้วพฤศจิกายน 2555 เขาก็ได้รับเลือกอีกครั้งเป็นคนที่ 45 ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีสุข และทุกข์ปะปนกันไป บ้างก็ยอมรับ บ้างก็ต่อต้าน ได้ชมการแข่งขันฟุตบอลพบว่าแต่ละทีมก็จะเปลี่ยนผู้เล่นในทุกฤดู ซื้อบ้าง ขายบ้าง ป่วยบ้าง ที่เหมือนเดิมก็เป็นชื่อทีม แปลเป็นไทยก็มีทีมผี ทีมหงษ์ ทีมปืนใหญ่ ทีมไก่ อะไรทำนองนั้น การเล่นฟุตบอลต้องเล่นกันเป็นทีม ถ้ากัปตันวางเป้าหมายแล้วกำกับให้ตรงไปในวันและเวลาที่กำหนด แต่ลูกทีมอิดออด ขัดแย้ง อาทิ บอกว่าแข่งไม่ได้หรอกทีมติดธุระต้องทำบุญขึ้นออฟฟิสใหม่ จองตั๋วไปฮันนิมูลกับภรรยาใหม่ ไม่มีสนาม ฝนตกสนามแฉะ โค้ชป่วย ไม่มีเงินอัดฉีด ทีมนั้นก็คงไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะมีทีมที่พร้อมรอเป็นแชมป์เข้าแถวรอยาวเหยียด
พฤษภาคม 2555 บริษัทรีเสิร์ช อิน โมชั่น (RIM) ผู้ผลิต Black Berry พาบริษัทไปไม่ถึงเป้าหมาย อาจปลดพนักงานกว่า 6,000 คน แล้วมิถุนายน 2555 บริษัทโนเกีย มีแผนปลดคนงาน 10,000 คน แล้วสิงหาคม 2555 บริษัทโมโตโรลาได้ปรับโครงสร้างพร้อมปลดพนักงาน 4,000 คน แล้วตุลาคม 2555 บริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) ผู้ผลิตชิปในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะปลดพนักงาน 1,800 คน แล้วบริษัทพานาโซนิค เตรียมปลดพนักงาน 10,000 คนในมีนาคม 2556 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปลดพนักงานผ่านการขายธุรกิจไป 36,000 คน แล้วบริษัทชาร์ป (Sharp) เตรียมปลดพนักงาน 5,000 คน ในมีนาคม 2556 บริษัทข้างต้นล้วนมีผลประกอบการตกต่ำ และใช้มาตรการลดคน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ของทุกองค์กร เพื่อพยุงส่วนที่เหลือให้เดินหน้าต่อไปได้
ปัจจัยของความสำเร็จคือผู้นำ หรือแม่ทัพ หากแม่ทัพ มีขุนศึก มีอาวุธ มีกลยุทธ์พร้อม ก็มักพากองทัพไปสู่ชัยชนะ มีการพูดถึง Steve Jobs และ Bill Gate ว่าเป็นผู้นำที่ทำให้บริษัทมีผลกำไร มั่งคั่งผ่านวิสัยทัศน์และนวัตกรรม โดยพาชาวโลกสู่การเปลี่ยนแปลง เช่นเปลี่ยนจากการใช้แป้นพิมพ์ไปใช้นิ้วสัมผัส เปลี่ยนจากการสั่งงานด้วย keyboard เป็นรับด้วย mouse เป็นแนวคิด Graphic User Interface หรือเปลี่ยนจากโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นเดิม เป็นสมาร์ทโฟน ทั้งหมดล้วนมีปัจจัยมาจากคำว่า กล้าเปลี่ยน รวมไปถึงทีมฟุตบอลที่ต้องการเป็นแชมป์ก็ต้องเปลี่ยนตัว หาผู้เล่นที่เก่งมาเสริมทีม

กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน

กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน
กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน
กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน
กฎหมายคุ้มครอง .. แรงงานรับใช้ในบ้าน

กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับที่ 14 (2555) ออกตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงานรับใช้ในบ้าน โดยไม่เลือกว่าจะเป็นแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งครอบคลุมแรงงานทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้แรงงานรับใช้ในบ้านจะได้รับสิทธิคุ้มครองเพิ่มเติม 7 ข้อ
1. ลูกจ้างต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน

2. นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย และหากวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้ลูกจ้างหยุดเป็นวันหยุดชดเชยเพิ่มอีก 1 วัน

3. ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน

4. ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยตามที่ป่วยจริงได้ และหากลา 3 วันขึ้นไป นายจ้างสามารถขอใบรับรองแพทย์ยืนยันจ้างลูกจ้างได้

5.กรณีลูกจ้างเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับเด็กโดยตรง

6. ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุด ต้องได้รับเงินค่าจ้างด้วย

7. ลูกจ้างต้องได้ค่าจ้างในวันที่ลาป่วย โดยไม่เกิน 30 วันทำงาน
http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code174.pdf

http://news.voicetv.co.th/thailand/55825.html

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352735089

4G โฟร์จี หรือสี่จี .. ในวันนี้

โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation)
โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation)

11 พ.ย.55 ก่อนไปถึงโฟร์จี (4G) คนไทยส่วนใหญ่ได้รู้จักคำว่าการประมูลสามจี หรือทรีจี (3G) ที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่ออย่างต่อเนื่อง แล้วต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 ได้มีมติของผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการออกใบอนุญาต 3G แล้วตรวจสอบว่าการประมูล 3G มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ปัจจุบันคนไทยบางส่วนได้ใช้บริการ 3G ซึ่งแตกต่างกันไปในผู้บริการแต่ละราย ได้แก่ TOT ใช้ความถี่ 2100 MHz มีความเร็วสูงสุด 42 Mbps ส่วน True Move และ True Move H ใช้ความถี่ 850 MHz ส่วน AIS ใช้ความถี่ 900 MHz ส่วน DTAC ใช้ความถี่ 850 MHz

โฟร์จี หรือสี่จี (4G = Fourth Generation) คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พัฒนาต่อจาก 3G และ 2G โดยมีความเร็วตามทฤษฎีสูงถึง 100 Mbps เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วดาวน์โหลดข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม สามารถทำ Video Call ได้แบบไม่สะดุด สำหรับระบบที่เข้ากับ 4G ได้แก่ WiMAX, Flash-OFDM และ LTE เป็นต้น หากวันนี้มีบริการ 4G ให้ใช้ ผู้ใช้ก็ต้องหาอุปกรณ์ และแอพพลิเคชั่นที่รองรับเทคโนโลยีนี้ เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่ยังรองรับ 3G หรือ 2G เท่านั้น แต่ถ้าเป็น iPhone 5 ในไทยเปิดตัวเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2555 รองรับระบบนี้แล้ว  ในประเทศลาวแถลงข่าวให้บริการระบบ 4G เป็นประเทศที่สองของเอเชียต่อจากประเทศสิงค์โปร์  เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งใช้มาตรฐาน LTE (Long Term Evolution หรือ LTE)

การประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz ได้ถูกประมูลเมื่อ 16 ตุลาคม 2555 นั้น มีบริษัทเข้าร่วมประมูล 3 บริษัท ได้แก่ DTAC, True Move และ AIS สำหรับ TOT นั้นได้สัมปทานอยู่แล้ว  ส่วน 4G นั้นอาจมีการนำคลื่น 1800 MHz หรือ 2300 MHz ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปในส่วนนี้ เพราะประเทศไทยต้องหาข้อสรุปเรื่อง 3G ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถนำเรื่อง 4G มาเป็นบันไดขั้นต่อไปของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศ

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000136900

http://th.wikipedia.org/wiki/4G

http://www.club4g.com/

http://www.thairath.co.th/content/tech/302760

http://www.ais.co.th/4g/

มติผู้ตรวจการแผ่นดินพิทักษ์ 3G

4g speed
4g speed
8 พ.ย.55 ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ ส่งเรื่องไปยังศาลปกครองพิจารณา คำร้องระงับการออกใบอนุญาต 3G โดยมองว่าการประมูลเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่โดยปราศจากการแข่งขัน และขัดต่อรธน.
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้แถลงถึงผลการพิจารณา กรณีที่มีผู้ร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ว่ามีความไม่​ชอบธรรม โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ ให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ต่อศาลปกครอง ให้ทำการพิจารณาและวินิจฉัยต่อไป โดยมีการยื่นเอกสารทั้งหมดให้ศาลปกครองไปแล้ววันนี้ (8 พ.ย.55)
โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีความเห็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G ที่จัดขึ้นโดย กสทช. นั้น เข้าข่ายมีลักษณะไม่ใช่การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยมองว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับ 3 บริษัทใหญ่ โดยปราศจากการแข่งขัน จึงมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งชะลอการออกใบอนุญาตไปก่อน และทำการพิจารณาและวินิจฉัย ว่าการจัดประมูลดังกล่าวเป็นไปโดยชอบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ว่าด้วยการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่
โดยหลังจากผู้ตรวจการแผ่นดินทำการแถลงเสร็จ สหภาพแรงงานของบริษัททีโอทีจำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติม เพื่อร้องเรียนความไม่ชอบธรรมในกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยกล่าวว่าการโอนย้ายทรัพย์สินจากคลื่นความถี่ 2G ไปเป็น 3G ของทั้งบริษัททีโอที และ CAT เทเลคอม ยังไม่เสร็จสิ้นดี การออกใบอนุญาตกำเนินการ 3G ในขณะนี้ จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของชาติเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสน 7 หมื่น 7 พันล้านบาท

Thailand 4G LTE – จากปัญหาคาราคาซังของ 3G ที่อาจกล่าวได้ว่า ทำให้การพัฒนาด้านโทรคมนาคมในบ้านนี้เมืองนี้ นั้นไม่เดินหน้าอย่างที่มันควรจะเป็น และในขณะที่โลกสากลกำลังเดินเกมสู่เทคโนโลยี 4G LTE อันมีรากฐานและต่อยอดอย่างเป็นระบบมาก่อน การก้าวเดินแบบสเต็ปสากลของไทยจึงอยู่ในสภาวะที่หลายฝ่ายกังวลว่าประเทศชาติ อาจจะล้าหลังเชื่องช้า หนักไปถึงถูกเพื่อนบ้านที่เคยตามหลังหลายช่วงวิวัฒนาการ แซงหน้าจนต้องรั้งท้ายตารางประเทศกำลังพัฒนา (อย่างเชื่องช้า) ไปได้ เนื่องมาจากระบบการสื่อสารมีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งไปถึงระบบการศึกษา!!

อย่างไรก็ดีล่าสุดมีรายงานว่า กสทช. อนุมัติคำร้องขอร่วมจาก TOT และ AIS เพื่อทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายLTE บนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz รวมทั้งสิ้น 20 ช่องสัญญาณ โดยการทดสอบจะติดตั้งตัวส่งสัญญาณ 84 จุดในกรุงเทพฯ และบางหัวเมืองใหญ่ ใช้เวลาทดสอบทั้งสิ้น 90 วัน และสามารถขยายเพิ่มได้อีก 90 วัน (เป็น 180 วัน)

ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดพื้นที่และระยะเวลาในการทดลองสัญญาณ เพิ่มเติมจาก คุณศุภชัย เจียรวนนท์ บริษัทTrue เป็นอีกค่ายที่มีการยื่นคำร้อง รวมถึง CAT, Dtac ด้วย แม้จะเป็นเพียงการทดลองระยะสั้น แต่หลายฝ่ายก็คาดหวัง (โดยเฉพาะผู้บริโภค) การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี เสียแต่ว่างานนี้อาจเป็นแสงหิงห้อยที่อายุขัยการเปล่งแสงแสนจะสั้นก่อนดับวูบไปเช่น 3G โปรเจ็กส์…เอวัง!!

http://tech.mthai.com/mobile-tablet/other-mobile/12119.html

พยาบาลขู่ลาออก หากปีหน้าไม่บรรจุราชการ

พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ
พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ

http://www.dailynews.co.th/politics/161299

16 ต.ค. 55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสราวุฒิ ที่ดี ประธานเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว พร้อมเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุขกว่า 500 คน

เดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ถนนพิษณุโลก เพื่อติดตามความคืบหน้าการบรรจุลูกจ้างพยาบาลชั่วคราวเข้าเป็นข้าราชการจำนวน 3,667 อัตรา ในปีงบประมาณ 2555

ภายหลังจากที่ยื่นเรื่องต่อนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตัวแทนรัฐบาลได้รับปากว่าจะดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ภายใน 3 เดือน แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงมาทวงคำสัญญากับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

แต่ทราบว่านายกรัฐมนตรีเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ จึงขอให้นายแพทย์ ประสิทธิ์ ชัยวิรัตน รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองและ น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มารับเรื่องแทน

ซึ่งหลังจากนี้จะไปยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยจะให้เวลาในการดำเนินการถึงเดือน ม.ค.2556 หากไม่มีความคืบหน้ากลุ่มพยาบาลวิชาชีพทั่วประเทศจะลาออกจำนวน 17,000 คน

http://news.mthai.com/politics-news/196954.html

พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ
พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ

19 มิ.ย.55 09.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นตัวแทนพยาบาลกว่า 2,000 คนจากทั่วประเทศ ตั้งเวทีปราศรัยข้างทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ให้ความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาล ต้องการให้บรรจุพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวที่มีกว่า 17,000 คน เป็นข้าราชการเพื่อดูแลขวัญกำลังใจของบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล และสร้างความมั่นคงในวิชาชีพ เนื่องจากเจ้าหน้าที่พยาบาลไม่ได้รับการบรรจุให้เป็นข้าราชการมาแล้ว 5 ปี แต่กลับให้แพทย์และหมอมีการบรรจุเป็นข้าราชการเท่านั้น ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นความผิดพลาดของการบริหารกำลังคนของภาครัฐทำให้พยาบาลต้องลาออกไปสมัครทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ส่งผลให้โรงพยาบาลของรัฐขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพในการรักษาพยาบาลประชาชน

นายวรรณชาติ ปาเลิศ ผู้ประสานงานเครือข่าย กล่าวว่า เครือข่ายจะส่งตัวแทนเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งหากรัฐบาลรับปากจะช่วยเหลือก็จะสลายการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลทันที แต่หากรัฐบาลยังไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอในการสร้างความมั่นคงให้เจ้าหน้าที่พยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวก็จะชุมนุมอย่างต่อเนื่อง จะประกาศหยุดงานและจะลาออกจากโรงพยาบาลของรัฐในเดือนตุลาคมนี้ และจะไม่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยในทุกการเลือกตั้ง

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000075060

พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ
พยาบาลขู่ลาออก หากไม่บรรจุราชการ

เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์ ที่จังหวัดลำปาง

sport of เอกชน พละศึกษา ราชภัฎ ราชมงคล
sport of เอกชน พละศึกษา ราชภัฎ ราชมงคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นประธานในการประชุม คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬา “เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์” (เอกชน พละศึกษา ราชภัฎ ราชมงคล) ครั้งที่ 1/2555 โดยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสร้างสานสัมพันธ์ ซึ่งปีนี้มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขัน ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง เมื่อวันจันทร์ ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 โดยกีฬา “เนชั่น อ.พ.ร.สัมพันธ์” ประจำปีการศึกษา 2555 จะจัดขึ้นในเสาร์ที่ 19 มกราคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมกีฬา อพร.สัมพันธ์ ประกอบด้วย
1. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
3. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง
4. วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง
5. วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา
6. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง
7. วิทยาลัยการอาชีพเถิน
8. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
9. โรงเรียนลำปางพาณิชการ
10. สถาบันการพลศึกษาลำปาง
11. มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง

กีฬา อพร ลำปาง 2554
กีฬา อพร ลำปาง 2554

กีฬา อพร. สัมพันธ์ 2554 “วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา” 7 ม.ค. 2555
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150503904528895.391152.814248894

กีฬา อพร ลำปาง 2553
กีฬา อพร ลำปาง 2553

กีฬา อพร. สัมพันธ์ 2553 ที่ “มหาวิทยาลัยราชภัฎ ลำปาง”  27 พ.ย. 2553
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.465783609141.252081.248411859141

ไทยจะมี 3G ส่วนเพื่อนบ้านเรา ลาวมี 4G แล้ว

4g ลาว
4g ลาว

ต้องกล่าวคำว่า ขอแสดงความยินดี กับเพื่อน ASEAN ชาวลาวที่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง และไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้เร็วขึ้น ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา การปกครอง สังคม และวัฒนธรรม
สืบเนื่องจากข่าวว่าวันที่ 26 ต.ค.55 มีพิธีแถลงข่าวเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือระบบ 4G LTE การให้บริการเริ่มขึ้นในวันที่ 27 ต.ค.55 สำหรับนครเวียงจันทน์ ทำให้เชื่อมต่อกับเวิลด์ไวด์เว็บเร็วขึ้น 5 เท่าตัว เทียบกับระบบ 3G ในปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจแห่งนี้กล่าวว่าบริการ 4G ในเมืองและแขวงทั่วประเทศอาจจะมีขึ้นได้ในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า
รัฐวิสาหกิจลาวเทเลคอม (ลาวโทรคม : The Lao Telecommunications Company (LTC)) ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย และอินเทอร์เน็ตไวไฟเทคโนโลยี LTE ซึ่งทำให้ประเทศคอมมิวนิสต์เล็กๆ แห่งนี้เป็นเพียงประเทศที่ 2 ในอาเซียน ถัดจากสิงคโปร์ที่เปิดใช้ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 ด้วยเทคโนโลยีบนพื้นฐาน GSM ทำให้เชื่อมต่อเข้ากับเวิลด์ไวด์เว็บเร็วขึ้นประมาณ 5 เท่าตัว เป็นการเปิดให้บริการระบบ 4G ครั้งแรกภายใต้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Long Term Evolution แต่เป็น 4G ระบบที่ 2 หลังจากบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตแห่งหนึ่งทดลอง เปิดให้บริการระบบ WiMAX เป็นข่ายแรกในเดือน ก.ย.ปีที่แล้วในนครเวียงจันทน์
พิธีเปิดให้บริการ 4G LTE จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยนายทองใส ซานไซยะ ผู้อำนวยการใหญ่รัฐวิสาหกิจลาวเทเลคอม มี พ.อ.ทันสะไหม กมมะสิด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสารเข้าร่วมเป็นเกียรติ สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
การเปิดใช้ระบบ 4G LTE มีขึ้นเพื่อรองรับการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ที่จะจัดขึ้นในเมืองหลวงของลาวสัปดาห์หน้านี้ โดยให้บริการเฉพาะการเชื่อมต่อข้อมูล (Data) เป็นพื้นฐาน นายทองใสกล่าวระหว่างแถลงข่าว 1 วันก่อนการเปิดให้บริการ ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์ลาวเทเลคอมซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและการเชื่อมต่อแบบไร้สายรายใหญ่ที่สุดในลาวปัจจุบัน
ลาวเทเลคอม เปิดให้บริการโทรศัพท์ระบบ 3G มาเป็นเวลาหลายปี และได้เซ็นความตกลงกับกลุ่มบริษัทหัวเว่ย (Huawei) จากประเทศจีนเพื่อพัฒนา 4G LTE ที่ใช้ระบบ GSM ต่อจากบริการ 2G และ G ในปัจจุบัน โดยติดตั้งสถานีเครือข่าย 20 จุดในเมืองหลวงสำหรับบริการเริ่มแรก ก่อนจะขยายไปยังเมือง และแขวงทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า นายทองใสกล่าว
ระบบ 4G เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้เร็วขึ้นอีก 5 เท่า เป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที เทียบกับเพียง 21 เมกะบิตในระบบ 3G ปัจจุบัน” ผอ.ใหญ่ลาวเทเลคอมกล่าว
ในอนาคตอันใกล้นี้ ลาวเทเลคอมจะให้บริการ 4G แก่ธุรกิจต่าง ๆ รวมทั้งธนาคารและตลาดหลักทรัีพย์ ซึ่งจะไม่จำำกัดแค่การเขื่อมต่อผ่านสมาร์ทโฟนกับแท็บเล็ตเท่านั้น หากยังรวมถึงโทรศัพท์ตั้งโต๊ะในสำนักงาน และตามครัวเรือนต่างๆ ด้วย ขปล.กล่าว.
http://www.bangkokpost.com/breakingnews/318681/laos-to-launch-4g
http://www.manager.co.th/indochina/viewnews.aspx?NewsID=9550000133036